สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เส้นทางร่างกม.นิรโทษกรรม

เส้นทางร่างกม.นิรโทษกรรม

จาก โพสต์ทูเดย์

เส้นทางร่างกม.นิรโทษกรรม

โดย...ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย

ขั้นตอนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำ ความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ภายหลังสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบแล้วจะเป็นหน้าที่ของ “วุฒิสภา”

รัฐธรรมนูญมาตรา 146 วุฒิสภาจะดำเนินการพิจารณาเป็น 3 วาระเช่นกันกับขั้นตอนในสภาฯแต่จะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน

ในวาระที่1 หากวุฒิสภาไม่เห็นชอบจะต้องส่งร่างพ.ร.บ.คืนให้สภาฯ จากนั้นจะต้องรอให้ครบ 180 วันก่อนสภาฯถึงจะสามารถหยิบมาพิจารณาได้

ถ้าสภาฯมีมติมากกว่ากึ่งหนึ่งของสส.ที่มีอยู่ หรือ 250 คนจากสส.500 คนเพื่อยืนยันในร่างพ.ร.บ.ที่สภาฯให้ความเห็นชอบไปแล้วจะเข้าสู่กระบวนการ ส่งร่างพ.ร.บ.ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20 วัน

อย่างไรก็ตาม ถ้ามีสส.หรือสว.เข้าชื่อ 1ใน10 ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ว่าเป็นกฎหมายที่ขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่และศาลได้รับเรื่องไว้พิจารณา รัฐธรรมนูญมาตรา 154กำหนดให้นายกฯต้องชะลอการนำร่างพ.ร.บ.ขึ้นทูลเกล้าฯจนกว่าศาลจะมีคำ วินิจฉัย

ขณะเดียวกัน ในวาระที่ 1 ถ้าวุฒิสภามีมติให้รับพิจารณาจะต้องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาหนึ่งคณะเพื่อดูในรายละเอียด หรือ ตั้งคณะกรรมาธิการเต็มสภา หมายความว่าให้สว.ทุกคนเป็นกรรมาธิการและพิจารณาในรายละเอียดจากนั้นให้ สว.ทีละมาตราในวาระที่ 2 และลงมติว่าจะเห็นชอบกับร่างพ.ร.บ.ทั้งฉบับในวาระที่ 3 หรือที่เรียกว่า "การพิจารณา 3 วาระรวด"

ในกรณีที่ตั้งคณะกรรมาธิการหนึ่งคณะโดยไม่ใช้กระบวนการคณะกรรมาธิการเต็ม สภา ทางคณะกรรมาธิการจะต้องพิจารณาในรายละเอียดและเชิญสว.ผู้เสนอคำแปรญัตติ เพื่อแก้ไขถ้อยคำมาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ จากนั้นคณะกรรมาธิการจะส่งรายงานการพิจารณาให้ที่ประชุมวุฒิสภาพิจารณาในวาระที่ 2 และ 3 ต่อไป

หากเกิดกรณีที่วุฒิสภาลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3 ในลักษณะที่ไม่มีการแก้ไขถ้อยคำในร่างพ.ร.บ.ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจาก รัฐสภาและส่งให้นายกฯนำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20 วัน โดยไม่ตัดสิทธิ์ของสส.หรือสว.ในการยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา

แต่ถ้าวุฒิสภาเห็นชอบในวาระที่ 3 แบบมีการแก้ไขถ้อยคำในร่างพ.ร.บ.จะเป็นหน้าที่ของสภาฯว่าจะเห็นด้วยกับสิ่ง ที่วุฒิสภาแก้ไขหรือไม่ถ้าเห็นด้วยก็สามารถส่งให้นายกฯนำร่างกฎหมายขึ้นทูล เกล้าฯได้ โดยไม่ตัดสิทธิ์การยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่ถ้าสภาฯไม่เห็นด้วยจะต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันระหว่างสภาฯและ วุฒิสภา

หลังจากคณะกรรมาธิการร่วมฯพิจารณาเสร็จแล้วจะต้องส่งให้ที่ประชุมสภาฯและ วุฒิสภาพิจารณาอีกครั้ง หากทั้งสองสภาเห็นด้วยตามคณะกรรมาธิการร่วมฯ นายกฯสามารถนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20 วันได้ทันที โดยไม่ตัดสิทธิ์การยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา

