สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

รัฏฐาธิปัตย์-เกิดยากแนะเจรจาสู่เลือกตั้ง

รัฏฐาธิปัตย์-เกิดยากแนะเจรจาสู่เลือกตั้ง

จาก โพสต์ทูเดย์

จุดแตกหักทางการเมืองเวลานี้ ต้องรอถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญ (รธน.) นัดตัดสินคดี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในคดีย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี พ้นเก้าอี้เลขาธิการสภาความมั่นคง (สมช.) โดยไม่ชอบตาม รธน. ซึ่งมีการคาดหมายว่าเป็นช่วงหลังเทศกาลสงกรานต์ โดยแกนนำม็อบสองฝ่ายต่างประกาศนัดชุมนุมใหญ่ในวันเดียวกัน

ทั้งนี้ กลุ่ม กปปส. โดย สุเทพ เทือกสุบรรณ ประกาศให้มวลชนออกมาทันทีโดยไม่ต้องฟังเสียงนกหวีด หากศาล รธน. ตัดสินให้ ยิ่งลักษณ์ พ้นจากตำแหน่ง ซึ่ง สุเทพ บอกว่า จะประกาศความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ เสนอทูลเกล้าฯ ถวาย ตั้งนายกรัฐมนตรี ด้วยตัวเอง ในขณะที่ จตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่ม นปช. ได้นัดเสื้อแดงออกมาชุมนุมคัดค้านเช่นกัน โดยบอกว่า จะเป็นการวัดกำลังกัน ระหว่างกลุ่ม นปช. กับระบอบอำมาตยาธิปไตย ว่า แนวทางของกลุ่มใดจะมีผู้สนับสนุนมากกว่ากัน

สถานการณ์จากนี้ไป ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประเมินว่า ข้อเสนอเรื่องรัฏฐาธิปัตย์ของ กปปส.เป็นไปได้ยากมาก เพราะหากศาล รธน.วินิจฉัยว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องพ้นทั้งคณะ ก็จะมีข้อถกเถียงกันว่าบุคคลใน ครม.ที่ร่วมลงมติโยกย้าย ถวิล กับผู้ที่อยู่ใน ครม.รักษาการบางคนไม่ได้อยู่ร่วมด้วย จึงไม่เกี่ยวข้องและไม่ต้องพ้นจากตำแหน่ง

“จะมีบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องหลงเหลืออยู่และทำหน้าที่รักษาการต่อไปได้ ประเด็นก็คือทางกลุ่มคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทย ก็จะบอกว่า คนที่เหลืออยู่นี้สามารถทำงานได้ และทิศทางต้องมุ่งไปสู่การเลือกตั้ง ส่วนฝ่าย กปปส.ก็จะบอกว่าทำงานไม่ได้แล้ว ก็ว่ากันต่อไป”

อาจารย์ไชยันต์ บอกอีกว่า หากคำวินิจฉัยทำให้นายกฯ พ้นสภาพเพียงคนเดียว ครม.ก็ต้องอยู่ต่อไป

“โดนปกติแล้วไม่มีใครเขาประกาศก่อนว่าจะทำให้เป็นรัฏฐาธิปัตย์ หัวใจจริงๆ มันอยู่ที่การแอ็กชั่น คือเมื่อยึดอำนาจสำเร็จแล้วมันก็จะเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องประกาศ”

สำหรับการระดมพลของกลุ่มคนเสื้อแดง ในวันที่ศาล รธน.จะวินิจฉัยคดีนั้น อาจารย์ไชยันต์ ประเมินว่า หากฟังคำปราศรัยของกลุ่มคนเสื้อแดงจริงๆ จะพบว่าเสื้อแดงไม่ได้บอกว่าจะปกป้องนายกฯ เพียงอย่างเดียว แต่บอกว่าจะปกป้องประชาธิปไตย คือแม้ว่า ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้เป็นนายกฯ แล้วก็ยังจะยกย่อง แต่จะสนับสนุนคนที่เป็นรองนายกฯ ที่ขึ้นมารักษาการแทนเพื่อเดินหน้าสู่การเลือกตั้งต่อไป

