http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

สินทรัพย์เฟ้อ

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ คิด วิเคราะห์ แยกแยะ โดย วีระพงษ์ ธัม

www.10000Li.net


หลังจากโลกต้องผ่านวิกฤตทางการเงินครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง คือ วิกฤตเลห์แมน บราเธอร์ส หรือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งส่งผลต่อสถาบันการเงินและระบบเศรษฐกิจในประเทศฝั่งอเมริกาหรือยุโรปโดย ตรง วิธีแก้ปัญหาวิกฤตครั้งนี้ธนาคารกลางหลาย ๆ ประเทศเลือกที่จะอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ อย่างที่เห็นจากมาตรการ QE ของสหรัฐ

นับจากนี้สิ่งที่อาจจะเป็นผลพวงต่อเนื่อง หรือมรดกชิ้นใหญ่จากมาตรการอัดฉีดมาหลายปี คือ สภาวะที่สินทรัพย์เกือบทุกประเภทมีราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก หรือเกิดสภาวะสินทรัพย์เฟ้อ เพราะคนเลือกที่จะไม่ถือเงินสดที่เหมือนจะด้อยค่าลงทุกวัน อีกทั้งดอกเบี้ยในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาก็ต่ำมาก เพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีขึ้น

สิ่งนี้แตกต่างจากสภาวะเงินเฟ้อที่คงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจและวิธีการคิดเงินเฟ้อพื้นฐานจากสูตรคำนวณทางเศรษฐศาสตร์

อย่างไรก็ดีบ่อยครั้งที่ตัวเลขเงินเฟ้ออาจจะขัดแย้งกับความรู้สึกคนอยู่บ้าง เช่น อัตราเงินเฟ้อในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตน้อยสุดในหลาย ๆ ปีให้หลัง แต่ความรู้สึกเราคือ สินค้ามีราคาแพงขึ้นมาก

แต่ในทางกลับกัน ความรู้สึกว่าค่าครองชีพสูงขึ้นมากอาจจะมาจากราคาสินทรัพย์เฟ้อที่มีการ ติดตามหรือควบคุมน้อยกว่ามาก สภาวะสินทรัพย์เฟ้อที่เกิดขึ้น เช่น ราคาที่อยู่อาศัยปัจจุบัน คอนโดฯกลางเมืองมีราคาสูงขึ้นมากกว่าเงินเฟ้อทั่วไปหลายเท่า ยิ่งถ้าเปรียบเทียบราคาค่าเช่าที่ได้รับแล้ว ยิ่งทำให้เห็นภาพความเฟ้อของสินทรัพย์ยิ่งขึ้น ในอดีตผู้ให้เช่าอาจหาผลตอบแทนการเช่าระดับ 8-10% ไม่ยากนัก แต่ปัจจุบันผลตอบแทนค่าเช่าอาจจะต่ำเพียง 3-4%

นอกจากนั้น ราคาที่ดินในกรุงเทพฯรวมถึงต่างจังหวัด ก็ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงสินทรัพย์ที่เป็นสินทรัพย์กลางระดับโลกอย่างทองคำก็มีการปรับตัวขึ้น อย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ดังนั้นสิ่งที่ตลาดหุ้นมีสภาพเป็น กระทิงในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา โดยมีการเติบโตของราคาหุ้นสูงกว่าการเติบโตของกำไรต่อหุ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ค่าเฉลี่ย P/E ของตลาดหุ้นไทยก็เขยิบขึ้นมาจากระดับที่ต่ำกว่า 10 เท่าในช่วงหลายปีที่แล้ว เป็น 14 เท่าในปัจจุบัน

รวมถึงเงินปันผล รวมทั้งตลาดที่ลดลงมาตลอด เป็นสภาวะเดียวกันกับสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ และถ้าลองดูตลาดหุ้นอื่น ๆ ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาก็พบปรากฏการณ์เดียวกันเกือบทั้งสิ้น เรียกได้ว่าสภาวะเงินทุนส่วนเกิน หรือ Fund Flow จากทั้งกระเป๋าสตางค์คนต่างชาติหรือคนไทยด้วยกันเอง ทำให้ดัชนีหุ้นและราคาหุ้น รวมถึงสินทรัพย์อื่น ๆ ถีบตัวสูงขึ้นทั้งกระดาน

ปรากฏการณ์ นี้ถ้าเป็นนักลงทุนเราควรจะทำอย่างไร บัฟเฟตต์เคยบอกว่า สิ่งที่ยากที่สุดในการลงทุนคือการรอ ถ้าราคาสินทรัพย์พุ่งเกินพื้นฐานขึ้นไปอย่างต่อเนื่องเราก็ไม่จำเป็นต้อง ซื้อ

แต่อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าถ้ามองกลับไปที่พื้นฐาน บางสิ่งอาจจะขึ้นโดยไม่มีวันที่ราคาจะต่ำลงมาได้อีก เช่น ต้นทุนค่าแรง เพราะเป็นแนวโน้มที่ "ค่าแรงของโลก" จะมีความใกล้เคียงกันมากขึ้น และเป็นไปได้ยากขึ้นมากที่เราจะจ้างคนที่มีความสามารถใกล้เคียงกันในราคาที่ แตกต่างกันมากอย่างสุดกู่ รวมถึงทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มลด น้อยลงและขาดแคลน อย่างที่ดิน สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยที่ผลักดันให้ราคาสูงขึ้นจากต้นทุน (Cost Push) โลกในช่วงนี้ผมคิดว่าเป็นการปรับสมดุลครั้งใหญ่เนื่องจากการเชื่อมต่อกันของ โลกสมัยใหม่

อย่าง ไรก็ดี ก็เป็นไปได้ที่สินทรัพย์มีราคาสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการของตลาด (Demand Pull) หรือสูงขึ้นเพราะเหตุผลที่ว่า ถ้าไม่ซื้อวันนี้จะไม่ได้ซื้ออีกแน่นอนในวันพรุ่งนี้ เช่น สภาวะสินทรัพย์เฟ้อที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 90 ซึ่งสุดท้ายก็จะเกิดสภาวะฟองสบู่ โดยฟองสบู่ตลาดหุ้นญี่ปุ่นก่อตัวปี 1985 ดัชนีนิกเคอิอยู่ที่ 13,000 จุด และทำจุดสูงสุดตลอดกาลที่ 38,957.44 จุด ในวันที่ 29 ธันวาคม 1989 และดัชนีนิกเคอิตกลงมากว่า 35% ในปีต่อมา และลดลงมาโดยตลอด และไม่เคยได้เห็นจุดนั้นอีกเลย สินทรัพย์เฟ้อครั้งนี้ผมคิดว่าเกิดขึ้นทั้ง 2 เหตุผล หน้าที่ของนักลงทุนคือ หาความแตกต่างในความเหมือน ดั่งเช่น เพชร และถ่าน เพราะแม้จะเกิดจากธาตุคาร์บอนเหมือนกัน แต่ด้วยความแตกต่าง

บางอย่างทำให้สิ่งหนึ่งเป็นแค่ถ่าน แต่อีกสิ่งหนึ่งคือเพชร


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : สินทรัพย์เฟ้อ

view

*

view