สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

10 ทักษะจาก 6 แรงขับ สู่อนาคต

10 ทักษะจาก 6 แรงขับ สู่อนาคต

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




เรามีทักษะที่พร้อมสำหรับการรับมือกับการทำงานในทศวรรษใหม่หรือไม่ ซึ่งเริ่มต้นฝึกฝนตั้งแต่วันนี้ก็ยังไม่สาย

ในปี 1990 ยอดสมองกลแห่งสหัสวรรษ ในนามคอมพิวเตอร์ Deep Blue ของ IBM ได้เอาชนะนักหมากรุกเลื่องชื่อชาวรัสเซีย Gary Kasparov จากระบบการประมวลผลประสิทธิภาพสูง และด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้ง ที่เรียกว่า ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์

ทศวรรษที่ผ่านมาคนงานต่างกังวลใจว่างานที่พวกเขาทำมาตลอดหลายปีกำลังถูกแทนที่ด้วยการว่าจ้างหน่วยงานอื่นจากต่างประเทศ พนักงานภายในบริษัททั้งหลายในวันนี้สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ผ่านระบบคราวด์ (Cloud) เพื่อจะทำการขายสินค้า บริการลูกค้า และอีกมากมายหลายงาน

เมื่อ 8 ปีที่ผ่านมาองค์การอวกาศ NASA สามารถถ่ายภาพนับล้านภาพด้วยกล้องทางไกลจากดาวเทียม แต่ด้วยพลังของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกิดจากความร่วมมือกัน งานต่างๆสามารถทำให้สำเร็จได้ในเวลาไม่กี่เดือนจากความช่วยเหลือของอาสาสมัครนับพันคน การเชื่อมต่อกันได้ทั่วโลก เครื่องจักรอันแสนฉลาด และสื่อใหม่ ได้กลายเป็นตัวขับดันสำคัญต่อรูปแบบและวิธีการทำงานของพวกเรา และทักษะใหม่ที่พวกเราจำเป็นต้องมี เพื่อทำให้งานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นหรือเปลี่ยนไปในอนาคต

ในรายงาน “Future Work Skills 2020” ได้วิเคราะห์ตัวขับเคลื่อนหลักที่จะช่วยจัดรูปแบบงานและบ่งชี้ให้เห็นว่าทักษะการทำงานหลักที่มีความจำเป็นในอีก 10 ปีข้างหน้าคืออะไร โดยไม่ได้บอกว่าสิ่งนั้นเป็นงานสำหรับอนาคต แม้ว่าจะมีคนมากมายหลายคนพยายามที่จะทำนายว่าประเภทของงานและความต้องการด้านแรงงานคืออะไร แต่อย่างไรก็ตามหลายปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่า เป็นการยากที่จะทำนาย และผลทำนายที่เกิดขึ้นในอดีตล้วนแล้วแต่ผิดทั้งสิ้น รายงานนี้ไม่ได้มุ่งไปที่งานในอนาคต แต่มองไปที่ทักษะสำหรับงานในอนาคต ความสามารถที่ต้องการ แม้ว่างานนั้นๆจะมีความแตกต่างกันก็ตาม

ทีมวิจัยเริ่มต้นด้วยการมองไปข้างหน้า และคิดถึงแรงขับดันสำคัญก่อน ที่มีพลังในการขับเคลื่อนเพื่อปรับพื้นที่แห่งอนาคต เป็นการเลื่อนไหลไปบรรจบกันของหลายตัวขับเคลื่อนที่กำลังทำงานร่วมกัน และเลือก 6 ตัวขับเคลื่อนที่ได้จากการวิจัยนี้ ให้เป็นทำงานในตัวกำหนดทักษะที่สำคัญที่สุดสำหรับการอนาคต โดย 6 ตัวขับเคลื่อนดังกล่าว ได้แก่

1.Extremely Longevity – Increasing global lifespans change the nature of careers and learning ผู้คนจะมีชีวิตยืนยาวขึ้น ประมาณการว่าในปี 2025 จำนวนของคนอเมริกันที่มีอายุเกิน 60 ปี จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70

2.The Rise of Smart Machines and Systems – Workplace automation nudges human workers out of rote, repetitive tasks ระบบและเครื่องจักรต่างๆจะฉลาดและมีความสามารถมากขึ้น จนสามารถทำงานแทนคนได้ ดังนั้นกลุ่มคนทำงานที่ยังสนุกกับการทำงานซ้ำๆ เตรียมตัวที่จะตกงานและแทนที่ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ ดังนั้นคนทำงานที่คิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้เท่านั้น ที่ยังคงมีอนาคตในการทำงาน

