สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ประเทศไทยจะเดินไปทางไหน : ทางออกที่ไม่ควรถูกปิด (จบ)

ประเทศไทยจะเดินไปทางไหน : ทางออกที่ไม่ควรถูกปิด (จบ)

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ผู้เขียนเห็นว่าประเด็นปฏิรูปที่เร่งด่วนที่ควรทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งคือการปฏิรูปเร่งด่วน

(1) กฎหมายการเลือกตั้งและกระบวนการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม

(2) การต่อต้านการทุจริตโดยการตรากฎหมายพิเศษเกี่ยวกับการทุจริต ไม่ว่ากฎหมายเรื่องการดำเนินคดีโดยการตั้งศาลชำนาญพิเศษ การยกเลิกเรื่องอายุความตามข้อเสนอที่องค์กรต่อต้านการทุจริตได้เคยเสนอรูปแบบกฎหมายที่ต้องออก

(3) กรใช้จ่ายที่ก่อภาระหนี้และเสียหายมากในโครงการประชานิยมจะมีหลักเกณฑ์อย่างไร

3. การใช้เทคนิคทางกฎหมายและขาดความยืดหยุ่นน่าจะให้ศาลรัฐธรรมนูญเลื่อนการเลือกตั้งได้

ความเห็นผู้เขียน ผู้เขียนเห็นด้วยเรื่องการเลื่อนการเลือกตั้ง การลาออกของนายกยิ่งลักษณ์

เพราะขณะนี้ฝ่ายรัฐบาลจะเป็นการยึดเทคนิคทางกฎหมายเป็นหลัก ซึ่งรัฐบาลควรแสดงออกว่ายินดีจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ การมุ่งใช้เทคนิคทางกฎหมายเพื่อไม่ยอมประนีประนอมกรณีเช่นว่านี้การใช้จารีตประเพณีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (มาตรา 7) มาปรับใช้เพื่อช่วยในการเลื่อนการเลือกตั้งหรือตั้งรัฐบาลรักษาการ (ซึ่งอาจจะเป็นรัฐบาลแห่งชาติที่อาจจะมีตัวแทนในรัฐบาลและฝ่ายค้านมาร่วมรัฐบาลเฉพาะกิจหรือหาคนกลางมาเป็นคณะรัฐมนตรี) จนกว่าจะมีการเลือกตั้งภายใต้กติกาปฏิรูปใหม่น่าจะเป็นทางออกอีกทาง

ผู้เขียนอยากถามว่า หาก กกต. ลาออกหมด แล้วเลือกตั้งได้หรือไม่ และอะไรจะเกิดขึ้นหรืออยากจะให้มีสุญญากาศให้รัฐบาลรักษาการต่อไปเรื่อย ๆ แต่ประเทศไทยก็เจอทางตันเพราะไม่สามารถลดความขัดแย้งลงได้

4. ควรจะจัดให้กรอบการเลือกตั้งภายใน 90+180 วัน เพื่อให้องค์การปฏิรูปที่จัดตั้งขึ้นสามารถทำงานได้และลงประชามติในประเด็นที่สำคัญในคราวเดียวกัน เช่น ควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องใดบ้าง

ความเห็นผู้เขียน ผู้เขียนเห็นว่าเวลา 180 วันหรือ 6 เดือนน่าจะพอเหมาะ ผู้เขียนคิดว่าการปฏิรูปเป็นเรื่องสำคัญ ตามกรอบที่สภาปฏิรูปกำหนดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง การต่อต้านการทุจริต การปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูปการคลัง ภาษี ที่เป็นเรื่องสำคัญและขอเรียนว่าประเด็นปฏิรูปโดยไม่จำเป็นต้องมีการศึกษาอีกแล้วเพราะประเทศเราได้เคยศึกษาผลการศึกษามากมายจากหน่วยงานหลายหน่วยงานและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนการปฏิรูป แต่สภาปฏิรูปควรเป็นเวลาที่คัดเลือกเอาผลการศึกษามาจัดหมวดหมู่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิจารณาและที่สำคัญคือ เสนอกระบวนการจัดทำร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จได้ โดยกระบวนการนี้ควรใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือน สำหรับเรื่องเร่งด่วน และอีก 12 เดือนสำหรับการปฏิรูปเรื่องอื่นๆ

5. รัฐบาลรักษาการควรเปลี่ยนบทบาทจากเจ้าภาพเพื่อไม่ให้เกิดความไม่ไว้วางใจจากคู่ขัดแย้ง

ความเห็นผู้เขียน ประเด็นการลาออกจากรัฐบาลรักษาการโดยการแต่งตั้งคนกลางหรือรัฐบาลแห่งชาติ ก็น่าจะมีการคุยกันทุกฝ่ายเพื่อแก้วิกฤติประเทศว่าจะเป็นรูปแบบใดที่ดีที่สุดโดยที่จะต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับบุคคลที่จะลงเลือกตั้งตามกฎกติกาใหม่หรือหากมีก็ต้องมีให้น้อยที่สุดหลายคนอาจคิดว่าถ้าเช่นนั้น กปปส. ก็เป็นฝ่ายชนะรัฐบาลแพ้ ผู้เขียนคิดว่าไม่ใช่เพราะอะไรที่เป็นเป็นประโยชน์กับประเทศส่วนรวมแล้ว ไม่มีใครชนะหรือแพ้ รัฐบาลใหม่อาจรักษาการประมาณ 6 เดือนเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งและปฏิรูปโดยสภาปฏิรูป โดยในขณะเดียวกันพรรคการเมืองทุกพรรคก็ตกลงให้สัญญาประชาคมไว้ว่าเมื่อมีการร่างข้อเสนอร่วมทั้งร่างกฎหมายที่จัดทำโดยสภาปฏิรูปทุกพรรคเข้าดำเนินการผลักดันให้เป็นกฎหมายโดยเร็วตามข้อเสนอสภาปฏิรูป

การลาออกของนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในช่วงรักษาการจะทำให้ท่านในฐานะสมาชิกพรรคไทยสามารถจะหาเสียงได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องที่จะกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งในฐานะเป็นรัฐบาลรักษาการและถ้าหากท่านได้รับการเลือกตั้งตามกติกาใหม่ท่านก็จะมีความสง่างามในการที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม

จากประเด็นข้างต้นผู้เขียนในฐานะประชาชนคนหนึ่งขอเสนอทางออกเพื่อผ่าทางตันดังนี้ครับ

1. รัฐบาลควรยุติการยึดหลักเทคนิคทางกฎหมายแต่เพียงว่าเลื่อนเลือกตั้งไม่ได้ รัฐบาลรักษาการลาออกไม่ได้โดยมาเจรจาแนวทางการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งกับคู่ขัดแย้งโดยอาจให้กองทัพเป็นตัวกลางและเลิกข่มขู่ผู้เข้าร่วมชุมนุมถึงข้อหากบฏหรือฟ้องร้อง กกต. หรือใครก็ตามที่ไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์

2. กปปส. และคุณสุเทพควรเจรจากับรัฐบาลว่าภายใต้เงื่อนไขว่าหากรัฐบาลตกลงเลื่อนการเลือกตั้งออกไปและให้มีการจัดตั้งสภาปฏิรูป (ภายใต้รูปแบบที่คนกลางกำหนด) และนายกยิ่งลักษณ์ลาออก คุณสุเทพและ กปปส. ยินดีจะเลิกชุมนุมโดยทันทีและคุณสุเทพและผู้นำ กปปส. ที่ถูกกล่าวหายินดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ

3. พรรคการเมืองทุกพรรครวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์เข้าทำสัญญาประชาคมจะเข้าร่วมการเลือกตั้งและจะผลักดันการปฏิรูปที่สภาปฏิรูปที่ได้มีการจัดตั้งขึ้นเสนอกฎหมายมาให้เป็นรูปธรรมและให้แล้วเสร็จ โดยอาจใช้เวลา 1-2 ปีหลังการเลือกตั้ง หลังจากผ่านกฎหมายเกี่ยวกับปฏิรูปภายใน 1 ปี รวมทั้งรัฐบาลใหม่ที่จะทำหน้าที่เอง 1 ปีครึ่งก็จะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่

4. นำประเด็นสำคัญ เช่น เรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องการปฏิรูปใดที่สำคัญ ให้ประชาชนลงมติพร้อมการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นใน 6 เดือนข้างหน้านี้

หากทุกฝ่ายต่างยินยอมมาเจรจาเพื่อประโยชน์ของชาติและไม่มีทิฐิมานะและไม่ยึดถือลายลักษณ์อักษรของกฎหมายโดยคิดถึงวิกฤติความขัดแย้ง ไม่อ้างอิงว่าตนเองมีเสียงข้างมากจะทำอะไรก็ได้ รวมทั้งเลิกสร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย ในสังคมไทยโดยเลิกการใช้ความรุนแรงทั้งทางกายและวาจาแล้ว โดยทุกฝ่ายยินดีเข้าสู่กระบวนการเจรจาโดยสันติวิธี เราก็อาจจะเห็นแสงสว่างในปลายอุโมงค์ได้บ้าง

แต่หากทุกฝ่ายยังมีทิฐิมานะต้องการปฏิวัติประชาชนอย่างเดียวหรืออีกฝ่ายใช้ข้ออ้างเทคนิคทางกฎหมายและความชอบธรรมในฐานะเสียงข้างมากแต่เพียงอย่างเดียว ก็จะไม่มีใครสามารถหาทางออกให้กับประเทศได้และสุดท้ายจะไม่มีผู้ชนะ ประเทศของเราจะเป็นผู้เสียหายตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เคยกล่าวไว้กับอดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกสุจินดา คราประยูร และ พลตรี จำลอง ศรีเมือง เมื่อครั้งพฤษภาทมิฬ ผู้เขียนเชื่อว่าพระราชดำรัสนี้ทุกคนควรจะน้อมนำมาคิด

ขอเถอะครับ ถอยกันคนละก้าว ไม่มีใครชนะ ไม่มีใครแพ้ มีแต่ประเทศไทยเท่านั้นที่ควรเป็นผู้ชนะ เพื่อจะได้ไม่มีใครกล่าวได้ว่าประเทศไทยเป็นผู้ป่วยแห่งเอเชีย


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ประเทศไทยจะเดินไปทางไหน ทางออกที่ไม่ควรถูกปิด

view