สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ธุรกิจแฟรนไชส์ใน AEC

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ พร้อมรับ AECหรือยัง?

โดย ณกฤช เศวตนันท์ Thai.attorney@hotmail.com



ในปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ถือเป็นหนึ่งในสาขาธุรกิจที่สําคัญ และมีการเติบโตอย่างรวดเร็วในประเทศไทย เนื่องจากเป็นสาขาธุรกิจที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ อีกทั้งยังเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่

ในการเริ่มต้นธุรกิจ ได้ด้วยตนเอง มีโอกาสประสบความสําเร็จมากกว่าธุรกิจทั่วไป เพราะมีผู้ให้สิทธิ์คอยช่วยเหลือและให้คำแนะนำ ธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจที่สามารถพัฒนาและขยายตัวได้อย่างรวดเร็วและอย่างมีระบบ อีกทั้งยังสามารถลดข้อจํากัดทางการค้าและสร้างความได้เปรียบในด้านแหล่งทุน

ประการ ที่สำคัญคือสร้างรายได้ให้เจ้าของแฟรนไชส์ได้เป็นอย่างมาก จากสถิติการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ไทย พบว่าในประเทศไทยมีธุรกิจแฟรนไชส์รวมถึง 446 กิจการ ประมาณ 83,622 สาขา

เคย มีผู้แบ่งประเภทธุรกิจแฟรนไชส์ไว้เป็น 11 ประเภท ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม และไอศกรีม เบเกอรี่ บริการ การศึกษา ความงาม ค้าปลีก งานพิมพ์ หนังสือ อสังหาริมทรัพย์ และโอกาสทางธุรกิจ อาทิ ธุรกิจขายตรง ธุรกิจออนไลน์

จากการสำรวจพบว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ อาหาร เครื่องดื่ม กับไอศกรีม และบริการ

แนว โน้มของธุรกิจแฟรนไชส์ในปี 2557 น่าจะยังเติบโตในเกณฑ์ดี โดยด้านยอดขายน่าจะขยายตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 10 หรือคิดเป็นมูลค่าตลาดรวมไม่ต่ำกว่า 260,000 ล้านบาท และแนวโน้มจากปี 2556 คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์มีนักลงทุนเพิ่มขึ้น 30% ยังมี นักลงทุนที่มีความสนใจระบบแฟรนไชส์และพร้อมที่จะลงทุนไม่น้อยกว่า 40,000 ราย ตามผลรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ส่งผลให้จํานวนและประเภทธุรกิจมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

การ ลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยยังมีโอกาสอีกมาก โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัด ในแต่ละภูมิภาค ที่มีแนวโน้มเติบโตตามการขยายตัวของความเป็นเมือง และกำลังซื้อภาคประชาชนที่เพิ่มสูงขึ้น ความนิยมเป็นจำนวนมากทำให้มีการแข่งขันที่สูง ทั้งจากแฟรนไชส์ของไทยเองและแฟรนไชส์ต่างชาติ แน่นอนว่าจะมีแบรนด์ต่างชาติเข้ามาบุกตลาดไทยเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบัน ผู้ประกอบกิจการแฟรนไชส์ของไทยไม่ต่ำกว่า 20 ราย ได้เข้าไปบุกเบิกตลาดแฟรนไชส์ในกลุ่มประเทศต่าง ๆ มากขึ้น สามารถเข้าไปเจาะตลาดต่างประเทศในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ อาทิ ธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร และเครื่องดื่มในประเทศพม่า เพราะชาวพม่าต่างคุ้นเคยสินค้าไทยเป็นอย่างดี และคู่แข่งในตลาดยังมีไม่มาก

ผู้ประกอบการไทยเข้าไปขยายธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่มสุขภาพ ความงามในประเทศกัมพูชา โดยปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร และเครื่องดื่มเป็นที่ต้องการ เนื่องจากธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศกัมพูชามีการเติบโต ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ส่งผลให้เกิดความต้องการในธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่ม ผู้ประกอบการไทยยังเข้าไปลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่ม การศึกษา สุขภาพ ความงาม และบริการในประเทศเวียดนาม

สาเหตุที่ผู้ประกอบการ ไทยให้ความสำคัญในการเข้าไปลงทุนในประเทศเวียดนาม เนื่องจากชาวเวียดนามมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลทำให้มีอำนาจการซื้อเพิ่มขึ้น ชาวเวียดนามยังมีการศึกษาสูงขึ้น กับมีพฤติกรรมการบริโภคแบบชาวตะวันตกเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ประเทศเวียดนามได้มีการปรับแก้กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ในด้านธุรกิจ แฟรนไชส์ให้ดีขึ้น อีกทั้งยังเปิดเสรีการค้าปลีกให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ทำให้ประเทศเวียดนามมีความน่าสนใจในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น

การเลือก ประเภทธุรกิจแฟรนไชส์สำหรับการลงทุน จึงควรพิจารณาให้สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจ สภาพสังคมและพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละภูมิภาค ไม่ควรลงทุนกับธุรกิจตามกระแสนิยมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งควรใช้ความระมัดระวังในการเลือกลงทุนชนิดหรือประเภทธุรกิจของแฟรนไช ส์ให้ดี

นอกจากนี้ ควรพิจารณาอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต หรือธุรกิจที่ผู้ประกอบการมีความถนัด การบริหารจัดการแฟรนไชส์ให้เป็นไปตามมาตรฐานระบบการค้าที่ได้กำหนดไว้ โดยผู้ให้สิทธิ์มีส่วนอย่างมากต่อความสำเร็จของธุรกิจในระยะยาว จึงเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม

หากนักธุรกิจแฟรนไชส์ ของไทยมีการเตรียมตัวที่ดี ศึกษาลู่ทางการดำเนินธุรกิจและพฤติกรรมของผู้บริโภค และนำกลยุทธ์การแข่งขันมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจของตน เพื่อสร้างความแตกต่าง ก็อาจทำให้เกิดความสำเร็จในการขยายตัวได้เป็นอย่างดีในการขยายธุรกิจแฟรนไช ส์


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ธุรกิจแฟรนไชส์ AEC

view