ทว่าหากเกิดกรณีที่มีสภาหนึ่งสภาใดไม่เห็นชอบตามคณะกรรมาธิการร่วมฯ ให้ถือว่าเป็นการยับยั้งร่างพ.ร.บ.ฉบับนั้น จะต้องส่งคืนให้สภาฯแต่สภาฯต้องรอให้ครบ 180 วันก่อนถึงจะนำร่างพ.ร.บ.มาพิจารณาได้ และถ้ามีมติมากกว่ากึ่งหนึ่งของสส.ที่มีอยู่ เพื่อยืนยันในร่างพ.ร.บ.ในฉบับที่คณะกรรมาธิการร่วมกันฯแก้ไขหรือฉบับที่ สภาฯให้ความเห็นชอบในวาระที่ 3 อย่างหนึ่งใดแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการส่งร่างพ.ร.บ.ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯภายใน 20 วัน โดยไม่ตัดสิทธิ์การยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา

ทั้งนี้ สำหรับกรณีการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าร่างพ.ร.บ.ใดขัดหรือแย้งกับรัฐ ธรรมนูญหรือไม่นั้นในมาตรา 154 ได้แนวทางคำวินิจฉัยของศาลเอาไว้ 3 แนวทางด้วยกัน

แนวทางที่ 1 ให้ร่างพ.ร.บ.ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ในแนวทางนี้หมายความว่า ศาลเห็นว่าถ้อยคำในร่างพ.ร.บ.และการตราร่างพ.ร.บ.ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐ ธรรมนูญ จากนั้นนายกฯจะสามารถนำขึ้นทูลเกล้าฯได้ต่อไป

แนวทางที่ 2 ให้ร่างพ.ร.บ.ตกไปทั้งฉบับ กล่าวคือ ถ้าศาลเห็นว่าร่างพ.ร.บ.มีข้อความขัดและตราขึ้นไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญโดย ข้อความนั้นเป็นสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ. ต้องถือว่าร่างพ.ร.บ.นั้นทั้งฉบับเป็นอันตกไป

แนวทางที่ 3 ให้ร่างพ.ร.บ.ตกไปบางส่วน หมายความว่า ถ้าศาลเห็นว่ามีถ้อยคำบางประการขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญแต่ข้อความนั้นไม่ ได้เป็นสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ. ศาลจะวินิจฉัยเป็นการเฉพาะว่าให้เฉพาะข้อความดังกล่าวที่ขัดกับรัฐธรรมนูญตก ไป และให้นายกรัฐมนตรีนำร่างพ.ร.บ.ขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป


เปิดรายชื่อสส.สุดซอย"แดงเสียงแตก-ภท.ร่วมหนุน"

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...ไพบูลย์ กระจ่างวุฒิชัย

สำหรับรายชื่อสส.ของแต่ละพรรคที่ร่วมลงมติเห็นชอบกับร่างพ.ร.บ.นิรโทษ กรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชนในวาระที่ 3 จำนวน 310 คน เมื่อเวลา 4.30น.ของวันที่ 1 พ.ย.ปรากฎว่าในจำนวนสส.พรรคเพื่อไทย 264 คน ได้มีสส.ลงมติเห็นชอบ 253 คน งดออกเสียง 4 คน และ ไม่ลงมติ 11 คน

โดยสส.ที่ไม่ได้ร่วมลงมติจำนวน 11 คนจาก ได้แก่ 1.น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะสส.บัญชีรายชื่อ 2.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.แรงงาน และสส.บัญชีรายชื่อ 3.นายเสนาะ เทียนทอง สส.บัญชีรายชื่อ 4.นายสมคิด บาลไธสง สส.หนองคาย 5.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รองนายกฯ และสส.บัญชีรายชื่อ 6.นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลังและสส.อุตรดิตถ์ 7.นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทยและสส.สมุทรปราการ 8.นายจรูญพงศ์ พันธุ์ศรีนคร  สส.นครราชสีมา 9.นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร 10.นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯคนที่ 1 และ 11.นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาฯคนที่ 2       

