สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

NEW NORMAL

NEW NORMAL

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ผมมีโอกาสได้ไปสัมมนาเรื่อง “Coping in the Age of the New Normal” จัดโดย TMB เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา

Dr.TIM วิทยากรจาก ING ได้กล่าวถึง วัฏจักรของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในหลายช่วงเวลาที่ผ่านมา และได้อ้างอิงถึงคำว่า “NEW NORMAL” ที่บัญญัติโดย Bond Guru ชื่อว่า “Bill Gross” จาก PIMCO หลายครั้งหลายครา ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาของการสัมมนา ผมขอกล่าวถึง คำว่า NEW NORMAL โดยสังเขปดังนี้ครับ

“NEW NORMAL” คือ ช่วงวัฏจักรที่อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่จะเริ่มลดต่ำลง จากที่เคยอยู่ในระดับ 5-6% ต่อปี จะลดลงสู่ระดับ 3-4% ต่อปี อัตราการเติบโตที่ต่ำลงมาพร้อมกับความผันผวนที่น้อยลงของตลาดเงินตลาดทุน ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมาจากแนวทางการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่เข้มงวดขึ้นจากผู้ดำเนินนโยบายการเงินการคลัง เช่น ธนาคารกลาง และ กลต. เพื่อหาข้อสรุปในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องไม่ว่าจะเป็น BASEL III หรือ CVA (Credit Valuation Adjustment) กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้นจะช่วยให้สถาบันการเงินมีส่วนทุนที่แข็งแกร่งขึ้น ทั้งยังช่วยลดภาระที่ธนาคารกลางจะต้องเข้าไปอุ้มชูดังสถาบันการเงินที่มีปัญหา แต่ในมุมมองของ สำหรับสถาบันการเงินโดยเฉพาะ Investment Banks แล้ว บอกได้เลยว่า หากิน (ทำเงิน) ยากขึ้น เพราะตลาดจะมีความผันผวนลดลง Trading Desk ทำเงินยากขึ้น การเสนอขาย Exotic derivatives solution ที่เคยช่วยบริหารความเสี่ยง (ไม่แน่ใจว่า บริหารให้เสี่ยงมากขึ้น หรือ ลดลง) ให้แก่ลูกค้าสถาบัน ก็จะไม่ได้รับความนิยม … คำว่า NEW NORMAL เป็นคำที่ถูกบัญญัติหลังจากการล่มสลายของ Lehman Brothers Bear Stearns และ AIG ในปี 2008-2009

ในการบรรยาย Dr. TIM ได้กล่าวถึงการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ย้อนหลังไปตั้งแต่ปี 1980 ว่า ในช่วงปี 1980-2000 นั้น World GDP growth อยู่ในระดับ 3.00-3.25% ต่อปี และได้ปรับตัวสูงขึ้นเป็น 4.5% ในปี 2000-2006 จากนวัตกรรมทางการเงินทั้งประเภท Interest Rate Derivatives และ Credit Derivatives ที่ช่วยให้บริษัทขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่สามารถเข้าถึงเงินกู้ราคาถูกได้ ไม่เพียงแต่ Wholesale Banking ที่ได้รับอานิสงส์ดี แต่ฝั่ง Retail Banking ก็มีการเติบโตอย่างมาก จากการที่ภาครัฐฯ จัดตั้ง Fannie Mae และ Freddie Mac เพื่อสนับสนุนให้ผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงเงินกู้ได้อย่างง่ายดายและทั่วถึงแม้ผู้กู้จะมี Credit score ต่ำ ... เมื่อผู้กู้เข้าถึง Funding ได้ง่ายขึ้น สิ่งที่ตามมาคือ Leverage และ Over-leverage หรือ การก่อหนี้ที่มากเกินไป แม้ NEW NORMALจะทำให้ GDP growth อยู่ในระดับที่ต่ำลง แต่ Dr. TIM ก็ยกเคสให้เห็นว่า ทั้ง US Treasury yield และ EUR หรือ JPY ล้วนเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ มีความผันผวนต่ำลงมากซึ่งเป็นผลดีต่อการฟื้นตัวของภาคการผลิตทุกอุตสาหกรรม

ในทางกลับกัน กรณีของบ้านเรานั้นการแข็งค่าอย่างรวดเร็วของเงินบาท ย่อมสร้างความกังวลให้แก่ผู้ดำเนินนโยบายการเงินการคลัง (และ คสช.) ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างแน่นอน ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นต่อเนื่องหลังจากรัฐประหารโดย คสช. จากระดับ 32.80 ไปสู่ 31.80 ในวันที่ 29 ก.ค. 57 แต่อัตราการไหลเข้าของเงินทุนประเภท Portfolio inflows หรือ Hot Money นั้นไม่เป็นที่พึงประสงค์ต่อผู้ดำเนินนโยบายการเงินและเศรษฐกิจ เนื่องจากอาจทำให้เกิด Shock ต่อระบบการเงินและภาคอุตสาหกรรมอย่างรุนแรงเมื่อเงินทุนไหลกลับและส่งผลต่อผู้ประกอบการโดยเฉพาะภาคส่งออกซึ่งคิดเป็น 60% ของ GDP ประเทศไทย

ลองมอง Fund flows ย้อนหลังไปสองเดือน ตั้งแต่ คสช. เข้ายึดอำนาจ เปรียบเทียบกับ ค่าเงิน พบว่า ยอดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยนักลงทุนต่างชาติ (Non resident หรือ NR) เพิ่มขึ้นจาก 640,000ล้านบาท แตะระดับ 774,000ล้านบาท พร้อมๆ กับการแข็งค่าของเงินบาท ถึงแม้ Fund flows จะไหลเข้าสู่ภูมิภาคนี้อย่างทั่วถึงรวมถึง อินโดนีเซียด้วย และมาเลเซีย แต่กล่าวได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบตั้งแต่ 22 พ.ค. - 22 ก.ค. 2557 ประเทศไทยได้รับอานิสงส์สูงที่สุดในภูมิภาค เงินบาทแข็งค่า +2.52% รองลงมาคือ มาเลเซียริงกิต ที่ +1.36% และ ฟิลิปปินส์เปโซ ที่ +1.03% แต่ถ้ามองในระยะสั้น ตั้งแต่ วันที่ 1 - 22 ก.ค. พบว่า อินโดนีเซียรูเปียห์ มาเป็นอันดับหนึ่ง แข็งค่าขึ้น +3.04% จากผลการเลือกตั้งที่เพิ่งจบลงไป ตามด้วยเงินบาท ที่ +1.94% เงินทุนจำนวนมากไหลเข้าภูมิภาคเอเชียในเดือน ก.ค. ครับ

ในวันที่ 22-23 ก.ค. เม็ดเงินกว่า 40,000 ล้านบาทได้ไหลสู่ตลาดตราสารหนี้อีกครั้ง ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นถึง 5สตางค์ ก่อนที่ USD จะเริ่ม Rebound แตะ 32.10บาท/ดอลลาร์หลังจาก FOMC statement ในวันพุธที่ผ่านมาการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินและการดำเนินการกับ HOT MONEY ไม่เพียงจะเป็นความท้าทายต่อ ธปท. แต่ยังมีผลต่อ คสช. ในการปรับนโยบายการเงินการคลังให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ตลาดโลกในปัจจุบันอีกด้วย



สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : NEW NORMAL

view