สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ท่อก๊าซธรรมชาติในทะเลเป็นของใคร?

ท่อก๊าซธรรมชาติในทะเลเป็นของใคร?

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์

โดย พลเรือโท ประทีป ชื่นอารมย์
       
       ก๊าซผ่านท่อ ที่นำมาใช้ในประเทศไทยมาจาก 2 แหล่ง คือจากประเทศพม่า 23 %และจากประเทศไทย 77 % ในปริมาณ77%นี้มาจากในทะเล บริเวณอ่าวไทย 90.3 % และมาจากบนบกเพียง 9.7 %
       
       ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ มีความยาวทั้งสิ้น 3,498 กิโลเมตร แบ่งเป็น ท่อก๊าซในทะเล ความยาว 2,905 กิโลเมตร คือ ระบบท่อที่ต่อจากแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมาขึ้นฝั่งที่ จ.ระยอง และเชื่อมต่อที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 1 , 2 , 3 และ 5 จ.ระยอง และระบบท่อก๊าซจากแหล่งเอราวัณ มายังโรงไฟฟ้าขนอม อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช(ในส่วนระบบท่อก๊าซจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย มายัง อ.จะนะ จ.สงขลา และแผนแม่บทในการวางท่อก๊าซในอนาคต ยกเว้นยังไม่กล่าวถึง)
       
       ท่อบนบก ความยาว 1,402 กิโลเมตร ประกอบด้วยระบบท่อฝั่งตะวันออกจากโรงแยกก๊าซฯ จ.ระยอง ไปยังโรงไฟฟ้าบางปะกง พระนครใต้ วังน้อย และแก่งคอย ส่วนระบบท่อฝั่งตะวันตกคือระบบที่เชื่อมต่อจากชายแดนไทยกับพม่า มายังโรงไฟฟ้าราชบุรี
       
       ปัจจุบัน ระบบท่อส่งก๊าซฯ ทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกได้เชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกัน ทำให้เพิ่มความยืดหยุ่นในการนำก๊าซธรรมชาติจากทั้งอ่าวไทยและสหภาพพม่ามาใช้ ทดแทนกันได้ในกรณีจำเป็น
       
       ดังนั้น ผลประโยชน์ในกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของท่อก๊าซ จึงมีความหมายต่อการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์อันมหาศาลของเจ้าของสิทธิ์นั้น และ นำมาซึ่งความขัดแย้งทางสังคม ระหว่าง ประชาชนเจ้าของประเทศเจ้าของปริโตรเลียมธรรมชาติ กับ บริษัท ปตท.
       
       ประเด็นความขัดแย้ง คือ ท่อก๊าซในทะเล เป็นของอำนาจมหาชนของรัฐ หรือ เป็นอำนาจและสิทธิของ ปตท.โดย : วันที่ 14 ธ.ค. 50 : ปตท.ได้ยี่นคำร้องไปยังศาลปกครองสูงสุดเพื่อขอความชัดเจนคำวินิจฉัยคำสั่ง ศาลฯ ที่ให้ ปตท.แบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐออกจากอำนาจและสิทธิของ ปตท.
       
       วันที่ 26 ธ.ค.51 :ศาลฯ ได้มีคำสั่งว่า ปตท.ได้ดำเนินการตามคำพิพากษา (คืนท่อ) แล้ว
       
       กระแสสังคมมีข้อขัดแย้งว่า : การคืนทรัพย์สินท่อก๊าซฯ ของ ปตท.ให้กระทรวงการคลังยังไม่ครบถ้วน โดย ปตท.ยืนยันว่ามีการโอนท่อก๊าซฯ ที่ใช้อำนาจมหาชนในการรอนสิทธิและเวนคืนที่ดินประชาชนให้คลังแล้ว
       
       คำถามคือ คืนท่อก๊าซแล้วตามที่ ปตท.ยืนยันนั้น คืนส่วนไหน?ถึงจะครบถ้วนตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เพราะมันมีท่อก๊าซทั้งที่อยู่บนบกและในทะเล(ที่มีจำนวนท่อก๊าซที่ยาวถึง 2905 กม.และควบคุมผลประโยชน์จากการส่งก๊าซที่มากกว่าบนบก) ถ้าคืนเฉพาะที่อยู่บนบก แต่ยังไม่คืนในส่วนที่อยู่ในทะเล ทำได้หรือไม่? และมันมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติหรือไม่?อย่างไร?
       
       หรือถ้าตอบว่า ท่อก๊าซในอ่าวไทยไม่สามารถคืนให้ไปอยู่ในอำนาจของประชาชนได้ เพราะ ไม่ใช่ทรัพย์สินของชาติ เนื่องจากท่อก๊าซวางอยู่นอก"พื้นที่ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล" เป็นคำตอบที่ถูกต้องหรือไม่?
       
