สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

50-30-20 สูตรสำเร็จการสร้างผู้นำ

50-30-20 สูตรสำเร็จการสร้างผู้นำ

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




สำหรับฉบับนี้ผมจะขอแชร์ต่อสำหรับ 2 ขั้นตอนสุดท้ายของการพัฒนา Leadership Brand ที่ทาง Professor Dave Ulrich ได้ให้เกียรติมาบรรยาย

และจัด Workshop ให้กับผู้บริหารของธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา หลังจากที่เราได้กำหนด Leadership Competency ขององค์กรที่ต้องจะประกอบด้วยทั้งคุณลักษณะพื้นฐานที่ผู้นำที่ดีต้องมีและมีส่วนประกอบของ DNA ที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรซึ่งสามารถสร้างความสำเร็จให้กับองค์กรอย่างยั่งยืนแล้วนั้น

เราคงต้องมาประเมินเพื่อหาช่องว่างในการพัฒนาเพื่อที่จะได้กำหนดแผนการพัฒนาที่ตรงกับความต้องการ การประเมินสมรรถนะของผู้นำที่จะเป็นประโยชน์มากจะต้องวัดได้ว่าผู้นำมีความรู้และทักษะอะไร ตัวตนเราเป็นอย่างไร และการกระทำของตัวเองมีผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไร ซึ่งเครื่องมือการประเมินนั้นมีอยู่หลากหลาย อาทิ แบบทดสอบทางจิตวิทยา (Psychometric Test) แบบประเมินสมรรถนะผู้นำ (Competency-based Assessment) การสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม (Behavior-based Interview) การทดสอบโดยใช้ Simulation/Role-play Exercise ฯลฯ สำหรับการเลือกเครื่องมือนั้นควรจะคำนึงถึงวัฒนธรรมองค์กรว่าเป็นอย่างไรและไม่ควรจะใช้เพียงแค่เครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่ง เพื่อให้ผลการประเมินมีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับ

แต่ทว่าจะใช้เครื่องมือใดเราจะต้องแน่ใจว่าเราได้ใช้ผลการประเมินนั้นในการพัฒนาผู้นำเพื่อการเสริมสร้างจุดแข็งและปรับปรุงจุดอ่อนของผู้นำแต่ละคน และควรสร้างบรรยากาศให้ผู้นำที่ได้รับการประเมินควรมีมุมมองต่อผลการประเมินหรือ feedback ต่างๆ เปรียบเสมือนการได้รับของขวัญอันมีค่าจากองค์กรเพื่อที่จะได้นำเอาข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงตนเองต่อไป เมื่อสามารถทำให้การประเมินเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาได้ จะทำให้การพัฒนาเป็นแบบ Must Have ซึ่งเป็นการกำหนดแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan : IDP) ที่เป็นลายแทงไปสู่ความสำเร็จของแต่ละคน ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การพัฒนาแบบ Nice to Know เท่านั้น

สูตรในการพัฒนาผู้นำที่ Professor Dave Ulrich แนะนำ คือ 50-30-20 ซึ่งหมายถึงสัดส่วนของการพัฒนานั้นจะต้องประกอบด้วย 50% จากการเรียนรู้ผ่านการทำงาน (On-the-Job Experience) ไม่ว่าจะเป็นการมอบหมายงานหรือโครงการที่ท้าทาย แต่ที่สำคัญการเรียนรู้โดยการลงมือทำจะประสบผลสำเร็จได้นั้น จะต้องมีการให้คำปรึกษาและ Feedback โดยผ่านกระบวนการ Coaching และที่ธนาคารไทยพาณิชย์เราก็ได้นำแนวคิดนี้มาใช้ในการพัฒนา โดยมีการดำเนินโครงการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง (Action Learning Project) ซึ่งเป็นโครงการเรียนรู้ที่พนักงานจะนำประเด็นหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในธนาคารมาร่วมกันหาโอกาสทางธุรกิจหรือวิธีการแก้ปัญหา โดยมีผู้บริหารระดับสูงจากกลุ่มงานต่างๆ คอยเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ ซึ่งการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในทีมที่มาจากหลากหลายกลุ่มงานภายใต้บรรยากาศที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้เกิดความรอบรู้ในการดำเนินธุรกิจของธนาคารและยังเป็นการเรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกันอีกด้วย

สำหรับ 30% ควรจะเป็นการพัฒนาในรูปแบบการฝึกอบรมที่เป็นทางการที่จะต้องมีเนื้อหาสอดคล้องกับ Leadership Competency ที่ได้กำหนดไว้ และต้องมีรูปแบบการฝึกอบรมที่หลากหลายให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้นั้นๆ การเรียนรู้ในห้องเรียนจะเปลี่ยนรูปแบบจากการที่ผู้เรียนนั่งฟังจากวิทยากรอย่างเดียว เป็นการที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาความรู้จาก E-Learning หรือการอ่าน E-Book มาก่อนเข้าเรียน ส่วนในห้องเรียนจะเป็นการเรียนรู้ร่วมกันโดยการแบ่งปันประสบการณ์จากเพื่อนๆ ในห้องเรียน โดยมีวิทยากรทำหน้าที่เป็น Facilitator และที่สำคัญการเรียนรู้ไม่ควรจบเพียงแค่ในห้องเรียน แต่การเรียนรู้นั้นจะสัมฤทธิผลได้นั้น เราต้องมีการออกแบบกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องนำความรู้จากห้องเรียนมาใช้ในการทำงาน นอกจากนั้นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจคือ การที่เราสนับสนุนให้ผู้นำได้ทำหน้าที่เป็นวิทยากรภายใน เนื่องจากเป็นการส่งเสริมให้ผู้นำได้พัฒนาสมรรถนะของตนเองให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น และยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้นำในบทบาทการสร้างคนอีกด้วย

ส่วนอีก 20% เป็นการเรียนรู้ผ่านการสร้างประสบการณ์ชีวิตนอกเหนือจากการทำงาน ที่จะช่วยสร้างความหมายให้กับชีวิต หรือสร้างเครือข่ายของผู้นำของเรา เช่น การเข้าร่วมสมาคมหรือชมรมวิชาชีพต่างๆ การร่วมทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคม การเป็น Coach หรือ Mentor ให้กับบุคคลอื่นนอกองค์กร การเข้าร่วมกิจกรรมปฏิบัติธรรม โดยองค์กรสามารถสนับสนุนด้านการเงินหรือเวลาได้

การพัฒนาผู้นำที่ถือเป็นกำลังหลักขององค์กรในการผลักดันให้องค์กรเดินไปสู่ความสำเร็จไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การพัฒนาความสามารถของผู้นำแต่ละคน แต่รวมถึงการสร้างระบบและกระบวนการที่สนับสนุนในการพัฒนาผู้นำอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน อีกทั้งไม่ใช่เพียงแค่การพัฒนาผู้นำในปัจจุบันแต่เป็นการเตรียมผู้นำรุ่นต่อๆ ไปด้วย และที่สำคัญการประเมินผลของการพัฒนาผู้นำจะต้องคำนึงถึงผลต่อความสำเร็จเชิงธุรกิจขององค์กรด้วย


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : 50-30-20 สูตรสำเร็จการสร้างผู้นำ

view