สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กางกฎหมายฉบับ บรรเจิด สิงคะเนติ ผ่าทางตันสุญญากาศ ยิ่งลักษณ์

จากประชาชาติธุรกิจ

สัมภาษณ์พิเศษ

เป็นเวลากว่า 100 วันที่สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองยังคงลุกลาม-ทวีคูณความรุนแรงมากขึ้น และยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด

จากการตื่นตัวของมวลมหาประชาชนเพื่อต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม สู่การไล่ล่ารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ล้มล้าง "ระบอบทักษิณ" พร้อมปูแนวทางปฏิรูปประเทศครั้งใหม่

จากกลไกทางการเมืองหลังการยุบ สภา มุ่งหน้าสู่สนามเลือกตั้ง และกำลังเดินหน้าเข้าสู่สภาวะ "สุญญากาศ" ทางการเมือง ตามคำกล่าวอ้างของคู่ขัดแย้งที่ร้องหาความชอบธรรมจาก "รัฐบาลยิ่งลักษณ์"

ประชาชาติธุรกิจ สนทนากับ "บรรเจิด สิงคะเนติ" คณบดีคณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และแกนนำกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ มองความเป็นไปได้ของทางออก-ทางตันของประเทศ ที่เขาย้ำว่าครั้งนี้มิอาจเรียกว่า "สุญญากาศ" อย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ

- หลังจากนี้ถือว่าการเมืองอยู่ในสภาพสุญญากาศหรือไม่


ทฤษฎี ทางกฎหมายแทบไม่มีสุญญากาศ แต่สิ่งที่ผมกำลังพูดคือภาวะที่กำลังจะเกิดขึ้น 2 อย่าง คือ Fail Government จากการที่รัฐบาลไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยอำนาจที่มีอยู่อย่างจำกัดที่ไม่สามารถแก้ปัญหาในเชิงข้อเท็จจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาชาวนา หรือเรื่องความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน

อีก ภาวะหนึ่งคือ Fail Election ที่เกิดขึ้นจากการเลือกตั้งที่ล้มเหลว หลังจากที่พยายามเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. และครบกำหนด 30 วันแล้วไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้ในภาพรวมทั้งสองภาวะที่ผมกล่าวมานี้ ไม่ได้ก่อให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง แต่เป็นสถานการณ์ที่ประเทศไม่สมควรต้องมาอยู่ในภาวะเช่นนี้

- ทั้ง 2 สภาวะดังกล่าวจะนำไปสู่ Fail State ในที่สุด

ผม ไม่อยากพูดคำนี้ เพราะนั่นคือภาพรวมทั้งหมด แต่ผมหมายถึงเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นกับอำนาจในเชิงบริหารและเรื่องระบบการ เลือกตั้งเท่านั้น ในช่วงเวลานี้อำนาจฝ่ายอื่น ๆ ยังสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติอยู่

ผมยกตัวอย่างกรณีรัฐบาลจอมพลถนอม (กิตติขจร) เขาไม่ได้เป็นรัฐบาลรักษาการ แต่บินหนีออกนอกประเทศในช่วงเหตุการณ์ 14 ต.ค. 2516 ช่วงเวลาดังกล่าวกฎหมายไม่มีกลไกมากพอที่จะแก้ปัญหาเช่นนี้ จึงนำไปสู่ภาวะสุญญากาศ และนำไปสู่การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยรองประธานสภานิติบัญญัติ แต่ สถานการณ์ตอนนี้ไม่อาจเรียกว่าสุญญากาศ แต่จะมีความชอบธรรมหรือไม่นั่นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะในทางข้อเท็จจริงเวลานี้ เราไม่มีผู้คุ้มครองประโยชน์สังคมโดยรวม หรือฝ่ายบริหารที่มีอำนาจเต็ม มันก็กระทบทั้งเศรษฐกิจ สังคม หรือแม้กระทั่งความปลอดภัย ผมถามว่าภาวะเช่นนี้ประชาชนจำเป็นต้องทนหรือไม่

- หากไม่ใช่ภาวะสุญญากาศ หมายความว่าในทางกฎหมายย่อมมีทางออกรองรับ


ถูก ต้อง แต่จะทำอย่างไรให้มีผู้บริหารใหม่ที่เข้ามาดูแลผลประโยชน์ของสังคม ผมว่าทางออกหนึ่งก็คือสถาบันการเมืองเท่าที่เหลืออยู่ตอนนี้ก็มีวุฒิสภา บวกกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญทั้งหมดที่มีอยู่ ต้องมาหารือร่วมกันแล้วว่าจะทำอย่างไร

