http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

คอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง บนเส้นทางสร้างสรรค์ เป็นธรรม

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ คิดนอกกรอบ โดย ชัย วัชรงค์

จาก ที่ผมศึกษาข้อมูลของระบบคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งในช่วงที่ผ่านมา พบว่าสื่อมักรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมาในเชิงลบราว 80% ซึ่งสวนทางกับสิ่งที่ผมพบเจอมาตลอดอายุการทำงานในแวดวงปศุสัตว์เกษตรกว่า 30 ปี โดยเฉพาะการจับเอาประเด็นลบสุดขั้วเรื่องนี้มาวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้มีความรู้สึกคล้อยตาม เพราะดูแล้วระบบนี้เลวร้าย ไม่น่าส่งเสริม ทั้ง ๆ ความจริงแล้ว "คอนแทร็กต์ฟาร์ม มิ่ง" นั้นเป็น นวัตกรรมทางเกษตร ที่จะสร้างประโยชน์ให้ทั้งผู้ประกอบการและเกษตรกรในรูปแบบที่เรียกว่า "วิน-วิน" ด้วยกันทั้งสองฝ่าย

ก่อนหน้าที่จะมีระบบคอนแทร็กต์ฟาร์ม มิ่งบริษัทไหนใคร่ทำใคร่ค้า ก็ทำกันไปเลย บริษัทใหญ่ ๆ รายไหนรายนั้นล้วนทำระบบนี้กันทั้งสิ้น ดังนั้นในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรรายย่อยจะสู้บริษัทผู้ประกอบการเหล่านี้ไม่ได้เลย เพราะ เกษตรกรรายย่อยจะมีจุดอ่อน คือไม่มีองค์ความรู้ เข้าถึงแหล่งทุนค่อนข้างยาก ไม่มีอำนาจต่อรอง ไม่สามารถซื้อปัจจัยการผลิตในราคาถูก เรียกว่าเสียเปรียบเรื่องตลาด และเมื่อเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนเครื่องมือให้ทันสมัย จึงได้ผลผลิตที่ต่ำ ทำออกมาแล้วตลาดไม่มีคนซื้อ ต้องไปเร่ขาย แต่จุดแข็ง ก็คือมีที่ดิน มีแรงงานของตัวเอง

ด้านผู้ประกอบการหรือเกษตรกรรายใหญ่ จะมีข้อได้เปรียบหลายด้านที่มาชดเชยรายย่อยได้ คือการมีเทคโนโลยี ความสามารถในการเข้าถึงแหล่งทุน การมีระบบบริหารจัดการที่ดี ตลอดจนมีตลาดที่เหนือกว่ารายย่อยค่อนข้างมาก แต่จุดอ่อนของผู้ประกอบการ ก็คือไม่มีที่ดิน ถ้าบริษัทจะทำฟาร์มเองทั้งหมด ก็ต้องระดมทุนไปซื้อที่ดินมหาศาล แต่ถ้าเอาเงินไปจมกับการซื้อที่ดิน การขยายธุรกิจก็จะเป็นไปได้ช้า อีกทั้งหากขยายธุรกิจมาก ๆ ก็จะเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานตามมา

เมื่อต่างคนต่างมีจุดอ่อนจุดแข็ง คนละด้าน จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะเข้ามาเติมเต็มซึ่งกันและกันได้ และกลายเป็นที่มาของแนวคิด "คอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง" ที่ทั้งสองฝ่ายจะจับมือกันเพื่อทำธุรกิจร่วมกัน

ระบบคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งจึงเป็นนวัตกรรมทางการเกษตร ที่เกิดจากการร่วมมือกันของรายใหญ่กับรายเล็ก โดย รายเล็กผลิต รายใหญ่รับซื้อ รับประกันตลาด และป้อนเทคโนโลยีให้ สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานเมื่อปี 2553 ว่า เกษตรกรในระบบคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งทั้งประเทศ มีอยู่ราว 1.5 แสนราย แต่ในข้อเท็จจริงน่าจะมีกลุ่มที่ไม่ได้จดทะเบียนด้วย หรืออาจกล่าวได้รวม ๆ ว่า เกษตรกรในระบบนี้น่าจะมีราว 2 แสนราย

