สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

10 สาเหตุ ประเทศล้มเหลว

10 สาเหตุ "ประเทศล้มเหลว"

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




บางเรื่องดูเหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ทุกเรื่องก็เป็นเรื่องจริง

อยากรู้ไหมว่า อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ประเทศ “ล้มเหลว”?หาคำตอบได้จากAcemogluแห่งมหาวิทยาลัยHarvard และ Robinson จาก MITในหนังสือเรื่อง “Why Nations Fail: The Origins of Power, Prosperity, and Poverty”

นักเศรษฐศาสตร์ทั้งสองสรุปว่าไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆประเทศก็จะล้มเหลวลงไปเฉยๆ แต่ต้องมีสาเหตุที่นำไปสู่อาการสั่นคลอนอยู่ระยะหนึ่งก่อนและ สาเหตุที่ทำให้ประเทศล้มเหลวนั้นมี 10 ประการ ดังนี้

1.รัฐเป็นเจ้าของที่ดิน(เกาหลีเหนือ)ประชาชนไม่มีแรงจูงใจในการเพิ่มผลผลิต แม้รัฐบาลได้อนุญาตให้ถือครองที่ดินได้บางส่วนในปี 2008 แต่ก็ไม่มากพอที่จะทำให้เกิดแรงจูงใจได้ ดังนั้น หลังจากเกาหลีเหนือแยกตัวจากเกาหลีใต้มาเป็นเวลา 60 ปี จึงยากจนลงอย่างมาก เทียบไม่ได้เลยกับความรุ่งเรืองของเกาหลีใต้ แม้แต่ส่วนสูงเฉลี่ยของประชาชนเกาหลีเหนือ ก็ยังต่ำกว่าชาวเกาหลีใต้ ถึง 3 นิ้วอีกด้วย

2.บังคับใช้แรงงาน(อุซเบกิสถาน) รัฐบังคับให้ประชาชนทำงานในไร่ฝ้าย ไม่ละเว้นแม้เด็กนักเรียน ครูไม่ได้สอนหนังสือ เพราะต้องจัดส่งแรงงานเด็กให้รัฐ เด็กต้องทำงานให้ได้ผลผลิตฝ้ายวันละ 20-60 กิโลกรัมไม่ได้รับโอกาสในการศึกษา ส่วนประธานาธิบดีและพรรคพวกต่างควบคุมธุรกิจและผลประโยชน์จากการค้าฝ้ายไว้ทั้งหมด

3.สองมาตรฐาน (แอฟริกาใต้)ปี 1904-1980 ประชาชนผิวดำทำงานได้เฉพาะในเหมืองแร่และภาคเกษตรกรรมเท่านั้น คนผิวดำจึงกลายเป็นชนชั้นแรงงานที่ไร้ฝีมือไม่มีโอกาสพัฒนาความรู้ความสามารถในการดำรงชีพที่ดีขึ้น

4.ผู้นำไม่รู้จักพอ (อียิปต์)ฮอสนี่ มูบารัค ปกครองประเทศอยู่30 ปี เขาและพรรคพวกควบคุมอำนาจทางเศรษฐกิจไว้มากถึง 40% ด้วยการเป็นเจ้าของธุรกิจผูกขาด ออกมาตรการกีดกันคู่แข่งรายใหม่ แม้เมื่อเปิดธุรกิจใดให้มีการแข่งขันได้ก็ยังใช้อำนาจผลักดันให้ตกเป็นธุรกิจของพรรคพวกเท่านั้น เช่นครอบครัว Ezzควบคุมธุรกิจเหล็ก ครอบครัวSawirisควบคุมธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคมเป็นต้น นอกจากนั้นยังได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น กู้เงินได้โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ จนกระทั่งมีชื่อเรียกกลุ่มธุรกิจของมูบารัคและพรรคพวกว่า “ปลาวาฬ”(Whales)

