สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ย้อนรอยวาทกรรม-วางมือทางการเมือง-ของทักษิณ

ย้อนรอยวาทกรรม-วางมือทางการเมือง-ของทักษิณ

จาก โพสต์ทูเดย์

ย้อนรอบวาทกรรม "ขอยุติบทบาททางการเมือง" ของ "ทักษิณ ชินวัตร" ในรอบหลายปีที่ผ่านมา

หลังการออกมาเปิดเผยของ นพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ระบุว่า "ครอบครัวพร้อมเสียสละยุติการเป็นนักการเมือง ถ้าทำให้บ้านเมืองเดินหน้าไปได้ และนักการเมืองประเภทที่จะให้สมาชิกไปตั้งม็อบเพื่อมาขัดขวางการเลือกตั้งก็ควรต้องยุติเช่นเดียวกัน" นั้นมิใช่ครั้งแรกที่วาทกรรม "ขอยุติบทบาททางการเมือง" ถูกพูดออกมาจาก พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะในห้วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา วาทกรรมนี้ได้ปรากฎมาแล้วหลายครั้ง

เฟซบุ๊กเพจ"สายตรงภาคสนาม"ได้รวบรวม วาทกรรมขอยุติบทบาททางการเมือง ของพ.ต.ท.ทักษิณ หลายครั้งในช่วงเวลาที่ผ่านมาไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

22 ตุลาคม 2549  "ภายหลังลาออกจากหัวหน้าพรรคไทยรักไทยแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ จะยุติบทบาททางการเมือง" นพดล ปัทมะ กล่าว

1 มกราคม 2551 "ผมจะวางมือทางการเมือง 100 เปอร์เซ็นต์และจะคอยให้คำปรึกษาในฐานะผู้มีประสบการณ์เท่านั้น"

28 กุมภาพันธ์ 2551 "การกลับมาวันนี้ผมไม่ขอยุ่งเกี่ยวกับการเมือง....ผมขอเป็นประชาชนคนไทย ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ผมไปมาทั่วโลกไม่มีแผ่นดินไหนอบอุ่นเท่าเมืองไทย"

22 กันยายน 2552  "หากผมไม่ถูกปฏิวัติก็จะอยู่ครบเทอมราวปลายปี 2552 ซึ่งตั้งใจว่าจะวางมือ เลิกเล่นการเมืองในช่วงเวลานั้น"

12 พฤศจิกายน 2552 "ผมต้องการความยุติธรรม ผมไม่สนว่า จะต้องกลับไปสู่การเมืองหรือไม่ แต่หากคนส่วนใหญ่ต้องการให้ผมกลับไป อย่างนั้นผมก็ต้องกลับ"

15 เมษายน 2555 "ไม่คิดเข้าสู่การเมือง น้องผมเป็นนายกฯ แล้ว มันหมดเจนเนอเรชั่นผมแล้ว"

20 เมษายน 2557 "พ.ต.ท.ทักษิณและครอบครัว พร้อมเสียสละยุติบทบาททางการเมือง เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้ แต่ขณะเดียวกัน ทุกฝ่ายต้องเสียสละ และยึดมั่นในกติกาเช่นกัน" นพดล ปัทมะ กล่าว

20 เมษายน 2557 "ถ้าทุกฝ่ายคืนความยุติธรรมให้ประเทศแล้วขอให้จบ จะให้คนตระกูลชินวัตรเลิกเล่นการเมืองก็พร้อม เพราะถ้าปล่อยไปอย่างนี้เรื่อย ๆ ก็เสี่ยงเกิดความรุนแรง"

ที่มา : https://www.facebook.com/SaiTrongPhakSanam


ปล่อยข่าวซ้ำซาก-วางมือการเมือง

จาก โพสต์ทูเดย์

โดย...ทีมข่าวการเมือง

“ทักษิณวางมือการเมือง แต่ต้องคืนความยุติธรรม” นี่คือพาดหัวข่าวเมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยมีการกล่าวอ้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เล่าให้คนใกล้ชิดที่เดินทางไปพบที่กรุงปักกิ่งประเทศจีน

แม้จะนำไปสู่การพาดหัวข่าวฉบับต่างๆ แต่ก็คงมีคำถามตามมาทันที “คนตระกูลชินวัตรพร้อมเลิกเล่นการเมือง” น่าเชื่อถือขนาดไหน

ก่อนจะหาคำตอบ ต้องบอกว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของกระแสข่าวคนชินวัตรพร้อมวางมือการเมือง เพราะนับตั้งแต่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุม เคยมีการออกข่าวในลักษณะเดียวกันนี้เพื่อหวังว่าจะทำให้สถานการณ์ชุมนุมยุติลง

