สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปฏิบัติราชการแทน รักษาราชการแทน

ปฏิบัติราชการแทน รักษาราชการแทน

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




13099"อำนาจ" ย่อมมากับ "หน้าที่ความรับผิดชอบ" กล่าวคือ เมื่อ "มีหน้าที่" ก็ต้อง "มีอำนาจ" เมื่อ "มีอำนาจ" ก็ต้อง "มีหน้าที่"

กฎหมายปกครอง วางกรอบ "อำนาจหน้าที่" นั้นเกิดจากกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ การทำนิติกรรมทางปกครอง ผู้กระทำต้องมีอำนาจตามกฎหมาย

เวลานี้ เมืองไทยเรามีตำแหน่ง "ปฏิบัติราชการแทน" ผู้คนถกเถียงกันมากว่า ต่างกับ "รักษาราชการแทน" อย่างไร

"นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล" รักษาการรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนรักษาการนายกรัฐมนตรี

"ปฏิบัติราชการแทน" คือ การมอบอำนาจ กฎหมายมอบอำนาจให้ใครผู้นั้นต้องใช้อำนาจเอง แต่มีข้อยกเว้นอยู่ว่า อำนาจทางปกครอง มีการมอบอำนาจได้ การมอบอำนาจนี้เกิดขึ้นได้ตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายบอกไม่ให้มอบก็มอบอำนาจให้ใครไม่ได้

การมอบอำนาจ ให้ "ปฏิบัติราชการแทน" เป็นการมอบอำนาจให้เฉพาะกาลนั้นๆ ผู้ได้รับมอบอำนาจ ให้ปฏิบัติราชการแทนแค่ไหนก็ทำได้แค่นั้น

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 หมวด 5 เรื่องการปฏิบัติราชการแทน

มาตรา 38 อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น อาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่น...

การมอบอำนาจให้ทำเป็นหนังสือ

มาตรา 39 เมื่อมีการมอบอำนาจแล้ว ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น โดยผู้มอบอำนาจจะกำหนดให้ผู้รับมอบอำนาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนต่อไป โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการใช้อำนาจนั้นไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้...

ส่วน "การรักษาราชการแทน" คือ การที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ กฎหมายให้อำนาจหน้าที่ให้ผู้ใดผู้หนึ่ง อาจเป็นไปตามตำแหน่ง ถ้าผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ กฎหมายก็กำหนดให้มีผู้รักษาราชการแทน เพื่อให้การดำเนินงานของทางราชการดำเนินต่อไปได้

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 หมวด 6 เรื่องการรักษาราชการแทน

มาตรา 41 ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาราชการแทน

ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณะรัฐมนตรี มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

ความแตกต่างระหว่างการปฏิบัติราชการแทน กับการรักษาราชการแทน คือ

"การปฏิบัติราชการแทน" เป็นการมอบอำนาจ โดยผู้มีอำนาจให้มีอำนาจกระทำการในเรื่องนั้นๆ ได้

"การรักษาราชการแทน" เป็นการที่กฎหมายให้อำนาจแก่ผู้รักษาราชการแทน ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ผู้รักษาราชการแทนจึงมีอำนาจเทียบเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งนั้น

"การปฏิบัติราชการแทน" กับ "การรักษาราชการแทน" ผู้ที่เป็นเจ้าของ "อำนาจ" ยังอยู่ในตำแหน่งแต่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ชั่วคราว

กรณี "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ที่หลุดจากตำแหน่งไปทันทีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จึงถือว่าไม่มีนายกรัฐมนตรี ย่อมจะไม่มี "อำนาจ" ตั้งผู้ "ปฏิบัติราชการแทน" หรือ "รักษาราชการแทน" ได้00334626


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ปฏิบัติราชการแทน รักษาราชการแทน

view