สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

มองไกล-ทำใกล้ ปัจจัยสร้างอนาคต (2)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ เอชอาร์คอร์เนอร์
โดย อริญญา เถลิงศรี, บรูซ แมคเคนซี บริษัทที่ปรึกษา เอพีเอ็ม กรุ๊ป

หนึ่ง ในหลาย ๆ ปัจจัยนั้นคืองบประมาณด้านการศึกษา (ปี พ.ศ. 2555) ร้อยละ 20.3 ของงบประมาณแผ่นดินไทยที่จัดให้การศึกษาเป็นตัวเลขที่สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเวียดนาม 19.8,นิวซีแลนด์ 17.9, มาเลเซีย 17.2, อินโดนีเซีย 16.9, นอร์เวย์ 16.1, เกาหลี 15.8, สิงคโปร์ 10.3, ญี่ปุ่น 9.4 เป็นต้น

แต่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการศึกษาของครูและนัก เรียน-นักศึกษาของไทยไม่ได้สูงตามตัวเลขงบประมาณไปด้วย จากการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษานานาชาติ โครงการ PISA 2009 จำนวน 65 ประเทศ ในภาพรวมพบว่า นักเรียนไทยมีผลการประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติ (OECD) ทุกวิชา และมีแนวโน้มผลการประเมินต่ำลงทุกวิชาเมื่อเทียบกับการประเมินครั้งแรก (PISA 2000)

ดังนั้นผู้ทำวิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่าควรวิเคราะห์ ประสิทธิภาพการใช้งบประมาณการศึกษาของประเทศ และควรพัฒนาระบบ ติดตามการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถตรวจสอบการจัดสรร และการนำไปใช้ให้สอดคล้องและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนให้มากที่สุด

นั่น คือเราต้องการผู้นำที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ ทำงานอย่างโปร่งใส และมีวิสัยทัศน์มองการณ์ไกลเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างจริงจัง

หนึ่งใน ปัญหาที่คนทำงานไม่อยากพบเจอคือเมื่อหัวหน้าสั่งงานมาแล้วก็ปล่อยให้ลูกน้อง ไปหาทางจัดการเองให้ได้ ตรงตามเป้าหมายที่กำหนดโดยไม่สนใจวิธีการทำงาน ไม่ติดตามความคืบหน้า รอรับแต่รายงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว หรือผลลัพธ์สุดท้ายของงานเท่านั้น

แน่นอนว่าในการทำงาน ผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนย่อมมีวิธีการทำงานในแนวทางที่ตนถนัด ผู้นำที่เข้าใจในข้อนี้ นอกจากจะต้องสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจเป้าหมายของงานแล้ว ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานแสดงศักยภาพโดยให้อิสระในการคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาด้วยตัวเองอย่างเต็มความสามารถ

แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องติดตาม ความเป็นไปต่าง ๆ ในการทำงานของลูกน้องด้วย เช่นหากเกิดปัญหาจะสามารถช่วยแก้ไขได้ทันท่วงที หรือถ้าทำวิธีนี้แล้วไม่สัมฤทธิผลสามารถให้คำแนะนำปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ได้ หรือบางครั้งอาจจะเกิดไอเดียใหม่นำไปต่อยอดความคิด ส่งเสริมให้งานดียิ่งขึ้นได้เช่นกัน

ที่สำคัญคือไม่ใช่แค่คิดว่าจะ ได้ผลงานออกมาเป็นอย่างไร กระบวนการทำงานเป็นแบบไหนเท่านั้น ผู้นำที่มองการณ์ไกลยังจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดตามมาภายหลังอีกด้วย เพราะไม่ว่าอย่างไร การทำงานของลูกน้องย่อมต้องอยู่ในความรับผิดชอบของหัวหน้าอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้