ในจำนวนนี้เป็นคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งที่มีสัญญาจริง ๆ ไม่น่าเกิน 3 หมื่นราย คำว่า "มีสัญญาจริง ๆ" หมายถึงการทำงานของบริษัทขนาดใหญ่กับเกษตรกรที่มีเงื่อนไขการเข้าร่วม โครงการอย่างชัดเจน เช่น ถ้าจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกัน เกษตรกรต้องมีที่ดินเป็นของตัวเอง ซึ่งต้องไม่ใช่ที่ดินในเขตป่าสงวนฯ เกษตรกรต้องมีทุนของตัวเอง 30% ประวัติต้องไม่เสีย เช่น ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติด หรือต้องโทษคดีอาญา

นอกจากนี้ เกษตรกรจะต้องมีแรงงานในครอบครัวอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ขณะที่เกษตรกรในระบบ "แบบไม่มีสัญญาจริง ๆ" ก็จะหมายถึงการทำงานของผู้ประกอบการรายกลาง ๆ และรายใหญ่ที่ไม่ใหญ่มาก อาจเป็นพวกเอเย่นต์ขายสินค้าเกษตร ที่เห็นบริษัทใหญ่มีการทำระบบนี้จึงลงมือทำบ้าง โดยกลุ่มนี้จะไม่มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร และมีรูปแบบที่แตกต่างจากของบริษัทขนาดใหญ่ เช่น พ่อค้ารับซื้อพืชผลทางการเกษตรที่ต้องการผลผลิตที่แน่นอน ก็นำปัจจัยการผลิตไปให้ก่อนแล้วรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร กลุ่มนี้จะไม่มีมาตรฐานสูงเหมือนกลุ่มแรก เกษตรกรไม่ต้องลงทุนมากเหมือนกลุ่มแรก เกษตรกรมีโรงเรือนเปิด นายทุนท้องถิ่นก็เอาหมูไปให้ เอาอาหารไปให้โดยไม่ต้องมีเงื่อนไขอะไรมากมาย ลักษณะนี้เรียกว่า "ปล่อยเกี๊ยว" เป็นรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ และกลุ่มคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งในลักษณะนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก และมากกว่ากลุ่มที่มีสัญญาอย่างเป็นทางการมาก

ลองมาเจาะลึกในกลุ่ม ที่เป็นทางการและมีสัญญาจริง ๆ ดูบ้าง ซึ่งในกลุ่มนี้ก็ยังแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.กลุ่มที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม คือบริษัทขนาดใหญ่ที่มีองค์ความรู้ มีนักวิชาการเข้าไปส่งเสริมเกษตรกร มีการส่งกำลังบำรุงให้เกษตรกรเลี้ยงอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม

บริษัทในกลุ่มนี้จะเชื่อ ว่าการแบ่งงานกันทำระหว่างบริษัทกับเกษตรกรจะต้อง "วิน-วิน" ด้วยกันทั้งสองฝ่าย หากบริษัทเอาเปรียบเกษตรกรจะไปไม่รอดด้วยกันทั้งคู่

2.กลุ่ม ที่มีสัญญาเหมือนกันแต่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เป็นธรรม เช่น บางบริษัทที่เมื่อไปสนับสนุนเกษตรกรแล้ว แต่ไม่มีการพัฒนาพันธุ์สัตว์ให้ดี ไม่มีฝ่ายวิชาการเข้าไปให้ความรู้ อาหารสัตว์ที่ผลิตมาก็คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน หรือเวลาที่ภาวะตลาดแย่ กลุ่มนี้ก็ลดกำลังผลิตโดยไม่สนใจว่าจะกระทบเกษตรกรอย่างไร

กรณีนี้ เกิดจากผู้ประกอบการไม่มีคุณธรรม หรือในทางกลับกัน เกษตรกรก็อาจเป็นฝ่ายผิดสัญญา แอบนำผลผลิตไปขายให้ผู้ประกอบการรายอื่นก็เป็นได้

การพิจารณาระบบ คอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งคงจำเป็นต้องเจาะลึกอย่างรอบคอบ เพราะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก และไม่ควรวิพากษ์วิจารณ์แบบเหมารวม เพราะจะไม่สามารถเดินไปสู่ระบบนี้บนเส้นทางสร้างสรรค์เป็นธรรมได้ เลย ดังเช่นที่นักวิชาการบางคนระบุถึงเกษตรกรไทยมีหนี้สินน่าเป็นห่วงนั้นมีอยู่ ราว 2 ล้านครัวเรือน แล้วเชื่อมโยงว่าเป็นเพราะระบบคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง

