สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เมื่อสหรัฐโดนเอาคืน

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์



สหรัฐเริ่มใช้มาตรการ QE ตั้งแต่ปี 2009 เรื่อยมาจนถึงปี 2012

แต่ละโปรแกรมมีจุดประสงค์แตกต่างกันไป โดย QE1 มีขึ้นเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงินทั้ง Commercial bank และ Investment bank ที่มีการลงทุนใน Toxic assets (สินทรัพย์คุณภาพต่ำ) จำพวก CDO และ MBS ซึ่งในยามที่เศรษฐกิจชะลอตัว ธุรกรรม Structured finance หรือ Credit derivatives เหล่านี้ จะถูกกระทบอย่างรุนแรง และไม่สามารถขายออกได้

ด้วยโปรแกรม QE นี้ FED จึงเข้าซื้อ Toxic assets ออกจาก Balance sheet ของสถาบันการเงินกลุ่มดังกล่าว ด้วยหวังว่า เมื่อสถาบันการเงินเหล่านั้นมีสภาพคล่องเพียงพอ ก็จะกลับมาปล่อยกู้ให้แก่ภาคการผลิต หรือ Real sector อันจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม…

อย่างไรก็ตาม กลับไม่ได้เป็นตามที่ FED คาดเพราะ หลังจาก Crisis สถาบันการเงินทุกแห่งกลับมาตื่นตัวกับ Risk management โดยเฉพาะเรื่องความเสี่ยงของคู่สัญญาธนาคารทั้งหลายจึงหันมาปล่อยกู้ให้แก่ FED แทน พูดง่ายๆ คือ เงินใหม่จาก QE ไหลคืนสู่ FED ในรูปของ Funding ที่สถาบันการเงินกลับไปให้ FED กู้ นั่นเอง

ด้วยเหตุดังกล่าว FED จึงเข็นมาตรการ QE2 ออกมาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2010 บนความหวังว่าเม็ดเงินใหม่จำนวน USD 600Bln นี้จะช่วยให้เกิด Velocity of Money ที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่า QE1 เนื่องจากจะเป็นการเข้าซื้อหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงอย่าง US Treasury (UST) ผ่าน Auction ในตลาดแรก

QE2 ถูกกล่าวถึงในมุมที่เป็นการ Export Inflation ไปสู่ประเทศในกลุ่ม Emerging Markets (EM) ในรูปของการแข็งค่าของสกุลเงิน EM ราคา Commodities และราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึง ราคาหลักทรัพย์ และพันธบัตร ที่ปรับตัวสูงขึ้นเพราะเม็ดเงินใหม่จาก QE นั่นเอง

ราคาสินทรัพย์ และหลักทรัพย์ ทุกประเภทในกลุ่ม Emerging Markets (EM) ที่ปรับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ย่อมสร้างความกังวลให้แก่ธนาคารกลางของประเทศในกลุ่ม EM อย่างแน่นอน แม้การแข็งค่าของค่าเงินของกลุ่มประเทศ EM (โดยเฉพาะเอเชีย) จะช่วยคลายความกังวลในเรื่อง Inflation pressure ได้มาก แต่ผลของ QE (โดยเฉพาะQE2) ซึ่งทำให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยง (Risky asset) ต่างๆ ปรับสูงขึ้นอย่างมากนั้น เปรียบเสมือนกับการที่ สหรัฐฯ กำลัง Export Inflation ไปยังกลุ่มประเทศเหล่านั้นนั่นเอง

และในปี 2014 นี้เอง สหรัฐ กำลังถูกเอาคืน เพราะเม็ดเงินจำนวนมากทะยอยไหลกลับสหรัฐ และด้วยดีกรีที่สูงขึ้นเพียงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา (ก.ย.-ต.ค.) เมื่อความหวังบนการฟื้นตัวของยุโรปเริ่มเลือนหายไป.. เม็ดเงินที่ไหลกลับดังกล่าวทำให้ Yield ของ UST 10 ปี ที่กำลังทะยานขึ้น (ช่วงต้นเดือน ก.ย.) ตอบรับการฟื้นตัวของสหรัฐ เริ่มกลับทิศ สวนลงอย่างรวดเร็วในช่วงกลางเดือน ต.ค.

4 เดือนที่ผ่านมา เราสังเกตุเห็น USD trend กลับมา Bullish อย่างสุดขั้ว ดัชนี USD index (เปรียบเสมือนตระกร้าของค่าเงิน USD เทียบกับหลายสกุลคู่ค้าในเชิงพาณิชย์) ปรับตัวขึ้นตลอดทางจาก 79.81 มายัง 86.75 และในวันศุกร์ที่ 3 ต.ค. เป็นวันที่ตัวเลข US Non-Farm Payroll (การจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม) ประกาศออกมาที่ 248,000 เทียบกับค่าเฉลี่ยปีก่อนหน้าที่ 220,000 ต่อเดือน พร้อมกันนี้ Unemployment rate ยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยล่าสุดลงมาอยู่ที่ 5.9% USD Index ตอบรับข่าวดี ปรับตัวขึ้นอย่างแรงจาก 85.62 สู่ 86.69 ในดังกล่าว ถือเป็นการปรับตัวระหว่างวันที่แรงที่สุดวันหนึ่งเลยทีเดียว

