http://www.108acc.com
  
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

หน้าแรก

วิสัยทัศน์/พันธกิจ

บริการของเรา

LINK 4 A/C

DOWNLOAD

ติดต่อเรา

.......... บทความ 108 ..........

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๔)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (2)

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ธรรมนูญครอบครัว คนละเรื่องเดียวกัน (๓)

ราชกิจจาฯ ประกาศมาตรการคง VAT 7% ออกไปอีก 1 ปี ถึงวันที่ 30 ก.ย.61 ..... คั่นเวลา

บัญญัติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุม ภายใน (1)

อะไรคือข้อมูลทางบัญชี ?

องค์กรในมุมมองของนักบัญชี

วิธีการเลือกสำนักงานบัญชี

เจ้าของกิจการควรไปพบ สรรพากรเองหรือไม่

บัญญติ 10 ประการที่ต้อง คำนึงในการวางระบบบัญชี และการควบคุมภายใน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (2)

สำนักงานบัญชีในฝัน (3)

สำนักงานบัญชีในฝัน (4)

สำนักงานบัญชีในฝัน (5)

สำนักงานบัญชีในฝัน (6)

การสุ่มตัวอย่างทางสถิติในการสอบบัญชี

ค่าทำบัญชีปีละ 2-3 หมื่นบาท คุณไปอยู่ที่ไหนมา

พรก.ยกเว้นการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากร 2558 ยื่นดีไหม

ธุรกิจปั่นป่วน เจอปัญหาขาดแคลนผู้สอบบัญชี จริงหรือ(1)

คุณสมบัตินักบัญชีที่ดี

จรรยาบรรณ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ธรรมบรรยาย ชุด จริยธรรมกับบัณฑิต - พุทธทาสภิกขุ

คลิปนี้ ชอบมาก

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (1)

KPI เท่าไหร่ถึงพอ (2)

สถิติการจ่ายภาษีรายจังหวัด

สถิติการจ่ายภาษีตามภาค

สำนักงานบัญชีในฝัน (1)

สมาชิก

ลืมรหัสผ่าน?
สมัครสมาชิก
Gold charts on InfoMine.com

เศรษฐกิจญี่ปุ่น... การฟื้นตัวบนความเสี่ยงทางการคลัง

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เลียบรั้วเลาะโลก

โดย ขวัญใจ เตชเสนสกุล ฝ่ายวิจัยธุรกิจ ธสน.

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือที่รู้จักกันภายใต้นโยบาย Abenomics ซึ่งมีเครื่องมือสำคัญคือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ หรือ QE แบบเดียวกับที่ธนาคารกลางสหรัฐใช้ในการเพิ่มปริมาณเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ ผ่านการเข้าซื้อตราสารทางการเงิน ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง และส่งผลดีต่อการส่งออก

อย่างไรก็ตาม แม้เศรษฐกิจญี่ปุ่นในภาพรวมจะดูดีขึ้น แต่ญี่ปุ่นยังต้องเผชิญปัญหารุมเร้า โดยเฉพาะปัญหาด้านการคลัง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยบั่นทอนการขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะถัดไป

ปัจจุบัน ญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการคลังราว 9% ต่อ GDP และหนี้สาธารณะมากถึง 230% ต่อ GDP ถือเป็นระดับสูงสุด เมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ

ทั้งนี้ ความเสี่ยงทางการคลังที่เร่งตัวขึ้นจากนโยบายข้างต้น ทำให้หลายฝ่ายเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับฐานะทางการคลังของญี่ปุ่นในระยะยาว ซึ่งจะมีผลต่ออันดับเครดิตและต้นทุนการกู้ยืมของญี่ปุ่นในอนาคต อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน หรือทำธุรกิจกับประเทศใดประเทศหนึ่ง

ข้อกังวลดังกล่าวทำให้รัฐบาล ญี่ปุ่นเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการรักษาวินัยทางการคลังควบคู่กับการแก้ ปัญหาเศรษฐกิจในด้านอื่น ๆ มากขึ้น

เห็นได้จากการประกาศจะขึ้นภาษีการขาย (Sales Tax) จาก 5% เป็น 8% ในเดือนเมษายน 2557 และจะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 10% ในเดือนตุลาคม 2558

ปัจจัย นี้จะส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 60% ของ GDP ชะลอตัวลง และอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่มีทีท่าดีขึ้นต้องสะดุดลง อย่างที่เคยเกิดขึ้นในเดือนเมษายน

ปี 2540 อีกทั้งญี่ปุ่นมีมาตรการเพิ่มภาษีการบริโภคเป็นครั้งแรกจาก 3% เป็น 5% ซึ่งส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสดังกล่าวหดตัวถึง 13% และทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่น 2 ปีหลังจากนั้นหดตัว 2.0% และ 0.2% ตามลำดับ

นอก จากนี้ การที่ญี่ปุ่นได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2563 ทำให้ญี่ปุ่นต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลในการสร้างสนามกีฬาและสิ่งอำนวยความ สะดวกต่าง ๆ ซึ่งหากขาดการบริหารจัดการที่ดี ก็อาจเป็นชนวนที่จะนำไปสู่วิกฤตหนี้สาธารณะ เช่นที่เคยเกิดกับกรีซมาแล้ว

ยิ่ง ปกว่านั้น การที่ญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ด้วยสัดส่วนผู้สูงอายุ มากที่สุดในโลกถึงราว 24% ของประชากรทั้งประเทศในปัจจุบัน ทำให้ในอนาคตญี่ปุ่นจะต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการในการดูแลผู้สูง อายุที่เพิ่มขึ้นมาก และจะเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้ความเสี่ยงทางการคลังของญี่ปุ่นเร่งตัวขึ้น

อย่าง ไรก็ตาม คาดว่าปัญหาทางการคลังของญี่ปุ่นในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า จะไม่ถึงกับกดดันให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ส่งสัญญาณฟื้นตัวต้องประสบกับภาวะ Hard Landing เนื่องจากหนี้สาธารณะของญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นหนี้ในประเทศ ประกอบกับรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะออกนโยบายผ่อนคลายทางเศรษฐกิจอื่น ๆ มาชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

จากการขึ้นภาษีการขาย อาทิ การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อกระตุ้นการลงทุน อีกทั้งการที่รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่นยืนยันจะใช้มาตรการ QE จนกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะบรรลุเป้าหมายที่ 2% ประเด็นดังกล่าวจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไป ซึ่งจะหนุนให้อุปสงค์ในประเทศไม่หดตัวรุนแรงนัก

แม้ความเสี่ยงทาง การคลังของญี่ปุ่นในระยะสั้นจะยังไม่รุนแรงถึงขั้นเกิดเป็นวิกฤต เหมือนเช่นในยุโรป และรัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องตัดลดรายจ่ายภาครัฐ อย่างเช่นในสหรัฐ แต่ปัจจัยดังกล่าวถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยต้องติดตาม อย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะได้วางแผนการค้าการลงทุนและเตรียมเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่ อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างทันท่วงที

Disclaimer : คอลัมน์นี้เผยแพร่เพื่อให้ความรู้ ซึ่งเป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า แห่งประเทศไทย (ธสน.)


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เศรษฐกิจญี่ปุ่น การฟื้นตัว ความเสี่ยงทางการคลัง

view

*

view