สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

สุรินทร์ ย้ำระบบราชการไทยผุกร่อน

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"สุรินทร์"ระบุปัญหาระบบราชการขาดประสิทธิภาพ ปัญหาขั้นตอน-บริการ ปัญหาเชิงระบบ-โครงสร้างและบุคลากร-วัฒนธรรม

นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ประธาน สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย เขียนบทความเเจกจ่ายสื่อมวลชนในวันนี้่ว่า สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย ตระหนักถึงความสาคัญและข้อท้าทายของกลไกการขับเคลื่อนของภาครัฐ ที่ส่งผลโดยตรงกับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและศักยภาพของเอกชน จึงจัด“โครงการการศึกษาความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย - The Thai Bureaucracy and Thailand's Global Competitiveness” เพื่อเดินหน้ารับฟังปัญหาและความคิดเห็นจากภาคเอกชนจากอุตสาหกรรมต่างๆมาเป็นระยะ และจัดงานเสวนาเพื่อระดมสมองในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อร่วมกันหาแนวปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก พร้อมกระตุ้นให้ผู้บริหารประเทศตลอดจนหน่วยงานภาครัฐตระหนักถึงปัญหา เพื่อหาทางเดินก้าวออกจากหลุดดา และมีที่ยืนในเวทีนานาชาติอย่างศักดิ์ศรีเต็มภาคภูมิ สมเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจอันดับต้นๆของอาเซียน

ประเทศไทยซึ่งเคยถูกมองว่าเป็นเสือเศรษฐกิจ (Asian Tiger) เมื่อหลายสิบปีที่แล้ว มาวันนี้ดูเหมือนว่าเราจะเป็นเพียง “ลูกเสือ” (Tiger Cup) ที่ยังไม่ค่อยจะโตเสียมากกว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากร (GDP per Capita) ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าประเทศไทยมีอัตราการเติมโตทางเศรษฐกิจที่ช้ามาก และอาจจะติดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) ไม่สามารถก้าวเข้าสู่กลุ่มประเทศที่รายได้สูงได้

ประมาณ 50 ปีที่แล้ว เราจะเห็นได้ว่าระดับรายได้ต่อหัวต่อประชากรไทยอยู่ในระดับเดียวกับประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย ไต้หวัน แต่ในปัจจุบันประเทศเหล่านี้กลับทิ้งห่างเราไปไกลมาก เช่น ประเทศสิงคโปร์ ประมาณ 10 เท่า ไต้หวันและเกาหลีใต้ ประมาณ 8 เท่า หรือแม้แต่ประเทศมาเลเซีย ซึ่งอยู่สูงกว่าเราประมาณ 2 เท่าและเป็นที่น่าวิตกที่ข้อมูลจาก World Economic Forum ชี้ให้เห็นว่าตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา สิ่งที่เป็นปัจจัยลบ ปัญหาในการทาธุรกิจในประเทศไทยนั้นเป็นปัญหาเดิมๆมาโดยตลอด และ หนึ่งในปัญหาหลักคือ ‘ระบบราชการที่ขาดประสิทธิภาพ’

รายงานจากสถาบันเดียวกันว่าด้วยขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับโลกชี้ให้เห็นว่า หนึ่งในตัวแปรสาคัญสาหรับการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับโลกคือตัวแปรด้านสถาบัน (Institutions) ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 84 จาก 144 ประเทศ หรืออันดับที่ 6 จาก 9 ประเทศในภูมิภาคอาเซียน (ไม่รวมประเทศบรูไน) และเป็นอันดับที่ห่างจากอันดับที่ 4 คือประเทศฟิลิปปินส์ถึงกว่า 20 อันดับ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ภาครัฐจะต้องหันมาให้ความสาคัญกับการแก้ไขปัญหาในการทางานให้เชื่อมโยงกันของหน่วยงานจานวนมาก การจัดทาแผนการปฏิบัติงาน ที่ชัดเจนสาหรับผู้ปฏิบัติงาน การกากับดูแล การติดตามและประเมินผลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และตัวแปรด้านสถาบันที่สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคือ การสูญเสียสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในกระบวนการดาเนินของภาครัฐ (Wastefulness of government spending) ซึ่งไทยอยู่อันดับที่ 115 จาก 144 ประเทศในปี 2557 จากปี 2556 ที่ผ่านมาอยู่ในอันดับ 107 จาก 148 ประเทศ จะเห็นได้ว่าอันดับของประเทศได้ตกต่าลงอย่างมีนัยสาคัญ

สถาบันฯ ได้แบ่งปัญหาระบบราชการที่ขาดประสิทธิภาพออกเป็น 3 ประเด็นใหญ่ ได้แก่ ปัญหาขั้นตอน-บริการ ปัญหาเชิงระบบ-โครงสร้าง และปัญหาเชิงบุคลากร-วัฒนธรรม ซึ่งทั้ง 3 ปัญหาเป็นเหมือนวงจรอุบาทที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน และในความเป็นจริงแล้วปัญหาเล่านี้ล้วนแต่เป็นปัญหาที่อยู่กับสังคมไทยมานาน
ทางสถาบันได้ศึกษาการปรับปรุงระบบราชการให้มีประสิทธิภาพของหลายๆ ประเทศ พบว่าเมื่อมีการลงมือ แก้ไข เปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง ผู้นาให้ความสาคัญและกาหนดเป็นวาระแห่งชาติ สามารถที่จะทาให้เกิดระบบราชการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพได้ อีกทั้งยังทาให้ประเทศพัฒนาอย่างก้าวกระโดดอีกด้วย