“จะเห็นว่า กลุ่มคนเสื้อแดงก็ยอมสละยิ่งลักษณ์แล้ว ถามว่าจากนี้ กปปส.จะใช้กฎหมายข้อใดในการบีบให้คนที่รักษาการลาออกอีก ผมเห็นว่า ควรใช้สถานการณ์นี้พบกันคนละครึ่งทาง คือที่ กปปส.บอกว่าจะล้มระบอบทักษิณจากนี้ก็จะไม่มีคนตระกูลชินวัตรแล้ว อย่างน้อยก็ช่วงสั้นๆ ส่วนคนเสื้อแดงก็ยอมสละยิ่งลักษณ์แล้ว ดังนั้นจึงมาคุยกันว่าจะเดินหน้าเข้าสู่การเลือกตั้งอย่างไรหลังจากเลือกตั้งแล้วรัฐบาลใหม่อาจจะอยู่เพียง 1 ปีหรือไม่ หรือถ้ายังอยากจะฆ่ากันต่อไปก็เอา” อาจารย์ไชยันต์ กล่าวทิ้งท้าย

ถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการ สมช. กล่าวว่า หลังจากนี้ ต้องจับตาถึงท่าทีของ ยิ่งลักษณ์ ว่าจะไปแก้ต่างศาลรัฐธรรมนูญและ ป.ป.ช. หรือไม่ ส่วนการประกาศตั้งรัฏฐาธิปัตย์ของ สุเทพ เห็นว่า ยังไม่ควรทำ เพราะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ทุกฝ่ายต้องเดินตามกรอบกติกา

ขณะที่ ความเคลื่อนไหวทางการเมือง เมื่อวันที่ 7 เม.ย.นั้น กลุ่มเสื้อแดงซึ่งได้ชุมนุมที่ถนนอักษะ ได้สลายการชุม โดย จตุพร ได้ประกาศนัดชุมนุมใหม่ ในวันที่ศาล รธน.นัดวินิจฉัยคดี ยิ่งลักษณ์ และ ในวันที่ 8 เม.ย. จะประชุมแกนนำ นปช. เพื่อหารือถึงการชุมนุม

ด้าน พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ได้รวบรวมคำปราศรัย สุเทพ ที่คิดจะล้มล้างการปกครอง ตั้งตนเป็นองค์รัฏฐาธิปัตย์ เข้าข่ายผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 สมคบเตรียมกำลังพลเพื่อเป็นกบฏ จะยื่นให้ดีเอสไอในวันที่ 8 เม.ย. เพราะเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ

ในขณะที่ ถาวร เสนเนียม แกนนำกลุ่ม กปปส. กล่าวว่า การชุมนุมของ 2 กลุ่มไม่ได้เป็นการสร้างเงื่อนไขให้ทหารออกมาปฏิวัติ โดยกลุ่ม กปปส.จะชุมนุมในที่ตั้ง


อำนาจอธิปไตย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำนาจอธิปไตย หรือ รัฏฐาธิปัตย์ (aอังกฤษ: sovereignty) หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้น สิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยหาได้ไม่

อำนาจอธิปไตย ย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นต้น

อนึ่ง อำนาจอธิปไตยนี้ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วย อาณาเขต ประชากร และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอำนาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมีอำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า "รัฐ" ได้

แนวคิดอำนาจอธิปไตย

ในสารานุกรมบริเตนนิกา กล่าวได้ว่าหมายถึง สิทธิแห่งอัตลักษณ์ทางการเมือง (Political Entity) ที่บ่งบอกถึงการใช้อำนาจของรัฐาธิปัตย์หรือผู้มีอำนาจสูงสุดทางการปกครอง อันแสดงถึงมโนทัศน์ของการมีอำนาจสูงสุด (the supremacy of power) ภายในขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์แห่งรัฐ

แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย ในกฎหมายระหว่างประเทศ ระบุไว้ว่าอำนาจประการนี้หมายความถึง การใช้อำนาจโดยรัฐ อำนาจอธิปไตยโดยนิตินัย (De jure Sovereignty) หมายความถึง สิทธิอำนาจตามกฎหมายที่จะกระทำการหนึ่งใด ส่วนอำนาจอธิปไตยโดยพฤตินัย (De facto Sovereignty) ความสามารถในทางจริงที่จะกระทำการเช่นนั้น

อำนาจตามความที่กล่าวถึงข้างต้น หมายความไปถึงอำนาจในลักษณะการที่สามารถเข้าใจได้ง่ายว่าเป็นอำนาจสูงสุดทาง การปกครองของประเทศหนึ่งประเทศใด หรือรัฐหนึ่งรัฐใด ในฐานะหนึ่งที่อำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นและขาดเสียมิได้ของรัฐสมัยใหม่ (Modern State) หรือรัฐประชาชาติ (Nation-State) มิเช่นนั้น รัฐหรือรัฐประชาชาตินั้น ย่อมขาดความเป็นเอกราชในทางการเมืองการปกครอง

เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ (2508, 100) ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตยไว้ดังนี้

  1. ความเด็ดขาด (Absoluteness) กล่าวคือ ไม่มีอำนาจอื่นใดภายในรัฐที่เหนือกว่า และจะไม่มีอำนาจอื่นที่มาจำกัดอำนาจในการออกกฎหมายของรัฐ
  2. การทั่วไป (Universality) อำนาจอธิปไตยของรัฐ มีอยู่เหนือทุกคนและทุกองค์กรที่อยู่ในรัฐ มีข้อยกเว้นเพียงแต่ว่า เมื่อมีผู้แทนของต่างรัฐมาประจำในประเทศ ผู้แทนต่างรัฐจะไม่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐนั้น ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติระหว่างประเทศมานาน
  3. ความถาวร (Permanence) อำนาจอธิปไตยของรัฐยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังคงดำรงอยู่ ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในนามของรัฐอาจจะเปลี่ยนแปลงหรืออาจมีการปฏิรูปการปกครอง เปลี่ยนระบบของรัฐบาลได้ แต่อำนาจอธิปไตยมิได้สูญหายไปจากรัฐ
  4. การแบ่งแยกมิได้ (Indivisibility) หมายความว่า ในรัฐ ๆ หนึ่ง จะต้องมีอำนาจอธิปไตยที่เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น หากมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยก็ย่อมเป็นการทำลายอำนาจอธิปไตย แต่ในที่นี่การแบ่งแยกดังกล่าวมิได้หมายถึง การแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยให้องค์กรต่าง ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจ

นับได้ว่า ฌ็อง บอแด็ง (Jean Bodin) เป็นนักปรัชญาการเมืองของโลกตะวันตก ชาวฝรั่งเศส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ พ.ศ. 2100 คนแรกที่ริเริ่มใช้คำว่าอำนาจอธิปไตย ในความหมายที่เข้าใจกันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือในความหมายที่เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่รัฐทั้งหลายในโลกปกครองโดยระบอบที่มีกษัตริย์มี อำนาจเด็ดขาดหรือสมบรูณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้คติความเชื่อทางการปกครองอันไม่แตกต่างกันมากนักว่ากษัตริย์เป็นผู้ ได้รับอาณัติอำนาจจากสวรรค์ หรือจุติจากสวรรค์ลงมาปกครองโลก (Divine Rights of King)

บอแด็งได้เสนอปรัชญาเกี่ยวกับทฤษฎีอำนาจอธิปไตยไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นเครื่องหมายที่บอกถึงความแตกต่างระหว่างรัฐกับสังคมอื่น ๆ ที่ครอบครัวหลายครอบครัวอยู่ร่วมกัน บอแด็งได้เริ่มต้นอธิบายเรื่องนี้ไว้ในบทที่ 8 และบทที่ 10 ของหนังสือเรื่อง "Six Books" พรรณนาว่าครอบครัวเป็นพลเมืองของรัฐ ซึ่งต้องยอมอยู่ภายใต้อำนาจขององค์อธิปัตย์ หรือผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุด ซึ่งโดยหลักการนี้ รัฐจึงประกอบด้วยผู้ปกครองและผู้ใต้อำนาจปกครอง และการยอมรับในอำนาจปกครองของพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครองนี่เอง จะทำให้มนุษย์เป็นพลเมืองได้เป็นประการสำคัญ นอกจากรัฐจะมีอธิปัตย์หรือมีอำนาจอธิปไตยแล้ว รัฐจะมีพลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของผู้ปกครองอันเดียวกัน แม้พลเมืองจะมีขนธรรมเนียมภาษากฎหมายที่ยอมรับบังคับใช้ หรือศาสนาที่ต่างจากผู้ปกครองก็ตาม

บอแด็งกล่าวเกี่ยวกับรัฐไว้ว่า รูปแบบของรัฐบาลจะเป็นรูปใดนั้น จะขึ้นอยู่กับว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของใคร หากเป็นของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจของรัฐก็จะเป็นของกษัตริย์ ซึ่งจะเป็นองค์อธิปัตย์หนึ่งเดียว หากเป็นคณะบุคคลปกครองก็จะเป็นคณาอธิปไตย ขณะที่ถ้าเป็นสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจปกกกครอง ก็จะเป็นประชาธิปไตย ในแง่รัฐบาล บอแด็งมีความเห็นว่ารัฐเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย ขณะที่รัฐบาลเป็นเครื่องมือที่รัฐจะใช้อำนาจอธิปไตย

