สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เวิลด์แบงก์-IMF ชี้ปัจจัยเสี่ยงไทย หวั่นลงทุน 2 ล้าน ล.สะดุดฉุดจีดีพี

จากประชาชาติธุรกิจ

เมื่อการชุมนุมคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับสุดซอย ขยายปมสู่การประท้วงขับไล่รัฐบาล ขณะที่กลุ่มคนเสื้อแดงก็ออกมาสนับสนุนรัฐบาล และเดินหน้าเติมเชื้อไฟจนหลายฝ่ายเกรงว่าจะนำไปสู่ความรุนแรง ทั้งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังอยู่ในช่วงชะลอตัว ทำให้นักเศรษฐศาสตร์จากสำนักต่าง ๆ ทั้งของไทยและเทศออกมาแสดงความเป็นห่วง และเสนอมุมมองในแง่ต่าง ๆ ดังนี้

"เวิลด์แบงก์" ชี้รัฐบาลเปลี่ยนขั้ว 2 ล้าน ล.สะดุด

ดร.กิ ริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสธนาคารโลก (World Bank) กล่าวถึงสถานการณ์ผลกระทบทางการเมืองไทยในปัจจุบันว่า ระยะสั้นมีผลกระทบแน่นอน ทั้งการท่องเที่ยว ความเชื่อมั่นของประชาชนและนักธุรกิจ แต่หากสถานการณ์ไม่รุนแรงและไม่นำไปสู่การปิดสนามบินเหมือนการชุมนุมที่ผ่าน มา ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจก็อาจไม่มากนัก

แต่ถ้าการชุมนุมนำไปสู่ การเปลี่ยนขั้วรัฐบาลในอนาคต สิ่งที่จะกระทบแน่นอนคือแผนการลงทุนต่าง ๆ มีผลให้ต้องถูกเลื่อนออกไป อาทิ โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท และจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมอย่างแน่นอน

"หากมีการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองจากการเลือกตั้งใหม่ โครงการลงทุนที่วางไว้อาจไม่ใช่ 2 ล้านล้านบาท และเปลี่ยนเป็นโครงการอื่น ๆ ถือเป็นความเสี่ยงด้านการลงทุนกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า"

หาก มองระยะยาวขึ้น เวลามีความไม่แน่นอนทางการเมืองเกิดขึ้น และมีการเลือกตั้งใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพรรคไหนมา สิ่งที่ประชาชนและนักลงทุนห่วงคือ ทุกพรรคจะเน้นนโยบายระยะสั้น


มากกว่าการเน้นการลงทุนแบบระยะยาว เพื่อหวังที่จะได้รับเลือกตั้งเข้ามา ดังนั้นอาจส่งผลให้ประเทศขาดนโยบายที่จะพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน นี่คือที่เป็นห่วงมากกว่า

นอกจากนี้ ดร.กิริฎากล่าวว่า จากที่ธนาคารโลกประเมินว่าปี 2557 โครงการ 2 ล้านล้านบาทจะมีการเบิกจ่ายระดับหมื่นล้านบาท

ดัง นั้นหากโครงการถูกเลื่อนออกไป เชื่อว่าจะมีผลกระทบ แต่คงไม่มาก แต่จะกระทบต่อเป้าหมายในระยะยาวโดยเฉพาะปี"58 เป็นต้นไป ที่คาดว่าจะเห็นการเบิกจ่ายจากโครงการลงทุน 2 ล้านล้านบาทต่อปีไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท ดังนั้นเม็ดเงินที่จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาครัฐจะหายไป

"หาก รัฐไม่ลงทุน เอกชนก็จะไม่ลงทุนด้วย เป็นสิ่งที่น่ากลัว 3-4 ปีข้างหน้าก็จะไม่เห็นการเติบโตของเศรษฐกิจตามที่หลาย ฝ่ายตั้งเป้าไว้ว่าจะโตเกิน 5% ตอนนี้ธนาคารโลกประเมินจีดีพีไทยปี"57 ไว้ที่ 4.5% ส่วนหนึ่งฝากความหวังไว้กับเศรษฐกิจโลก หวังว่า

การส่ง ออกฟื้นและเติบโตมากกว่าปีนี้ที่โตแค่ 1% ตอนนี้เริ่มมีปัจจัยฉุดใหม่ เช่น การนำเข้า ที่ตัวเลขปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากการลงทุนที่หายไป ซึ่งจะนำมาคำนวณจีดีพีของไทยอีกครั้ง"

สศค.หวั่นลงทุนรัฐสะดุดทุบจีดีพี

ด้าน นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค.อยู่ระหว่างการทบทวนตัวเลขจีดีพีปี"56 อีกครั้งในเดือน ธ.ค.นี้ จากเดิมประเมินไว้ที่ 3.7% โดยปัจจัยใหม่ที่ต้องนำมาพิจารณาคือปัจจัยทางการเมือง ซึ่งต้องรอดูตัวเลขเศรษฐกิจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ หรือ สศช. ประกาศในวันที่ 18 พ.ย.นี้

รวมถึงตัวเลขการส่งออกไตรมาส 4

หาก สถานการณ์ทางการเมืองรุนแรงขึ้นจนกระทบการลงทุนของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุน 2 ล้านล้านบาท ก็เสี่ยงที่จีดีพีปี"57 จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ 5.1% อาจเติบโตเแค่ 3-4%

