สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ไปชุมนุมแล้วถูกจับจะต่อสู้ยังไง?

จาก โพสต์ทูเดย์

ไปชุมนุมแล้วถูกจับจะต่อสู้ยังไง?

โดย...ทีมข่าวในประเทศ

หากเจ้าหน้าที่รัฐลุแก่อำนาจ ... ประชาชนที่รวมตัวกันอยู่ใน “พื้นที่ความมั่นคง” เพื่อประกาศจุดยืนคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม มีโอกาสถูกจับกุมได้ทุกเมื่อ

ยิ่งหากเจ้าหน้าที่รัฐตัดสินใจบุกเข้าสลายการชุมนุม ... กระจายกำลังกวาดต้อนล้อมรวบชาวบ้านตาดำๆ เข้ากรงขัง โดยอ้างอำนาจตามกฎหมายความมั่นคงด้วยแล้ว แน่นอนว่า “ผู้เสียหาย” ยากจะต่อต้าน

แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีทาง “แข็งขืน” หรือไม่มีทาง“ต่อสู้” !!!

ถ้าคุณเดินทางไปร่วมม็อบด้วยความเชื่อ ด้วยศรัทธา ด้วยหัวใจอันบริสุทธิ์ และมั่นใจว่าตลอดการชุมนุมไม่เคยพกพาอาวุธ ไม่เคยละเมิดกฎหมาย ไม่เคยทำลายสมบัติสาธารณะ ไม่เคยทำร้ายเจ้าหน้าที่หรือใครผู้ใด

ถ้า 2 มือของคุณ ข้างหนึ่งถือมือตบ ข้างหนึ่งกุมนกหวีด ... มีเท่านั้นแล้วยังถูกจับ

โปรดฟังทางนี้...

มาตรา 63 แห่งรัฐธรรมนูญเรื่องเสรีภาพในการชุมนุม บัญญัติไว้ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก

นอกจากนั้นแล้ว ... ใครหน้าไหนก็ไม่สามารถจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนได้

สุรพงษ์ กองจันทึก กรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ อธิบายว่า ถ้าประชาชนมาร่วมชุมนุมตามสิทธิขั้นพื้นฐานโดยปราศจากอาวุธ ตามหลักการแล้วรัฐบาลไม่สามารถจำกัดสิทธิด้วยการประกาศเขตความมั่นคงได้

ที่สำคัญหากชาวบ้านมาแสดงออกโดยไม่ทำผิดกฎหมาย ไม่มีความรุนแรง ไม่ใช้การสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ชาวบ้านไม่ควรมีความผิดและไม่ควรถูกจับกุมแต่อย่างใด

“ถ้าเกิดปัญหาขึ้นระหว่างการชุมนุมจริง เจ้าหน้าที่รัฐควรเล่นงานแกนนำมากกว่าชาวบ้าน” สุรพงษ์ ระบุ

ทนายความรายนี้ อธิบายต่อไปว่า หากเจ้าหน้าที่รัฐสลายการชุมนุมจริงจำเป็นต้องแยกชาวบ้านออกเป็น 2 กลุ่ม  คือ

1.ชาวบ้านที่กระทำผิดกฎหมาย พกพาอาวุธ ทำร้ายเจ้าหน้าที่ ใช้ความรุนแรง หากเจ้าหน้าที่มีหลักฐานสามารถจับกุมได้โดยทันที

2.ชาวบ้านที่มาชุมนุมอย่างสงบสันติด้วยความบริสุทธิ์ใจ กลุ่มคนเหล่านี้มีช่องทางการต่อสู้

“ชาวบ้านเหล่านี้ไม่มีความรู้ทางกฎหมาย ไม่ทราบสิทธิของตัวเอง และเจ้าหน้าที่ก็ดำเนินการจับกุมโดยไม่เคยแจ้งสิทธิให้ทราบ จึงมีข้อแนะนำเพื่อให้สามารถต่อสู้ได้ตามกระบวนการทางกฎหมาย เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองโดยทนายความ” สุรพงษ์ กล่าว

