สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สุดยอดบริษัทของโลก

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ คิดวิเคราะห์แยกแยะ วีรพงษ์ ธัม www.10000Li.net

ตั้งแต่ ปี 1955 นิตยสาร Fortune ได้จัดอันดับ 500 บริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา (เรียงลำดับยอดขายเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหุ้น) และในปี 1990 Fortune ได้เริ่มจัดอันดับบริษัททั้งโลกรวมกับบริษัทในประเทศสหรัฐ และตั้งชื่อว่า Fortune Global 500 หากวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตั้งแต่ครึ่งศตวรรษก่อน จะพบความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะผมเชื่อว่าเราสามารถมองหา "สุดยอดบริษัทระดับโลก" ในอนาคตจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา และธุรกิจที่เติบโตอย่างมากในประเทศไทย ก็มีเส้นทางเดียวกันกับแนวโน้มเหล่านี้

บริษัทขนาดใหญ่ในอดีตตั้งแต่ มนุษย์เรารู้จักการนำทองคำสีดำ หรือน้ำมันมาใช้ มักจะวนเวียนอยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม (บริษัทน้ำมัน) ซึ่งเกื้อหนุนกับอุตสาหกรรมที่มีบริษัทติดอันดับมากมาย อย่างอุตสาหกรรมยานยนต์ รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างรถไฟ เครื่องบิน หรืออุตสาหกรรมวัตถุดิบต้นน้ำอย่างเหล็กกล้า ก็ครองอันดับใน Fortune ได้ในช่วงก่อนกลางศตวรรษที่ 20 มาโดยตลอด

แต่หลังจากที่มนุษย์เริ่ม คิดค้นเซมิคอนดักเตอร์ขึ้น ไม่กี่สิบปีถัดมาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ก็เริ่มทยอยเข้าสู่ Fortune 500 เช่น Texas Instrument (ที่ Phillips Fisher ลงทุน) เกิดบริษัทยักษ์สีฟ้าอย่าง IBM หรือผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ยักษ์ใหญ่อย่าง Intel และค่อย ๆ ย้ายมาฝั่งเอเชียจากญี่ปุ่น เช่น Sony, Mitsubishi มาที่เกาหลีอย่างบริษัท Samsung ล่าสุดก็เริ่มเห็นบริษัทจากประเทศจีน รวมไปถึงการมีอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย จนมาถึงประเทศไทย

การเกิดอุตสาหกรรมเซมิ คอนดักเตอร์และคอมพิวเตอร์ ส่งผลให้เกิดระบบไอทีมีการนำ "ข้อมูล" ทางธุรกิจมาประมวลผล ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่คือ Supply Chain และระบบธุรกิจ "Franchise" หรือโมเดลการขยายสาขาในแบบที่ปีเตอร์ ลินช์ หรือบัฟเฟตต์โปรดปราน สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาหลายสิบปี กว่าที่เราจะเห็นธุรกิจหลายอย่างเช่น เชนธุรกิจอาหารอย่าง McDonald"s, Starbucks และค้าปลีกสมัยใหม่ครองโลก ทำให้ปัจจุบัน Wal-Mart ครองอันดับหนึ่งและยึดอันดับต้น ๆ มาเป็นทศวรรษแล้ว เพราะการเชื่อมโยงทั้งด้านข้อมูลและการค้า (WTO) ช่วยต่อยอดให้การผลิตต่าง ๆ สามารถทำธุรกิจข้ามโลกได้ และสร้างบริษัทชั้นนำมากมาย เช่น Nesle, Pepsi, Coke เป็นต้น

นอกจากนั้น เทคโนโลยีชั้นสูงที่ต่อยอดขึ้นมาก็สนับสนุนให้ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเริ่มเห็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ หรือ Healthcare มากขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะอยู่ในอุตสาหกรรมไบโอเคมิคอล ธุรกิจยา, 
เครื่อง มือแพทย์ หรือโรงพยาบาล ซึ่งยังได้แรงหนุนจากแนวโน้มตามเมกะเทรนด์ของสภาพโครงสร้างประชากรของโลกที่ เริ่มสูงวัยขึ้น จากช่วงเบบี้บูมเมอร์ส และขนาดอุตสาหกรรมก็ใหญ่ขึ้นตามลำดับ 