หากย้อนมองดูทิศทางของ USD พบว่า USD trend มีสัญญาณ Bullish ที่ชัดเจนมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยที่มาจากประเทศคู่ค้า (ซึ่งล้วนแต่ทรุดลง) เช่น ยุโรป ซึ่ง inflation ของ Eurozone ถดถอยลงสู่ระดับ 0.3% หรือ เยอรมัน ที่ GDP เริ่มอ่อนแรงลง อีกทั้ง export growth ถดถอยถึง 5% และการตีความของนักลงทุนหลังการประชุม FOMC 3 ครั้งล่าสุดที่ Positive อย่างมากต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม นาง Yellen กล่าวในที่ประชุม FOMC เดือนมีนาคมและสิงหาคม 2014 ที่ผ่านมา ว่าตลาดแรงงานยังมี Slack (ตะกรัน) เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม กล่าวคือ โอกาสที่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวทั้งที่ตลาดแรงงานยังมี Slack มีความเป็นไปได้ยาก การพิจารณาเพียง Unemployment rate ไม่ได้ให้ภาพที่ชัดเจนของทิศทางของตลาดแรงงาน

ทั้งนี้ FED ยังกล่าวว่าอยากเห็นการตึงตัวในค่าจ้าง หรือ Wage pressure ก่อนที่จะเริ่มพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แม้ Unemployment rate ของสหรัฐ จะมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง เราต้องไม่ลืมว่า Unemployment rate (วัดเป็น %) มีความไม่เสถียรสูง กล่าวคือ ยังมีคนว่างงานอีกหลายล้านคนที่ไม่ได้ถูกนับรวมเข้าไปใน pool ของ workforce ซึ่งใช้เป็นฐานในการคำนวณ ดังนั้น ตัวเลข Jobless หรือ Unemployment rate จะมีทิศทางสูงขึ้น เมื่อเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น เรียกสั้นๆ ว่า “Jobless (rate) returns when Jobs return”

ในฝั่งบ้านเรา มุมมองของนักลงทุนในประเทศเริ่มเปลี่ยนไป หลังจากที่ธปท.ปรับลดประมาณการณ์ GDP growth ปี 2015 ลงจาก +5.5% เหลือ +4.8% ตลาดดอกเบี้ยในประเทศไทยตอบรับด้วยการที่ Yield curve ระยะกลางและระยะยาว ปรับตัวลง 20-25bps และดอกเบี้ย IRS 5ปี สกุลเงินบาท ไหลลงอย่างรวดเร็วตามทิศทางของ Yield ของพันธบัตรรัฐบาลไทย และ UST Yield 10ปี

ผมคิดว่าตัวเลขที่มีผลทางจิตวิทยาแก่นักลงทุนกลับไม่ใช่ GDP growth ที่ลดลง แต่เป็น CPI หรือ Headline Inflation ซึ่งถูก Revise down สอดคล้องกับสถานะการณ์ทั่วโลกที่ล้วนประสบปัญหา Inflation ถดถอย …

ในมุมของนักลงทุน เรามักคุ้นเคยกับการที่ “อัตราเงินเฟ้อ” ไม่อยู่ในระดับที่สูงเกินไป แต่ในเวลานี้ ทุกคนกลับให้ความสำคัญกับ “อัตราเงินเฟ้อ ที่ไม่ต่ำเกินไป” และ “ต้องไม่มีแนวโน้มถดถอยลง” … ล่าสุด ตัวเลข Inflation ของ Eurozone เดือน ก.ย. 2014 ประกาศออกมาที่ 0.3% ต่อปี YoY ตามด้วย Inflation ของอังกฤษและจีน ล้วนแต่เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 4-5 ปี ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า ทั่วโลกผิดหวังเพียงไร ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกต่างปรับตัวลง -1.3% จนถึง -3.7% ในวันเดียว หลายคนพูดว่าเราอาจมองเศรษฐกิจยุโรปดีเกินไป

Global Asset Re-allocation ที่ไหลออกจาก Risky assets เข้าสู่พันธบัตรทั่วโลกในครั้งนี้ล้วนมาจากมุมมองบนเศรษฐกิจของฝั่งยุโรปที่อ่อนแรง ”อย่างมาก” โดยเฉพาะพี่ใหญ่อย่างเยอรมนี และความกังวลระยะสั้นจากกรณี Ebola ...

UST Yield 10 ปี ปรับลงจากระดับ 2.51% ในวันที่ 30 ก.ย. ลงสู่ระดับ 2.32% ในเวลาเพียง 1 สัปดาห์... และปรับลงอย่างรวดเร็วจาก 2.21% แตะจุดต่ำสุดระหว่างวันที่ระดับ 1.87% อีกครั้งในวันที่15 ต.ค. ก่อนที่จะดีดกลับไปปิดตลาดที่ 2.09-2.10% และอีกหลายรอบ …ไม่ปกตินะครับสำหรับหลักทรัพย์ที่เสี่ยงต่ำ Safe Haven และเป็นตลาดที่ liquid อย่าง US Treasury


งานนี้คาดเดาได้ยากจริงๆ ว่าปัจจัยนอกประเทศจะมีผลต่อบ้านเราเพียงใด แต่ที่แน่ๆ ในช่วงเวลานี้ สหรัฐ กำลังโดนเอาคืนเต็มๆ จากที่เคยเป็นผู้ Export inflation ไปทั่วโลกในปี 2010 ตอนนี้สหรัฐฯ กำลังต่อสู้กับภาวะ Deflation ที่ทั่วโลกประสบกำลัง Re-export Deflation กลับให้ตนเอง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : สหรัฐโดนเอาคืน

view