อำนาจอธิปไตยในทัศนะของบอแด็งนั้นหมายความถึง อำนาจที่มีถาวรไม่จำกัด และไม่มีเงื่อนไขผูกมัดที่จะออกกฎหมาย ตีความและรักษากฎหมาย อำนาจนี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อรัฐที่มีระเบียบที่ดี อำนาจนี้เองทำให้รัฐแตกต่างไปจากการรวมกลุ่มของบุคคลในสมัยโบราณ อย่างไรก็ตาม บอแด็งเห็นว่า อำนาจอธิปไตยนี้อาจถูกจำกัดโดยกฎหมายธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ อันเป็นบรรดากฎหมายต่าง ๆ ที่กำหนดความถูกต้องหรือความผิดในลักษณะที่มุ่งให้คน รักษาสัญญาและเคารพทรัพย์สินของคนอื่น ส่วนอีกประการหนึ่งที่เป็นสิ่งจำกัดอำนาจอธิปไตยคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายถึงกฎหมายหลักของประเทศ (โดยเฉพาะหมายถึงรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส)

มงแต็สกีเยอ (Montesquieu) นักคิดนักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส ผู้ให้กำเนิดแนวคิดในการแบ่งแยกอำนาจปกครองสูงสุดหรืออำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย โดยพิจารณาในแง่ขององค์กรผู้ใช้อำนาจออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ตามแนวคิดของอริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์การเมืองชาวกรีกโบราณ บนพื้นฐานหรือมีเป้าประสงค์ประการสำคัญแหล่งหลักการคือการให้อำนาจแต่ละฝ่าย ถ่วงดุลและตรวจสอบซึ่งกันและกันทั้งสามฝ่าย และเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้ปลอดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบของ องค์กรภาครัฐที่ใช้อำนาจหนึ่งอำนาจใดที่อาจละเมิดลิดรอนโดยอำนาจรัฐไม่ว่า ฝ่ายใด ซึ่งตามแนวคิดดั้งเดิมของมงแต็สกีเยอนั้น ได้แบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (Puissance Legislative) ซึ่งใช้อำนาจปฏิบัติการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน และองค์กรที่ใช้อำนาจปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายเอกชน ซึ่งก็คือ สภาที่ทำหน้าที่ประชุมและปรึกษาในเรื่องการเมือง องค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือช้าราชการ และองค์กรฝ่ายตุลาการ นั่นเอง เหตุผลที่มงแต็สกีเยอเสนอแนวคิกให้แบ่งแยกอำนาจการปกครองสูงสุดนี้เนื่องจาก เขาเห็นว่า หากอำนาจในการนิติบัญญัติหรือการตรากฎหมาย อำนาจในการบริหารหรือการบังคับตามมติมหาชน และอำนาจตุลาการในการพิจารณาคดี ถูกใช้โดยบุคคลเดียวหรือองค์กรเดียว ไม่ว่าจะเป็นขุนนางหรือประชาชนก็ตามแล้ว ยากที่จะมีเสรีภาพอยู่ได้ ทั้งนี้เป็นเพราะ ผู้ใช้ทั้งอำนาจนิติบัญญัติรวมกับอำนาจบริหาร จะออกกฎหมายแบบทรราชและบังคับใช้กฎหมายในทางมิชอบ หากอำนาจตุลาการรวมกันกับอำนาจนิติบัญญัติ ผู้พิพากษาจะเป็นผู้ออกกฎหมาย อันอาจส่งผลให้ชีวิตและเสรีภาพของผู้ใต้การปกครอง ถูกบังคับควบคุมโดยกฎหมายที่ลำเอียง และหากให้อำนาจตุลาการรวมกับอำนาจบริหารแล้ว ผู้พิพากษาจะประพฤติตัวแบบกดขี่รุนแรง อันจำเป็นต้องแยกอำนาจแต่ละด้านออกจากกัน

อย่างไรก็ตาม ด้วยฐานคิดของมงแต็สกีเยอที่ว่า การแบ่งแยกอำนาจการปกครองมิใช่มรรควิธีประการเดียวในการตรวจสอบควบคุมการใช้ อำนาจรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลยากที่จะจัดการกับปัญหาการทุจริตจากการบริหารงานที่สลับซับซ้อนไม่ โปร่งใสได้จริง ทำให้แท้จริงนั้น ประชาชนต่างหากคือผู้ที่จะควบคุมได้อย่างเกิดประสิทธิผลมากที่สุด การแบ่งแยกอำนาจการปกครองในมุมมองสมัยใหม่ จึงเป็นหลักการที่ถูกกล่าวถึงควบคู่ไปกับบทบาทหน้าที่ในการมีส่วนร่วมตรวจ สอบถ่วงดุลการใช้อำนาจโดยองค์กรผู้ใช้อำนาจของประชาชน