ดังนั้นผู้บริหารจะต้องวางสมดุลให้ดีระหว่างการให้อิสระกับ การติดตามตรวจสอบการทำงาน ถ้าปล่อยปละละเลย รอดูแต่ผลลัพธ์อย่างเดียวอาจมีปัญหาที่ไม่เคยได้รับรายงานตามมาให้ต้องแก้ไข ได้ในภายหลัง หรือถ้าติดตามล้วงลูกเจาะทุกรายละเอียดมากเกินไปจะกลายเป็นการตีกรอบ เป็นอุปสรรคต่อความคิดสร้างสรรค์ ทำให้คนทำงานอึดอัดได้เช่นกัน

หนึ่ง ในวิธีการพัฒนาคนโดยทั่วไปคือให้เข้าคอร์สฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ตามตำแหน่งหน้าที่ แต่โดยมากมักเป็นหลักสูตรระยะสั้น เน้นการทำงานเพื่ออุดช่องว่างหรือแก้ปัญหา ณ ปัจจุบัน ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง หรือมีเป้าหมายเพื่อสร้างบุคลากรในอนาคต

เพราะ ติดปัญหาที่ว่าคนรุ่นใหม่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีความภักดีกับองค์กร เมื่อส่งเสริมให้มีความรู้ความสามารถจนเชี่ยวชาญแล้วสุดท้ายก็ลาออกไปทำงาน ที่อื่น ไม่ได้อยู่ช่วยพัฒนาองค์กรอย่างที่ต้องการ ทั้งนี้ทั้งนั้นผู้บริหารย่อมมีส่วนสำคัญอย่างมากในการวางนโยบายเพื่อสร้าง แรงจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความภักดีต่อองค์กร

 

ทั้งยังหมายรวมถึง ฝึกให้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล และส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานรู้จักพัฒนาตัวเอง เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าไปถึงเป้าหมายสูงสุด

ใน ที่นี้ขอยกตัวอย่างบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาคนรุ่นใหม่ของไทยให้เข้าสู่ AEC ให้ทันปี 2558 ความจริงแล้วทรัพยากรมนุษย์ต้องใช้ทั้งงบประมาณจำนวนไม่น้อย และเวลานานหลายปีในการสร้างคนทำงานคุณภาพ

แต่เมื่อมุ่งจะสร้างคนให้ทันต่อความต้องการในอนาคตเพียงไม่กี่ปี จึงจำเป็นต้องวางแผนอย่างรัดกุม เข้มข้น และลงทุนสูง

สิ่ง ที่น่าสนใจสำหรับกรณีนี้คือความมุ่งมั่นที่จะสร้างคนโดยไม่สนใจว่าจะถูกดึง ตัวไปในท้ายที่สุดหรือไม่ เพียงต้องการสร้างคนที่มีศักยภาพพร้อมต่อการทำงานใน AEC ขณะเดียวกันบริษัทเองก็ได้ซ้อมบริหารไปด้วย เพื่อเป็นการเตรียมตัวเพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคใหม่อย่างราบรื่น ทั้งในเรื่องของบุคลากร และระบบการทำงาน

ดังนั้นการลงทุนกับทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยชี้วัดวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กรเป็นอย่างดี

เหมือน ดังที่กล่าวไปแล้วว่าจุดอ่อนบางประการในหมู่ผู้นำไทยมักเกิดจากทัศนคติหรือ ความเคยชินที่เห็นได้ทั่วไปในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ความต้องการสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ การไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จำเป็นที่ผู้นำจะต้องเร่งปรับปรุงแก้ไขตัวเองและก้าวข้ามผ่าน อุปสรรคนี้ให้ได้ หากต้องการจะออกจากกรอบเดิมเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จในเวทีโลก

ฉะนั้นแนวทางในการเพิ่มขีดความสามารถในการคิดอย่างมีวิสัยทัศน์สำหรับผู้นำในอนาคตจึงจำเป็นต้องมีเรื่องเหล่านี้ประกอบด้วย คือ

