สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ตรวจสุขภาพ ใครควรตรวจ? โดยวิธีใด? เมื่อไร?

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

      การคัดกรองทางสุขภาพ หรือการตรวจสุขภาพในปัจจุบัน มีความหลากหลายมาก เป็นช่องทางทำรายได้ให้ธุรกิจทางการแพทย์มากมาย ในขณะเดียวกันก็เป็นรูรั่วขนาดใหญ่ของทรัพยากรสุขภาพของชาติได้เช่นกัน
       เป็นที่ทราบกันว่า ไม่มีวิธีการตรวจคัดกรองทางสุขภาพใดที่สามารถให้ผลการตรวจคัดกรองสุขภาพที่ ถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์ กล่าวคือคนที่เป็นโรคบางคนอาจได้รับผลการคัดกรองที่สรุปว่าไม่เป็นโรค ทั้งที่ตนเองเป็นโรค (ผลลบลวง) ขณะที่คนปกติที่ไม่เป็นโรคอาจได้ผลการคัดกรองที่เป็นบวก (ผลบวกลวง)
       รวมทั้งบางวิธีขาดหลักฐานสนับสนุนด้านประสิทธิภาพว่ามีประโยชน์ และบางวิธีมีหลักฐานชัดเจนว่ามีโทษ (เพราะนำไปสู่การตรวจอื่นๆ หรือการรักษาที่อันตรายต่อสุขภาพ)
       การตรวจคัดกรองสุขภาพ เป็นการซักถามหรือตรวจเบื้องต้น เพื่อค้นหาความเสี่ยงหรือโรคในประชากรสุขภาพดี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกัน ลดความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนจากโรค วิธีการที่นำมาใช้คัดกรองโรคหรือปัญหาสุขภาพหนึ่งๆ อาจมีได้หลายวิธี
       ข้อมูลจากผลการศึกษา เรื่อง การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ด้านการคัดกรองทางสุขภาพระดับประชากรในประเทศไทย (http://www.hitap.net/research/10643) จัดทำโดยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอ มาตรการที่เหมาะสมสำหรับการตรวจคัดกรอง 12 โรค/ปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทยที่มีสุขภาพแข็งแรงทั่วไป ในที่นี้ขอเสนอเฉพาะการตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพบางประเภท ดังนี้
       ทั้งหญิงและชาย ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรคัดกรองโรคเบาหวาน โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร (fasting plasma glucose) โดยทำการคัดกรองซ้ำทุก 5 ปี
       ทั้งหญิงและชาย ที่มีอายุ 31-40 ปี ควรคัดกรองโรคไวรัสตับอักเสบบี จำนวน 1 ครั้งในชีวิต ร่วมกับการให้วัคซีนหากพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน
       ทั้งหญิงและชาย ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ควรคัดกรองหัวใจเต้นผิดจังหวะ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยการคลำชีพจรทุกครั้งที่ไปรับบริการที่สถานพยาบาล หากผลผิดปกติให้ตรวจยืนยันด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
       หญิง ที่มีอายุระหว่าง 30-60 ปี หรือ หรือเมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์ (ในกรณีที่อายุน้อยกว่า 30 ปี) ควรทำการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีตรวจภายใน (Pap smear หรือ VIA) ทุก 5 ปี
       สำหรับ รายการตรวจคัดกรองที่ไม่มีหลักฐานยืนยันว่ามีประโยชน์ หรือไม่จำเป็นต้องตรวจในคนปกติทั่วไป เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม การถ่ายภาพรังสีทรวงอก การตรวจการทำงานของไต และตับ
       ข้อเสนอข้างต้น ไม่รวมการตรวจคัดกรองในผู้ที่มีประวัติเสี่ยง การตรวจวินิจฉัยโรค การตรวจติดตามเพื่อการรักษาโรค การตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในผู้ป่วย และการตรวจคัดกรองในหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มเหล่านี้ควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ในการพิจารณาวิธีการตรวจคัดกรองที่ เหมาะสม
       แต่มีการตรวจคัดกรองที่ทำได้ง่ายๆ ไม่เปลืองตังค์ และทุกคนทำได้ด้วยตนเอง
       นั่นคือ ลองตั้งคำถามต่อไปนี้ เพื่อคัดกรองความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยในอนาคตหรือไม่
       1.ฉันสูบบุหรี่หรือไม่
       2.ฉันดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่
       3.ฉันขับรถเร็วหรือไม่
       4.ฉันบริโภคอาหารหวานมากหรือไม่
       5.ฉันบริโภคอาหารปนเปื้อนสารเคมีหรือไม่
       6.ฉันออกกำลังกายสม่ำเสมอหรือไม่
       7.ฉันนอนดึกพักผ่อนน้อยหรือไม่
       8.ฉันเครียดเป็นประจำหรือไม่
       9.ฉันโกรธง่ายและชอบทะเลาะกับผู้คนหรือไม่
       ถ้าท่านคัดกรองตนเองโดยใช้คำ ถามข้างต้น แล้วพบว่า “ใช่” เป็นส่วนใหญ่ นั่นแหละท่านมีความเสี่ยงสูงที่จะเจ็บป่วย ต้องรีบหาทางแก้ไขเสียโดยเร็ว


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ตรวจสุขภาพ ใครควรตรวจ โดยวิธีใด เมื่อไร

view