สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อานันท์ ปันยารชุน (1)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เรื่องราวกับความคิด โดย วิรัตน์ แสงทองคำ

htpp//:viratts.wordpress.com

"หาก ปล่อยให้วิกฤตนี้เพิ่มขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ จากปัญหาทางการเมืองจะเปลี่ยนกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจแทน เพราะว่าปัจจุบันนี้การลงทุนจากต่างประเทศไม่มีแล้ว ขณะที่การลงทุนในไทยเองก็ชะลอลง ส่วนเงินตราต่างประเทศที่จะเข้ามา ทั้งจากโดยการลงทุนหรือจากการท่องเที่ยวก็ดี หากปล่อยไปอีก 3-4 เดือน รายได้ทุกตัวจะหายทั้งหมด" อานันท์ ปันยารชุน โพสต์ทูเดย์ 10 กุมภาพันธ์ 2557

บุรุษผู้นี้กล่าว ใคร ๆ ก็ควรฟัง เนื่องจากเขาเป็นบุคคลอ้างอิง เพียงไม่กี่คนในสังคมที่เหลืออยู่

ก่อนจะปุจฉาวิสัชนาเกี่ยวกับสาระในบทสนทนาข้างต้น ขอนำเสนอเรื่องราวและบริบทที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอ้างอิงคนสำคัญนี้เสียก่อน

อานันท์ ปันยารชุน เกิดในปีที่มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองของไทย-การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร

เขาเป็นบุตรของพระยาปรีชานุสาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) ชาวไทยเชื้อสายมอญ ส่วนมารดาเป็นคนในตระกูลโชติกเสถียร ชาวไทยเชื้อสายจีน

"เสริญ ปันยารชุน สืบเชื้อสายมาจากชาวมอญที่เข้ามาอยู่ใต้พระบรมโพธิสมภารในรัชกาลที่ 4 บิดาของเขาคือ พระยาเทพประชุน ซึ่งต่อมาเป็นองคมนตรีของรัชกาลที่ 5 (อ้างจากหนังสือ อานันท์ ปันยารชุน โดย ประสาร มฤคพิทักษ์ และคณะ 2541) เสริญ ปันยารชุน เรียนหนังสือเก่งสอบชิงทุนหลวงได้ไปศึกษาต่อที่อังกฤษในระดับมัธยมศึกษาที่ Shrewsbury School ในปี 2448 ยังไม่ทันจบการศึกษาจาก University of Manchester เขาต้องกลับมารับราชการเป็นครู โดยต่อมามีบทบาทสำคัญในฐานะผู้บังคับการคนที่ 2 ของวชิราวุธวิทยาลัย เป็นผู้วางรากฐานการศึกษาโรงเรียนแห่งนี้ตามโมเดลจากประสบการณ์ Shrewsbury School ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำชาย ต่อมาโรงเรียนแห่งนี้ของอังกฤษได้ กลายเป็นโรงเรียนที่มีความสัมพันธ์กับสังคมไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา" อ้างจากหนังสือ "หาโรงเรียนให้ลูก" วิรัตน์ แสงทองคำ 2548)

เรื่อง ราวในหนังสือของผมเล่มนั้น ได้เสนอเรื่องราวที่น่าสนใจ เกี่ยวข้องกับบทบาทบิดาอานันท์ ปันยารชุน ไว้พอสมควร ขอบันทึกสาระไว้เพิ่มเติม

การสร้างโรงเรียนประจำชายของไทย โดยพระราชดำริของรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นกษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงศึกษาจากต่างประเทศนั้น เป็นโมเดลโรงเรียนประจำจากอังกฤษ บุคคลที่มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งในการสร้างโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยตามโมเดล นั้น คือ เสริญ ปันยารชุนเอกสารของ Shrewsbury School ซึ่งส่วนหนึ่งทำเป็นภาษาไทย (ใช้ในงานการศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเมืองไทย) บรรยายถึงความสัมพันธ์เมื่อประมาณ 100 ปีกับวชิราวุธวิทยาลัยไว้ด้วย

"เสริญ ปันยารชุน (2433-2517) เป็นผู้สร้างความสัมพันธ์สำคัญ ซึ่งทางโรงเรียนได้บันทึกไว้เป็นประวัติครั้งแรกระหว่างโรงเรียนโชรส์เบอรี่ กับประเทศไทย และสำนักพระราชวัง"

เนื้อหาอีกบางส่วนในเอกสารชิ้นนี้ ได้สะท้อนถึงความสัมพันธ์เป็นพิเศษระหว่าง Shrewsbury School กับเครือญาติของเสริญในรุ่นต่อ ๆ มาด้วย หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี นักการทูตคนสำคัญของไทย ซึ่งเป็นหลานเสริญ (มารดาของเขาเป็นบุตรีคนหนึ่งของเสริญ) ก็เข้าเรียนโรงเรียนแห่งนี้เป็นคนที่ 2 ในปี 2492-2497 ต่อมาเป็นราชเลขาธิการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หม่อมหลวงพีระพงศ์เสียชีวิต

เมื่อปี 2543 จากนั้นมี กฤช ปันยารชุนก็เป็นรุ่นต่อมาที่เข้าศึกษาในโรงเรียนนี้ในปี 2508-2512

ขณะ ที่สายทางมารดาของเขามีเชื้อสายเชื่อมโยงกับต้นตระกูลที่มาจาก "นายอากร" ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 3 บุคคลในฐานะต้นตระกูลโชติกเสถียร เป็นนายอากรมีหน้าที่การจัดเก็บภาษีฝิ่นเป็นการเฉพาะ ต่อมามีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาโชฎึกราชเศรษฐี" (หนังสือ Capital Accumulation in Thailand 1855-1985, Suehiro Akira 1996) ต่อจากนั้นมีบุคคลสำคัญอีกผู้หนึ่งที่ควรกล่าวถึง-รอง สนิท โชติกเสถียร

