สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สภาทนายฯ ชี้ ปู ไม่สำนึกปัดรับอำนาจศาล ยื้อทูลเกล้าฯฉาว มิบังควรถวายพระพร

สภาทนายฯ ชี้ “ปู” ไม่สำนึกปัดรับอำนาจศาล ยื้อทูลเกล้าฯฉาว มิบังควรถวายพระพร

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

แถลงการณ์สภาทนายฯ เหตุรัฐไม่รับอำนาจศาล ยันเรื่องสำคัญต้องแจง ปชช.ย้ำคำวินิจฉัยศาลเด็ดขาด ผูกพันรัฐ แถไม่ได้ ชี้เป็นการถ่วงดุลอำนาจอธิปไตย ยกระบอบ ปชต.มีกษัตริย์เป็นประมุขทรงใช้พระราชอำนาจทั้ง 3 ทาง การที่รัฐปัดคำวินิจฉัยศาลต่อสาธารณะ ย่อมไม่ชอบตามหลักนิติธรรม เท่ากับปฏิเสธพระราชอำนาจ ไม่สำนึก นายกฯไม่ถอนร่างทูลเกล้าฯฉาวกลับมา ผิด รธน.ชัด มิบังควรเข้าถวายพระพร 5 ธ.ค.
       
       วันนี้ (3 ธ.ค.) สภาทนายความฯออกแถลงการณ์ เรื่อง การปฏิบัติตนและการปฏิบัติหน้าที่ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยระบุว่าตามที่ปรากฏความชัดเจนแล้วว่ามีคณะบุคคล ข้าราชการทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าพรรคการเมือง แสดงออกโดยชัดแจ้งถึงการไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นั้น สภาทนายความเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะเผยแพร่ให้สาธารณ ชนทั่วไปทราบถึงข้อกฎหมายและการบังคับใช้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้
       
       1.ผู้ที่มีหน้าที่และต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น มาตรา 216 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ” ความชัดเจนของบทบัญญัตินี้จึงไม่อาจแปลความเป็นอย่างอื่นได้ว่าจะมีองค์กรใด บุคคล หรือคณะบุคคลใดที่จะสามารถปฏิเสธหลักการถ่วงดุลในระบอบประชาธิปไตยตามหลัก สากล
       
       2.หลักการถ่วงดุลนี้มีปรากฏตามพระบรมราชปณิธาน ที่ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ มีความตอนหนึ่งอยู่ในวรรคสามว่า “...การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทาง ในการปกครองประเทศ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่าง เป็นรูปธรรม การกำหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพ และประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริต เที่ยงธรรม” จึงเป็นการวางหลักการถ่วงดุลอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ทาง ซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
       
       3.หลักการของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทรงใช้พระราชอำนาจทั้งทางบริหารผ่านรัฐบาล ทางนิติบัญญัติผ่านรัฐสภา และทางตุลาการผ่านศาล นี้เป็นความสมดุลที่สอดคล้องกัน การที่มีกลุ่มบุคคล สมาชิกพรรคการเมือง รัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภาทั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาปฏิเสธคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นการไม่ชอบของการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา หรือรัฐมนตรีที่ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม การแสดงออกต่อสาธารณะถึงการไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเท่ากับเป็น การปฏิเสธพระราชอำนาจในทางตุลาการ ทั้งหากมีการกระทำดังกล่าวนี้ปรากฏอยู่โดยที่ผู้กระทำยังมิได้รู้สำนึก รวมตลอดถึงนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่กราบบังคมทูลเกล้าฯขอพระราชทานร่างแก้ไขรัฐ ธรรมนูญฉบับที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วกลับคืน จึงเป็นการกระทำผิดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยชัดแจ้ง ไม่ชอบที่ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือบุคคลใดควรที่จะถือปฏิบัติ โดยเฉพาะเมื่อใกล้วันที่เข้าเฝ้าฯถวายพระพรแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงเสด็จออกมหาสมาคม เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคมนี้ ผู้ที่ปฏิเสธคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมิบังควรที่จะเข้าเฝ้าฯถวายพระพรใน ขณะที่ตนเองยังดื้อรั้นปฏิเสธอำนาจตุลาการที่พระองค์ทรงใช้ผ่านทางศาล


สภาทนายฯชี้ปฎิเสธอำนาจศาลรธน.ขัดกม.

สภาทนายความออกแถลงการณ์ การปฏิเสธอำนาจศาลของสมาชิกรัฐสภาขัดก.ม. มิบังควรเข้าเฝ้าถวายพระพร 5 ธันวาฯ

สภาทนายความ ได้ออกแถลงการณ์ว่า ตามที่ปรากฏความชัดเจนแล้วว่ามีคณะบุคคล ข้าราชการทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าพรรคการเมือง แสดงออกโดยชัดแจ้งถึงการไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นั้น สภาทนายความเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะเผยแพร่ให้สาธารณชนทั่วไปทราบถึงข้อกฎหมายและการบังคับใช้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้

1.ผู้ที่มีหน้าที่และต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น มาตรา 216 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ” ความชัดเจนของบทบัญญัตินี้จึงไม่อาจแปลความเป็นอย่างอื่นได้ว่าจะมีองค์กรใด บุคคลหรือคณะบุคคลใดที่จะสามารถปฏิเสธหลักการถ่วงดุลย์ในระบอบประชาธิปไตยตามหลักสากล

2.หลักการถ่วงดุลย์นี้มีปรากฏตามพระบรมราชปณิธาณ ที่ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญไว้ มีความตอนหนึ่งอยู่ในวรรคสามว่า “...การยึดถือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเป็นวิถีทางในการปกครองประเทศการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรม การกำหนดกลไกสถาบันทางการเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระอื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยสุจริตเที่ยงธรรม” จึงเป็นการวางหลักการถ่วงดุลย์อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ทาง ซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงใช้พระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ

3.หลักการของระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและทรงใช้พระราชอำนาจทั้งทางบริหารผ่านรัฐบาล ทางนิติบัญญัติผ่านรัฐสภา และทางตุลาการผ่านศาล นี้เป็นความสมดุลย์ที่สอดคล้องกัน การที่มีกลุ่มบุคคล สมาชิกพรรคการเมือง รัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภาทั้งจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาปฏิเสธคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมเป็นการไม่ชอบของการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา หรือรัฐมนตรีที่ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม การแสดงออกต่อสาธารณะถึงการไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเท่ากับเป็นการปฏิเสธพระราชอำนาจในทางตุลาการ ทั้งหากมีการกระทำดังกล่าวนี้ปรากฏอยู่โดยที่ผู้กระทำยังมิได้รู้สำนึก รวมตลอดถึงนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่กราบบังคมทูลเกล้าขอพระราชทานร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยแล้วกลับคืน จึงเป็นการกระทำผิดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยชัดแจ้ง ไม่ชอบที่ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือบุคคลใดควรที่จะถือปฏิบัติ โดยเฉพาะเมื่อใกล้วันที่เข้าเฝ้าถวายพระพรแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นวันที่พระองค์ทรงเสด็จออกมหาสมาคมเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคมนี้ ผู้ที่ปฏิเสธคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมิบังควรที่จะเข้าเฝ้าถวายพระพรในขณะที่ตนเองยังดื้อรั้นปฏิเสธอำนาจตุลาการที่พระองค์ทรงใช้ผ่านทางศาล


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : สภาทนายฯ ปู ไม่สำนึก ปัดรับอำนาจศาล ยื้อทูลเกล้าฯ ฉาว มิบังควร ถวายพระพร

view