สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

กล้านรงค์-หวังสื่อให้ความรู้ประชาชนปมคอร์รัปชั่น

บทบาทสื่อมวลชน

จาก โพสต์ทูเดย์

บทบาทของสื่อจะต้องให้ความรู้กับประชาชน ด้วยการนำผลเสียของการทุจริตมานำเสนอให้ประชาชนรับรู้ ว่าปัญหาการคอร์รัปชั่นเกิดความเสียหายอะไรบ้าง ทำให้คุณภาพชีวิตตกต่ำลง สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ขาดศีลธรรม คุณธรรม ทำลายเศรษฐกิจ เสื่อมเสียภาพลักษณ์ของประเทศ ไปจนถึงการล่มสลายของชาติ ซึ่งการแก้ปัญหาของประเทศทั้งหมดอยู่ที่ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องรอบด้าน เพื่อนำไปกำหนดทิศทางของประเทศต่อไป

-นายกล้านรงค์ จันทิก อดีตคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวปาฐกถาพิเศษ “บทบาทสื่อกับการตรวจสอบคอร์รัปชั่นในสังคมไทย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 17 ปีสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ 4 ก.ค. 57  อ่านต่อ : http://bit.ly/1mqBUMd


สื่อมวลชนต้องพัฒนาคนข่าวต่อต้านโกง

จาก โพสต์ทูเดย์

สื่อต้องให้ความรู้นำผลเสียของการทุจริตมานำเสนอว่าปัญหาการคอร์รัปชั่นคือบ่อนทำลายไปจนถึงขั้นล่มสลายของชาติ

หมายเหตุ: สภาการหนังสือพิมพ์ จัดเสวนาเรื่อง “บทบาทสื่อกับการตรวจสอบคอร์รัปชั่นในสังคมไทย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 17 ปีสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยมีนายกล้านรงค์ จันทิก อดีตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ

กล้าณรงค์ จันทิก อดีตคณะกรรมการ ป.ป.ช. เปิดเผยว่า สื่อมวลชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และมีอิทธิพบต่อการให้ความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณะได้มาก แต่การดำรงอยู่ของสื่อนั้นจะอยู่ไม่ได้หากไม่มีกลุ่มทุนให้การสนับสนุน ด้วยการลงโฆษณาและคนที่มีอำนาจในการลงโฆษณามากที่สุดคือรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ดังนั้นรัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทในการคุมทิศทางสื่อได้ และเมื่อสื่อมวลชนให้การสนับสนุนรัฐบาล ก็จะลดการตรวจสอบลง ซึ่งเปิดโอกาสให้การทุจริตคอร์รัปชั่นดำเนินไปโดยไม่มีใครเฝ้าจับตา แต่ถ้าหากไม่ลดการตรวจสอบก็ยากที่รัฐบาลจะสนับสนุนโฆษณาต่อไป ดังนั้นสื่อมวลชนจะต้องคงไว้ซึ่งบทบาทหน้าที่อย่างสุจริต เที่ยงธรรม ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

สำหรับสาเหตุของการคอร์รัปชั่น เกิดจาก 5 ประการ 1.วัตถุนิยม 2.โครงสร้างของไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ เป็นสังคมแนวดิ่งเช่น นักการเมืองกับข้าราชการประจำ 3.กระบวนการยุติธรรมไม่เข้มแข็ง เนื่องจากองค์กรอิสระถูกกดดัน 4. แทรกแซงจากผู้มีอิทธิพล และ5.ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายเพิกเฉยต่อปัญหา

ทั้งนี้ การคอร์รัปชั่น ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมเป็นการรับสินบนมาเป็นการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย เช่นการออกพระราชกำหนด ,พระราชบัญญัติ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกลุ่มบุคคลหนึ่งไม่ใช่เพื่อสาธารณะ ถือเป็นการกระทำผิดต่อการบริหารราชการแผ่นดินที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยมีผลจากการสำรวจจากเอแบคโพล พ.ศ.2556 พบว่า ประชาชนพบเห็น ปัญหาการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง คิดเป็น 87.5%  การลัดคิวข้ามขั้นตอน 87.0% การให้สินบนเจ้าหน้าที่ 80.2% 

ถัดมาพบว่า ข้าราชการเคยออกไปทำธุรกิจส่วนตัวโดยไม่ขออนุญาต 81.2% ข้าราชการเคยยักยอกทรัพย์สิน 83.6% และคนที่ทำให้เกิดปัญหาการคอร์รัปชั่นมากที่สุดคือ นักการเมือง นักธุรกิจ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ทั้งหมดสะท้อนภาพปัญหาที่คนในสังคมไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นอยู่ตลอด 