มี ตำแหน่งเป็นต้นห้องรัชกาลที่ 7-พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ติดตามเสด็จในยุโรปตลอดช่วงสละราชสมบัติ ตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนรัชกาลที่ 7 สิ้นพระชนม์ (หนังสือ "ชีวิตเหมือนฝัน" มณี สิริวรสาร) ต่อมาคือผู้ก่อตั้งบริษัทอาคเนย์ประกันภัย โดยผู้ที่ถือกรมธรรม์ฉบับแรกหมายเลข 1 คือ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ในรัชกาลที่ 7

อานันท์ ปันยารชุน เข้าสู่วัยเรียนในช่วงสังคมไทยอยู่ในภาวะยุ่งยากจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามโลกสิ้นสุดไม่นานบิดามารดาตัดสินใจส่งเขาไปศึกษาต่างประเทศ ช่วงเวลา 7 ปีที่อยู่ต่างประเทศ สังคมไทยอยู่ช่วงปลายความขัดแย้งรุนแรงระหว่างขั้วการเมืองเข้มข้น กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคใหม่จากอิทธิพลสหรัฐเข้ามาในภูมิภาค เริ่มจากสงครามเกาหลีเข้าสู่ยุคเริ่มต้นสงครามเวียดนาม

หนังสือท่อง เที่ยว Knopf Guide : Thailand (Knopf Guide เป็นหนังสือคู่มือการท่องเที่ยว ฉบับว่าด้วยประเทศไทยที่ดีมากเล่มหนึ่ง เสนอภาพสังคมไทยได้อย่างชัดเจนในแง่มุมที่ทำให้ "รู้จัก" อย่างที่คนไทยอาจจะไม่รู้จักดีพอได้อย่างน่าทึ่ง

ผมคิดว่าควรจะเป็นหนังสือประกอบการเรียนในโรงเรียน หรือแม้แต่มหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ) กล่าวถึงสังคมไทยในช่วงเวลานั้นเป็นช่วง Power Struggle ไว้ว่า "ระบบการปกครองไม่มั่นคงที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ มาจากความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง และกินเวลายาวนาน" ต่อด้วย The Pacific War เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดเมืองไทยก็เข้าสู่ The New King เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี 2490

อานันท์ ปันยารชุน เดินทางไปศึกษาระดับมัธยมที่อังกฤษ เรียนที่ Dulwich College ในปี 2491 ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอีกแห่งหนึ่งของชนชั้นนำของไทย ตามคำแนะนำของ พระยาศรีวิสารวาจา (เทียนเลี้ยง ฮุนตระกูล) ซึ่งเป็นศิษย์เก่าที่นี่ในฐานะเป็นเพื่อนกับบิดาของเขา พระยาศรีวิสารวาจา เป็นอาว์ สมหมาย ฮุนตระกูล เป็นนักเรียนไทยที่มีชื่อเสียงมาก ในฐานะคนไทยคนแรกที่จบการศึกษาปริญญาตรีเกียรตินิยมคนแรกของไทยจาก Oxford University กลับมาเมืองไทยในรัชกาลที่ 7 มีบทบาทในกิจการต่างประเทศและการเมืองเป็นอันมาก เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี 2475 พระยาศรีวิสารวาจาเป็นหนึ่งในคณะกรรมการราษฎร และเมื่อมีการตั้งรัฐบาลชุดแรกที่พระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีคน แรก พระยาศรีวิสารวาจาได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศติดต่อจน ถึงรัฐบาลชุดที่ 3 แต่เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในรัฐบาลที่มี ควง อภัยวงศ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงสั้นหลายช่วง มีช่วงหนึ่ง (2489) พระยาศรีวิสารวาจาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

การส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยเฉพาะที่สหราชอาณาจักร เริ่มต้นอย่างเป็นขบวนในรัชกาลที่ 5

ถือ เป็นการเตรียมบุคลากรสำหรับโลกยุคใหม่ในยุคนั้นที่มีภัยคุกคามของระบบ อาณานิคม จากนั้นพัฒนาต่อเนื่องเป็นสูตรสำเร็จการสร้างบุคลากร สนับสนุนระบบราชการ อีกแง่หนึ่งในแง่ปัจเจกเป็นสูตรการสร้างผู้ประสบความสำเร็จของสังคม

ความพยายามส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อต่างประเทศ ขยายฐานจากราชสำนักสู่แวดวงผู้มีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจที่มีอยู่อย่าง จำกัดในเวลานั้น ขยายฐานมากขึ้นในเวลาต่อมา

สำหรับ Dulwich College แล้ว มีความภาคภูมิใจในศิษย์เก่าคนนี้ --อานันท์ ปันยารชุน มีรายชื่ออยู่ในทำเนียบศิษย์เก่า
ดีเด่น (Eminent Old Alleynians) เมื่อเขาเป็นนายกรัฐมนตรีไทย สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่ง ประหนึ่งสืบทอดภารกิจ เกี่ยว กับการศึกษาต่อจากบิดานั่นคือ การเปิดเสรีธุรกิจโรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย ทั้ง Shrewsbury School และ Dulwich College ตัดสินใจเข้ามาเปิดโรงเรียนในต่างประเทศเป็นครั้งแรก

ทั้งที่เป็นประเทศที่ไม่เคยเป็นอาณานิคมเก่าของอังกฤษ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : อานันท์ ปันยารชุน (1)

view