ความเสี่ยงอีกด้านคือ ภาวะผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่ภาพการฟื้นตัวยังไม่ชัดเจน ทำให้ไทยต้องเตรียมพร้อมด้านการลงทุนให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะช่วงที่ผ่านมาไทยขาดการเติบโตด้านเศรษฐกิจ การลงทุนถือเป็นหัวใจสำหรับเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า

ขณะที่ด้าน การเงิน เชื่อว่าความผันผวนของการเงินโลกปี"57 จะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจากปีนี้ จะมีเงินไหลเข้าไหลออกค่อนข้างผันผวน ดอกเบี้ยจะผันผวนมากขึ้น ไทยจึงต้องเตรียมรับความผันผวน แม้ปัจจุบันประเทศค่อนข้างมีเสถียรภาพ ทุนสำรองระหว่างประเทศสามารถรองรับความผันผวนในปัจจุบันได้ นักลงทุนต่างชาติห่วงเสถียรภาพการเมือง

นางสาวเซียวเมง แทน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงทางธุรกิจและเศรษฐกิจไทยที่ธนาคารติดตามใกล้ชิดขณะนี้คือ เสถียรภาพทางการเมือง

เพราะนักลงทุนต่างชาติจำนวนมากสนใจและจับตา มองประเด็นนี้ โดยเฉพาะนักลงทุนที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะเลือกประเทศใดในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้เพื่อเข้ามาลงทุน เพราะนอกจากประเทศไทยก็ยังมีมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม

"ยิ่งมีภาพการชุมนุมการประท้วงในไทยถูกเผยแพร่สู่นานาชาติ ก็ยิ่งไม่เป็นผลดีกับไทยเลย" นางสาวเซียวเมงกล่าว

นอก จากนี้ ไทยยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีผลต่อการส่งออกและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค.ที่ผ่านมา เอชเอสบีซีได้ประกาศปรับลดการคาดการณ์จีดีพีลงมาอยู่ที่ 2.8% จากเมื่อต้นปีให้ไว้ที่ 6.5%

ผลจากที่เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลง อย่างมากในไตรมาส 2 จนเข้าสู่การถดถอยทางเทคนิค และการชะลอตัวของภาคการส่งออกซึ่งมีปัจจัยจากเศรษฐกิจจีนชะลอตัวเข้ามาสมทบ

อย่าง ไรก็ตาม ขณะนี้ต่างชาติใสนใจและจับตาดูการผลักดันโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาทอย่างมากว่า รัฐบาลจะสามารถผลักดันให้โครงการนี้เกิดขึ้นได้หรือไม่

"เรื่องนี้ สำคัญต่อการกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศ ไทยอย่างมาก เป็นโครงการที่จะดึงดูดการลงทุนของต่างชาติทั้งระยะกลางและระยะยาวได้อีก มาก"

"ไอเอ็มเอฟ" เสนอทางออกรัฐบาลไทย

ขณะที่กองทุน การเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ออกรายงานเศรษฐกิจประจำปีของประเทศไทย ระบุว่า แม้รัฐบาลไทยตั้งเป้าจะใช้งบประมาณสมดุลภายในปีงบประมาณ 2560 และรักษาสัดส่วนหนี้สาธารณะให้ต่ำกว่า 50% ของจีดีพี แต่จากการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ทำให้มูลค่าการขาดดุลการคลังของรัฐบาลจะเพิ่มเป็น 3.4% ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2556

(จาก 1.7% ในปี 2554) สาเหตุจากการลดอัตราภาษีนิติบุคคล และมาตรการลดหย่อนภาษีหลายกรณี เช่น รถยนต์คันแรก หรือภาษีสรรพสามิตน้ำมันยิ่งไปกว่านั้น การขาดดุลโดยรวมของภาครัฐ (ครอบคลุมถึงโครงการลงทุนนอกงบประมาณ) คาดว่าจะพุ่งจาก 1.5% ของจีดีพี
ในปีงบประมาณ 2554 เป็น 4.2% ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2557 ส่วนหนี้สาธารณะคาดว่าจะเกิน 53% ของจีดีพีในปีงบประมาณ 2561

ไอ เอ็มเอฟชี้ด้วยว่า ความไม่แน่นอนและขาดแคลนข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับโครงการรับจำนำข้าว บั่นทอนความเชื่อมั่นที่มีต่อฐานะการคลังของไทย เนื่องจากราคารับจำนำสูงกว่าราคาตลาดถึง 40% จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐบาลจะต้องแบกรับการขาดทุน ตราบเท่าที่โครงการยังดำเนินต่อไป

เพื่อบรรลุเป้าหมายการคลังที่รัฐบาลไทยวางไว้ ไอเอ็มเอฟแนะให้ไทยออกมาตรการลดดุลการคลัง และวางแผนจัดสรร

งบ ประมาณตามลำดับความสำคัญ อาทิ ลดการอุดหนุนพลังงาน และใช้มาตรการให้เงินช่วยเหลือแก่ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำโดยตรงแทนที่ โครงการรับจำนำข้าว พร้อมเสนอปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมถึงภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตลอดจนขยายฐานภาษีเงินได้ผ่านการยกเลิกค่าลดหย่อนต่าง ๆ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เวิลด์แบงก์-IMF ปัจจัยเสี่ยงไทย ลงทุน 2 ล้าน ล. สะดุด ฉุดจีดีพี

view