5.ไม่รับวิทยาการใหม่(ออสเตรียและรัสเซีย)ผู้นำปฏิเสธวิทยาการใหม่ ที่อาจกระทบความมั่นคงในการปกครอง เช่นในทศวรรษ1880s ขณะที่อังกฤษกำลังขยายเส้นทางรถไฟขนานใหญ่ ได้ระยะทางถึง 6,000 ไมล์ แต่รัสเซียกลับปฏิเสธและสร้างเพียง 17 ไมล์เท่านั้น แถมยังเป็นเพียงเส้นทางจาก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไปยังพระราชวังของพระเจ้าซาร์ เสียอีกด้วยประชาชนไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

6.สังคมไร้กฎหมาย (โซมาเลีย)รัฐบาลกลางไม่มีอำนาจมากพอ ในการออกกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างๆ รวมทั้งไม่สามารถควบคุมสังคมให้อยู่ในกฎกติกาได้ ระบบสังคมและเศรษฐกิจจึงล้มเหลว

7.รัฐบาลอ่อนแอ (โคลัมเบีย) คล้ายคลึงกับโซมาเลีย แต่เหตุผลและอาการต่างกัน คือเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยผู้ทรงอิทธิพล มีนักเลงใหญ่ใช้อาวุธเต็มบ้านเต็มเมือง จนรัฐบาลกลางไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ เพื่อดูแลประชาชนได้

8.โครงสร้างพื้นฐานไม่เท่าเทียม(เปรู) เมือง Calcaกับเมือง Acomayoอยู่ในหุบเขาเหมือนกันผลิตสินค้าเกษตรประเภทเดียวกัน แต่รัฐบาลกลับทุ่มเททรัพยากรในการสร้างถนนเข้าถึงเมือง Calcaเท่านั้น การไปเมือง Acomayoกลับต้องขี่ม้าหรือลา

9.หักหลังประชาชน(โบลิเวีย)ปี 1952 ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านชนชั้นสูงเจ้าของที่ดินและเหมืองแร่ จากนั้นก็ได้รัฐบาลใหม่ ซึ่งเข้ายึดที่ดินและเหมืองแร่กลับคืนมาทั้งหมด สร้างความเท่าเทียมในสังคม แต่อีกไม่นานคณะปฏิวัติก็กลับตั้งพรรคการเมือง แล้วบริหารประเทศโดยหาผลประโยชน์จากการเป็นเจ้าของที่ดินและเหมืองแร่เช่นเดิม เอาเปรียบประชาชนมากกว่าเดิมเสียอีก

10. แย่งชิงทรัพย์สิน (Sierra Leone)ประเทศเล็กๆ ประชาชนเพียง 6 ล้านคน อุดมด้วยเหมืองเพชรและทองคำผู้นำต่างแสวงหาประโยชน์จากเหมืองอย่างมากมาย จนนำไปสู่การแย่งชิงอำนาจ ผู้นำรายใหม่เข้ามา ก็หาประโยชน์แบบเดียวกันอีก ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองอันเหี้ยมโหด ระหว่างปี 1991-2002 ประชาชนเสียชีวิตกว่า 50,000 คนลี้ภัยไปที่ต่างๆกว่า 2.5 ล้านคน

ที่ผมสรุปมานี้ บางเรื่องดูเหมือนไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ทุกเรื่องก็เป็นเรื่องจริง ที่ผมนำมาเล่าก็เพื่อให้เป็นบทเรียน เพื่อเราจะได้หลีกเลี่ยง ไม่ให้ประเทศของเรา เข้าสู่สภาพที่ทำให้ล่มสลาย เช่นนั้น

คุณผู้อ่านลองใช้ดุลพินิจนะครับว่าวันนี้ไทยเราเข้าข่ายข้อใดหรือไม่ ถ้าไม่เข้าเลย ก็จะได้โล่งใจ แต่ถ้าเข้าข้อใดข้อหนึ่ง ต้องรีบแก้ไขก่อนที่จะสายเกินไป ...โหวตได้เลยครับว่า“เราไม่เข้าข่ายสักข้อ”หรือว่า“เข้าข้อใดข้อหนึ่งอย่างชัดเจน”

ถ้าโหวตอย่างหลัง ช่วยตอบด้วยว่า “ข้อไหนครับ?”


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : 10 สาเหตุ ประเทศล้มเหลว

view