สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คุณภาพ VS ปริมาณ

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ คิด วิเคราะห์ แยกแยะโดย ธันวา เลาหศิริวงศ์

การ เลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2557 ที่ผ่านมานี้ หากสอบถามผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งหรือผู้สนใจติดตามข่าวด้านการเมืองว่า มีพรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดกี่พรรค คำตอบที่ถูกต้องอาจมีไม่มากนัก จำนวนป้ายโฆษณาหาเสียงของผู้สมัครและป้ายประชาสัมพันธ์นโยบายพรรคที่ปรากฏ ให้เห็นก็มีไม่มากนัก ทำให้มีความรู้สึกเหมือนไม่ได้อยู่ในบรรยากาศเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศมี พรรคการเมืองมากถึง 53 พรรคเข้าร่วมชิงชัยในการเลือกตั้งครั้งนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มีพรรคการเมืองและผู้สนใจอาสาเป็นตัวแทนของ ประชาชนจำนวนมาก แต่หากมองโลกในแง่ร้าย พรรคการเมืองส่วนใหญ่ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนออกสื่อวิทยุโทรทัศน์เพื่อแถลง นโยบายสั้น ๆ มักไม่เป็นที่รู้จักหรือคุ้นหน้าคุ้นตามากนัก จึงเกิดข้อสงสัยว่าพรรคการเมืองเหล่านั้นจะมีศักยภาพเพียงพอที่จะนำนโยบายมา ปฏิบัติให้เกิดผลจริงมากน้อยเพียงใด แต่นี่ก็คือ "พัฒนาการ" ของระบอบประชาธิปไตยไทยปัจจุบันนักลงทุนที่มีประสบการณ์ลงทุนมานานพอสมควร ต่างก็มีพัฒนาการในการลงทุนเช่นกัน โดยนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งถูก และผิด ทั้งได้ผลและไม่ได้ผลมาปรับเปลี่ยนวิธีการลงทุนให้เหมาะกับตนเองมากขึ้น ซึ่งมักจะแตกต่างจากวิธีในช่วงเริ่มต้นของการลงทุน

ผมลองนึกย้อนถึงพัฒนาการในการลงทุนของผมตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา อาจแบ่งตามช่วงเวลาได้ดังนี้

ช่วง แรกการลงทุน ผมเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินสะสมเพื่อซื้อขายหุ้นเมื่อกว่า 20 ปีที่ผ่านมา การเทรดหุ้นผ่านโบรกเกอร์ในสมัยนั้นยังต้องใช้วิธีเคาะกระดานซื้อขายเพราะ ยังไม่มีระบบการซื้อขายอิเล็กทรอนิกส์ดังเช่นปัจจุบัน การตัดสินใจซื้อขายหุ้นมักตามคำแนะนำของมาร์เก็ตติ้ง ตามข่าวลือหรือข่าวสารที่มาพร้อมกับราคาเป้าหมาย ซื้อขายหุ้นบ่อยครั้งโดยสลับหมุนเวียนในหลายอุตสาหกรรมทั้งกิจการขนาดเล็ก และขนาดใหญ่โดยไม่ได้คำนึงถึงศักยภาพ สถานะทางการเงิน และพื้นฐานของกิจการมากนัก

ผลตอบแทนในช่วงเริ่มแรกนั้นมีกำไรอย่างงาม ทำให้คิดว่าการเล่นหุ้นเป็นเรื่องง่ายเพราะได้กำไรดีในเวลาอันสั้น แต่เมื่อเผชิญภาวะสงครามอ่าวเปอร์เซีย วิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง การลดค่าเงินบาท ทำให้ต้องประสบภาวะขาดทุนอย่างมาก การลงทุนหุ้นไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่เคยคิด ทำให้นึกถึงคำพูดที่ว่า "หากไม่เปลี่ยนวิธีหรือแนวทาง ก็อย่าคาดหวังผลลัพธ์ที่ต่างจากเดิม"