ขณะที่ในโลกความเป็นจริง เกษตรกรของไทยมีอยู่ 5.8 ล้านครัวเรือน แต่ที่เป็นเกษตรกรในระบบคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งมีเพียง 2 แสนครัวเรือนดังกล่าวแล้วข้างต้น ดังนั้น เกษตรกรที่เหลืออีก 5.6 ล้านครัวเรือน ก็คือเกษตรกรอิสระ คำกล่าวที่ว่า คอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งทำให้เป็นหนี้สิน นั้น จึงเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่ห่างไกลจากข้อเท็จจริง

ผมมีตัวเลขของ เกษตรกรคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งของบริษัทแห่งหนึ่งที่มีอยู่ราว 5,000 ราย ในจำนวนนี้ประสบความสำเร็จในอาชีพสูงถึง 95% คือสามารถชำระหนี้ธนาคารจนครบ ส่งเสียลูกเรียนสูง ๆ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ส่วนอีก 3% ไม่ประสบผลสำเร็จ จากเหตุสุดวิสัย เช่น ไม่มีทายาทสืบทอด หรือประสบอุบัติเหตุ หรือถูกเวนคืนที่ดิน เป็นต้น จะมีเพียง 2% เท่านั้นที่ล้มเหลวเพราะความไม่ซื่อสัตย์

ตัวเลขนี้สะท้อนชัดเจนว่ากลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จมีมากกว่าที่ล้มเหลว มากนัก แล้วทำไมการนำเสนอข้อมูลที่ผ่านมาจึงเทน้ำหนักไปในเชิงลบ โดยอาศัยข้อมูลจากเกษตรกรส่วนน้อยเป็นหลัก

ข้อกล่าวหาเชิงลบอีกข้อ ที่ว่าภาคธุรกิจเอาเปรียบเกษตรกร อย่าลืมว่าคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งคือการทำธุรกิจ ไม่ใช่การทำมูลนิธิ ทั้งผู้ประกอบการและเกษตรกรต่างก็ต้องการผลประโยชน์ทั้งคู่ จึงต้องเกื้อกูลกัน

คนที่เป็นนักธุรกิจสมัยใหม่จะเชื่อว่าไม่จำเป็นต้องเอาเปรียบ เพราะการจัดการที่ดี องค์ความรู้ที่ดี ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตด้วยการแบ่งปันกับเกษตรกร จะก่อประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายที่จะต้องอยู่ด้วยกันไปอีกนาน ดีกว่าการเอาเปรียบที่รังแต่จะบั่นทอนความสัมพันธ์ให้สั้นลง

สำหรับ ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ว่า คอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งจะเร่งการผลิต ต้องใช้ยาและสารเคมีมากกว่าปกติ ในข้อเท็จจริงคือตรงกันข้าม เพราะการผลิตสมัยใหม่ใช้ยาน้อย ใช้สารเคมีน้อย เนื่องจากต้องการลดต้นทุน

ภาค ธุรกิจที่มีองค์ความรู้จะใช้ระบบการจัดการ ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ต้องใช้ยา ใช้การผลิตอย่างก้าวหน้ากับเกษตรกรในระบบคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง ก่อให้เกิดมลพิษจากการปล่อยของเสียและสารเคมีน้อยกว่าการเลี้ยงของเกษตรกร ทั่ว ๆ ไปที่ไม่มีมาตรฐานมากำหนด

ถ้าจะมองคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่งอย่าง สร้างสรรค์ เป็นธรรม ไม่ว่าสื่อหรือนักวิชาการ ตลอดจนเอ็นจีโอ ต้องเริ่มจากการวางทัศนคติที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ศึกษาทั้งด้านบวกและลบของระบบ ตลอดจนมีความจริงใจกับข้อมูลที่ได้เห็น และบอกกับสังคมอย่างตรงไปตรงมาว่าระบบนี้เป็นอย่างไร

ผม เห็นด้วยอย่างยิ่งที่ควรมี "เครือข่ายคอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง" หรือ "เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา" แต่ต้องเป็นเครือข่ายที่มองระบบนี้อย่างสร้างสรรค์ รัฐบาลควรให้งบฯสนับสนุนเพื่อให้เกิดการศึกษาและสะท้อนภาพที่เป็นจริงออกมา ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดสัญญากลางที่เป็นธรรม เพื่อให้นวัตกรรมทาง ธุรกิจการเกษตรสร้างประโยชน์ต่อทุกฝ่ายได้อย่างยั่งยืน ไม่กลายเป็นแพะที่ถูกกล่าวหา และปรากฏแต่เรื่องราวดราม่าเก่า ๆ เช่นที่ผ่านมา


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : คอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง เส้นทางสร้างสรรค์ เป็นธรรม

view

*

view