สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ผู้หญิงชาติพันธุ์กับโอกาสทางเศรษฐกิจ (1)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ CSR TALK โดย ยุวลักษณ์ เหมะวิบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร มูลนิธิรักษ์ไทย

เวลานั่งรถขึ้นไปศึกษางานบนดอยทางภาคเหนือ บนเส้นทางที่คดเคี้ยวขึ้น-ลงอยู่ตลอดเวลา ส่วนใหญ่อาชีพที่เห็นคือเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนใน ปัจจุบันเป็นหลัก จากที่เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนชาวเขาทางภาคเหนือของประเทศไทย เขายังขาดโอกาสในการเรียนรู้ และการพัฒนาศักยภาพโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสาร การค้า การตลาด การลงทุนนั้นยิ่งเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก

มูลนิธิรักษ์ไทยซึ่งเป็น หนึ่งในสมาชิกองค์การแคร์นานาชาติ (A member of CARE International) ได้สำรวจและรวบรวมข้อมูลออกมา ซึ่งผลที่ออกมาแสดงให้เห็นว่าการทำเกษตรกรรม ผู้หญิงชาติพันธุ์บนดอยต้องทำงานหนักเท่า ๆ กับที่ผู้ชายต้องทำในทุกขั้นตอนของการทำเกษตรกรรม

ในหลายพื้นที่ได้ รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การเกษตรกรรมต้องทำงานหนักขึ้น และงานหายากขึ้น ผู้ชายในพื้นที่จึงย้ายถิ่นฐานไปทำงานในเมือง และปล่อยให้ผู้หญิงทำงานเกษตรกรรมโดยลำพัง ซึ่งผู้หญิงเหล่านี้มีทักษะทางด้านอาชีพน้อยกว่า และขาดแคลนแหล่งทำมาหากิน จึงทำให้ผู้หญิงหลาย ๆ คนต้องทำงานที่ใช้แรงงานในหมู่บ้าน หรือในเมืองเช่นเดียวกับผู้ชาย เพื่อให้ได้เงินมาจุนเจือครอบครัวให้เพียงพอ

จึง มีคำถามที่ว่า ถ้าผู้หญิงต้องทำงานในถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง โดยเน้นให้มีทักษะอาชีพที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นตามมานอกฤดูกาลเกษตรกรรม แนวคิดการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือที่เราเรียกว่า วิสาหกิจชุมชนเพื่อขายผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์น่าจะเป็นทางเลือกอีกทางของ อาชีพ

ความคาดหวังคือ ถ้าเราสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นวิสาหกิจชุมชนได้จะเป็นการช่วยจำกัดการ เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่โตง่ายขายไว ได้เงินเร็ว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่ทำให้สภาพดินเสื่อมคุณภาพ

ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิรักษ์ไทยเริ่มการทำงานเพื่อสร้างอาชีพทางเลือกให้กับชุมชนที่ราบสูง ทางเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อกลุ่มผู้หญิงชาติพันธุ์ และเพื่อคนอื่น ๆ ที่อยู่ในชุมชนอีกด้วย ผลผลิตที่พยายามส่งเสริมจะรวมไปถึงหัตถกรรมพื้นบ้าน การทอผ้า การเลี้ยงสัตว์ชนิดเล็ก และการส่งเสริมให้ปลูกผลไม้ กาแฟในระบบวนเกษตร และการปลูกข้าวในพื้นที่ราบสูง

ผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ที่ทางมูลนิธิรักษ์ไทยส่งเสริมนั้นจะรวมไปถึงกาแฟ (พันธุ์อราบิก้า)และข้าวซ้อมมือ (บือกิ-ภาษากะเหรี่ยงที่ใช้เรียกพันธุ์ข้าว) ผลิตภัณฑ์ทั้งสองอย่างมีศักยภาพมากพอที่จะขยายและไปถึงกลุ่มผู้บริโภค

โครงการ ส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจแก่ผู้หญิงชาติพันธุ์ในพื้นที่ต้นน้ำ จังหวัดเชียงใหม่ (Economic Empowerment for Ethnic Women in Upstream Watershed Area of Chiang Mai Province) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก CHANEL ผ่านทาง CARE France ที่เน้นในเรื่องของการพัฒนาศักยภาพของผู้หญิง เป็นอีก 1 โครงการที่จะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของชุมชนในอำเภอกัลยาณิวัฒนา อำเภอแม่แจ่ม และอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เช่น ผ้าทอมือของชุมชนกะเหรี่ยง งานปักมือของม้ง และผลิตภัณฑ์พืชผักอินทรีย์ เพื่อที่จะเพิ่มความมั่นคงของรายได้ให้กับชุมชนจากทรัพยากรทางเลือก และทรัพยากรอื่นที่มีอยู่ในชุมชน

การเสริมสร้างความเข้มแข็งในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทางธุรกิจ และการตลาดเป็นเรื่องสำคัญมาก นี้จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทำไมมูลนิธิรักษ์ไทยต้องการที่จะสานต่อการทำงาน กับคนในพื้นที่นี้ ด้วยการแนะนำและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งยังช่วยในการก่อตั้งเครือข่ายทางด้านธุรกิจเพื่อเพิ่มความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ และความยั่งยืนในการพัฒนาชุมชน

ซึ่งมีเป้าหมายในระยะยาว คือ ผู้หญิงชาติพันธุ์ได้รับการส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจ และมีประสิทธิภาพในการจัดการแหล่งรายได้ทางเลือก โดยเน้นให้กลุ่มผู้หญิงชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในจังหวัดเชียงใหม่มีรายได้ เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีศักยภาพ ในการจัดการธุรกิจให้ยั่งยืน และเกิดเครือข่ายความร่วมมือของตัวแทนภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ท้องถิ่น และเอกชนในระดับจังหวัดเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมสร้างรายได้ของกลุ่ม ผู้หญิง

ฉบับหน้าจะมาเล่าให้ฟังถึงผลลัพธ์ที่ควรจะเกิดขึ้น รวมถึงตัวชี้วัดว่าทำอย่างไรที่จะทำให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนในการพัฒนา


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ผู้หญิง ชาติพันธุ์ โอกาสทางเศรษฐกิจ

view