สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บุพการีเสียชีวิต เราต้องรับผิดชอบหนี้บัตรเครดิตหรือไม่?

จาก โพสต์ทูเดย์

ความตาย คือเรื่องธรรมชาติ ที่ต้องเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวเตรียมใจในหลายๆ เรื่องเป็นการใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ เพราะหากมีคนในบ้านเสียชีวิต โดยเฉพาะบุพการีของเรา ย่อมมีเรื่องเงินๆ ทองๆ ต้องเตรียมตัวมากมาย ทั้งเรื่องการจัดงานศพ การแบ่งทรัพย์สิน และที่สำคัญ เรื่องหนี้สิน ว่าเราต้องรับผิดชอบต่อจากพ่อและแม่หรือไม่ วันนี้ MoneyGuru จะพูดถึงหนี้บัตรเครดิตของบุพการีเป็นหลัก ว่าใครจะต้องเป็นคนรับผิดชอบ ซึ่งคำตอบคือ "ไม่ใช่ลูก" แต่เป็น "ทรัพย์สินของบุพการีที่มีก่อนเสียชีวิต"

ใครรับผิดชอบ?
แน่นอนว่า ก่อนที่บุพการีจะเสียชีวิต หลายท่านอาจทำพินัยกรรมไว้ ซึ่งในพินัยกรรมจะระบุบุคคลในครอบครัว หรือเพื่อนสนิทที่ไว้ใจ ให้ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก ซึ่งในกรณีที่ไม่มีพินัยกรรม รัฐจะเข้ามาจัดการตรงส่วนนี้ หากมีปัญหาเกิดขึ้น ซึ่งเมื่อมีผู้จัดการมรดกแล้ว หากบุพการีมีหนี้สินคงค้าง ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ในการแจ้งแก่เจ้าหนี้ทั้งหมดของผู้ตาย หลังจากที่เจ้าหนี้ทราบเรื่องแล้ว เจ้าหนี้จะทำการสรุปยอดหนี้ และแจ้งความประสงค์ที่จะยึดทรัพย์สินของผู้ตายตามจำนวนที่เหมาะสมกับหนี้สิน

ถ้าทรัพย์สินมีไม่พอล่ะ?
ประการแรก คุณต้องเข้าใจก่อนว่า ลำดับของการใช้หนี้เป็นอย่างไร หนี้ที่จะถูกใช้คืนเป็นอันดับแรกคือ หนี้ที่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งหมายถึงสินเชื่อที่มีสินทรัพย์ผูกไว้ด้วย อาทิ รถยนต์ ที่พักอาศัย ส่วนหนี้สินลำดับต่อมาที่จะถูกใช้คือ หนี้สินที่ไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน  ได้แก่บัตรเครดิต ซึ่งหากสินทรัพย์ทั้งหมดยังไม่เพียงพอในการจ่ายหนี้สิน ธนาคาร หรือเจ้าหนี้สามารถฟ้องล้มละลายได้ และบุคคลที่จะสามารถรับผลประโยชน์จากสินทรัพย์ของผู้ตาย จะไม่ได้ประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นอีกต่อไป ซึ่งปกติแล้ว จะไม่มีใครที่ต้องจ่ายเงิน ธนาคารจะเพียงแค่ประกาศล้มละลาย ยึดทรัพย์ และยกหนี้ให้ แต่ถ้าต้องมีการจ่ายจริง ควรปรึกษานักกฎหมายก่อน ว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ อาจจะมีวิธีที่ไม่ต้องจ่ายก็เป็นได้

แล้วเมื่อไหร่ล่ะ ที่เราอาจจะต้องรับผิดชอบหนี้สินแทน?
มีเพียงกรณีเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้คุณต้องชดใช้หนี้สินแทนบุพการีของคุณ คือเมื่อคุณ "ลงนามกู้ร่วม" นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นหนี้สินจากสินเชื่อปกติ หรือบัตรเครดิต  ก็ตาม เพราะการที่คุณลงนามร่วมกู้ มันเปรียบเสมือนว่าคุณได้ให้สัญญาว่า คุณจะรับผิดชอบหนี้สินอย่างเท่าเทียมกับผู้กู้ร่วม หรือผู้ตายนั่นเอง อย่างไรก็ตาม อย่าสับสนระหว่าง ผู้ถือบัตรร่วม หรือผู้กู้ร่วม กับ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้บัตรเครดิต (Authorized user of credit cards) ซึ่งหากเป็นในกรณีหลัง คุณจะไม่ต้องรับผิดชอบหนี้บัตรเครดิตใดๆ ทั้งสิ้น

แล้วจะทำอย่างไรกับบัตรและหนี้ก้อนนั้นดี?
หากคุณเป็นผู้ที่บุพการีระบุให้จัดการมรดกและทรัพย์สิน สิ่งแรกที่คุณควรทำคือ ทำลายบัตรนั้นทิ้งเสีย อาจจะตัดบัตร แล้วส่งไปรษณีย์กลับไปให้ธนาคารเจ้าของบัตร พร้อมระบุวันที่บุพการีของคุณเสียชีวิต ต่อมา ติดต่อบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ให้ปิดรายงานบัตรเครดิตของบุพการีของคุณ

หากพ่อแม่มีหนี้สิน เรายังได้รับประโยชน์จากประกันชีวิตของพ่อแม่หรือไม่?
การประกันชีวิต ไม่ถือเป็นสินทรัพย์ของบุพการี เพราะฉะนั้น หากบุพการีเสียชีวิต เงินได้จากประกันชีวิตจะไม่สามารถถูกนำไปใช้จ่ายหนี้สินได้ ผู้ได้รับผลประโยชน์ ยังคงได้รับต่อไป ยกเว้นเสียแต่ว่า บุพการีระบุไว้อย่างชัดเจนให้ประกันชีวิตเป็นทรัพย์สิน หากบุพการีเสียชีวิต เจ้าหนี้สามารถยึดเงินได้จากประกันชีวิตได้อย่างชอบธรรม


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : บุพการี เสียชีวิต รับผิดชอบ หนี้บัตรเครดิต

view