ต่อมารัฐบาลอภิสิทธิ์บริหารประเทศ ไม่เคยคิดวางมือการเมืองโดยปรากฏความเคลื่อนไหวด้วยการสนับสนุนมวลชนคนเสื้อแดงทวงคืนอำนาจรัฐกลับมา แม้แต่การเลือกตั้งทั่วไป พรรคเพื่อไทยก็ยังคงยึดสโลแกน “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ” เป็นจุดขายให้ประสบชัยชนะในการเลือกตั้ง

ทุกย่างก้าวของเพื่อไทยและชบวนการมวลชน ไม่เคยมีครั้งใดที่ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ตกหล่นจากการเคลื่อนไหวทางการเมือง

ผ่านมาถึงการชุมนุมของมวลมหาประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณที่ยืดเยื้อปรากฏข่าวคล้ายคลึงกัน โดยเปลี่ยนจาก พ.ต.ท.ทักษิณ มาเป็น ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ด้วยการอ้างว่า ยิ่งลักษณ์ พร้อมวางมือการเมือง แต่คนในพรรคเพื่อไทยออกมาสยบข่าว โดยยืนยันว่า ยิ่งลักษณ์ และคนในตระกูลชินวัตรมีสิทธิอันชอบธรรมที่ทำงานการเมือง

ประการสำคัญ นับตั้งแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ หลบหนีการจับกุมไปอยู่ต่างประเทศ มีความพยายามจากพรรคเพื่อไทยออกกฎหมายนิรโทษกรรม แก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ละช่วงเหตุการณ์หนีไม่พ้นเสียงครหาเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้มีการเสนอข่าวเช่นเดิมว่า พ.ต.ท.ทักษิณ พร้อมวางมือการเมืองแลกกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรม แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้บ้านเมืองเดินหน้าต่อไปได้

ดังนั้น กระแสข่าวคนตระกูลชินวัตรจะวางมือการเมืองจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ อีกทั้งยังตอกย้ำให้เห็นว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่เคยคิดวางมือทางการเมืองสักครั้งเดียว

คืนยุติธรรมสไตล์"ทักษิณ"

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
“ต้องตั้งคำถามกลับว่า ความเป็นธรรมที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องการเพื่อจะยุติบทบาททางการเมืองนั้นคือความยุติธรรมในกระบวนการทางกฎหมายของประเทศหรือไม่ หรือเป็นความเป็นธรรมที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ประโยชน์ฝ่ายเดียวอย่างการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพื่อล้างผิดให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และเครือข่ายอย่างที่ทำโดยตลอด ทั้งที่ได้มีการเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็กลับไปปลุกปั่นให้พวกพ้องและคนไทยเชื่อแทนว่ากระบวนการยุติธรรมมีสองมาตรฐาน และไม่ยอมรับแทน”

นพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ
“...พ.ต.ท.ทักษิณ ย้ำกับผมเมื่อเช้าว่า ครอบครัวท่านพร้อมจะเสียสละ หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Sacrifice ครอบครัวท่านพร้อมยุติการเป็นนักการเมือง ถ้าทำเช่นนั้น จะทำให้บ้านเมืองเดินหน้าไปได้ มีสันติ แต่ท่านก็เปรยอีกว่า ทุกคนก็ควรที่จะต้องยึดมั่นกติกา นักการเมืองประเภทที่จะให้สมาชิกไปตั้งม็อบ เพื่อมาขัดขวางการเลือกตั้ง ก็ควรต้องยุติเช่นเดียวกัน”

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
“พ.ต.ท.ทักษิณ พูดทำนองว่า พร้อมที่จะถอยตระกูลตัวเองออกจากการเมือง แต่ขอให้คืนความยุติธรรม คำว่าขอให้คืนความยุติธรรมนี้ พอซักถามลงไปในรายละเอียดทีไรก็กลับมาเรื่องเดิม คือเรื่องนิรโทษกรรม ซึ่งก็คือตัวปมปัญหา สิ่งที่จะทำให้บ้านเมืองสงบได้นั้นก็คือกฎหมายเป็นกฎหมาย หมายความว่าเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกตัดสินโดยศาลไปแล้วให้ยอมรับคำพิพากษาเสีย ส่วนจะเข้ามารับโทษอย่างไรและขอพระราชอภัยโทษซึ่งเป็นสิทธิที่ทำได้”


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ย้อนรอย วาทกรรม วางมือทางการเมือง ทักษิณ

view