       ข้อเท็จจริงคือ ท่อก๊าซในทะเลจากแหล่งผลิตในทะเลทั้งหมด ทอดผ่านท้องทะเลจากฐานขุดเจาะที่เป็น"เขตเศรษฐกิจจำเพาะ"(ห่างจากเส้นฐานที่ ใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต ไม่เกิน 200ไมล์ทะเล) และทอดผ่าน"ทะเลอาณาเขต"(ห่างจากเส้นฐาน ไม่เกิน 12ไมล์ทะเล)ก่อนขึ้นสู่ชายฝั่งทั้งในพื้นที่ จ.ระยอง และ จ.สงขลา
       
       ในข้อกฏหมาย:อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฏหมายทะเล ค.ศ.1982
       1.CLOS,ข้อ 58 และ 87 ว่า ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของรัฐชายฝั่งนั้น รัฐอื่นๆย่อมมีเสรีภาพ
       1.1.เสรีภาพในการเดินเรือ (freedom of navigation)1.2.เสรีภาพในการบินผ่าน (freedom of overflight) 1.3.เสรีภาพในการวางสายเคบิลและท่อใต้ทะเล (freedom of the laying of submarine cables and pipelines) 1.4.การใช้ทะเลประการอื่นๆ
       2.รัฐชายฝั่งย่อมมีอำนาจอธิปไตย(sovereignty)เหนือทะเลอาณาเขตของตน รวมถึงในห้วงอากาศ,เหนือพื้นดินท้องทะเล(sea-bed)และใต้ผิวดิน(subsoil)แห่ง ทะเลอาณาเขตด้วย
       2.1.ยกเว้นการผ่านโดยสุจริต(right of innocent passage) คือ การผ่านโดยไม่เป็นปรปักษ์ต่อความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของรัฐชายฝั่ง
       2.1.รัฐชายฝั่งยังสามารถออกกฏหมายว่าด้วยการฝ่าฝืนกฏหมายและข้อ บังคับเกี่ยวกับ ศุลกากร,การคลัง,การเข้าเมือง,การอนุรักษ์สภาพแวล้อมและการควบคุมภาวะมลพิษ ต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
       2.3.หากเรือต่างชาติกระทำการใดๆอันเป็นปฏิปักษ์หรือคุกคามต่อ สันติภาพ ความมั่นคงแห่งบูรณภาพดินแดนของรัฐชายฝั่ง รัฐชายฝั่งสามารปฏิเสธไม่ให้เรือต่างชาติผ่านทะเลอาณาเขตหรือจับกุมเรือนั้น ได้
       
       พิจารณาจากข้อกฏหมายทั้ง 2 ข้อ จะเห็นว่า แม้กฏหมายทะเลจะจะชี้ชัดว่า การวางท่อก๊าซในอ่าวไทยจากฐานผลิตก๊าซในพื้นที่"เขตเศรษกิจจำเพาะ"จะสามารถ กระทำได้ แต่โรงงานแยกก๊าซทั้งหมดตั้งอยู่บนฝั่ง ท่อก๊าซในทะเลทั้งหมดจึงต้องวางผ่านพื้นที่"ทะเลอาณาเขต"ของไทย ซึ่งไทยสามารออก กฏ กติกา ข้อบังคับ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติได้ ดังนั้นประเด็นการรักษาผลประโยชน์ของชาติจากความเป็นเจ้าของปริโตรเลียม ธรรมชาติในอ่าวไทย จึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ว่า ท่อก๊าซไม่ใช่ทรัพย์สินของชาติเพราะวางอยู่นอกทะเลอาณาเขต แต่ขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์จากข้อเท็จจริง คือ เรามีอำนาจอธิปไตย(sovereignty)เหนือทะเลอาณาเขต และท่อก๊าซในทะเลทั้งหมดต้องวางท่อผ่านทะเลอาณาเขตก่อนขึ้นฝั่ง ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะจริงใจในการการกำหนด กฏ กติกา ข้อบังคับ กับผู้ได้สัมปทาน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติมากน้อยแค่ไหน??ต่างหาก!!


"รสนา" งัดประกาศเขต ศก.จำเพาะตบปาก"ไพรินทร์" ยกเมฆท่อก๊าซฯในทะเลเป็นของ ปตท.

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

"รสนา" แย้ง ซีอีโอ ปตท. มั่วมโนท่อส่งก๊าซฯในทะเลเป็นของ ปตท. ยกประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ประกอบความเห็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริต ยันแม้ท่อส่งก๊าซฯวางอยู่เลยระยะ 12ไมล์ทะเล ก็ยังเป็นสาธารณสมบัติของชาติ เพราะตามกฏบัติสหประชาชาติเขต200ไมล์ทะเลเป็นไหล่ทวีปซึ่งเป็นอธิปไตยของ ประเทศเจ้าของไหล่ทวีปนั้น
       
       วันนี้(23ส.ค.) น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กรุงเทพมหานคร ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว รสนา โตสิตระกูล ด้วยการยกความเห็นของที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการ ทุจริต ประกอบกับเอกสารประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เพื่อโต้แย้งคำให้สัมภาษณ์ของนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ซีอีโอปตท. เมื่อวันที่21 สิงหาคม 2557 ที่ว่า "ท่อส่งก๊าซฯในทะเลไม่ได้ใช้อำนาจมหาชนในการรอนสิทธิ์ และไม่มีกฎหมายไทยบังคับใช้ได้เกิน 12 ไมล์ทะเล ดังนั้นท่อส่งก๊าซฯในทะเลจึงเป็นของ ปตท..."
       