ดังนั้นบทบาทของสื่อจะต้องให้ความรู้กับประชาชน ด้วยการนำผลเสียของการทุจริตมานำเสนอให้ประชาชนรับรู้ ว่าปัญหาการคอร์รัปชั่นเกิดความเสียหายอะไรบ้าง ทำให้คุณภาพชีวิตตกต่ำลง สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ขาดศีลธรรม คุณธรรม ทำลายเศรษฐกิจ เสื่อมเสียภาพลักษณ์ของประเทศ ไปจนถึงการล่มสลายของชาติ ซึ่งการแก้ปัญหาของประเทศทั้งหมดอยู่ที่ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องรอบด้าน เพื่อนำไปกำหนดทิศทางของประเทศต่อไป

ขณะเดียวกัน สื่อมวลชนมีบทบาทช่วยป้องกันและปราบปรามการทุจริตได้ด้วยการทำข่าวเชิงสืบสวน เนื่องจากข้อมูลที่สื่อหามาได้นั้น ทางป.ป.ช.สามารถนำมาประกอบการสืบสวนสอบสวนต่อไปได้ แต่สื่อต้องยึดข้อเท็จจริง ความถูกต้อง และเสนอข่าวที่ให้โอกาสแก่องค์กรที่กำลังถูกตรวจสอบด้วย เปิดโอกาสให้ผู้ถูกตรวจสอบได้ชี้แจงเหตุผลที่แท้จริง ซึ่งถ้าสื่อมวลชนเจาะลึกเรื่องราวให้รู้จริง จะเกิดผลเสียต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสื่อมวลชนได้

ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงของคดีมีสำคัญกว่าข้อกฎหมาย เนื่องจากข้อเท็จจริงจะแสดงให้เห็นถึงเหตุและผลของเรื่องราวที่เกิดขึ้น จากนั้นบทบาทของกฎหมายจะเข้ามาทำหน้าที่ได้ถูกต้องตรงจุด ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนจึงต้องพยายามหาข้อเท็จจริงมานำเสนอต่อสาธารณะ จึงจะถือว่าทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

จักรกฤษ เพิ่มพูน ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวถึงภูมิทัศสื่อยุคใหม่ว่า สิ่งที่ประชาชนกำลังรับชมเนื้อหาสาระในทีวีดิจิทัลอยู่ขณะนี้ ยังไม่มีความแตกต่างจากที่ผ่านมา เพราะทีวีดิจิทัลกำลังเร่งระดมออกข่าวมาเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นอุตสาหกรรมผลิตข่าวอย่างเดียว ทำให้ความใส่ใจในคุณภาพข่าวนั้นน้อยลง ด้านหนึ่งบทบาทของสื่อมวลชนก็ทำข่าวสืบสวนสอบสวนน้อยลงด้วยเช่นกัน เมื่อพูดถึงเรื่องปัญหาคอร์รัปชั่น จึงดูเหมือนเป็นเพียงความคิดเห็นเท่านั้น ไม่มีการลงมือทำให้เห็นข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจน ซึ่งผู้ที่กำลังทำหน้าที่จึงควรกลับมาทบทวนถึงคุณภาพข่าวอย่างจริงจัง เพื่อยกระดับคุณภาพของคนดูให้มากขึ้นตามไปด้วย

ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปทำให้เกิดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งถ้านักข่าวไม่มีความเป็นมืออาชีพมากพอก็ไม่จำเป็นต้องมีนักข่าวอีกต่อไป เพราะใครก็ตามสามารถเป็นสื่อมวลชนได้ ประชาชนทุกคนมีช่องทางนำเสนอ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ มีผู้ติดตามเป็นจำนวนมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ นักข่าวต้องมีความมืออาชีพ คือ การเรียนรู้ว่าสิ่งที่รายงานนั้นเป้าหมายต้องการให้เกิดผลอย่างไร เพราะข้อมูลข่าวสารที่ใครก็สื่อสารได้นั้นไม่มีการกลั่นกรองหรือคำนึงถึงความรับผิดชอบที่จะเกิดขึ้นจากการนำเสนอ

