สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คำพูดสวยหรู ไม่สู้ลงมือทำ

คำพูดสวยหรู ไม่สู้ลงมือทำ

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




พฤติกรรมที่คนแสดงออกมานั้น ยืนยันความคิดความเชื่อด้วยเช่นกัน จึงสามารถอ่านความคิดคนจากการกระทำที่เกิดเป็นนิสัย

ความสามารถ คือศักยภาพในตัวคุณ

แรงกระตุ้นจูงใจ กำหนดว่าคุณจะทำอะไรในชีวิต

ทัศนคติ กำหนดว่าคุณจะทำสิ่งนั้นได้ดีแค่ไหน

Ability is what you're capable of doing.

Motivation determines what you do.

Attitude determines how well you do it.

LOU HOLTZ Quote

นี่คือตัวอย่างที่เชื่อว่าผู้อ่านทุกคนคงเคยได้ฟัง ได้อ่าน หรือแม้แต่ได้ส่งต่อข้อคิด คำคม หรือวลีเตือนใจ ทั้งที่มาจากผู้รู้ ผู้ที่ประสบความสำเร็จ หรือจากบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นทั้งตัวอย่างและผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับใครหลายๆคน ผ่านช่องทางและวิธีการที่ผ่านมาทางสื่อสังคมออนไลน์ การกด “Like” กด “Share” หรือเขียนแสดง “ความชื่นชม” ในข้อความที่ส่งต่อมานั้นๆก็ดี อาจทำให้เรารู้สึกดี แต่คงจะมีประโยชน์กว่านั้น ถ้าเราจะหยิบเอาซักหนึ่งเรื่องหรือมากกว่านั้น ที่ตรงกับความต้องการเรา และลงมือปฏิบัติอย่างแท้จริง ดังคำพูดที่ว่า

"The best way to predict the future is to create it"

วิธีที่ดีที่สุด ในการทำนายอนาคตก็คือ สร้างมันขึ้นมา

ดังนั้น อย่าเพียงแค่สวดอ้อนวอน เชื่อในโชคชะตาวาสนา หรือรอคอยว่าจะมีใครหยิบยื่นสิ่งดีมาให้

แต่จงมุ่งมั่น ทำในสิ่งที่ตั้งใจ ฟันฝ่าอุปสรรคและความยากลำบากอย่างไม่ท้อถอย

Peter F. Drucker

สำหรับคนที่เชื่อมั่นในการกระทำ มากกว่าคำพูดที่สวยหรู คงตระหนักได้ดีว่า ค่านิยมที่ไม่ว่าจะผ่านขั้นตอนการระดมสมองมาอย่างไร แต่เมื่อผู้บริหารประชุมตัดสินใจมาใช้ นั่นย่อมแสดงว่าอยากให้เกิดสิ่งนั้นขึ้นภายในองค์กร โดยมากค่านิยมที่ดีจะต้องสอดคล้องกับทิศทางที่องค์กรกำลังจะไป ซึ่งมีภาพเป้าหมายเขียนไว้ชัดในวิสัยทัศน์องค์กร แน่นอนค่านิยมมักฟังดูแล้วเป็นนามธรรมจับต้องได้ยาก หากแต่เราสามารถประเมินหรือวัดได้ผ่านวัฒนธรรมองค์กร หรือพฤติกรรมของคนในองค์กรที่กระทำกันเป็นกิจจะลักษณะหรือทำจนเป็นแบบแผนที่สามารถสังเกตเห็นได้โดยง่าย

ซึ่งพฤติกรรมที่คนแสดงออกมานั้น ก็จะเป็นสิ่งที่ยืนยันความคิดความเชื่อของคนนั้นด้วยเช่นกัน เราจึงสามารถอ่านความคิดคนได้จากการกระทำที่เกิดขึ้นจนเป็นนิสัย และถ้าวิธีคิดและวิถีปฏิบัติส่งเสริมการดำเนินงานตามกลยุทธ์ขององค์กร การบรรลุเป้าหมายตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ ก็ไม่ไกลเกินเอื้อม เราลองมาดูตัวอย่างของแนวคิดและการให้คำนิยามของประเทศต่างๆกับคำว่า “คุณภาพ” กับสิ่งที่คนทำงานในชาตินั้นปฏิบัติ อาทิ ญี่ปุ่น นิยามคำว่า “คุณภาพ” หมายถึงความสมบูรณ์ ดังนั้นทุกคนจึงช่วยกันปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement หรือ kaizen ในภาษาญี่ปุ่น) เพราะนั่นคือหนทางในการลดข้อบกพร่องผิดพลาดจนเข้าใกล้ศูนย์ หรือเติมเต็มความต้องการที่ไม่หยุดนิ่งของลูกค้าอย่างไม่ลดละ