       น.ส.รสนา ระบุว่าได้หารือประเด็นนี้กับอดีตรองประธานศาลฎีกา เพราะท่านเคยเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการ ทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภาเกี่ยวกับประเด็นพื้นที่200 ไมล์ทะเลที่เป็นพื้นที่ไหล่ทวีป ท่านตอบดิฉันว่า
       
       "ผมเคยให้ความเห็นไว้ในสมัยที่ผมเป็นที่ปรึกษาฯว่า แม้ว่าท่อวางอยู่เลยระยะ 12ไมล์ทะเลซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจก็ยังเป็นสาธารณสมบัติของชาติเพราะตามกฏบัต ิสหประชาชาติเขต200ไมล์ทะเลเป็นไหล่ทวีปซึ่งเป็นอธิปไตยของประเทศเจ้าของ ไหล่ทวีปนั้นๆ ดังนั้นเมื่อ ท่อดังกล่าววางอยู่ในรัศมีไหล่ทวีปของประเทศไทย ท่อเหล่านั้นจึงเป็นสมบัติของชาติ จนบัดนี้ผมก็ยังยืนยันความเห็นเดิมอยู่ครับ"
       
       ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่สับสนไปกับข้อมูลที่ซีอีโอปตท.สื่อสารผ่าน สื่อกระแสหลักโดยขาดข้อมูลที่ถูกต้อง มีเอกสารประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ข้อ1 ระบุว่า "เขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย ได้แก่บริเวณที่อยู่ถัดออกไปจากทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย มีความกว้าง 200 ไมล์ทะเล..."
       
       ข้อ 2 จำกัดความเขตเศรษฐกิจจำเพราะ ว่า มีสิทธิอธิปไตยที่จะแสวงหาผลประโยชน์ จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนทะเลและใต้ทะเล ตลอดจนเสรีภาพในการเดินเรือและการบินผ่าน การวางสายเคเบิลและต่อใต้น้ำ ให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ
       
       


       

“วีระ”เลขาธิการ คปต.ท้าพิสูจน์ ปตท. คืนท่อก๊าซไม่ครบ? (ชมคลิป)

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

      “วีระ สมความคิด” ท้าพิสูจน์ความจริง ปตท.คืนท่อก๊าซไม่ครบ หลังแปรรูปเป็น ปตท. ตั้งแต่ปี 2544 ชี้ตัวละครเดิมกับกระบวนยักยอกและแยกตั้งบริษัทท่อส่งก๊าซที่ปิยสวัสดิ์ อ้างมติ ครม. เมื่อ 13 ปีที่แล้ว ชี้ข้อขัดแย้งควรส่งให้สำนักงานกฤษฎีกาพิจารณาข้อยุติ
             นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชั่น (คปต.) ได้เล่าว่าตนเองเป็นคนแรกๆที่ได้เข้ามาจับเบาะแสความไม่ชอบมาพากลของมหา กาพย์การแปรรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็น บมจ. ปตท. เมื่อ 1 ต.ค.2544 สำเร็จในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่อ้างว่ารัฐบาลไทยต้องทำตามทำตาม ”พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542” ซึ่งเป็นกฏหมาย 1 ใน 11 ฉบับที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขของหนังสือแสดงเจตจำนงขอความช่วยเหลือทางการเงิน จาก IMF (Letter of Intent)
       
       ช่วงเวลาการต่อสู้ตีแผ่ความจริงให้ปรากฏ ในปี 2545 วีระและกลุ่มมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่นำโดย นางรสนา โตสิตระกูล ต่างดำเนินการฟ้องร้องผู้เกี่ยวข้องกับการแปรรูป ปตท.และท่อส่งก๊าซ ในปี 2549 และศาลปกครองสูงสุดได้พิพากษาเมื่อวันที่ 14 ธ.ค.2550 ว่า
       
       “ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ (คณะรัฐมนตรี,นายกรัฐมนตรี,รมว.พลังงาน และ บมจ.ปตท.)ร่วมกันกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่น ดิน สิทธิใช้ที่ดิน เพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อง รวมทั้งแยกอำนาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอำนาจมหาชนของรัฐ ออกจากอำนาจและสิทธิของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ทั้งนี้ให้เสร็จสิ้นก่อนการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานตาม พรบ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550”
       
       แต่การดำเนินการดังกล่าวล่าช้าหลายครั้ง เพราะปตท.ขอผัดผ่อนขยายเวลาถึง 4 ครั้ง ขณะที่มติคณะรัฐมนตรีสมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ในปี 2550 ก็แถลงรับทราบและ มอบหมายหน่วยงานเกี่ยวข้อง 6 ข้อดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด

       
       เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชั่น วีระ สมความคิด ได้แสดงหลักฐานมติคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ในปี 2550 ที่ระบุไว้ใน ข้อ 2. ว่า เห็นชอบหลักการแบ่งแยกทรัพย์สินและมอบให้กระทรวงพลังงานและคลังรับไปดำเนิน การ โดยให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง และระบุว่า”หากมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายเกี่ยวกัลป์การตีความคำพิพากษาของศาลฯ ในการแบ่งแยกทรัพย์สิน ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นผู้พิจารณาเพื่อให้มีข้อยุติต่อไป
       
       และที่สำคัญคือข้อ 3.มอบหมายให้กระทรวงการคลัง โดยกรมธนารักษ์ดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ในการคิด “อัตราค่าเช่า” ในส่วนของทรัพย์สินที่เป็นระบบท่อ เพื่อเป็นฐานคำนวณค่าเช่าให้แก่ บมจ.ปตท.ภายใน 3 สัปดาห์
       
       “กรณีนี้ถ้า ปตท.จะใช้ท่อส่งก๊าซ ก็ต้องจ่ายค่าเช่าให้แก่รัฐ โดยกรมธนารักษ์ต้องคิดค่าเช่ากับ ปตท. และคำว่า ‘คำนวณค่าเช่าให้แก่ บมจ.ปตท.’ แสดงว่า ท่อส่งก๊าซไม่ใช่ของ ปตท.และปรากฏว่า ปตท.ไม่ได้จ่ายค่าเช่าเลย”
       
       ความสำคัญของท่อส่งก๊าซ ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการแบ่งแยกทรัพย์สินของ บมจ.ปตท.พบว่า 30 ก.ย.2550 ระบบท่อส่งก๊าซบนบก ในทะเล และระบบท่อจัดจำหน่าย มีมูลค่าทั้งสิ้น 115,000 ล้านบาท (มูลค่าสุทธิทางบัญชีเหลือ 82,200 ล้านบาท) ประกอบด้วยท่อส่งก๊าซที่ได้มาโดยใช้อำนาจมหาชนของรัฐหลังแปรรูป เช่น โครงการท่อเส้นที่ 3 มูลค่า 28,600 ล้านบาท และมีการวางท่อก๊าซในทะเลที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้อำนาจมหาชนของ รัฐตั้งแต่ยังเป็น ปตท.
       
       นายวีระได้ชี้ให้เห็นผลประโยชน์มหาศาลนี้ ที่กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บมจ.ปตท.ควรปกป้องดูแล แต่กลับบิดเบือน และทำหนังสือเลขที่ 0304/0306 เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2551 ถึงผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินว่า ครม. มีมติเมื่อ 18 ธ.ค.2550 มอบหมายให้กระทรวงการคลังโดยกรมธนารักษ์รับไปดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินตาม ที่ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา ทั้งๆ ที่มติ ครม. ให้สตง.เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง
       
       “ทั้งคลังและกระทรวงพลังงาน แบ่งแยกทรัพย์สิน เขาบอกว่าแยกเสร็จแล้ว แต่รายละเอียดไม่ตรงกับของที่ สตง.ตรวจสอบ เขาแยกทรัพย์สินที่เอื้อประโยชน์แก่ ปตท. โดยดูได้ที่คนเซ็นหนังสือคือ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลังขณะนั้น ร้อยตรีหญิง ระนองรัตน์ สุวรรณฉวี ภรรยาของนายไพโรจน์ สุวรรณฉวี แห่งพรรคไทยรักไทย ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดทักษิณ เดินหน้าฮุบท่อส่งก๊าซ แบ่งแยกทรัพย์สินตามใจคลัง สตง.พูดไม่ออก”
       
       นอกจากนี้ เลขาธิการ คปต. ยังแสดงหนังสือของ สตง.ถึงประธานวุฒิสภา เมื่อ 11 ส.ค. 2553 ชี้แจงว่า ปตท.คืนท่อก๊าซไม่ครบถ้วนจำนวน 32,613.45 ล้านบาท และท่อส่งก๊าซบนบกบางส่วนไม่ครบถ้วนอีก 21,400 ล้านบาท รวมทั้งสองรายการ 5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ตัวเลขที่ปตท.ส่งคืนท่อส่งก๊าซบนบกแค่ 55.42 %เท่านั้น
       
       “ต่อจากนี้ไป ผมจะดำเนินคดีทั้งหมด ในเมื่อเราท้วงติงไปตั้งแต่วันที่ 13 ส.ค.เราแถลงถึงความไม่ชอบมาพากลเกี่ยวกับเอกสารแถลงข่าวของ ปตท. จากนั้นเช้าวันศุกร์ที่ 15 ส.ค. เราก็ไปยื่นให้หยุดการแยกตั้งบริษัทท่อส่งก๊าซ แต่พอบ่ายมีมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งขาติออกมา ตามหลักกฎหมาย ความผิดสำเร็จแล้ว ต่อจากนี้ ผมจะดำเนินคดีผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ฐานปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ประชาชนเสียหาย คสช.ก็ไม่อยู่เหนือกฏหมาย” วีระ เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต่อต้านคอร์รัปชั่นกล่าวในที่สุด


แถฮุบท่อก๊าซฯ ต่อยอดแปรรูป “ปตท.”