ตรงนี้ผมกำลังหมายความว่า ถ้าที่ประชุมองค์กรและสถาบันทางการเมืองหารือกันเพื่อผ่าทางตัน ก็จะยึดโยงไปถึงอำนาจตามมาตรา 7 ผมกำลังอธิบายว่านี่คือฐานที่มาของการใช้มาตราดังกล่าว และถ้าสุดท้ายที่ประชุมเห็นว่าควรผ่าทางตันอย่างไร ก็จะนำไปสู่ประเด็นกำหนดตัวผู้บริหารใหม่ต่อไป

- กำลังเสนอให้ใช้มาตรา 7 นำไปสู่การตั้งนายกรัฐมนตรีคนกลาง

หมาย ความว่ากระบวนการที่มามันต้องมาจากฐานการประชุมอันนี้ว่าจะมีแนวทางอย่างไร ถ้าแนวทางนี้ที่มีรองประธานวุฒิสภาเห็นสมควรดำเนินการให้เสนอชื่อก็ต้องทำ นี่ผมยกตัวอย่างนะ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวก็แสดงให้เห็นว่าได้ผ่านฐานการตัดสินใจขององค์กร สถาบันตามรัฐธรรมนูญมาแล้วใช่ไหม ก็ถือเป็นข้อที่นำไปพิจารณาได้

ที่ ผมพูดแค่เฉพาะตัวที่มาของรัฐบาลใหม่ แค่เฉพาะคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ส่วนสภาจะมาอย่างไร ผมว่าไม่ใช่ประเด็นที่เราต้องมานั่งถกเถียงกัน เพราะวุฒิสภาก็ยังทำหน้าที่ได้ นี่คือคำอธิบายว่าเราไม่ได้กำลังเผชิญกับภาวะสุญญากาศเลย นี่คือประเด็น

ผม ไม่ได้พูดถึงเรื่องการสร้างองค์กรอะไรใหม่ แต่นี่เป็นกระบวนการตามกรอบรัฐธรรมนูญ ถ้าวันนี้เราลองเลือกตั้งมาแล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ และยังไม่มีวี่แววว่าจะสำเร็จ อันนี้ก็ถือเป็นทางออกตามกระบวนการกฎหมายตามกรอบปกติ

ส่วนในทางการ เมืองก็ไปเจรจากัน นั่นเป็นคนละเรื่อง ถ้าคิดว่าจะดึงใครเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องบ้างก็ไปคุยกันทางการเมือง แต่ในคอนเซ็ปต์ผม เป็นเรื่องทางกฎหมาย ยึดโยงตามกรอบรัฐธรรมนูญ ก็ยึดโยงตามสถาบัน องค์กรทางการเมืองที่มีอยู่ ให้เขาผ่าทางตันเสีย

อย่าง ไรก็ตามมันอาจต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น เพื่อไม่ให้เป็นการโยนภาระไปสู่ข้างบน กระบวนการอาจเกิดขึ้นโดยประธานรัฐสภา ยื่นเรื่องโดยองค์กรศาลหรืออะไรก็แล้วแต่ เพื่อให้วินิจฉัยผ่าทางตันเสียก่อน

- รัฐบาลเองบอกว่าจะอยู่รักษาการจนกว่าการเลือกตั้งจะเรียบร้อย เพื่อรักษาประชาธิปไตย ก็ยึดโยงตามหลักกฎหมายเช่นกัน

นั่น คือประเด็นที่ผมพูดตั้งแต่ต้นว่า เรากำลังเผชิญภาวะ Fail Government และ Fail Election เป็นปัญหาสำหรับนายกรัฐมนตรี อย่าว่าแต่บริหารประเทศเลย แค่อยู่ในกรุงเทพฯยังมีปัญหา นั่นคือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

- ถือเป็นการเรียกร้องให้คุณยิ่งลักษณ์รับผิดชอบในเชิงจริยธรรมมากกว่าทางกฎหมายหรือไม่


