สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผลกระทบจาก SQE & TLTRO แห่งยุโรป

ผลกระทบจาก SQE & TLTRO แห่งยุโรป

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อของยุโรปที่ออกมาในช่วงสุดสัปดาห์ ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบหลายปี

อาจเป็นเสมือนฟางเส้นท้ายๆ ของปฏิบัติการ Super QE แห่งยุโรป

ผมขอมองข้ามช็อต แบ่งสถานการณ์ระหว่างการทำ Super QE แห่งยุโรป และ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด ออกเป็น 2 กรณีดังนี้

กรณีแรก ธนาคารกลางยุโรปทำ Super QE ไม่ว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่ก็ตาม จะส่งผลผ่านการอ่อนตัวลงของเงินยูโร ทำให้การส่งออกมีปริมาณที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี ผลต่ออัตราเงินเฟ้อและความคาดหวังของอัตราเงินเฟ้อยังมีความไม่แน่นอนอยู่ ที่สำคัญ เราอาจจะไม่เห็นตลาดหุ้นยุโรปขึ้นปรู๊ดปร๊าดเหมือนสมัย QE ของสหรัฐ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของประเทศต่างๆ ในยุโรป ตอนนี้ อยู่ในระดับที่ต่ำอยู่แล้ว ยกเว้นเสียแต่ว่า นายมาริโอ ดรากิ ผู้ว่าการธนาคารกลางยุโรป จะลุยปรับโครงสร้างเศรษฐกิจแบบลงลึกไปถึงระดับโครงสร้างและเห็นผลแบบรวดเร็ว ซึ่งต้องบอกว่าโอกาสนั้นมีอยู่ไม่มากนัก

สำหรับกลุ่มประเทศที่อ่อนแอกว่าในยุโรป ผลจากการยอมให้มีการขาดดุลภาครัฐได้มากกว่ากฎเกณฑ์ในปัจจุบัน จะส่งผลดีต่อกลุ่มนี้มากกว่า จากการลดภาษีให้คลอบคลุมรายการที่มากขึ้นกว่าเดิมและการลงทุนภาครัฐอื่นๆ ที่สามารถนำมากระตุ้นอุปสงค์ของเศรษฐกิจได้ ที่สำคัญการจ่ายดอกเบี้ยที่มีมูลค่าลดลงจะช่วยให้รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ สามารถนำเงินที่เหลือไปช่วยโครงการต่างๆ ที่จะช่วยเสริมคะแนนเสียงของตนเองได้อีกด้วย ว่ากันว่าการลดลงของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยภาครัฐอาจจะสูงถึงร้อยละ 5 ของจีดีพีเลยทีเดียว อย่างไรก็ดี รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ ก็อาจต้องระมัดระวังไม่ใช้จ่ายเกินตัวจนไม่สามารถอยู่ในเงื่อนไขการกู้เงินจากโครงการ ESM ของยูโร ที่มีการทบทวนทุกๆ ปีเช่นกัน

อย่างไรก็ดี น่าสังเกตว่าการทำ QE หรือการซื้อตราสารทางการเงินของธนาคารกลางยุโรปงวดนี้ อาจจะพ่วงมากับเงื่อนไขที่ผ่อนคลายทางการคลังของประเทศต่างๆ หรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นจริง ต้องถือเป็นมิติใหม่ของวงการธนาคารกลางที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

กรณีที่สอง หากกลุ่มต่อต้านนโยบาย QE ของยุโรป สามารถประสบผลสำเร็จในการเลื่อน QE ออกไปเรื่อยๆ และเฟดเกิดเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หากเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดผลเสียต่อประเทศในกลุ่มที่อ่อนแอของยุโรป ได้แก่ กรีซ อิตาลี โปรตุเกส และสเปน โดยแน่นอนว่าอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของประเทศเหล่านี้จะขึ้นกระฉูด อันเนื่องมาจากส่วนผสมทั้งความผิดหวังจากการไม่ได้ทำ QE ของยุโรปและความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐและของโลกจะสะดุดขาจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟด หากให้ประเมินแล้ว ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของกลุ่มประเทศที่อ่อนแอในยุโรปเหนืออัตราดอกเบี้ยพันธบัตรของรัฐบาลเยอรมันน่าจะขึ้นไปว่าร้อยละ 1 รวมถึงอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลเยอรมันน่าจะขึ้นไปอีกไม่น้อยไปกว่ากัน ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยของกลุ่มประเทศ PIGS น่าจะขึ้นไปอยู่ที่ระดับสูงกว่าร้อยละ 6 ซึ่งเป็นระดับที่ถือว่าตลาดมีความตึงตัวคล้ายคลึงกับช่วงที่ยุโรปจะเกิดวิกฤตเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งในครั้งนี้ มีความน่ากังวลมากกว่า จากปัญหาเงินฝืดที่เสริมเข้ามาใหม่ โดยสำหรับงวดนี้ กรีซและอิตาลี อาการน่าจะเข้าขั้นโคม่ามากกว่าสเปนและอาจจะรวมถึงโปรตุเกส

บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมยังจะมีฝ่ายที่คัดค้านการทำ Super QE ในเมื่อเหตุการณ์บานปลายมาถึงขั้นนี้ คำตอบคือ ฝ่ายที่ประเมินว่าสถานการณ์ยังไม่สุกงอม มองว่าการลดลงของอัตราเงินเฟ้อของยุโรป เป็นเพียงเรื่องชั่วคราวของการลดลงของราคาพลังงาน ดังรูป ทว่าหลายฝ่ายไม่คล้อยตามแนวคิดดังกล่าวด้วยเหตุผลที่ว่าตัวเลขเงินเฟ้อในหัวข้ออื่นๆ ก็ลดลงมาไม่น้อยเช่นเดียวกัน

สำหรับผลกระทบต่อตลาดการเงิน ที่เห็นชัดๆ ได้แก่ สถาบันการเงินของยุโรปน่าจะได้ประโยชน์ เนื่องจากการซื้อตราสารทางการเงินจาก QE จะว่าไปมีโอกาสที่จะเป็นตราสารที่มีสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันอยู่สูง ซึ่งจะเท่ากับเป็นการลดสินทรัพย์ที่มีน้ำหนักความเสี่ยงสูงของแบงก์ต่างๆ ในยุโรปได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหาก QE ซื้อพันธบัตรรัฐบาลก็จะทำให้สินทรัพย์ในส่วนดังกล่าวของแบงก์มีราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ การทำ Targeted Longer-Term Refinancing Operations (TLTRO) ของธนาคารกลางยุโรปจะทำให้ต้นทุนทางการเงินของแบงก์ต่างๆ ลดลงจากปัจจุบันได้อีกครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ผลกระทบ SQE & TLTRO ยุโรป

view