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน

รายงานพิเศษ
       
       ประเด็นเรื่องการแยกท่อก๊าซธรรมชาติออกจากปตท. แล้วให้ ปตท.ถือหุ้น 100% ยังเป็นประเด็นร้อนฉ่าต่อเนื่อง และมหากาพย์เรื่องนี้ดูท่าจะไม่จบลงง่ายๆ มิหนำซ้ำอาจกลายเป็นบูมเมอแรง เหวี่ยงกลับเข้าใส่ คสช. และคณะรัฐบาลชุดใหม่ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในฐานะหัวหน้า คสช.อีกต่างหาก
       
       เรื่องนี้ นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว.กรุงเทพฯ ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “รสนา โตสิตระกูล” ในหัวข้อ “ท่อก๊าซธรรมชาติ : สาธารณสมบัติของแผ่นดินตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้” เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2557 ระบุตอนหนึ่งว่า การคัดค้านเรื่องการแยกท่อส่งก๊าซมาตั้งบริษัทใหม่และให้เป็นของ ปตท.นั้น เพราะไม่ชอบด้วยกฎหมายที่จะตั้งบริษัทท่อก๊าซให้เป็นของ ปตท. หากจะแยกท่อก๊าซธรรมชาติออกมาตั้งเป็นบริษัทใหม่ รัฐต้องถือหุ้นในบริษัทใหม่ 100%
       
       อดีตส.ว.กรุงเทพฯ ย้ำว่า ท่อส่งก๊าซในทะเลก็เหมือนสายส่งไฟฟ้า ระบบประปา หรือถนนหลวง ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยอำนาจมหาชน (อำนาจรัฐ) และมีลักษณะผูกขาดโดยธรรมชาติ ตามกฎหมายเอาไปซื้อขายหรือยกให้เอกชนเป็นเจ้าของไม่ได้ นอกจากนี้ ในคำพิพากษาหน้า 72 ศาลได้บรรยายว่า ท่อส่งก๊าซเป็นทรัพย์สินที่ “ไม่ตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี” ทรัพย์สินใดที่ไม่ตกอยู่ภายใต้การบังคับคดี แสดงว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของรัฐ จะถูกยึดเหมือนทรัพย์สินของเอกชนไม่ได้ ดังนั้นถ้าจะตั้งบริษัทท่อก๊าซ กรรมสิทธิ์ต้องเป็นของรัฐ 100% เท่านั้น
       
       เธอยังย้อนถึงคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ระบุว่า ท่อก๊าซธรรมชาติเป็นของรัฐ 100% ไม่ให้นำไปรวมกับทรัพย์สินที่จะแปรรูป แต่ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความจงใจฮุบกิจการท่อส่งก๊าซธรรมชาติของรัฐโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งการไม่แยกท่อก๊าซธรรมชาติก่อนการแปรรูป จึงเป็นเล่ห์กลในการลดสัดส่วนความเป็นเจ้าของท่อก๊าซธรรมชาติของรัฐจาก 100% เหลือเพียง 51% ตามหุ้นที่มีอยู่ใน บมจ.ปตท.
       
       หลังศาลฯ มีคำพิพากษา ในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.50 ก็ได้มีมติเห็นชอบหลักการการแบ่งแยกทรัพย์สิน อำนาจและสิทธิของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยที่จะให้เป็นของกระทรวงการคลัง ตามคำพิพากษา โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลัง รับไปแบ่งแยกทรัพย์สินและสิทธิตามหลักการดังกล่าว โดยให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้ตรวจสอบ และรับรองความถูกต้อง ทั้งนี้หากมีข้อโต้แย้งทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับการตีความคำพิพากษาของศาลฯ ในการดำเนินการแบ่งแยกทรัพย์สิน ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นผู้พิจารณาเพื่อให้มีข้อยุติต่อไป
       
       “ในการแบ่งแยกทรัพย์สินที่ได้มาโดยอำนาจมหาชน ที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลัง ยอมให้ ปตท.คืนเพียงที่ดินที่มีการรอนสิทธิเพื่อวางท่อบนบกเท่านั้น ส่วนท่อก๊าซในทะเลไม่ได้คืนทั้งหมดให้กับรัฐ แต่กลับปล่อยให้ ปตท.ไปรายงานต่อศาลฯ ว่าคืนครบแล้ว โดยไม่มีเอกสารการรับรองการคืนทรัพย์สินจาก สตง. อีกทั้งไม่รับฟังคำทักท้วงของ สตง.ว่า ปตท.ยังไม่ได้คืนทรัพย์สินไม่ครบ” นางสาวรสนา ระบุ
       