สุภาพ คลี่ขจาย ประธานชมรมผู้ประกอบการโทรทัศน์ระบบดิจิทัล ภาคพื้นดินระดับชาติ กล่าวว่า ช่วงเปลี่ยนผ่านของสื่อหลากหลายประเภท มาเป็นทีวีดิจิทัลยุคใหม่ที่มีจำนวน 24 ช่อง คือ ทุกช่องกำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือด เนื่องจากถูกบังคับโดยข้อกำหนดที่ต้องมีข่าวทุกต้นชั่วโมง จึงเป็นการทำงานข่าวที่ทำให้ประชาชนถูกบังคับให้บริโภคข่าวซ้ำไปซ้ำมา ทุกวันนี้เป็นการแข่งกันว่าของใครนำเสนอได้ดีกว่ากัน บางครั้งอาจถึงขั้นสร้างให้ผู้ชมเกิดความรู้สึก “ดราม่า”มากกว่าการรับรู้ข้อเท็จจริง การนำเสนอเช่นนี้ทำให้สุดท้ายข่าวไม่ใช่ข่าว แต่กลายความบันเทิง อย่างไรก็ตามถ้าหาก24ช่องนี้ยังไม่มีการปรับตัวให้แตกต่างจากทีวีดาวเทียม ก็จะตายในไม่ช้า เพราะทุกวันนี้มีการแข่งขันจากหลายสื่ออย่างมาก


กล้านรงค์-หวังสื่อให้ความรู้ประชาชนปมคอร์รัปชั่น

จาก โพสต์ทูเดย์

สภาการหนังสือพิมพ์ จัดเสวนาบทบาทสื่อกับการตรวจสอบ "กล้านรงค์"  หวัง สื่อมีบทบาทให้ความรู้-เข้าใจประชาชนปมคอร์รัปชั่น

เวลา11.00น. วันที่ 4 ก.ค.  สภาการหนังสือพิมพ์ จัดเสวนาเรื่อง “บทบาทสื่อกับการตรวจสอบคอร์รัปชั่นในสังคมไทย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 17 ปีสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยมีนายกล้านรงค์ จันทิก อดีตคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ

นายกล้านรงค์ เปิดเผยว่า สื่อมวลชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นสูง แต่สื่อนั้นจะอยู่ไม้ได้หากไม่มีกลุ่มทุนให้การสนับสนุน ด้วยการลงโฆษณาและคนที่มีอำนาจในการลงโฆษณามากที่สุดคือรัฐบาล หรือบริษัทใหญ่ ดังนั้นรัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทในการคุมทิศทางสื่อได้  และเมื่อสื่อให้การสนับสนุนรัฐบาล ก็จะลดการตรวจสอบลง แต่ถ้าหากไม่ลดการตรวจสอบก็ยากที่รัฐบาลจะสนับสนุนโฆษณาต่อไปได้ ดังนั้น สื่อมวลชนจะต้องคตงไว้ซึ่งบทบาทหน้าที่อย่างสุจริต เที่ยงธรรม ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับฝ่ายใดทั้งสิ้น

สำหรับสาเหตุของการคอร์รัปชั่น เกิดจาก 5 ประการ 1.วัตถุนิยม  2.โครงสร้างของไทยเป็นระบบอุปถัมภ์ เป็นสังคมแนวดิ่งเช่น นักการเมืองกับข้าราชการประจำ 3.กระบวนการยุติธรรมไม่เข้มแข็ง เนื่องจากองค์กรอิสระถูกกดดัน 4. แทรกแซงจากผู้มีอิทธิพล และ5.ประชาชนเกิดความเบื่อหน่ายต่อปัญหา

อย่างไรก็ตาม การคอร์รัปชั่น ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมเป็นการรับสินบน เปลี่ยนเป็นคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย เป็นการกระทำผิดต่อการบริหารราชการแผ่นดินที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยมีวิกฤติผลจากการสำรวจพบว่า เรื่องทุจริต คือ การจัดซื้อจัดจ้าง การลัดคิว การให้สินบน ดังนั้นบทบาทของสื่อจะต้องให้ความรู้กับประชาชน ด้วยการนำผลเสียของการทุจริตมานำเสนอให้ประชาชนรับรู้ ว่าปัญหาการคอร์รัปชั่นเกิดความเสียหายอะไรบ้าง ทำให้คุณภาพชีวิตตกต่ำลง สูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ ขาดศีลธรรม คุณธรรม ทำลายเศรษฐกิจ เสื่อมเสียภาพลักษณ์ของประเทศ ไปจนถึงการล่มสลายของชาติ ซึ่งการแก้ปัญหาของประเทศทั้งหมดอยู่ที่ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องรอบด้าน เพื่อนำไปกำหนดทิศทางของประเทศต่อไป