ความ จริงแล้ว เบื้องหลังของกฎหมายทั้งหมดคือประโยชน์สาธารณะนะ ถามว่าคุณยิ่งลักษณ์แก้ปัญหาให้ชาวนาเขาอย่างไร ถามว่าจะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ปัญหาที่ทุกฝ่ายเรียกร้องถึงการปฏิรูป ปัญหาเรื่องราชการแผ่นดินจะทำอย่างไร ในเมื่ออำนาจถูกล็อกด้วยข้อกฎหมาย

การดำเนินการเลือกตั้งมันคงไม่ ได้บอกว่าให้รัฐบาลรักษาการจะต้องอยู่จนชั่วนิรันดร์หรอกนะ ในภาวะปกติอาจจะใช้เวลาแค่ 30 วันก็เปิดประชุมสภา แต่นี่ผ่านมาแล้วยังทำอะไรไม่ได้เลย แน่นอนว่าคุณยิ่งลักษณ์อยู่ชั่วนิรันดร์ไม่ได้ เพราะรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งยังมีกรอบระยะเวลา 4 ปีเลย ดังนั้นสภาพรักษาการก็ต้องมีกรอบเวลาเช่นเดียวกัน

ถ้ายังถกเถียงกันว่าอยู่ต่อไปได้ รัฐบาลประกาศว่าอย่าเลือกตั้งเลยได้ไหม ก็อยู่ไปสิ อยู่จนกว่าคนคนนั้นจะตายไป ถ้าอธิบายอย่างนี้ก็ไม่ได้ ถูกไหมครับ เพราะมันไม่ใช่เจตนารมณ์ของกฎหมาย

- จะอธิบายเรื่องเงื่อนเวลาของรัฐบาลรักษาการอย่างไร

หลาย คนพยายามจะเอามาตรา 127 มาอธิบายเรื่องข้อจำกัดนี้ ในความเห็นผมเองมองว่าเจตนารมณ์ของมาตรานี้ไม่ต้องการให้รัฐบาลรักษาการนาน ถึงบังคับกรอบ 30 วันเพื่อให้มีรัฐบาลใหม่ แต่นั่นก็ในภาวะปกติ แต่กรณีนี้ไม่ใช่ปกติ เพราะการเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่สามารถส่งผลดังกล่าวได้ นี่คือประเด็นที่หนึ่ง

เมื่อมีปัญหาเช่นนี้แสดงว่า มาตรา 127 ไม่ฟังก์ชั่นแล้ว แล้วถามว่าจะคิดอย่างไรที่จะบอกว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรม ก็ต้องไปหาทางอื่น นั่นคือสิ่งที่ผมพูดว่า หากดำเนินการตามกรณีทั่วไปไม่ได้ ก็อาจจะต้องมีกลไกที่นำไปสู่การวินิจฉัย

- คำตอบในเชิงรูปธรรมที่พูดถึงตอนนี้ คือคุณยิ่งลักษณ์ต้องรับผิดชอบด้วยการถอยออกไปก่อน

คือ...การ ลาออกมันไม่ใช่ว่าไม่เป็นประชาธิปไตยนะ เดี๋ยวจะเข้าใจผิดกันอีก เพราะในประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายก็มีการลาออกด้วยกันทั้งนั้น แต่ปัญหาก็คือว่าถ้าจะบอกว่าตัวนายกรัฐมนตรีลาออกไม่ได้ มันไม่มีที่ไหนหรอกในทางกฎหมายที่เป็นแบบนั้น

ผมขอถามใหม่ว่าการ รักษาการแบบนี้ คนที่อยู่ในตำแหน่งตายได้หรือไม่ คุณมีหน้าที่ในการรักษาการ เพราะเจตนารมณ์กฎหมายไม่ต้องการให้ประเทศเป็นสุญญากาศ แต่ถ้าคุณมีหน้าที่รักษาการ แต่ไม่ประสงค์จะรักษาการได้หรือไม่ ผมว่าทางกฎหมายไม่ได้มีปัญหาอะไร มันทำได้อยู่แล้ว

- ทางกฎหมายเหมือนมีทางไปต่อ แต่ถ้าความขัดแย้งบนท้องถนนยังไม่จบ กลไกทั้งหมดก็เดินหน้าได้หรือไม่

แน่ นอนว่าสภาพการณ์มันไม่เหมือนเดิม 14 ต.ค. 2516 ที่เป็นสุญญากาศจริง แต่ปีนี้ไม่เหมือนกัน ความขัดแย้งมีหลายฝ่ายยังดำรงอยู่ และคาราคาซังอยู่ แต่สิ่งที่ทุกคนเห็นพ้องคือเรื่องการปฏิรูปไม่ใช่หรือ ผมคิดว่าทุกคนเห็นพ้องเรื่องนี้