ข้อเสนอแนะ “ระบบราชการ คือ ผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่ที่แสวงหาผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง” เพื่อให้การทางานของหน่วยงานภาครัฐมีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถทางการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทยมีข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนา ‘การบริหารงานบุคคล’ดังนี้1. ขจัดการการแทรกแซงของภำคกำรเมืองและระบบอุปถัมภ์ โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการสรรหา (Review Board) สาหรับการแต่งตั้งตาแหน่งข้าราชการระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปลัดกระทรวง รองปลัดกระทรวงและอธิบดี หน่วยงานในระบบข้าราชการต้องมีกลไก เกาะกาบังที่มั่นคงและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันการก้าวก่ายจากภาคการเมือง

2. จัดให้มีการพัฒนาบุคลากรฝึกอบรมเพิ่มควำมรู้และทักษะอย่างเข้มข้นภายในแต่ละองค์กรของรัฐและรัฐวิสำหกิจ เพื่อสร้างความเป็นเลิศในสาขาวิชาชีพเฉพาะ (Professional and Area Expertise) ทั้งนี้เพื่อป้องกันการโยกย้ายข้ามหน่วยงานหรือแม้แต่การแต่งตั้งบุคคลจากภายนอกโดยไม่คานึงถึงความรู้และประสบการณ์ที่จาเป็นสาหรับหน่วยงานนั้น (Parachute) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้มีการแทรกแซงจากอานาจทางการเมืองที่ไม่รับผิดชอบและมุ่งหวังหาผลประโยชน์จากระบบราชการ

3. เพิ่มขีดความสามารถของข้าราชการ (Lean government) ให้มีการแข่งขันบนฐานของขีดความสามารถของข้าราชการ และหลักการความสามารถ และคุณสมบัติของบุคคล 4. การสร้างระบบบริหารงานบุคคลบนพื้นฐานของความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง (Merit System) และค่าตอบแทน โดยการเปิดระบบราชการสาหรับการเลือกสรรตาแหน่งผู้บริหาร และปรับโครงสร้างฐานเงินเดือนใหม่ 5. ส่งเสริมให้เกิดระบบคุณธรรมและจริยธรรมในทุกระดับชั้น - ประชาชนในภูมิภาคต้องมีสิทธิ์รับรู้ ประวัติและพฤตติกรรมในอดีต ตลอดจนเหตุผลที่นามาสู่การโยกย้ายของข้าราชการในทุกตาแหน่งมาสู่จังหวัดของเขา 6. มีกระบวนกำรประเมินผลกำรปฏิบัติงำน (Performance Assessment) ที่เข้มข้นโดยทาการประเมินด้านประสิทธิภาพการทำงาน ไปพร้อมกับการประเมินด้านคุณธรรมและจริยธรรม และให้แต่ละหน่วยงานเป็นผู้จาทาตัวชี้วัดการทางานที่เหมาะสม สอดคล้องกับเป้าหมายของการดำเนินงาน

7. ป้องกันกำรทุจริตและผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่ำงข้ำรำชกำรและองค์กรอิสระ ข้าราชการและข้าราชการระดับสูง ไม่ควรที่จะดารงตาแหน่งคณะผู้บริหารขององค์กรอิสระ องค์กรกากับดูแล องค์กรมหาชน หรือรัฐวิสาหกิจใดๆ ในขณะที่ยังรับราชการอยู่ เพื่อป้องกันการคอร์รัปชั่น แต่หากมีความจาเป็นที่บุคคลเหล่านี้ต้องดารงตาแหน่งในองค์กรต่างๆ ควบคู่กับการเป็นข้าราชการ จะไม่สามารถรับผลประโยชน์ตอบแทนจากองค์กรนั้นๆ ได้“เข้าใจสถานการณ์ รู้งาน รู้หน้าที่...”

และเพื่อให้เกิดความยั่งยืนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้การบริการประชาชนควรจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพเช่นกัน โดยทางสถาบันมีข้อเสนอ ดังนี้

1. ข้าราชการของประชาชน ปฏิรูประบบราชการให้ข้าราชการทางานเพื่อให้เป็นข้าราชการที่ทำหน้าที่ให้ประชาชนอย่างแท้จริง ต้องมีการปฏิรูประบบราชการให้บุคลากรของรับมีความสานึก ตะหนักรู้ ว่าหน่วยงานราชการไม่ใช่สถานที่ที่จะหาผลประโยชน์ส่วนตน 2. บริการอย่างมีมาตรฐาน มีการกำหนดมาตรฐานในการให้บริการประชาชน พร้อมกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายของการบริการอย่างชัดเจน 3. การทำงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการ ให้มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้นตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 4. ปฏิบัติงานอย่ำงมีประสิทธิภาพ ใช้แนวคิด Lean Government เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นโดยการลดความสูญเสียและลดกิจกรรมที่สูญเปล่าทั้งในส่วนของภาครัฐและประชาชน

ประเทศไทยก้าวช้ากว่าคนอื่นมามากแล้วและมูลค่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจนั้นมิอาจจะประเมินได้ หากเรายังไม่ก้าวออกจากหล่มความสูญเสียนี้ เราอาจจะเป็นประเทศที่ตกขบวนรถไฟแห่งการพัฒนาและการลงทุนได้ แต่การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ไม่สามารถจะไปพึ่งใครคนใดคนหนึ่ง หรือ หน่วยงานใดเพียงหน่วยใดได้ แม้ภาคเอกชนของไทยอาจมีกาลังและและคุณภาพที่สามารถสู้กับชาติอื่นได้ แต่ไม่สามารถที่จะดาเนินในนามของประเทศไทยบนเวทีโลกได้ ทุกองคาพยพของประเทศไทยจะต้องจับมือร่วมกัน และเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้า “ความสาเร็จ และ ความประเสริฐข้าราชการ คือ การบริการประชาชน Public Service Minded”


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : สุรินทร์ ย้ำระบบราชการไทยผุกร่อน

view