ต่อมานักปรัชญาการเมืองสมัยหลังได้แจกแจงอำนาจอธิปไตยตามแนวคิดของมงแต็ส กีเยอออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติจะทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ตามหลักการกว้าง ๆ แล้ว โดยกำหนดให้องค์กรผู้ใช้อำนาจบริหารหรือฝ่ายปกครองไปกำหนดรายละเอียด ด้วยการออกกฎ ข้อบังคับ ประกาศ อันเป็นกฎหมายลำดับรอง (subordinate Legislation) ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องสัมพันธ์กับกฎหมายหลัก ในอันที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องใด ๆ ในสังคม

ส่วนอำนาจบริหาร ถูกกำหนดให้ใช้โดยองค์กรหนึ่งที่เรียกว่ารัฐบาล (Government) ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของตนเองไว้อย่างเคร่งครัด นอกไปจากนี้ องค์กรที่ใช้อำนาจบริหาร มีอำนาจตามชื่อในการบริหารราชการและปกครองประเทศ ภายใต้เป้าหมายสูงสุดคือการสร้างความกินดีอยู่ดีของประชาชน ส่วนอำนาจตุลาการ เป็นอำนาจในการวินิจฉัย พิจารณาพิพากษาบรรดาอรรถคดีทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นข้อพิพาทระหว่างองค์กรภาครัฐกับองค์กรภาครัฐ องค์กรภาครัฐกับเอกชน หรือเอกชนกับเอกชน อย่างไรก็ตาม ขอบอำนาจในการพิจารณาประเภทข้อพิพาทดังกล่าวข้างต้น ย่อมถูกจำแนกแจกแบ่งไปตามองค์กรใช้อำนาจตุลาการหรือศาลที่ต่างกันไปในราย ละเอียด เช่น อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอันเป็นข้อพิพาทระหว่างองค์กรภาครัฐกับองค์กร ภาครัฐ องค์กรภาครัฐกับเอกชน หรือเอกชนกับเอกชน อันเกี่ยวกับคำสั่งหรือสัญญาทางปกครอง เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ซึ่งในประเทศไทย มีฐานะเป็นระบบศาลหนึ่ง นอกเหนือไปจากศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

กระนั้นก็ตาม การแบ่งแยกอำนาจเป็นแต่ละฝ่ายดังกล่าวข้างต้น มิได้หมายความว่าอำนาจอธิปไตยที่ถูกแบ่งแยกเป็นแต่ละฝ่ายนี้จะต้องมีองค์กร รองรับการใช้อำนาจที่มีอำนาจเท่าเทียมกันแต่ประการใด จึงเป็นไปได้ที่องค์กรหนึ่งอาจมีอำนาจเหนือองค์กรหนึ่ง เพียงแต่ย่อมมิใช่การให้อำนาจที่เหนือกว่านั้นเป็นไปอย่างเด็ดขาด และเพื่อสร้างความสามารถในการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) จำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีการกำหนดมาตรการที่เป็นหลักประกันการใช้อำนาจใน ประการนี้ระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ อธิปไตยในหลักธรรมทางพระพุทธ ศาสนามี 3 อย่าง 1. อัตตาธิปไตย 2. โลกาธิปไตย 3. ธรรมมาธิปไตย อัตตาธิปไตย คือการปกครองที่ถือตามความต้องการของตนเองหรือคนส่วนน้อยเป็นใหญ่ แบบราชา คณา โลกาธิปไตย หมายถึงการปกครองที่ถือตามความต้องการของคนส่วนมาก หรือประชาธิปไตยเป็นใหญ่ ธรรมมาธิปไตยหมายถึงการปกครองที่ถือตามความถูกต้องเป็นธรรม หรือปัจเจกชนเป็นใหญ่ (สมัชชา เนการขอความร่วมมือทุกคนมีสิทธิที่จะให้ร่วมมือหรือไม่ให้) โดยที่ถือการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยถือคุณธรรมในใจ (หิริ) สูงกว่ากฎหมาย (โอตตัปปะ) แบบจักกพรรดิ์หรือเลขาธิการ (การปกครองที่จารีต ประเพณีใหญ่กว่าอำนาจกฎหมาย)

อ้างอิง

  • เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์. 2508. หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: มปพ.

สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : รัฏฐาธิปัตย์ เกิดยาก แนะเจรจา เลือกตั้ง

view