       นอกจากนั้น ยังมีประเด็นที่น่าสนใจคือ มีหนังสือลงวันที่ 7 ม.ค. 2551 ของสำนักเลขารัฐมนตรีถึง รมว.กระทรวงพลังงานระบุเนื้อหาที่ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงาน ในขณะนั้น ขอแก้ไข โดยให้ตัดทิ้งข้อความที่ว่า “ซึ่งในหลักการแล้วสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่สามารถซื้อขายได้ จึงไม่ควรมีภาระภาษีใดๆ” จากวันนั้นที่นายปิยสวัสดิ์ ผู้ตัดข้อความ “สาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่สามารถซื้อขายได้” ออกจากหนังสือกระทรวงพลังงาน 22 วัน ก่อนที่จะหมดวาระการเป็น รมว.พลังงาน มาวันนี้นายปิยสวัสดิ์เข้ามารับตำแหน่งประธานบอร์ด ปตท. และผลักดันนโยบายแยกท่อส่งก๊าซมาตั้งเป็นบริษัทใหม่ของ ปตท.
       
       “.... นายปิยสวัสดิ์ควรตอบสังคมว่า นี่คือภารกิจที่ค้างไว้เมื่อปี 2551 เพราะหมดเวลาไปเสียก่อน คราวนี้จึงต้องรีบร้อนสานต่อภารกิจในการเอาท่อก๊าซไปเป็นของเอกชนให้ได้ ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งในปี 2558 ใช่หรือไม่?” อดีต ส.ว.กทม.ระบุ
       
       นางสาวรสนา ยังสอนมวยรองโฆษก คสช. พ.อ.วินธัย สุวารี ที่ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 18 ส.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับประเด็นการแยกกิจการท่อส่งก๊าซเป็นบริษัทใหม่ โดยอ้างว่าเป็นนโยบายรัฐที่ไม่ต้องการให้มีการผูกขาด ปตท.เป็นผู้ลงทุนระบบท่อก๊าซ และรัฐยังไม่สามารถถือครองได้ 100% โดยระยะแรกจะถือ 25% แต่ในระยะยาว รัฐมีแผนที่จะเข้าถือครอง 100% ด้วยว่า กิจการท่อก๊าซเป็นกิจการที่ผูกขาด รัฐมีหน้าที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อประโยชน์ของประชาชน จึงต้องเป็นกิจการที่ให้รัฐเป็นผู้ผูกขาด ไม่ใช่ให้เอกชนผูกขาด ซึ่งหลายประเทศก็ทำเช่นนั้น
       
       “พ.อ.วินธัยเข้าใจผิดที่ว่า บมจ.ปตท.เป็นผู้ลงทุนสร้างท่อส่งก๊าซ ทำให้รัฐไม่สามารถถือครองหุ้นของบริษัทใหม่ทั้ง 100% แท้จริงแล้ว ท่อส่งก๊าซทั้งบนบกและในทะเล สร้างก่อนการแปรรูป 2544 รัฐจึงเป็นผู้ลงทุนในการก่อสร้าง ตั้งแต่ ปตท.ยังเป็นองค์การมหาชนของรัฐ ... ขอให้ พ.อ.วินธัย ดูเหตุผลที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งให้คณะรัฐมนตรีและ บมจ.ปตท.ไปกระทำการแบ่งแยกทรัพย์สินในคำพิพากษาหน้า 70-71
       
       “... สรุปคำพิพากษาชัดเจนเป็นอื่นไปไม่ได้ นอกจาก “ระบบท่อก๊าซธรรมชาติ อันประกอบด้วย ท่อส่งก๊าซ ท่าเรือ โรงแยกก๊าซ และคลังปิโตรเลียม ฯลฯ เป็นทรัพย์สินที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจมหาชน เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและวันนี้ยังเป็นของรัฐ 100% ....ดังนั้น หาก คสช.มีเจตนารมณ์ในการจะให้รัฐถือหุ้นในกิจการท่อก๊าซธรรมชาติทั้ง 100% จริง ก็สามารถทำได้ทันที โดยไม่ต้องรอไปทำในอนาคตระยะยาว เพราะวันนี้ท่อก๊าซธรรมชาติยังเป็นของรัฐทั้ง 100%”
       
       จากการออกมาตั้งคำถามข้างต้น ทำให้นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ออกมาแถลงข่าวด่วนเพื่อชี้แจงต่อคำถามข้างต้น โดย ปตท.ยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดในการโอนสินทรัพย์ท่อก๊าซฯ ที่เป็นสาธารณสมบัติแผ่นดินที่ได้จากการใช้อำนาจมหาชนทั้งเวนคืนที่และรอน สิทธิ์ในช่วงก่อนการแปรรูป ปตท.คืนให้กระทรวงการคลัง เป็นที่เรียบร้อยมาตั้งแต่ ธ.ค. 2551 ซึ่งศาลฯ ก็มีคำสั่งว่า ปตท.ได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2551
       
