สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เศรษฐกิจจีนหลังการประชุม CPC Central Committee

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ช่วยกันคิด โดย สกุณา ประยูรศุข

เหมือนจะกลายเป็นความสนใจอย่างยิ่ง สำหรับการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 18 (CPC Central Committee) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ระหว่างวันที่ 9-12 พฤศจิกายน 2556 ที่ผ่านมา

ต้อง ยอมรับว่าหลายหน่วยงาน หลายองค์กร เฝ้าจับตาผลการประชุมครั้งนี้ ประการหนึ่ง เพราะความยิ่งใหญ่ของจีนที่ขณะนี้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจในเรื่องเศรษฐกิจ ด้วยกำลังซื้อที่มากมายมหาศาล ด้วยจำนวนประชากรที่มากถึง 1,341 ล้านคน หรือมากที่สุดในโลกก็ว่าได้ อีกประการนั้นต้องยอมรับว่า จีนมีระบบบริหารจัดการเศรษฐกิจที่รวดเร็ว และแก้ปัญหาได้ตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัว หรือค่าเงินหยวน อย่างที่ปรากฏให้เห็นในระยะที่ผ่านมา

สำหรับผลการประชุมครั้งนี้สรุป โดยรวม คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดที่ 18 เน้นว่า เป้าหมายโดยรวมของการปฏิรูปทุกด้านใน ระดับลึก

กล่าวคือต้องลงลึก ปฏิรูปเศรษฐกิจ โดยยึดมั่นในบทบาทสำคัญของ การตลาด ต่อการจัดสรรทรัพยากร ต้อง ปฏิรูปการเมือง ให้ลุ่มลึก โดยยึดมั่นในความกลมกลืนสมานฉันท์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่เป็นพรรค รัฐบาล ประชาชนที่เป็นเจ้าของประเทศ และปกครองบริหารประเทศตามกฎหมาย ต้อง ปฏิรูปวัฒนธรรม ในระดับลึก โดยยึดหลักในความมีคุณค่าของสังคมนิยม และเป้าหมายการสร้างประเทศสังคมนิยมที่มีความเข้มแข็งทางวัฒนธรรม ต้อง ปฏิรูปสังคม ให้ลุ่มลึก โดยยึดมั่นในการประกันคุณภาพชีวิต ผดุงความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม ต้องลงลึก ปฏิรูปอารยธรรม ของระบบนิเวศ โดยยึดมั่นในแนวทางที่จะทำให้จีนเป็นประเทศแห่งความสวยงาม และต้องลงลึก ปฏิรูปการสร้างสรรค์พรรค โดยยึดมั่นในการยกระดับการบริหารให้ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ การปกครองแบบประชาธิปไตย และการบริหารการเมืองตามกฎหมาย

ในประเด็นของการปฏิรูปเศรษฐกิจซึ่งเป็นที่สนใจของหลายฝ่ายนั้น แม้ว่าที่ ประชุมไม่ได้ชี้ชัดถึงรายละเอียดเท่าใดนัก แต่นับเป็นการเน้นย้ำ การวางรากฐานที่สำคัญของการปฏิรูปกลไกตลาด ให้มีบทบาทอย่างชัดเจนต่อระบบเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มบทบาทของเอกชน เพื่อที่จะนำไปสู่ประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจ พร้อมกันนั้น รัฐบาลจีนยังย้ำจุดยืนการยกระดับความเป็นเมือง และพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น เพื่อสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจจีนจากปัจจัยภายในประเทศ เพื่อให้จีนพร้อมต่อการผลักดันบทบาทเศรษฐกิจขึ้นสู่ระดับนานาชาติต่อไป

ศูนย์ วิจัยกสิกรไทย มองเรื่องนี้ว่า ในปี 2556 เศรษฐกิจจีนอาจเติบโตได้ในกรอบร้อยละ 7.3-7.7 โดยมีค่ากลางร้อยละ 7.5 ขณะที่ในปี 2557 น่าจะยังเติบโตได้ราวร้อยละ 7.2 (กรอบประมาณการร้อยละ 7.0-7.5) ซึ่งก็น่าจะช่วยประคองการส่งออกของไทยไปจีนในปี 2557 ให้เติบโตที่ราวร้อยละ 3.3 (กรอบประมาณการร้อยละ +0.5-+7.5)

อย่างไร ก็ดีจากถ้อยแถลงหลังการประชุมเผยให้เห็นถึงสาระสำคัญหลายประการ ที่อาจมีนัยสำคัญบ่งชี้แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่อเศรษฐกิจจีน รวมถึงภูมิภาคในระยะต่อไป โดยประเด็นสำคัญคือการปรับระบบเศรษฐกิจสู่กลไกตลาดมากขึ้นเพื่อเพิ่มบทบาท ของเอกชน

อาจกล่าวได้ว่า เรื่องนี้เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปของจีนในระยะข้างหน้า คือการที่รัฐจะทำการ ปฏิรูปกลไกตลาด ให้มีบทบาทอย่างชัดเจนต่อระบบเศรษฐกิจ ภายใน ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)