ช่วง ปรับเปลี่ยนแนวทางการลงทุน แม้การลงทุนมีหลายวิธี แต่แนวทางการลงทุนแนบเน้นคุณค่า (Value Investment) เป็นแนวทางที่เป็นเหตุเป็นผล ตรงจริตกับแนวทางการใช้ชีวิตแบบอนุรักษนิยม การลงทุนครั้งนี้จึงเน้นเรื่องความปลอดภัย หลีกเลี่ยงความเสี่ยง และต้องมีเงินปันผลในระดับที่ดี หุ้นที่ซื้อส่วนใหญ่จึงเป็นกิจการที่ราคาถูก มี P/E ต่ำ PB ต่ำ อัตราผลตอบแทนเงินปันผลดี สถานะทางการเงินดี ซื้อแล้วถือโดยไม่ซื้อขายหุ้นบ่อยครั้ง เลือกลงทุนหุ้นจำนวน 15-20 ตัวเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงนั่นเอง

แม้ผลตอบแทนที่ได้น่าพอใจใน ระดับหนึ่งและไม่ขาดทุน แต่การกระจายความเสี่ยงนั้นแลกมาด้วยผลตอบแทนที่ไม่โดดเด่น แม้มีหุ้นบางตัวสร้างผลกำไรอย่างงาม แต่สัดส่วนการถือหุ้นเหล่านั้นไม่สูงมากพอที่ทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยให้สูงขึ้น และยังถือหุ้นอีกจำนวนหนึ่งที่ผลตอบแทนไม่ดี จึงฉุดผลตอบแทนโดยรวมต่ำกว่าที่ควรจะเป็น แม้ได้รับผลตอบแทนที่ดี แต่ในบางปียังมีผลตอบแทนโดยรวมที่ต่ำกว่าผลตอบแทนของตลาด ทำให้นึกถึงคำการเปรียบเปรยระหว่าง "คุณภาพ VS ปริมาณ"

ช่วงเวลาลง ทุนปัจจุบัน การให้ความสำคัญเรื่อง "ลดปริมาณ" หรือการตั้งเป้าหมายจำนวนหุ้นที่ลงทุน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเหลือเพียง 3-6 ตัว หุ้นที่ลงทุนแต่ละตัวนั้นต้องมีสัดส่วนอย่างน้อย 10% ของมูลค่าพอร์ต ข้อดีคือ สามารถจัดสรรเวลาได้เพียงพอในการศึกษา ติดตามอุตสาหกรรมและหุ้นที่สนใจแต่ละตัวอย่างละเอียด การลงทุนในสัดส่วนที่มีนัยสำคัญและได้รับผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมนั้นจะช่วยทำ ให้ผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ตเฉลี่ยสูงขึ้นอีกด้วย

ประเด็นที่สำคัญไม่ แพ้กันคือการ "เพิ่มคุณภาพ" การลงทุนในระยะหลังนี้ ผมมักเลือกลงทุนในกิจการที่มีศักยภาพสูง มีรูปแบบธุรกิจที่โดดเด่น ได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน มีผู้บริหารที่มีความสามารถ มีสถานะทางการเงินที่มั่นคง มีเหตุปัจจัยที่ทำให้ผลประกอบการดีต่อเนื่องอีกหลายปีในอนาคต กิจการมีความแข็งแกร่งเพียงพอแม้จะต้องเผชิญความท้าทายทั้งภาวะเศรษฐกิจและ ความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

การ "ลดปริมาณ" และ "เพิ่มคุณภาพ" เป็นพัฒนาการในการลงทุน "ส่วนตัว" ที่ผมที่พอใจทั้งในด้านผลตอบแทนและการสร้างความสมดุลในชีวิต ในฐานะ Value Investor นักลงทุนทุกคนต้องหมั่นทบทวน สังเกต และเรียนรู้จากประสบการณ์ลงทุนของตนในอดีต เพื่อ "พัฒนา" แนวทางการลงทุนที่เหมาะและตอบโจทย์ของตนในทุกมิติเช่นกัน

ในยามที่ ประเทศเผชิญภาวะวิกฤตทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุน การเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และการใช้ชีวิตประจำวันในวงกว้าง แม้ยังมีความไม่แน่นอนทางการเมืองในปัจจุบัน แต่เชื่อว่ามีสิ่งแน่นอนหนึ่งที่ประชาชนคนไทยทุกคนต้องการ คือ การมี "ปริมาณ" นักการเมืองที่เปี่ยมด้วย "คุณภาพ" เพิ่มขึ้นอีกมากในระบบการเมืองไทยนั่นเอง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : คุณภาพ VS ปริมาณ

view