สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิกฤตแรงงานข้ามชาติ : วิบากกรรมค้ามนุษย์

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ช่วยกันคิด ชมรมนักข่าวอาเซียน

แรงงานข้ามชาติและการค้ามนุษย์ เป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงกันมากในสังคมไทยตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกรณีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านอพยพกลับถิ่นฐาน หลังเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในไทย หรือปัญหาบังคับใช้แรงงานที่เกี่ยวพันอุตสาหกรรมประมงไทย ซึ่งถูกนำไปตีแผ่ในสื่อตะวันตก

ที่เป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งคือ รายงานการสำรวจสถานการณ์การค้ามนุษย์ทั่วโลกปี 2014 หรือ "2014 Trafficking in Persons Report" จัดทำโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งลดอันดับไทยให้ตกไปอยู่ในระดับ 3 (Tier 3) หรือระดับต่ำสุด

ศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงรายงานการสำรวจสถานการณ์การค้ามนุษย์ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาว่า เป็นสิ่งที่ต้องสนใจ แต่อาจจะไม่ใช่ประเด็นใหญ่

เพราะเป็นการจัดทำรายงานของประเทศหนึ่ง ซึ่งมีการเก็บข้อมูลทุกปี แต่อาจมีแหล่งข่าวเป็นกลุ่มเดิม หรือเก็บข้อมูลในประเด็นเดิม ขึ้นอยู่กับวิธีการมองประเด็นแรงงานของประเทศนั้น ๆ

โดยยกตัวอย่างกรณี "Red Light District" หรือ "ย่านโคมแดง" ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีการค้าประเวณีอย่างเปิดเผยและถูกกฎหมาย แต่เนเธอร์แลนด์ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในรายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ของสหรัฐด้วย แม้ว่าสำนักข่าวอัล-จาซีราจะเคยนำเสนอข้อมูลว่า ย่านโคมแดงของเนเธอร์แลนด์ คือแหล่งค้ามนุษย์อย่างถูกกฎหมายในยุโรปก็ตาม

ส่วนกรณีของไทย ต้องยอมรับว่าการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ยังมีปัญหาและข้อจำกัด ซึ่งควรต้องทบทวนแก้ไข จึงควรที่จะใช้ประโยชน์จากรายงานดังกล่าวเพื่อสะท้อนว่า สิ่งที่ปรากฏในรายงานได้มีการแก้ไขไปหรือยัง และหากยังไม่มีการแก้ไขควรจะหาแนวทางอย่างไรต่อไป

เพราะปัญหาแรงงานในไทย ไม่ได้มีแต่ปัญหาการค้ามนุษย์เพียงอย่างเดียว โดยสถานการณ์แรงงานของไทยในปัจจุบันต้องคำนึงถึง 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนของ "แรงงานข้ามชาติ" และส่วนของ "ผู้ติดตามแรงงาน" ซึ่งผลกระทบต่อแรงงานข้ามชาติที่นอกเหนือจากการค้ามนุษย์ ยังมีปัญหาแรงงานถูกบังคับ หรือแรงงานที่ต้องทำงานที่ตนไม่ได้เลือก

นอกจากนี้ กรณี "ผู้ติดตามแรงงาน" ซึ่งได้แก่บุตรหลานของแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานในไทย ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้น เพราะหากมองย้อนกลับไปประมาณ 10 ปีก่อน ประเทศไทยเคยมีปัญหาการใช้แรงงานเด็ก และปัจจุบันแทบจะไม่พบปัญหาดังกล่าว แต่พบปัญหาแรงงานเด็กต่างด้าวแทน

อย่างไรก็ตาม ถ้าส่งกลับแรงงานข้ามชาติไปยังประเทศต้นทางทั้งหมด ก็จะโดนประณามได้ว่าไร้มนุษยธรรม จึงอาจต้องดูว่าแนวทางระยะยาวควรต้องทำอย่างไร ? เพราะการดูแลแรงงานข้ามชาติมีค่าใช้จ่าย อาจต้องพิจารณากำหนดเงื่อนไขว่าต่อไปจะไม่รับผู้ติดตามแรงงาน ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ ใช้อยู่ เช่น สิงคโปร์ ถ้าแรงงานจะพา "ผู้ติดตาม" ไปด้วย ก็จะต้องรับผิดชอบทุกอย่างด้วยตนเอง

ส่วนกรณีผู้ติดตามแรงงานที่อยู่ในไทยอยู่แล้ว ต้องพิจารณานโยบายหลายส่วนประกอบกัน เช่น แนวทางส่งเสริมการศึกษาเพื่อพัฒนาโอกาสในชีวิตของผู้ติดตามแรงงาน การเสนอตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษบริเวณชายแดนเพื่อคัดแรงงานที่จะเข้ามาในไทย แต่ต้องบังคับใช้ควบคู่กับนโยบายอื่น ๆ ไปพร้อมกัน

ขณะเดียวกัน "สื่อ" ควรมีบทบาทเพิ่มขึ้นในการนำเสนอประเด็นแรงงานที่ผ่านมาสื่อทำหน้าที่รายงาน ข่าวและเสนอข้อมูลที่ไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองมากนักเพราะไม่มีเครือข่ายที่จะ ลงไปสืบสวนข้อเท็จจริงในพื้นที่สื่อควรต้องศึกษาข้อมูลให้มากขึ้นต้องดูที่ มาที่ไปว่าทำไมประเทศไทยถึงเป็นสวรรค์ของแรงงานต่างด้าวแรงงานไทยหายไปไหน หมด

นอกจากนี้ควรต้องทบทวนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยว่า มีส่วนทำให้เกิดปัญหาหรือส่งผลกระทบอย่างไรต่อแรงงาน เพราะหากมุ่งเน้นความเจริญมากขึ้น ก็ต้องพึ่งพาอาศัยแรงงานต่างด้าวมากขึ้นด้วย ขณะที่การใช้ทรัพยากรนับวันมีแต่จะหมดไป ดังนั้นอาจพิจารณาให้ชะลอหรือระงับการผลิตสินค้าบางประเภท เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้า ซึ่งมีมากเกินความต้องการ มองว่าต่อให้ระงับการผลิตก็เชื่อว่ายังมีสินค้าใช้ต่อไปราว 10-50 ปี

ประเด็นที่สำคัญอีกประการ คือ ประเทศไทยไม่ควรเปิดให้กลุ่มทุนต่างประเทศเข้ามาดำเนินกิจการที่เป็นสิ่ง ต้องห้ามในประเทศต้นทางของกลุ่มทุนเพราะกิจการเหล่านี้อาจเป็นอันตรายกับ สิ่งแวดล้อมและสังคมไทย

ดังนั้นการส่งเสริมนักลงทุนจะต้องพิจารณา อย่างละเอียดถี่ถ้วนถ้าเปิดรับนักลงทุนแล้วคนภายนอกเข้ามาทำลายทรัพยากรใน ประเทศจนหมดคงไม่ได้ประโยชน์อะไรและไทยจะไม่มีโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยีอะไร เลย


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : วิกฤตแรงงานข้ามชาติ วิบากกรรมค้ามนุษย์

view