http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

การขยายบทบาทของจีนและญี่ปุ่นในพม่า ผ่านโครงการท่าเรือสำคัญ

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เลียบรั้วเลาะโลก

โดย ขวัญใจ เตชเสนกุล ผอ.ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธสน.


จีน และญี่ปุ่น 2 ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของเอเชีย ต่างให้ความสำคัญในการรุกคืบขยายบทบาททางเศรษฐกิจเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียน เห็นได้จากจีนเป็นตัวตั้งตัวตีสำคัญร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) ในการรวมกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS)

ขณะที่ญี่ปุ่นเดินหน้าจัดตั้งความร่วม มือMekong-Japan Cooperation เพื่อสร้างความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับไทยและกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม) หลังจากกลุ่มประเทศ CLMV มีแนวโน้มเปิดรับการค้าการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ทั้งจีนและญี่ปุ่นก็ไม่พลาดที่จะคว้าโอกาส

โดยเฉพาะพม่าที่กำลัง เนื้อหอม "คอลัมน์เลียบรั้วเลาะโลก" ฉบับนี้ จะนำท่านผู้อ่านไปสำรวจบทบาทของจีนและญี่ปุ่นในพม่าจากโครงการท่าเรือสำคัญ 3 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือจ้าวผิ่ว (Kyaupyu) ท่าเรือติละวา(Thilawa) และท่าเรือทวาย (Dawei)

โครงการท่าเรือจ้าวผิ่ว ตั้งอยู่ในรัฐยะไข่ห่างจากเมืองย่างกุ้งราว 400 กิโลเมตร ได้รับการสนับสนุนอย่างเงียบ ๆ จากจีนมาตั้งแต่ปี 2552 มีพื้นที่กว่า 120 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึก พื้นที่อุตสาหกรรมปิโตรเลียม ท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงเส้นทางรถไฟยาว 1,160 กิโลเมตร เชื่อมต่อท่าเรือจ้าวผิ่วกับมณฑลยูนนานของจีน มูลค่าโครงการลงทุนรวม 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ กำหนดแล้วเสร็จในปี 2560 ปัจจุบันท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์

ทั้งนี้ จีนตั้งใจให้โครงการนี้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของประตูสู่ทะเลทิศตะวัน ตกรวมถึงเป็นท่าเรือที่ใช้นำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลางและแอฟริกา ตลอดจนอาจใช้เป็นเส้นทางส่งออกสินค้าที่มีฐานการผลิตอยู่ในมณฑลฝั่งตะวันตก ของจีนไปยุโรปและเอเชียใต้

โครงการท่าเรือติละวา ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมืองย่างกุ้งราว 25 กิโลเมตร มีญี่ปุ่นเป็นผู้สนับสนุนหลักผ่าน 3 บริษัท ได้แก่ Mitsubishi, Marubeni และ Sumitomo โครงการนี้มีพื้นที่ 24 ตารางกิโลเมตร (คลัสเตอร์ A มีพื้นที่ 4 ตารางกิโลเมตร และคลัสเตอร์ B มีพื้นที่ 20 ตารางกิโลเมตร) ประกอบด้วยท่าเทียบเรือ โรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่ธุรกิจค้าปลีก และพื้นที่วางตู้คอนเทนเนอร์

ในส่วนของ Cluster A จะแล้วเสร็จในปี 2558 ส่วนหนึ่งจะเป็นโรงงานผลิตรถยนต์ของ Suzuki แม้โครงการนี้มีจุดแข็ง
ที่ อยู่ใกล้กับเมืองย่างกุ้ง ซึ่งดึงดูดภาคธุรกิจให้เข้ามาลงทุน รวมถึงใช้เป็นจุดนำเข้าสินค้า แต่ระดับน้ำบริเวณท่าเรือติละวามีความลึกเพียง 9 เมตร จึงเป็นข้อจำกัดในการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก

โครงการท่าเรือทวาย อยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้งราว 610 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ เพียง 330 กิโลเมตร ทำให้รัฐบาลไทยให้ความสำคัญและใช้เป็นยุทธศาสตร์ท่าเรือน้ำลึกฝั่งตะวันตก โดยยกระดับโครงการเป็นรัฐต่อรัฐ (G to G) จากเดิมเป็นระดับเอกชน โครงการนี้มีพื้นที่มากถึง 204 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยท่าเรือน้ำลึก และพื้นที่อุตสาหกรรม

ความคืบหน้าล่าสุดมีการจัดตั้ง SPV (Special Purpose Vehicle) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลพม่า ทำหน้าที่ดูแลภาพรวมและคัดเลือกนักลงทุน

ขณะที่ญี่ปุ่นแม้แสดงท่าที สนใจ แต่ยังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เนื่องจากหันไปให้ความสำคัญกับการพัฒนาท่าเรือติละวาเป็นหลัก อีกทั้งคาดว่าโครงการนี้ต้องใช้

เม็ดเงินลงทุนสูงถึง 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้ระยะเวลาพัฒนาอีกนานพอสมควร แต่หากญี่ปุ่นต้องการลงทุนในอุตสาหกรรมหนัก อาจหันมาสนใจท่าเรือทวายที่มีพื้นที่รองรับ ประกอบกับท่าเรือทวายยังเป็นเส้นทางโลจิสติกส์สำคัญเชื่อมโยงกับ Eastern Seaboard ของไทย ซึ่งนักธุรกิจญี่ปุ่นเข้าไปลงทุนเป็นจำนวนมากแล้ว

ปัจจุบัน จีนเป็นผู้ลงทุนอันดับ 1 ในพม่า มีสัดส่วนถึง 32% ขณะที่ญี่ปุ่นอยู่ในอันดับ 11 มีสัดส่วนไม่ถึง 1% แต่ผู้เขียนมองว่าหลังจากนี้เม็ดเงินลงทุนจากญี่ปุ่นน่าจะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากโอกาสการลงทุนในพม่ายังมีอยู่มาก ทั้งความพร้อมด้านทรัพยากร พื้นที่ และแรงงาน เหลือเพียงระบบสาธารณูปโภค และปรับปรุงกฎระเบียบต่าง ๆ ให้เป็นสากล

ทั้งนี้ สถานการณ์ที่จีนและญี่ปุ่นเข้าไปลงทุนในพม่าเป็นจำนวนมาก น่าจะส่งผลดีต่อการค้าการลงทุนของไทยในฐานะเพื่อนบ้านและหุ้นส่วนเศรษฐกิจ

โดย เฉพาะโอกาสจากการค้าชายแดนและการลงทุนในอุตสาหกรรมหนักที่ไทยเผชิญข้อจำกัด อยู่ ตลอดจนประโยชน์จากการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์จากท่าเรือฝั่งตะวันตกของพม่า ถึง 4 ท่า (รวมท่าเรือย่างกุ้ง)

แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าไทยอาจต้องเผชิญกับปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรงด้วยเช่นกัน หากแรงงานพม่าย้ายกลับไปทำงานในประเทศของตนมากขึ้น

Disclaimer : คอลัมน์นี้เผยแพร่เพื่อให้ความรู้ ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคลจึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของ ธสน.


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : การขยายบทบาท จีนและญี่ปุ่น พม่า โครงการท่าเรือสำคัญ

view

*

view