“แดง”เสียงแตกทั้งหนุน-ต้าน

ส่วน สส.พรรคเพื่อไทยงดออกเสียงจำนวน 4 คน คือ นพ.เหวง โตจิราการ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล สส.บัญชีรายชื่อ และ นายวรชัย เหมะ สส.สมุทรปราการ ขณะที่สส.พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำและมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มแนวร่วม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) คนอื่นอีกจำนวน 9 คนล้วนลงมติเห็นชอบแทบทั้งสิ้น ได้แก่ 1.นายก่อแก้ว พิกุลทอง สส.บัญชีรายชื่อ 2.นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ สส.บัญชีรายชื่อ 3.นายชินวัฒน์ หาบุญพาด สส.บัญชีรายชื่อ 4.จ่าสิบตำรวจ ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ สส.สุรินทร์

5.นายพายัพ ปั้นเกตุ สส.บัญชีรายชื่อ 6.นางระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง สส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นภรรยาของนายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนนำนปช. 7.นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท สส.บัญชีรายชื่อ 8.นายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ สส.นครราชสีมา น้องชายนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกฯ หนึ่งแกนนำนปช.คนสำคัญ และ 9.นายสมคิด เชื้อคง สส.อุบลราชธานี

“พรรคร่วมฯไม่แตกแถว”

ด้าน พรรคร่วมรัฐบาลที่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีส่วนใหญ่ลงมติเห็นชอบโดยมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ไม่ได้ร่วมลงมติ

พรรคชาติไทยพัฒนา มีสส.ลงมติเห็นชอบ 18 คนจากสส.ทั้งหมด 19 คน โดยมีรายชื่อดังนี้ 1.นายกรวีร์ ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง 2.นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร สส.พระนครศรีอยุธยา 3.นายชยุต ภุมมะกาญจนะ สส.ปราจีนบุรี 4.นายชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ สส.สุพรรณบุรี 5.นายชาดา ไทยเศรษฐ์ สส.อุทัยธานี 6.นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ สส.บัญชีรายชื่อ 7.นายตุ่น จินตะเวช สส.อุบลราชธานี 8.นายธานินทร์ ใจสมุทร สส.สตูล 9.นายนพดล มาตรศรี สส.สุพรรณบุรี

10.นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง สส.บัญชีรายชื่อ 11.น.ส.พัชรี โพธสุธน สส.สุพรรณบุรี 12.นายภราดร ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง 13.นายยุทธพล อังกินันท์ สส.บัญชีรายชื่อ 14.นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ สส.พิจิตร15.นายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รมช.เกษตรและสหกรณ์และสส.พิจิตร 16.นายฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธ์ศิริกุล สส.บัญชีรายชื่อ 17.นายสรชัด สุจิตต์ สส.สุพรรณบุรี และ18.พ.ท.สินธพ แก้วพิจิตร สส.นครปฐม โดยสส.ที่ไม่ได้ลงมติ 1 คน คือ นางปารีณา ไกรคุปต์ สส.ราชบุรี

พรรคชาติพัฒนา มีสส.ลงมติเห็นชอบ 6 คนจากสส.ทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วย 1.นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง สส.บัญชีรายชื่อ 2.ร้อยตรี ประพาส ลิมปะพันธุ์ สส.บัญชีรายชื่อ 3.นายประสาท ตันประเสริฐ สส.นครสวรรค์ 4.นายพลพีร์ สุวรรณฉวี สส.นครราชสีมา 5.นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล สส.นครราชสีมา 6.นายวัชรพล โตมรศักดิ์ สส.นครราชสีมา โดยสส.ที่ไม่ได้ร่วมลงมติ คือ นายประเสริฐ บุญชัยสุข รมว.อุตสาหกรรม และ สส.นครราชสีมา          

พรรคพลังชล มีสส.ลงมติเห็นชอบ 6 คนจากสส.ทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วย 1.นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ สส.ชลบุรี 2.นายพันธุ์ศักดิ์ เกตุวัตถา สส.ชลบุรี 3. นายรณเทพ อนุวัฒน์ สส.ชลบุรี 4. นายสันตศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์ สส.บัญชีรายชื่อ 5. นายสุชาติ ชมกลิ่น สส.ชลบุรี 6.นายอุกฤษณ์ ตั๊นสวัสดิ์ สส.ชลบุรี ขาดเพียง นางสุกุมล คุณปลื้ม สส.ชลบุรี         