       ณ วันที่ 30 ก.ย. 2544 (ก่อน ปตท.แปรรูปในวันที่ 1 ต.ค. 2544) มีท่อก๊าซฯ บนบกระยะทาง 773 กม. ได้แบ่งแยกท่อส่งก๊าซฯ ให้กระทรวงการคลัง 371 กิโลเมตร และเป็นท่อของ ปตท.เอง 402 กม. เนื่องจากเป็นท่อส่งก๊าซฯ ที่ ปตท.ลงทุนเองและไม่ได้ใช้อำนาจมหาชน และไม่ได้รวมท่อก๊าซฯ ในทะเล เนื่องจากท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลไม่ได้ใช้อำนาจมหาชนในการรอนสิทธิ์ และไม่มีกฎหมายไทยบังคับใช้ได้เกิน 12 ไมล์ทะเล ดังนั้นท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลจึงเป็นของ ปตท. และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ศาลปกครองกลาง ไม่รับคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ยื่นคำร้องขอให้ ปตท.คืนท่อก๊าซฯ ในทะเล เมื่อปี 2555
       
       “.... ส่วนที่กังวลว่ามีการโอนทรัพย์สินครบหรือไม่ต้องไปหารือศาล ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในฐานะผู้สอบบัญชี บมจ.ปตท. ก็ไม่เคยทำหมายเหตุแนบท้ายงบการเงินในประเด็นดังกล่าวเลย.....” ซีอีโอ ปตท. กล่าว
       
       คำแถลงข้างต้นของซีอีโอปตท. นายวีระ ตั้งข้อสังเกตว่า เป็นการออกมายอมรับกับสังคมว่าท่อก๊าซในทะเลทั้งหมด ปตท. ยังไม่ได้ส่งมอบให้รัฐ ส่วนการแบ่งแยกทรัพย์สินคืนครบหรือไม่ ทางกระทรวงการคลัง ต้องยื่นให้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยตีความการแบ่งแยกทรัพย์สินตามคำพิพากษา ไม่ตรงกัน
       
       ขณะที่มีข้อโต้แย้งถกเถียงกันในเรื่องโอนทรัพย์สิน ท่อส่งก๊าซฯ ยังไม่ได้ข้อยุติข้างต้น แต่นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ซึ่งนั่งเป็นกรรมการในบมจ.ปตท.ด้วยนั้น ก็ออกมารับรองความถูกต้องในการนำส่งคืนท่อก๊าซฯ โดยยืนยันว่า ปตท.ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุดในการโอนทรัพย์สินท่อก๊าซฯ ที่เป็นสาธารณสมบัติแผ่นดินด้วยการใช้อำนาจรัฐทั้งเวนคืนและรอนสิทธิ์ในช่วง ก่อนการแปรรูป คืนกระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2551 รวมมูลค่าทั้งสิ้น 15,000 ล้านบาท โดยไม่นับรวมถึงระบบท่อในท้องทะเล
       
       นายรังสรรค์ ยัง “ศรีธนญชัย” ต่อไปด้วยว่า สตง.เป็นผู้ตรวจสอบ และตั้งคณะทำงานพิจารณาแล้ว พบว่า ปตท.ได้คืนที่ดินในส่วนของการเวนคืนที่ราชพัสดุ ส่วนกรณีการทวงถามถึงท่อส่งก๊าซในท้องทะเล เพื่อให้กลับมาเป็นสมบัติสาธารณะของแผ่นดินด้วยนั้น กรมธนารักษ์ รายงานให้ทราบแล้ว ท่อก๊าซในทะเลวางอยู่บนพื้นน้ำไม่ได้อยู่ในใต้ดิน จึงไม่จำเป็นต้องส่งคืนให้กับภาครัฐ เพราะไม่ได้เป็นส่วนควบของที่ดิน ซึ่งเป็นไปตามมติของ ครม. และคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งได้พิจารณาแล้ว
       
       เช่นเดียวกันกับท่าทีของ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน หนึ่งในบอร์ดของบมจ.ปตท. ที่ออกมายืนยันว่า ปตท.ดำเนินการโอนทรัพย์สินคืนรัฐตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดแล้วตั้งแต่ ปี 2551
       
       ขณะที่ นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ก็ออกมาการันตีเช่นเดียวกันว่า กรณีที่มีการระบุว่า ปตท.ยังไม่ได้โอนท่อก๊าซในทะเลตามคำสั่งศาลฯ นั้นทั้งหมดเป็นไปตามคำพิพากษาเนื่องจากกิจการท่อทางทะเลไม่ได้เป็นการไปลิด รอนสิทธิใครมา เพราะตามคำสั่งศาลระบุให้โอนทรัพย์สินท่อก๊าซฯ ที่เป็นสาธารณสมบัติแผ่นดินที่ได้จากการใช้อำนาจมหาชนทั้งเวนคืนที่และรอน สิทธิในช่วงก่อนการแปรรูป ปตท.
       