3.Computational World – Massive increases in sensors and processing power make the world a programmable system โลกของการคำนวณ หรือประมวลผล นั่นเพราะว่าคอมพิวเตอร์สามารถคิดและคำนวณข้อมูลจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว และถูกต้องแม่นยำ ยิ่งเป็นการประมวลผลที่ซ้ำๆแล้วด้วย

4.New Media Ecology – New communication tools require new media literacies beyond text ระบบนิเวศของสื่อใหม่ จะเข้ามาแทนที่การสื่อสารในรูปแบบเดิม เนื่องจากมีความสามารถในการสร้างความเข้าใจได้ดีกว่า เข้าถึงได้ง่ายกว่า อีกทั้งยังมาพร้อมความสามารถในการแปลภาษา ซึ่งจะทำให้โลกการสื่อสารไร้พรมแดนอย่างแท้จริง

5.Superstructured Organization – Social technologies drive new forms of production and value creation องค์กรต่างๆจะเชื่อมโยงกันจนกลายเป็นโครงสร้างใหญ่

6.Globally Connected World – Increased global interconnectivity puts diversity and adaptability at the center of organizational operations โลกทั้งใบจะเชื่อมต่อกันเป็นชิ้นเดียว ระยะทางจึงไม่ใช่อุปสรรคขวากหนามต่อการสื่อสารข้ามโลกอีกต่อไป

และจากแรงขับเคลื่อนหลักทั้ง 6 ประการดังกล่าว นำไปสู่ 10 ทักษะการทำงานใหม่ที่สำคัญสำหรับอนาคต ดังนี้

1.Sense Making จากแรงขับ Smart machines ทำให้เราต้องมีความสามารถในการเข้าใจสิ่งต่างๆได้อย่างลึกซึ้ง ถึงคุณสมบัติและความพิเศษ

2.Social Intelligence จากแรงขับของ Smart machines และ Globally connected ทำให้เราต้องมีความสามารถในการเชื่อมต่อตัวเองหรือมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับสังคมอื่นได้

3.Novel and Adaptive Thinking จากแรงขับของ Smart machines และ Globally connected ทำให้เราต้องมีความสามารถในการคิด หาคำตอบ และตอบสนองต่อความต้องการใหม่

4.Cross Cultural Competency จากแรงขับของ Superstructured และ Globally connected ทำให้เราต้องมีความสามารถในการทำงานในวัฒนธรรมที่หลากหลายและคนหลายสัญชาติ

5.Computational Thinking จากแรงขับของ New Media และ Computational world ทำให้เราต้องมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย และมีเหตุผล

6.New Media Literacy จากแรงขับของ Longevity, New media และ Superstructured ทำให้เราต้องมีความสามารถในการประเมินและสร้างเนื้อหาที่อยู่ในรูปสื่อใหม่ และใช้มันในการสื่อสารให้เกิดผล

7.Transdisciplinary จากแรงขับของ Longevity และ Globally connected ทำให้เราต้องมีความสามารถในการทำความเข้าใจแนวคิดใดก็ตาม จากการผสมผสานทักษะที่หลากหลาย

8.Design Mindset จากแรงขับของ Superstructured และ Globally connected ทำให้เราต้องมีความสามารถในการออกแบบงาน และพัฒนากระบวนการทำงานให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

9.Cognitive Load Management จากแรงขับของ Superstructured, Globally connected และ New media ทำให้เราต้องมีความสามารถในการแยกแยะ คัดกรองเฉพาะสิ่งที่สำคัญ และทำความเข้าใจมันด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย

10.Virtual Collaboration จากแรงขับของ Superstructured และ Globally connected ทำให้เราต้องมีความสามารถในการทำงานที่มีผลิตภาพสูง สร้างความผูกพัน ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของทีม และนำเสนอในรูปแบบจริง และโลกเสมือน

ลองสำรวจตรวจสอบดูครับ ว่าเรามีทักษะที่พร้อมสำหรับการรับมือกับการทำงานในทศวรรษใหม่หรือไม่ ถ้ายังไม่มี หรือมีบางส่วน เริ่มต้นเตรียมการฝึกฝนกันตั้งแต่วันนี้ ยังไม่สายครับ

สำหรับผู้ที่สนใจอ่านฉบับภาพสวยๆ เนื้อหาเต็มๆ แบบไม่ตัดตอนจากรายงาน “Future Work Skill 2020” ที่จัดทำโดย The Institute for the Future ในรูปแบบไฟล์ pdf สามารถดาวน์โหลดได้ที่

http://cdn.theatlantic.com/static/front/docs/sponsored/phoenix/future_work_skills_2020.pdf


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ทักษะ แรงขับ สู่อนาคต

view