สำหรับข้อแนะนำจาก กรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ประกอบด้วย

1.เจ้าหน้าที่ที่เข้ามาจับกุมประชาชนต้อง แสดงตัวอย่างชัดเจนว่าเป็นพนักงานรัฐและมีอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น ถ้าไม่มีความชัดเจนไม่ถือว่ามีอำนาจดำเนินการ

2.ผู้ที่ถูกจับกุมต้องถามเจ้าหน้าที่ว่า กระทำความผิดข้อหาอะไรและเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจอะไรมาจับ อย่างไรก็ตามหากเจ้าหน้าที่ชี้แจงไม่ชัดเจนแต่ยืนยันที่จะนำตัวไปยังโรงพัก แนะนำว่าอย่าขัดขืนหรือต่อสู้ใดๆ

3.เมื่อถูกควบคุมตัวมายังโรงพักแล้ว ให้ผู้ถูกจับกุมให้เฉพาะข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับตัวเอง อาทิ ชื่อ สกุล ที่อยู่ อาชีพ แก่เจ้าหน้าที่เท่านั้น ไม่ควรให้ข้อมูลอะไรมากกว่านี้ ที่สำคัญเมื่อถูกแจ้งข้อกล่าวหาให้รับทราบข้อกล่าวหาได้แต่ห้ามรับสารภาพโดย เด็ดขาด

4.ให้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าจะไม่ให้การเป็น คำพูด แต่จะขอให้การเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเอกสารแทน ซึ่งตามกรอบของกฎหมายกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการให้การเป็นลายลักษณ์อักษร ถึง 30 วัน

5.ให้ติดต่อทนายความเพื่อจัดทำคำให้การสำหรับต่อสู้คดีต่อไป

“กฎหมายบังคับให้ผู้ต้องหาต้องมีทนายความสำหรับต่อสู้คดีในชั้นศาลเท่า นั้น ส่วนชั้นสอบสวนหลังถูกจับกุมกฎหมายไม่ได้บังคับ นั่นจึงอาจเป็นเรื่องลำบากของชาวบ้านตาดำๆ ที่มาชุมนุมอย่างบริสุทธิ์ใจ ข้อแนะนำคือให้ญาติจ้างทนายความ หรือถ้าไม่มีกำลังให้ติดต่อมายังสภาทนายความเพื่อขอทนายอาสาเข้าไป” ทนายความรายนี้ระบุ

สอดคล้องกับคำแนะนำจาก พวงทิพย์ บุญสนอง หรือ ทนายมิ้นท์ ที่ระบุว่า เมื่อถูกดำเนินคดีในการสลายการชุมนุม ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง

1.ให้ผู้เสียหายโทรศัพท์ไปหาทนายความที่ไว้ใจ

2.ให้แจ้งพนักงานสอบสวนว่าต้องการทนายความ

3.ผู้เสียหายสามารถให้ข้อมูลเบื้องต้น เช่น ชื่อ นามสกุล อายุ อาชีพ ที่อยู่ โดยไม่ต้องให้รายละเอียดอื่น และให้ปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา

4.แจ้งพนักงานสอบสวนว่าจะให้การเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 30 วัน 5.ห้ามเซ็นชื่อในเอกสารทุกชนิด โดยพิมพ์ลายนิ้วมือได้ แต่ห้ามเซ็นชื่อในแบบพิมพ์ลายนิ้วมือจนกว่าทนายความจะมา

สำหรับสภาทนายความ ตั้งอยู่ถนนราชดำเนิน โดยเปิดทำการตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30-16.30 น. ส่วนในต่างจังหวัดมีสภาทนายความประจำจังหวัดเช่นกัน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ไปชุมนุม ถูกจับ ต่อสู้ยังไง

view