สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

SMEs ตัวเล็ก ๆ เตรียมตัวให้ดี โตได้ สู้ได้

SMEs ตัวเล็ก ๆ เตรียมตัวให้ดี โตได้ สู้ได้

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




สวัสดีครับ เมื่อหลายเดือนก่อนผมได้ถามท่านผู้อ่านว่า ‘ใครเป็นมนุษย์เงินเดือนยก มือขึ้น!’

และได้รับผลตอบรับจากผู้อ่านหลายช่องทางซึ่งมนุษย์เงินเดือนหลาย ๆ คนรวมถึงตัวผมเองด้วยว่าเราจะหาทางจัดการวางแผนชีวิตของเราทั้งหลายอย่างไร โดยในครั้งนี้ผมขอคุยกันในอีกมิติซึ่งในหลาย ๆ เวทีกล่าวถึงคือ SMEs

SMEs มีการจำกัดความจากหลากหลายองค์กรซึ่งอาจจะมีการให้คำจำกัดความที่แตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นการมองที่ทุนจดทะเบียน อุตสาหกรรม ทุนจดทะเบียน และ อื่น ๆ ซึ่งผมขอให้คำจำกัดความง่าย ๆ ว่า เป็นธุรกิจที่มีขนาดไม่ใหญ่ ความซับซ้อนในการจัดการยังไม่มาก ยอดขายยังไม่เยอะ และอาจเป็นธุรกิจที่เริ่มต้นใหม่ โดยเฉพาะ SMEs ที่มีขนาดของธุรกิจยังไม่ใหญ่มาก เรามาดูกันครับว่าเราจะทำอย่างไรให้เราโตได้ และสู้ได้

ในเบื้องต้น การเตรียมตัวให้ดีเป็นเรื่องที่สำคัญของการทำธุรกิจ คำถามแรกที่เราต้อง ถาม สำหรับธุรกิจในทุกธุรกิจนั้นคือ ตำแหน่ง หรือจุดยืนของธุรกิจของเรานั้นอยู่ที่ ไหน หรืออีกนัยหนึ่ง ธุรกิจของเรานั้นจะยังคงสามารถประกอบการได้อยู่เพราะอะไร ใครเป็นลูกค้าหลักและเป็นผู้ที่ทำให้ธุรกิจของเรายังอยู่หรือสามารถที่จะเติบโตได้ใน ปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งหากเราสามารถเข้าใจเหตุของการดำรงอยู่ของธุรกิจของ เราแล้วนั้นก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมตัว

ในการเตรียมตัวและเข้าใจธุรกิจนั้นเริ่มต้นด้วยตัวธุรกิจของเราเอง สมมติผมเปิดร้านที่ขายของอุปโภคบริโภครายวัน เช่นสบู่ ขนม อุปกรณ์ครัว ช้อน ถุง หรือที่เรา เรียกว่าโชวห่วย ซึ่งลักษณะของธุรกิจก็จะแตกต่างจากร้านอาหาร ร้านกาแฟ ซึ่งทั้ง 2-3 กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องมีลูกค้ารายย่อยเป็นผู้ใช้บริการเป็นหลัก แต่การขายสินค้าที่ มีลักษณะพิเศษหรือต้องมาที่นี่ที่เดียวเช่น อาหารจานนี้ต้องร้านนี้ กาแฟรสชาตินี้ต้อง ร้านนี้ หรือบรรยากาศโดยรวมต้องที่นี่ นั้นก็จะแตกต่างกับสินค้าที่ไปที่ไหนก็มี สบู่ ขนม กระดาษ หมากฝรั่ง ซึ่งไปที่ไหนก็สามารถซื้อได้ ซึ่งการทำให้หน้าร้านดูน่าเข้า และทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าของไม่เก่า ไม่ปลอม และซื้อสะดวก ก็จะเป็นจุดขายที่จะดึงดูด ลูกค้าให้เข้าร้านเรา

เลือกจุดยืนทางธุรกิจเมื่อเราเข้าใจจุดยืนหรือตำแหน่งทางธุรกิจของเราแล้ว การที่เราเลือกว่าเราจะเป็นผู้ประกอบการที่ต้องสร้างความแตกต่างในสินค้า หรือเราเลือกว่าเราจะเป็นผู้ประกอบการที่มีความแตกต่างในการให้บริการหรือช่องทางในการนำ เสนอและขายสินค้า จุดแข็งที่เราต้องพัฒนาจะแตกต่างกัน และเราจะสำเร็จได้หรือ ไม่นั้นเริ่มต้นที่ตรงนี้ ในการดำเนินการธุรกิจใด ๆ ก็ตาม การเลือกจุดเด่นหรือจุดยืน ของธุรกิจนั้นเสมือนกับเป็นการเลือกลักษณะของธุรกิจและการจัดการที่ต้องพัฒนา หรือลงทุน เพื่อให้มีจุดแข็งที่ประกอบธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจของเราสำเร็จได้ ถ้าเราทำ ธุรกิจแล้วยังไม่สามารถบอกว่าเราเป็นบริษัทที่จัดอยู่ในกลุ่มไหนใน 2 กลุ่มนี้ โอกาส ที่เราจะมีการพัฒนาและจัดการองค์กรเพื่อให้ประสบผลสำเร็จก็จะเหนื่อยกว่าคนอื่นที่ เข้าใจจุดหมายและจุดยืนของธุรกิจ

เลือกกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ในการดำเนินธุรกิจ เมื่อเรารู้ว่าใครเป็นคนที่ทำให้ธุรกิจ ของเราอยู่ได้นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ เราเข้าใจคนเหล่านั้น หรือ ลูกค้าเหล่านั้นหรือยังการค้าขายนั้นหากเราเปิดหรือดำเนินกิจการ ความบังเอิญ ไม่เกิดขึ้นเสมอไปที่จะทำให้ลูกค้ามาใช้บริการกับเรา และหากเราสามารถเข้าใจลูก ค้าเป้าหมายนั้นจะทำให้เราวางแผนในทุก ๆ ด้านได้ดี ซึ่งความเข้าใจนั้นจะต้องเข้าใจ ทั้งในด้านความต้องการที่ลูกค้าบอก (Explicit Needs) ความต้องการในใจ (Implicit Needs) และรวมถึงแนวทางในการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของลูกค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

เข้าใจในพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปรวมถึงลูกค้าเก่าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตในปัจจุบันความต้องการของลูกค้านั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่ปรับ เปลี่ยนเร็วกว่าในอดีตมาก โดยหากเราจำแนกกลุ่มลูกค้าในแต่ละกลุ่มนั้นไม่ว่าจะเป็น การแบ่งตาม Generation ไม่ว่าจะเป็น Gen X Y หรือการแบ่งลูกค้าเป็นกลุ่มอื่น ๆ อาทินักศึกษาบัณฑิตจบใหม่ผู้ประกอบการอิสระSMEเองหรือบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งการเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้านั้นจะทำให้กระบวนการการให้บริการหรือนำเสนอ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นจะสามารถปรับเปลี่ยนไปก่อนการปรับตัวของลูกค้าที่จะเกิด ขึ้นและสามารถครองตลาดลูกค้านั้น ๆ ก่อนที่คู่แข่งอื่น ๆ จะทำการปรับเปลี่ยน

มีหนี้สินไม่มากเกินไปการดำเนินการเข้าใจและมีการวางแผนในทุกมิติของการจัดการเป็นเรื่องที่จำเป็นซึ่งการคำนวณการประมาณการเรื่องเงินทั้งหมดของบริษัทเป็นเรื่องที่จำเป็นซึ่งเราต้องเริ่มต้นด้วยการลงทุนด้วยเงินทุนของตัวเองเสียก่อนการมีหนี้สินในบริษัทที่เริ่มต้นมากจนเกินไปหรือต้องการเอาเงินกู้มาเป็นทุนในการเริ่มต้นไม่ได้หมายถึงทำไม่ได้แต่การคำนวณเงินที่ต้องการตั้งแต่การลงทุนการซื้อและหามาของสินทรัพย์เพื่อประกอบการเป็นเรื่องที่ต้องทำก่อน

ไม่มีปัญหาไหนแก้ไม่ได้ ในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการขนาดย่อยและเล็กนั้น มักจะประสบปัญหาในการดำเนินการแต่ด้วยการวางแผนตั้งแต่แรกถึงที่มาของการ ทำธุรกิจ ความแตกต่างที่ต้องการ และการดำเนินการเพื่อให้เป็นผลตามที่ตั้งใจ และ เข้าใจลูกค้าเป้าหมายทั้งเก่าและใหม่ และเป็นผู้ที่ปรับตัวไปรอการเปลี่ยนแปลงลูกค้า ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก็จะทำให้โอกาสในการเจอปัญหาในการประกอบการน้อยลง ปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นหากเราเข้าใจธุรกิจได้ดี เราจะสามารถแบ่งเรื่องต่าง ๆ ออกมา และสามารถจัดการได้หากมีปัญหา

ธุรกิจของ SMEs นั้นบ่อยครั้งหลายท่านรู้สึกถึงความเปราะบางของความสามารถใน การแข่งขันกับผู้ประกอบการในเวทีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างบริษัทใหญ่เทียบกับ บริษัทเล็ก หรือบริษัทในประเทศเทียบกับต่างประเทศ แต่ในทางกลับกัน บริษัทที่มี ขนาดเล็กอย่าง SMEs นั้นกลับมีความคล่องตัวและสามารถปรับกลยุทธ์ในการ ทำธุรกิจได้คล่องตัวกว่าบริษัทใหญ่ ๆ แต่ทำสำคัญคือต้องมีความเข้าใจในปัจจัยเสี่ยง ต่าง ๆ ที่บริษัทมี และมีการปรับตัวก่อนการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ดีกว่า และเมื่อ เราเข้าใจธุรกิจได้ดี เราก็สามารถสู้ได้ และโตได้ แต่อย่าดูแค่ลูกค้าในประเทศเท่านั้น เพราะการค้าในปัจจุบันนั้นไม่มีพรมแดน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : SMEs ตัวเล็ก ๆ เตรียมตัวให้ดี โตได้ สู้ได้

view