       “ท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลไม่ได้ใช้อำนาจมหาชนในการรอนสิทธิ และไม่มีกฎหมายไทยบังคับใช้ได้เกิน 12 ไมล์ทะเล ดังนั้นท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลจึงเป็นของ ปตท. ส่วนกรณีที่มีคนมองว่าแล้วส่วนที่อยู่ไม่เกิน 12 ไมล์ทะเลต้องคืนหรือไม่ ก็คงจะต้องเป็นเรื่องที่จะต้องไปตีความกันใหม่ ซึ่งก็เคยมีการยื่นฟ้องศาลปกครองกลางมาแล้ว แต่ศาลไม่รับคำร้องที่จะขอให้ ปตท.คืนท่อก๊าซฯ ในทะเลเมื่อปี 2555” นายคุรุจิต กล่าว
       
       การกล่าวอ้างของข้าราชการระดับสูงทั้งสาม ซึ่งมีผลประโยชน์ทับซ้อนเพราะนั่งเป็นบอร์ดปตท.อยู่ด้วย ที่ออกมาการันตีว่าปตท.คืนทรัพย์สินท่อส่งก๊าซฯ ครบถ้วนตั้งแต่ปี 2551 มูลค่าประมาณ 15,000 ล้านบาท ซ้ำยังอ้างว่าสตง.ตรวจสอบแล้ว ถือเป็นพฤติกรรมของ “ศรีธนญชัย” โดยแท้ เพราะหลักฐานสำคัญ คือ รายงานของสตง.ที่ส่งไปถึงเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองสูงสุด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหมายรวมถึงกระทรวงการคลังด้วยนั้น ระบุว่า ทรัพย์สินที่ปตท.แบ่งแยกและส่งคืนแก่คลัง จำนวน 16,179.19 ล้านบาท “ยังไม่ครบถ้วน” ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด
       
       “.... รวมระบบท่อก๊าซฯ ที่บริษัทยังไม่ได้แบ่งแยกให้กระทรวงการคลัง จำนวนทั้งสิ้น 32,613.45 ล้านบาท ประกอบด้วย ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก จำนวน 14,393.16 ล้านบาท และในทะเล จำนวน 18,220.29 ล้านบาท....” รายงานผลสอบของ สตง. ระบุ
       
       ส่วนกรณีศาลปกครองกลาง ไม่รับคำร้องของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ได้ยื่นคำร้องขอให้ ปตท. คืนท่อก๊าซฯ ในทะเลเมื่อปี 2555 นั้น หม่อมหลวงกรณ์กสิวัฒน์ เกษมศรี ขึ้นเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 22 ส.ค. ระบุว่า “มูลนิธิผู้บริโภค แจ้งว่า เนื่องจากศาลเห็นว่า ท่อก๊าซเป็นของชาติโดย กระทรวงคลังเป็นผู้ดูแล มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงไม่ใช่ผู้เสียหายจึงไม่รับฟ้องครับ”
       
       สรุปรวมความแล้ว ท่อก๊าซฯ ที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินยังคืนให้แก่รัฐไม่ครบ ที่ศาลปกครองกลางไม่รับคำร้องของมูลนิธิฯ ก็เป็นคนละประเด็นกันกับที่ซีอีโอปตท. ออกมากล่าวอ้างข้างต้น เรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้นก็คือ หน่วยงานของรัฐแทนที่จะปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ ประเทศชาติ ประชาชน กลับแห่เข้าร่วมขบวนแปรทรัพย์สินของชาติให้กลายเป็นของบริษัทเอกชนโดยไม่ ละอาย
       “การแยกท่อก๊าซเพื่อแปรรูปและขายให้เอกชนในตลาดหลักทรัพย์ มิใช่ภารกิจหลักของการเข้าควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของ “คสช.” มิใช่หรือ? จึงกราบเรียนท่านมาด้วยความเคารพว่า อย่าได้ตกหลุมพรางของกลุ่มทุนที่มุ่งหมายขายสมบัติชาติ เพื่อประโยชน์ของตนเอง ควรจะเปิดรับฟังประชาชนที่มีสิทธิ์ มีส่วนเป็นเจ้าของทุกคนก่อนจะดำเนินการใดในเรื่องนี้ เพราะเป็นหนึ่งในความขัดแย้งตลอด 10 ปีที่ผ่านมา
       
       “ มิเช่นนั้นแล้ว จะกลับกลายเป็นว่าการรัฐประหารครั้งนี้เป็นไปเพื่อต่อยอดให้กลุ่มทุนที่หวัง ฮุบสมบัติชาติได้บรรลุจุดมุ่งหมายที่เคยวางเอาไว้เมื่อ 13 ปีที่แล้ว ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมืองยิ่งขึ้นกว่าครั้งที่กลุ่มทุน สามานย์แปรรูป ปตท.ครั้งแรก และก่อความเสียหายต่อบ้านเมือง ทำให้ประชาชนแตกความสามัคคี ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งรัฐ ซึ่งนั่นย่อมมิใช่สิ่งที่ คสช.และประชาชนปรารถนาอย่างแน่นอน” นางสาวรสนา ฝากทิ้งท้ายถึง คสช.


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ท่อก๊าซธรรมชาติ ในทะเล เป็นของใคร?

view