ด้านการปราบปราม สื่อมวลชนสามารถทำข่าวเชิงสืบสวน ที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะข้อมูลที่ได้ ทางป.ป.ช.สามารถนำมาประกอบการสืบสวนสอบสวนต่อไป แต่สื่อต้องยึดข้อเท็จจริง ความถูกต้อง และเสนอข่าวที่ให้โอกาสแก่องค์กรที่กำลังถูกตรวจสอบด้วย เปิดโอกาสให้ผู้ถูกตรวจสอบได้ชี้แจงเหตุผลที่แท้จริง ดังนั้นถ้าสื่อไม่รู้จริง จะเกิดผลเสียต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสื่อมวลชนได้ ซึ่งได้มีการใช้ข้อกฎหมายหมิ่นประมาท ในการสกัดกั้นการตรวจสอบ ทั้งที่แท้จริงแล้วกฎหมายนี้สร้างขึ้นเพื่อปกป้องคนดีไม่ให้ถูกกล่าวหา ใส่ร้าย

ทั้งนี้ ข้อเท็จจริงของคดีมีสำคัญกว่าข้อกฎหมาย เนื่องจากข้อเท็จจริงจะแสดงให้เห็นถึงเหตุและผลของเรื่องราวที่เกิดขึ้น จากนั้นบทบาทของกฎหมายจะเข้ามาทำหน้าที่ได้ถูกต้องตรงจุด ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนจึงต้องพยายามหาข้อเท็จจริงมานำเสนอต่อสาธารณะ จึงจะถือว่าทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด


'กล้านรงค์'หวังสื่อให้ปชช.รู้ผลกระทบคอร์รัปชั่น

"กล้านรงค์" อดีตปปช. ตั้งความหวัง สื่อมีบทบาทให้ความรู้-เข้าใจปชช.ปมคอร์รัปชั่นกระทบชีวิต

โรงแรมเดอะสุโกศล - 4 ก.ค. 57 - นายกล้านรงค์ จันทิก อดีตกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง บทบาทสื่อกับการตรวจสอบคอร์รัปชั่นในสังคมไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 17 ปี สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ว่า สังคมไทยมีปัญหาเรื่องการทุจริตมาอย่างเรื้อรัง

โดยปัญหาดังกล่าวนั้นมีมานาน นับตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่จากการบอกเล่าพบว่าขุนนางชั้นผู้ใหญ่มีการฉ่อราษฎร์บังหลวง แต่การทุจริตนั้นไม่ความรุนแรง เพราะสังคมสมัยนั้นไม่ยอมรับ และมีการต่อต้านกดดันทำให้คนฉ้อราษฎร์บังหลวงไม่กล้า แต่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดคำว่าเศรษฐีสงครามขึ้น และเป็นผลสะท้อนสังคมไทยปัจจุบัน คือ ไม่รู้สึก หรือไม่รังเกียจการคอรัปชั่น

ดังนั้นในช่วงที่เป็นวิกฤตแห่งการทุจริต คอร์รัปชั่นนั้น อยากให้สื่อมวลชนใช้เป็นโอกาสที่ต้องระดมให้ประชาชนเลิกและรังเกียจการคอร์รัปชั่น ที่เป็นในรูปแบบของการติดสินบน, การยักยอก และอุปถัมภ์บุคคลที่เป็นพรรคพวกเดียวกัน ทั้งนี้ในประเทศต่างๆ ที่ได้รับการจัดอันดับให้มีความโปร่งใสสูงนั้น ปัจจัยสำคัญ คือ ความเป็นประชาธิปไตยและสื่อมีเสรีภาพในการแสดงความเห็น ดังนั้นในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรคงหมวดที่ 7 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ว่าด้วยเสรีภาพในการแสดงคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนไว้ เพื่อไม่ให้นักการเมืองเข้าไปแทรกแซง

“ผมมองว่าสื่อมีเสรีภาพถือเป็นความทางนิตินัย แต่ทางพฤตินัยเป็นจริงอย่างนั้นหรือไม่ ส่วนตัวผมมองว่าสื่อจะอยู่ได้มีต้นทุนและได้รับการสนับสนุนจากการซื้อโฆษณา จากทุนรายใหญ่ คือ รัฐบาล หรือบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ ที่จะเข้ามาเป็นหางเสือต่อการนำพาสื่อไปในทิศทางใด ทั้งนี้ยอมรับว่าหากสื่อ นำเสนอการตรวจสอบองค์กร หรือรัฐบาล อาจจะลดการซื้อโฆษณาเพื่อกดดันให้ลดการตรวจสอบ ส่วนตัวผมสงสารนักข่าวภาคสนาม อย่างนักข่าวที่ทำข่าวที่สำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งต้องใช้เวลารอทำข่าวนานและเมื่อเขียนข่าวไปแล้ว บางสื่อไม่ลง หรือลงไม่ครบ หรือลงข่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะส่วนกลางไม่ได้นำไปลงเนื่องจากขึ้นอยู่กับหางเสือที่มอิทธิพลต่อสื่อ ดังนั้นหากสื่อมีเสรีภาพสูงจะเป็นประโยชน์ในการต่อต้านการคอรัปชั่น” นายกล้านรงค์ กล่าว