อีก ธุรกิจที่ขึ้นมาเป็นดาวรุ่งอย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คือ ธุรกิจออนไลน์ หรือดอตคอม เจ้าพ่อธุรกิจค้าปลีกรูปแบบ Brick & Mortars อย่าง Wal-Mart ก็ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากธุรกิจออนไลน์ แต่ก็ยังไม่เห็นผู้ท้าชิงออนไลน์ติดอันดับเข้ามามากนัก นอกจาก Amazon.com (ปี 2010 ได้อันดับ 100 ปัจจุบันขึ้นมาอยู่อันดับ 35) คงเพราะการรบบนสมรภูมิออนไลน์ยังไม่จบ แต่เราคงจะเห็นบทบาทของธุรกิจกลุ่มนี้มากขึ้นตามลำดับ รวมไปถึงกลุ่มธุรกิจที่อาศัย "พลังของระบบเน็ตเวิร์ก" เช่นเดียวกับบริษัทในอดีตที่อาศัยพลังของซัพพลายเชนผลักดันให้เติบโต

ถ้า มองในแง่ของ "ภูมิศาสตร์" จะเห็นว่าในยุค 1990 ญี่ปุ่นเริ่มทาบรัศมีการเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเทียบเคียงกับสหรัฐอเมริกา ในเวลานั้นมีบริษัทอเมริกา 167 แห่งติดอันดับ ตามมาด้วยบริษัทญี่ปุ่น 111 แห่ง ส่วนรอง ๆ ลงมาคือ สหราชอาณาจักร (43 บริษัท) เยอรมนีตะวันตก 
(32 บริษัท) ฝรั่งเศส (29 บริษัท) ในเอเชียก็มีเกาหลีที่มี 11 บริษัทติดอันดับ 8 ด้วยในเวลานั้น

ผ่าน ไป 24 ปี ปัจจุบันอันดับ 1 ยังคงเป็นสหรัฐอเมริกา แต่เหลือ 128 บริษัท อันดับ 2 คือ จีน ซึ่งเติบโตเร็วมากตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา จนมีจำนวน 95 บริษัท และอาจจะแซงสหรัฐอเมริกาในไม่ช้า อันดับ 3 ญี่ปุ่น 57 บริษัท มหาอำนาจทางยุโรปเก่าอย่างฝรั่งเศส เยอรมนี และอังกฤษ ก็มีจำนวนแห่งละ 30 บริษัท ซึ่งส่วนมากเป็นบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เกาหลีมี 17 บริษัท ข้อมูลนี้พอจะเห็นได้ว่าอนาคตสมดุลโลกจะไปทางไหน

มาถึงประเทศไทยกัน บ้าง บริษัทที่เติบโตในประเทศก็ไปตามกระแสของโลกเพราะมีการนำเข้าเทคโนโลยีมาใช้ ได้ไม่ยากเหมือนแต่ก่อน แต่ถ้าจะหาบริษัทที่มีขนาดใหญ่ก็มีเพียง ปตท.บริษัทเดียว

ที่ได้เข้าไปอยู่ในทำเนียบ Fortune โอกาสของ AEC อาจจะทำให้ประเทศไทยก้าวไปได้ไกลกว่านี้ แต่ก็ยังต้องขึ้นกับ 3 องค์ประกอบร่วมของบริษัทที่ประสบความสำเร็จใน Fortune 500 คือ 1.วิสัยทัศน์ 

เพราะบริษัทใน Fortune 500 ทุกแห่งจะมีวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่และมองไกลมาก 2.การพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่ผู้นำไปจนถึงระดับปฏิบัติการ เราควรจะสามารถทำงานข้ามวัฒนธรรมได้ทั้งวิธีคิดและการใช้ภาษา พร้อม ๆ กับความสามารถในการปรับตัว 3.นวัตกรรม ที่จะต้องสร้างขึ้นมาเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การตลาด หรือตัวสินค้า ซึ่งทั้ง 3 ส่วน

ไม่ เฉพาะภาคเอกชนแต่ต้องมีภาครัฐสนับสนุนด้วยเพราะสุดท้ายแล้วประเทศไทยคงต้อง พยายามผลักตัวเองให้ข้ามผ่านประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรและแรงงานราคาถูก ไปเป็น "ผู้เชี่ยวชาญ" หรือ "ผู้สร้าง" 

บางสิ่งบางอย่างเพื่อโลกใบ นี้ ไม่เช่นนั้นแล้วประเทศไทยก็จะตกอยู่ในกับดักของประเทศรายได้ปานกลางอย่าง หลาย ๆ ประเทศในแถบละตินหรืออเมริกาใต้ ซึ่งเศรษฐกิจไทยเริ่มเห็นเค้าลางแล้วว่าอาจจะเติบโตในอัตราต่ำแบบนี้ไปอีก นาน ถ้าเราไม่เริ่มเปลี่ยนแปลงเสียที


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : สุดยอด บริษัทของโลก

view