สหรัฐอเมริกา นิยาม “คุณภาพ” ว่ามันต้องทำได้ดีกว่านี้สิ (It works, better than before) จึงปรับปรุงเมื่อพบข้อบกพร่อง ในขณะที่ฝรั่งเศส อาจหมายถึงความหรูหรา (Luxury) จึงมุ่งเน้นความแตกต่างและตอบสนองความรู้สึกในเชิงสุนทรียะ เยอรมัน ยึดมั่นในข้อกำหนด (Adherence to specification) จึงเข้มงวดในมาตรฐานทุกขั้นตอนการทำงาน และยังกำหนดมาตรฐานไว้สูงมากเสียด้วย

เมื่อทุกคนต้องการพัฒนาองค์กรไปสู่ระดับความเป็นเลิศ ที่สะท้อนสมรรถนะและความเป็นมืออาชีพขององค์กร การปรับตัวให้สอดรับกับยุคสมัย โครงสร้างการบริหารงานจึงแตกต่างกันไป ระหว่างช่วงเวลาในอดีตที่เป็นยุคอุตสาหกรรม (Industrial age) มาสู่ยุคสารสนเทศ (Information age) ในปัจจุบัน และก้าวสู่ยุคความรู้ในที่สุด การเปลี่ยนแปลงมีผลต่อลักษณะขององค์กร ถ้าสามารถปรับตัว หรือเปลี่ยนจุดมุ่งเน้นให้สอดรับกับสภาพแวดล้อมได้ดี ได้ก่อน ก็จะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงให้เลิกสิ่งเดิม และใช้สิ่งใหม่ แต่ให้ลดน้ำหนักและความเข้มข้นลง โดยมุ่งเน้นสิ่งใหม่มากขึ้น ดังนี้

- เปลี่ยนจากการให้ความสำคัญที่ขนาดและความแข็งแรง เป็นพลังและความสามารถ

- ไม่ใช่แค่สิ่งที่จับต้องได้(สินค้า) แต่ต้องเพิ่มเติมด้วยสิ่งที่จับต้องไม่ได้(บริการ)มากขึ้น

- ปริมาณอาจไม่ได้ทำให้มั่งคั่งขึ้น หากแต่เป็นคุณภาพต่างหากที่ช่วยเพิ่มมูลค่า

- ความชำนาญยังคงจำเป็น แต่ความคิดสร้างสรรค์ทำให้เราโดดเด่น และเป็นที่สนใจ

- การฝึกอบรมในเวลาจำกัดหรือต้องรอคนอื่นมาสอนนั้นไม่พอ แต่ทุกคนต้องเรียนรู้ตลอดเวลา

- คณิตศาสตร์อาจวัดความเก่งในการผลิต แต่ภูมิศาสตร์จะวัดความเก่งในเชิงธุรกิจและสังคม

- ไม่ใช่แค่ความจำเป็นในการดำรงชีพไปวันๆ แต่ต้องเป็นความพอเพียงในการมีชีวิต

- เลิกคิดจากตัวเองเป็นที่ตั้ง แต่มุ่งเน้นที่ความสัมพันธ์ให้มากขึ้น

- ประสิทธิภาพอาจทำให้เราประหยัด แต่ประสิทธิผลทำให้เราบรรลุเป้าหมาย

- ปัจจัยหรือทรัพยากรอาจจะดี แต่ถ้ากระบวนการไม่ดีย่อมไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีได้

- การเคลื่อนไปแนวเส้นตรงแบบเดิม อาจต้องคิดเผื่อด้วยการเคลื่อนไปในหลากหลายแนว

- รวมศูนย์อำนาจอาจทำได้ดีในองค์กรขนาดเล็ก แต่เมื่อใหญ่จำเป็นต้องกระจายอำนาจ

- จากเดิมที่ใช้เพียงข้อมูลเฉพาะ แม้ว่ากลั่นกรองมาอย่างดี แต่สู้สารสนเทศที่ครอบคลุม ลุ่มลึก กว้างและไกลไม่ได้

- เสถียรภาพและความชัดเจนเป็นรากฐาน แต่ส่วนบนต้องความยืดหยุ่นและพร้อมเปลี่ยนแปลง

นี่คือหลักคิดและวิธีปฏิบัติที่ต้องทำให้ได้ อย่าหลงติดอยู่กับวลีและคำพูดสวยหรู แต่ต้องลงมือทำและทำให้ได้มากที่สุด ผลลัพธ์จึงเกิด


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : คำพูดสวยหรู ไม่สู้ลงมือทำ

view