"ภูมิใจไทย"ร่วมขบวนการสุดซอย

การลงมติในครั้งนี้มีความน่าสนใจอยู่การออกเสียงของพรรคภูมิใจไทย เพราะมีสส.ร่วมลงมติเห็นชอบ 29 คนจากจำนวนสส.ทั้งหมด 33 คน ได้แก่ 1.นายจักรกฤษณ์ ทองศรี สส.บุรีรัมย์ 2.นายจักรวาล ชัยวิรัตน์นุกูล สส.สุโขทัย 3.น.ส.ชะวรลัทธิ์ ชินธรรมมิตร สส.ราชบุรี 4.นายชัย ชิดชอบ สส.บัญชีรายชื่อ 5.นางนันทนา สงฆ์ประชา สส.ชัยนาท 6.นางนาที รัชกิจประการ สส.บัญชีรายชื่อ 7.นายบุญดำรง ประเสริฐโสภา สส.ราชบุรี 8.นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา สส.ราชบุรี 9.นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร สส.สุรินทร์ 10.นายประนอม โพธิ์คำ สส.นครราชสีมา     

11.นางเพชรินทร์ เสียงเจริญ สส.ปราจีนบุรี 12.นายมนต์ไชย ชาติวัฒนศิริ สส.บุรีรัมย์ 13.นายมนู พุกประเสริฐ  สส.สุโขทัย 14. นางสาวมัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช สส.ลพบุรี 15.นายมานิต นพอมรบดี สส.ราชบุรี 16.นายรังสิกร ทิมาตฤกะ สส.บุรีรัมย์ 17.นายรุ่งโรจน์ ทองศรี สส.บุรีรัมย์ 18.นางสาวเรวดี รัศมิทัต สส.สมุทรปราการ 19.นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค สส.บัญชีรายชื่อ           

20.นายวัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ สส.สระบุรี 21.นายวิสิทธิ์ พิทยาภรณ์ สส.นครราชสีมา 22.นายวุฒิชัย กิตติธเนศวร สส.นครนายก 23.นายศุภชัย ใจสมุทร สส.บัญชีรายชื่อ 24.นายสนอง เทพอักษรณรงค์ สส.บุรีรัมย์ 25.นายสมมุติ เบ็ญจลักษณ์ สส.ปัตตานี 26.นายโสภณ ซารัมย์ สส.บุรีรัมย์ 27.นายอำนาจ วิลาวัลย์ สส.ปราจีนบุรี 28.นางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ สส.ศรีสะเกษ 29.นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย สส.ชัยภูมิ

ทั้งนี้มีสส.พรรคภูมิใจไทยไม่ร่วมลงมติ จำนวน 4 คน คือ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล สส.บัญชีรายชื่อ นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ สส.นครราชสีมา นางพรทิวา นาคาศัย สส.ชัยนาท และนางอารีญาภรณ์ ซารัมย์ สส.บุรีรัมย์

"บิ๊กบัง-ชูวิทย์"ไม่ร่วมลงมติ

ขณะที่ พรรคการเมืองขนาดเล็กที่มีสส.จำนวนไม่กี่คนนั้นมีทั้งในส่วนที่ลงมติเห็นชอบและไม่ใช้เอกสิทธิ์ในการร่วมลงคะแนน

พรรครักษ์สันติ มีสส.เพียงคนเดียว คือ ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรค ไม่ได้ร่วมลงมติ

พรรครักประเทศไทย ที่มีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ สส.บัญชีรายชื่อ เป็นหัวหน้าพรรค ปรากฏว่าสส.ของพรรคทั้งหมด 4 คน ไม่ได้ร่วมลงคะแนน

พรรคมาตุภูมิ มีสส.2 คนซึ่งรวมทั้งพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรค ไม่ได้ร่วมลงมติแต่อย่างใด แม้ว่าในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญพล.อ.สนธิ จะลงมติสนับสนุนร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯที่มีการปรับแก้ก็ตาม

พรรคประชาธิปไตยใหม่ มีสส.เพียงคนเดียว คือ น.ส.พัชรินทร์ มั่นปาน สส.บัญชีรายชื่อ ได้ลงมติเห็นชอบ

พรรคมหาชน มีสส.เพียงคนเดียว คือ นายอภิรัต ศิรินาวิน สส.บัญชีรายชื่อ ได้ลงมติเห็นชอบ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เส้นทาง ร่างกม.นิรโทษกรรม

view