- Critical Thinking ฝึกตัวเองและส่งเสริมบุคลากรในองค์กรให้ใช้ความคิดแบบวิพากษ์ ตั้งคำถาม วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ เพื่อเปิดโลกทัศน์ และส่องกระจกการทำงานของกันและกัน

- หมั่นประเมินการทำงาน มองย้อนกลับไปว่าตั้งเป้าหมายขององค์กรไว้อย่างไร ทั้งระยะสั้น ระยะยาว และเป้าหมายสูงสุด หมั่นสำรวจว่าเรากำลังเดินมาถูกทางหรือเปล่า เส้นทางที่กำลังเดินอยู่นี้จะนำพาไปจนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มีปัจจัยภายนอกอะไรที่เข้ามากระทบบ้าง

 

ประเมินวิเคราะห์ว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนไป บริบทต่าง ๆ ไม่เหมือนเดิม องค์กรจะยังคงเป้าหมายเดิมต่อไป หรือจำเป็นต้องเปลี่ยนเป้าหมายให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง

- ลองสมมติสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ความเป็นไปได้ในกรณีต่าง ๆ ฝึกตั้งโจทย์ ตั้งคำถาม และหาคำตอบเพื่อเตรียมรับมือ ปรับตัวให้ทัน มองทั้งภาพรวมและเรื่องเฉพาะหน้าที่อาจจะเกิดขึ้น

- จัดสมดุลของงานหรือปัญหาที่เกิดขึ้นให้ดีว่าระยะสั้นต้องทำอย่างไร ถ้าตัดสินใจลงมือทำแล้วมีผลกับระยะยาวหรือไม่อย่างไร มองให้กว้างและลึก รวมถึงการวางกลยุทธ์กับการปฏิบัติงานจริงว่าสอดคล้องเหมาะสมหรือไม่

- ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล แม้ว่าการสร้างคนคุณภาพจะต้องใช้เวลาและมีต้นทุนไม่น้อย แต่จำเป็นต่อการพัฒนาเพื่ออนาคตขององค์กร ที่สำคัญคือควรทำอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานได้ฝึกพัฒนาตัว เองด้วย

เพราะทุกวันนี้ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉับพลัน หลากหลาย และรุนแรงกว่าในอดีต

นอก จากผู้นำจะต้องมองการณ์ไกลต่อสถานการณ์ต่าง ๆ แล้ว จำเป็นจะต้องมีความยืดหยุ่น พร้อมเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาที่สำคัญจะต้องไม่ลืมเป้าหมายสูงสุดที่ได้วาง ไว้เพื่อจัดวางอย่างสมดุล โดยไม่ลืมว่าการก้าวไปสู่ความสำเร็จไม่อาจทำได้ด้วยตัวคนเดียว แต่จะต้องมีผู้ปฏิบัติงานทุกระดับเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้

นั่น คือต้องจับมือก้าวไปพร้อม ๆ กัน โดยมีผู้นำเป็นกัปตันถือหางเสือเรือให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ด้วยการนำพาองค์กรไปในท่ามกลางความคลุมเครือไม่แน่นอนให้ได้

รวมถึง ต้องกล้าสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และลงมือทำโดยไม่รอช้า สื่อสารกับคนต่างรุ่นต่างวัยทั้งในและนอกองค์กรให้เข้าใจตรงกัน สร้างและรักษาความเชื่อมั่นต่อผู้นำและองค์กรโดยไม่หยุดเรียนรู้และพัฒนาตัว เองอย่างต่อเนื่อง ฝึกฝนวิเคราะห์ให้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

ทั้งหมดนี้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของผู้นำไทยในอนาคตให้ประสบความสำเร็จเป็นผู้นำที่สง่าผ่าเผยบนเวทีโลกต่อไปในวันข้างหน้า


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : มองไกล ทำใกล้ ปัจจัยสร้างอนาคต (2)

view