โดยผลักดันผ่าน 1)การปรับกฎระเบียบการดำเนินธุรกิจให้ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อให้เอื้อต่อการเข้าสู่ตลาดของเอกชน ทั้งจากภายในจีนเองและจากต่างประเทศ เพื่อเปิดรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและบริหารจัดการ นำไปสู่ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจ 2)การปรับลดบทบาทของรัฐในการจัดสรรทรัพยากร โดยการปรับกติกาและกลไกต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจให้เป็นไปตามกลไกตลาดมากขึ้น อาทิ การปรับให้นโยบายด้านเงินทุนเคลื่อนย้ายมีความผ่อนคลายมากขึ้น ส่วนเอกชนก็มีแนวโน้มจะได้รับการส่งเสริมมากขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับนโยบายของจีนในระยะก่อนหน้านี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์ว่า ในระยะที่ผ่านมาทางการจีนได้ดำเนินการหลายด้านที่สอดคล้องกับแนวทางการปรับ ตัวสู่กลไกตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะกลไกทางการเงินที่ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงชัดเจน นับตั้งแต่การที่ธนาคารกลางของจีน (PBoC) มีนโยบายต่อค่าเงินหยวนในเชิงค่อนข้างผ่อนคลายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ค่าเงินหยวนมีทิศทางเคลื่อนไหวตามปัจจัยตลาดมากขึ้นในช่วงเวลาดัง กล่าว รวมถึงล่าสุดในปีนี้ที่ธนาคารกลางจีนมีการยกเลิกขั้นต่ำ (Floor) ของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และประกาศใช้ Loan Prime Rate ซึ่งกำหนดโดยธนาคารพาณิชย์ 9 แห่ง เพื่อเตรียมพร้อมสู่ระบบอัตราดอกเบี้ยเสรีต่อไป

ทั้งนี้คาดว่าใน ระยะข้างหน้า ทางการจีนน่าจะมีการเปิดเผยรายละเอียดการปฏิรูป และผลักดันให้มีความคืบหน้ามากขึ้น โดยให้เริ่มทดลองจากในเขตพื้นที่นำร่องและเขตเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ก่อนที่จะมีการปรับใช้ในภาคส่วนอื่น ๆ ในวงกว้างต่อไป

มีตัวอย่างให้ เห็นคือ ความพยายามของทางการจีนในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ ซึ่งรัฐได้ผ่อนคลายกฎระเบียบการจัดตั้งและดำเนินธุรกิจในภาคบริการในหลาย ประเด็น (อาทิ การลดเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ และการเปิดเพิ่มสาขาที่อนุญาตให้ธุรกิจต่างชาติดำเนินการ) พร้อมวางเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการเงินโลกในปี 2020 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการปฏิรูปในภาพใหญ่ข้างต้น

สำหรับการพัฒนา เศรษฐกิจในท้องถิ่นนั้น ที่ประชุมเน้นว่าต้องมีแนวทางการพัฒนากลไกเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้เอื้อต่อการ มีบทบาทของเอกชน และสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่น เพื่อช่วยผลักดันบทบาทของเอกชน

การสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจ ภาคประชาชนดังกล่าว เป็นการผลักดันให้ประชาชนได้เข้าถึงดอกผลของการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่าง ปราศจากความเหลื่อมล้ำระหว่างในเมืองและชนบท และผลักดันให้เกษตรกรเข้าถึงสิทธิในที่ดินทำกิน ซึ่งแม้มิได้มีการระบุถึงรายละเอียดของนโยบายมากนัก

แต่ก็คาดว่าแนว ทางการผลักดันนโยบายในระยะข้างหน้า น่าจะมีความสอดคล้องกับหลายนโยบายที่มีการคาดการณ์มาก่อนหน้านี้ อันได้แก่ การปฏิรูประบบการเกษตร ให้กระบวนการในห่วงโซ่การผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และอาจรวมไปถึงการปฏิรูประบบทะเบียนบ้าน (Hukou) โดยให้แรงงานย้ายถิ่นจากชนบทเข้าถึงสวัสดิการสังคมตามระบบทะเบียนบ้านใน เมืองได้

นอกจากนั้น รัฐอาจผลักดัน "Social Safety Package" สำหรับประชาชนทั่วประเทศ อาทิ บำนาญผู้สูงอายุ และการประกันสุขภาพ เพื่อช่วยสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต และช่วยให้ประชาชนมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับความพยายามปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพิ่มบทบาทการบริโภคเอกชน และลดบทบาทการลงทุนของภาครัฐที่เคยเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในระบบเศรษฐกิจจีน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

และที่คาดว่าเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่จีนจะผลัก ดันอย่างต่อเนื่องก็คือ การดำเนินการขยายพื้นที่จัดเก็บภาษีอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วบางส่วน เพื่อให้เป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาลท้องถิ่น เข้าสู่เป้าหมายการสร้างสมดุลให้กับการคลังรัฐบาลท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป

การ ประชุม CPC Central Committee ครั้งนี้ โดยสรุปแล้วหากรัฐบาลจีนสามารถดำเนินนโยบายเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ใน ระยะยาว ก็น่าจะมีผลให้จีนสามารถประคองอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างมี เสถียรภาพในระยะข้างหน้าได้ แม้จะไม่ร้อนแรงเท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2545-2555)

ทิศทางในระยะยาวที่จีนมุ่งเน้นการจัดการกลไกทางเศรษฐกิจ ให้มีความพร้อมอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2020 นับเป็นปัจจัยส่งเสริมให้จีนสามารถก้าวขึ้นมามีบทบาทในเวทีโลกได้อย่างแข็ง แกร่งในระยะข้างหน้า จากที่ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่ขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก

แผน ยุทธศาสตร์ของจีนครั้งนี้ ในระยะทางข้างหน้า นอกจากการส่งเสริมการค้ากับประเทศต่าง ๆ ตามนโยบายที่วางไว้แล้ว ในมิติด้านการเงินยังเป็นการส่งเสริมบทบาทของเงินสกุลหยวนในเวทีโลกอีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้บทบาทของจีนก้าวขึ้นสู่ระดับโลกอย่างสมบูรณ์พร้อม รอบด้านมากกว่าที่เป็นอยู่ขณะนี้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เศรษฐกิจจีน การประชุม CPC Central Committee

view