นายกล้านรงค์ กล่าวเสนอแนะการทำหน้าที่สื่อฯ ด้วยว่าบทบาทสำคัญคือการให้ความรู้กับประชาชน ต่อสาเหตุและผลของการคอร์รัปชั่นที่กระทบต่อการดำรงชีวิตและบริการสาธารณะของประชาชนอย่างไร ทั้งนี้ต้องทำให้ประชาชนเข้าใจว่า การคอร์รัปชั่นจะสร้างความเสียหายอย่างไร ทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนตกต่ำอย่างไร หรือการสูญเสียงบประมาณด้านพัฒนาประชาชนจะได้รับผลกระทบอย่างไร ดังนั้นเป็นส่วนสำคัญที่สื่อต้องชี้ให้ประชาชนเห็นถึงความเสียหายจากการคอร์รัปชั่น และให้ประชาชนรับทราบถึงข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการตัดสินใจของประชาชนอย่างถูกต้องที่สุด ทั้งนี้องค์กรสื่อจำเป็นต้องทำเรื่องดังกล่าวอย่างเข้มแข็ง เพราะเป็นองค์กรเดียวที่เข้าถึงประชาชนทุกระดับเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ในงานครบรอบ 17 ปีสภาการหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ยังมีการประกาศเกียรติคุณพร้อมมอบโล่ให้กับบทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ดีเด่นและชมเชย ประจำปี 2556 ทั้งหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง, ส่วนภูมิภาค และหนังสือพิมพ์ในมหาวิทยาลัย โดยรางวัลบทบรรณาธิการดีเด่น ส่วนของหนังสือพิมพ์ส่วนกลาง เป็นของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ในบทบรรณาธิการ เรื่อง ก.ม.ป้องกันรัฐประหาร, หนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค คือหนังสือพิมพ์เสียงสาริกา จากบทบรรณาธิการ เรื่อง “หายไปไหน?” และหนังสือพิมพ์ในมหาวิทยาลัย คือ หนังสือพิมพ์บ้านกล้วย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เรื่อง จิตรกรที่เรียกว่าสื่อ และกระดาษขาวที่ชื่อ วัยรุ่น

ด้านรางวัลบทบรรณาธิการชมเชย จำนวน 2 รางวัล โดยหนังสือพิมพ์ส่วนกลางที่ได้รับรางวัล ได้แก่ 1.หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก จากบทบรรณาธิการ เรื่อง “ปฏิรูปการเมือง ทางออกประเทศไทย” และหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ จากบทบรรณาธิการ เรื่อง “เมืองไทยไม่ใช่สนามรบของคนไทย”, จากหนังสือพิมพ์ส่วนภูมิภาค จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ 1. หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ เรื่อง “ความหวังขอลำน้ำวัง” และ หนังสือพิมพ์ประชามติ (ตราด) เรื่อง หน้าที่ของ “ข้าราชการ” และหนังสือพิมพ์ในมหาวิทยาลัย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ 1.หนังสือพิมพ์มหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่อง วิชาทำประชามติ เพื่อให้นักศึกษาหาข้อยุติในสังคม และ 2. หนังสือพิมพ์หอข่าว ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เรื่อง เยาวชนต้องรู้เท่าทันโลกออนไลน์

ทั้งนี้ได้มีการมอบรางวัลคลิปหนังสั้นส่งเสริมจริยธรรมวิชาชีพสื่อ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2556 โดยรางวัลดีเด่น จำนวน 2 รางวัล คือ มหาวิทยาลัยศรีปทุม คลิปเรื่อง “เชื่อหรือคิด” และมหาวิทยาลัยศิลปากร คลิปเรื่อง 1+X=X และ รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คลิปเรื่อง “ประชาชนปลายปากกา” และ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา เรื่อง จรรยาบรรณ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : กล้านรงค์ หวังสื่อ ให้ความรู้ประชาชน ปมคอร์รัปชั่น

view