สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศ

ความเชื่อมั่นต่อการบริหารประเทศ

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ทุกครั้งที่เดินทางไปต่างประเทศ นอกจากการได้พบเห็นสิ่งใหม่ๆในต่างบ้านต่างเมืองแล้ว การพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

กับคนในแต่ละประเทศก็ช่วยเปิดโลกทัศน์ให้ผมได้อยู่เสมอ โดยเฉพาะการไปเยือนประเทศญี่ปุ่นครั้งล่าสุดนี้

สิ่งที่ได้จากการพูดคุยกับชาวญี่ปุ่นแม้จะเป็นบทสนทนาธรรมดาๆ แต่ก็มีเนื้อหาสาระมากพอที่จะทำให้เรารู้ได้ว่า คนญี่ปุ่นส่วนหนึ่งรู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์ในบ้านเมืองของเขา คุณภาพชีวิตเป็นอย่างไร ดีขึ้นไหม ผู้นำเป็นอย่างไร ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ไม่ต่างกับคำถามที่คนไทยส่วนใหญ่กำลังถามตัวเองอยู่ในช่วง เวลานี้ที่เพิ่งจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ารับผิดชอบบริหารประเทศ

ปัญหาของญี่ปุ่นนั้นคนละแบบกับเรา เพราะในฐานะความเป็นประเทศพัฒนาแล้วจึงทำให้มีความผันผวนปรวนแปรน้อยกว่าเรา มาก แต่ในแง่ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็ถือได้ว่าน่ากังวลไม่แพ้กัน โดยเฉพาะประเด็นแรกคือปัญหาทางด้านเศรษฐกิจที่หดตัวมายาวนานและรัฐบาลที่ ผ่านๆ มาก็ดูยังแก้ไขได้ไม่ตรงจุดนัก

ข้อต่อมาก็คือกรณีพิพาทกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศจีนในหมู่เกาะ เซากากุ ซึ่งแม้จะเป็นเพียงหมู่เกาะเล็กๆ แต่ทั้งจีนและญี่ปุ่นต่างก็ตอบโต้ซึ่งกันและกันอย่างแข็งกร้าว จนกลายเป็นความตึงเครียดที่ชาวญี่ปุ่นรู้สึกอึดอัดและต้องการให้ปัญหานี้ ผ่านพ้นไปโดยเร็ว

สิ่งที่คนญี่ปุ่นต้องการในเวลานี้ จึงไม่ใช่อัศวินขี่ม้าขาวเข้ามาช่วยแก้ปัญหา แต่เป็น “ความเชื่อมั่น” ที่จะทำให้นักธุรกิจ อุตสาหกรรม ข้าราชการ คนทั่วไปรู้สึกมั่นใจในประเทศของตัวเอง ไม่ต้องเอาเงินไปฝากไว้ในต่างประเทศเพราะกลัวเศรษฐกิจในประเทศตกต่ำ ไม่ต้องกลัวตกงานเพราะถูกเลิกจ้าง ฯลฯ

เพราะสังคมญี่ปุ่นมีความกดดันสูงมากอย่างที่เรารู้กันดี จึงมีอัตราฆ่าตัวตายสูงติดอันดับต้นๆ ของโลก ความเชื่อมั่นของคนในประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก และจากการพูดคุยจึงทำให้ได้เห็นว่าคนญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งผ่อนคลายลงในยุค รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ เพราะหากเป็นรัฐบาลชุดก่อนอาจรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจได้ไม่ดีเท่า ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 5% เป็น 8% เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

เพราะการปรับอัตราภาษีผู้บริโภคหรือภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ละครั้งมักจะส่งผล กระทบรุนแรงไปยังภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมจนอาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศ สะดุดลงได้หากวางแผนไว้ไม่รัดกุมเพียงพอ แต่นายกรัฐมนตรีอาเบะก็ทำให้คนในประเทศเชื่อมั่นและก้าวผ่านรอยต่อสำคัญนั้น มาได้สำเร็จ

เช่นเดียวกับกรณีพิพาททางทะเลที่แม้จะเป็นเพียงเกาะเล็กๆ แต่ก็เป็นศักดิ์ศรีของประเทศซึ่งการประกาศปกป้องอาณาเขตของตัวเองย่อมเป็น การสร้างความมั่นใจให้แก่คนในชาติได้ดีที่สุด จึงไม่น่าแปลกใจอะไรที่ในวันนี้ชาวญี่ปุ่นจะเห็นนายกรัฐมนตรีอาเบะเป็น สัญลักษณ์ของการฟื้นฟูประเทศไปแล้ว

เบื้องหลังความสำเร็จของนายกฯ อาเบะคงหนีไม่พ้นความรู้และความเข้าใจในปัญหาหลักๆ ที่ต้องสื่อสารให้ประชาชนรับทราบ โดยเฉพาะเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนไหว เช่น การขึ้นอัตราภาษีที่เขาใช้ความเด็ดขาดเข้าจัดการในการอภิปรายในสภา และทำความเข้าใจในเหตุผลและความจำเป็น จนประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจและไม่มีความวุ่นวายใดๆ เกิดขึ้น

นอกเหนือจากนั้นผลสะท้อนสำคัญก็คือดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียวก็สามารถปรับเพิ่มจาก 8,000 จุดขึ้นมาเป็นกว่า 15,000 จุดได้สำเร็จ ซึ่งตัวเลขเหล่านี้อาจไม่ได้หมายถึงความสำเร็จทางเศรษฐกิจแต่ก็เป็นความ เชื่อมั่นของนักลงทุนที่ทำให้เห็นว่าญี่ปุ่นยังน่าลงทุนและระบบเศรษฐกิจก็ ยังเดินต่อไปได้อย่างมั่นคง

อีกปัจจัยหนึ่งที่น่าจะเพิ่มคะแนนนิยมให้แก่นายกฯ อาเบะได้ก็คือ การแก้ไขวิกฤตินิวเคลียร์ฟูกุชิมะ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงการแก้ปัญหาการรั่วไหลของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เท่านั้น แต่นี่หมายถึงความมั่นคงทางพลังงานของทั้งประเทศซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อย อีกมาก

ต้องให้ติดตามตอนต่อไปในฉบับหน้านะครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ความเชื่อมั่น การบริหารประเทศ

view