ในความเห็นผม ทำไมไม่ทำสิ่งนี้เพื่อแก้ปัญหาประชาชนก่อน เพื่อเดินหน้ากระบวนการปฏิรูปก่อน ผมเข้าใจว่าทุกอย่างผูกโยงกับความขัดแย้งทางการเมือง แม้แต่สิ่งที่เห็นพ้องต้องกันอย่างการปฏิรูปก็เกิดขึ้นไม่ได้ อันนี้ต่างหากที่ผมบอกว่าทำไมประชาชนต้องไปรอให้คู่ขัดแย้งทะเลาะกันให้จบ การปฏิรูปก็ควรจะมีเส้นทางเดินของตนเองไป ไม่เกี่ยวกับการเมือง

แต่ จะทำให้สองฝ่ายกลับมาคุยเรื่องการปฏิรูปอย่างไร ผมก็ไม่รู้ ทางการเมืองต้องจัดการเอาเอง และถ้าไม่มีการเจรจา สุดท้ายคงต้องบี้กันให้จบไปข้างหนึ่ง แล้วค่อยมาปฏิรูปใช่ไหม ต้องการอย่างนั้นหรือ

ท้ายที่สุดก็ต้องปฏิรูปบนความหมายที่ว่าปฏิรูปบนซากอิฐเศษปูนคือล่มสลายก่อน แล้วค่อยมาพูดกัน ถ้าเราบอกว่าให้การเมืองตีให้จบก่อน หมายถึงต้องพังไปข้างหนึ่งก่อน สุดท้ายคงไม่ต่างกับการเกิดของกรุงเทพฯ ที่ต้องรอให้กรุงศรีอยุธยาถูกเผาอย่างนั้นหรือ

- เงื่อนไขอย่างสงครามกลางเมืองหรือการปฏิวัติเป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปหรือไม่

คือ สงครามกลางเมืองเป็นอุปสรรคใหญ่อยู่แล้ว และถ้าเกิดขึ้นความแตกแยกร้าวลึก กระบวนการปฏิรูปต้องใช้เวลา และการปฏิรูปก็คงไม่ได้อยู่ในบรรยากาศที่จะมาพูดถึงเท่าไร ส่วนการปฏิวัติก็คงทำให้ความขัดแย้งไม่จบ คงมีฝ่ายลุกขึ้นมาต่อสู้อีก ทำให้กระบวนการปฏิรูปถึงจะเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่าง ๆ

- พอสรุปได้ไหมว่า สภาพการณ์ที่ทั้งสองฝ่ายไม่มีใครยอมใคร การปฏิรูปอาจต้องใช้เวลาอีกนาน

ผม สรุปไม่ได้หรอก เพราะไม่รู้ว่าสถานการณ์จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ท้ายที่สุดอาจจะต้องสูญเสียกัน โมเดลปฏิรูปในโลกนี้เคยเกิดขึ้น 3 แบบ 1.นักการเมืองลุกขึ้นมาปฏิรูป อันนี้ไทยไม่เกิดขึ้น 2.ในฝรั่งเศส ทหารลุกขึ้นมาปฏิวัติ และกดดันฝ่ายการเมืองให้เกิดการปฏิรูปภายใน 6 เดือน อันนี้ก็คงไม่ง่าย 3.ในเยอรมนีสู้กันบนสงครามกลางเมือง ท้ายที่สุดก็เกิดการปฏิรูป แต่แปลว่าสังคมขัดแย้งแรงมาก จนต้องปฏิรูปบนซากอิฐเศษปูน

ผมว่าเราอยู่ระหว่างแนวทาง ฝรั่งเศส-เยอรมนีนี่ล่ะ ถ้าเอาทางอื่นก็ถามว่าไปได้หรือไม่ ถ้าเจรจากันตามความคิดของใครหลายคน มันก็ไปนานแล้ว แต่ในทางการเมืองคงทำไม่ได้ และผมว่าเราอยู่ก้ำกึ่งระหว่างสองสิ่งที่กล่าวข้างต้น แต่ไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศบ้าง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : กางกฎหมาย บรรเจิด สิงคะเนติ ผ่าทางตัน สุญญากาศ ยิ่งลักษณ์

view