สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

6 อย่างที่ไม่ควรทำกับการเลือก LTF & RMF

6 อย่างที่ไม่ควรทำกับการเลือก LTF & RMF

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




โดยปกติแล้ว เราควรใช้หลักการใดในการพิจารณาลงทุนในกองทุน LTF & RMF อย่างถูกต้อง?

สิ่งนี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนผู้สียภาษีทุกคนตั้งคำถาม แต่น้อยคนนักที่จะได้คำตอบที่ถูกต้อง สาเหตุเป็นเพราะ ถึงแม้จะเป็นกองทุนประเภทเดียวกัน แต่ก็แตกต่างกันด้วยนโยบายการลงทุน และหลักการในการบริหาร รวมถึงมุมอื่นๆ บทความนี้เกิดจากการรวบรวมข้อผิดพลาดที่ผู้ประหยัดภาษีมักเข้าใจผิด และเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำไว้ 6 ข้อหลักๆด้วยกัน มีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

1. อย่ามองแค่ผลตอบแทนระยะสั้น

วัตถุประสงค์ของการลงทุนในกองทุน LTF & RMF มี 2 ข้อคือ ประหยัดภาษี และเน้นการลงทุนในระยะยาว น่าเสียดายตรงที่นักลงทุนส่วนใหญ่มองเรื่องภาษีเป็นหลัก และมองผลตอบแทนในระยะยาวเป็นเรื่องรอง โดยให้ความสนใจแค่ผลตอบแทนระยะสั้นๆว่า 3 เดือนที่แล้ว 6 เดือนที่ผ่านมา หรือไกลสุดย้อนไปดู 1 ปีก่อนหน้าว่าแต่ละกองทุนได้ผลตอบแทนเป็นอย่างไร ใครดูดีที่สุด แต่กลับลืมไปว่า ระยะเวลาการถือครองกองทุน LTF อย่างน้อยๆก็คือ 3 ปีปฎิทิน สำหรับกองทุน RMF นั้น มีระยะเวลาการถือครองยาวกว่าเยอะ กว่าจะไปขายหน่วยลงทุนก็ตอนเกษียณ ดังนั้น อย่าดูแค่ผลตอบแทนระยะสั้นๆ โดยเฉพาะเรื่องเงินๆทองๆ

2. อย่าซื้อแค่เพราะโปรโมชั่นแรง!!

กองทุนรวม ไม่ใช่การช็อปปิ้ง ใครลดแหลก ทั้งแจกทั้งแถมเยอะสุด แปลว่า กองทุนนั้นน่าลงทุนที่สุด ใครคิดแบบนี้ บอกได้เลยว่า “คิดผิด” โปรโมชั่นล่อใจในระยะสั้น อาจทำให้คุณต้องติดกับดักกับกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนไม่เหมาะสมกับตัวคุณเอง ซึ่งสิ่งที่ตามมาคือ ผลตอบแทนที่ได้รับตอนขาย กลายเป็นต่ำเตี้ยติดดิน แถมของแจกที่ได้ไปตั้งแต่ตอนลงทุน ก็อาจใช้ไม่คุ้ม หรือวางทิ้งในบ้านจนลืมไปเลยก็มี อาจมีนักลงทุนบางท่านแย้งว่า “ก็ไม่รู้นี่นา ว่าใครจะผลตอบแทนดีกว่า ก็เลยเลือกของที่ดูชัวร์ที่สุด นั้นก็คือ ของแถม” คำตอบก็คือ เราต้องศึกษานโยบายการลงทุนซึ่งมีความแตกต่างกัน ถ้าไม่ศึกษา ก็ไม่รู้หรอกว่า กองทุนไหนต่าง กองทุนไหนเหมือน

3. อย่าคิดว่า LTF & RMF กองไหนๆก็เหมือนกัน

ถึงแม้จะเป็นกองทุนที่ได้ชื่อว่า LTF & RMF เหมือนกัน แต่จริงๆแล้ว นโยบายการลงทุนก็แตกต่างกันในรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่น กองทุน LTF บางกอง มีนโยบายกระจายความเสี่ยงลงทุนในตราสารหนี้บางส่วน ในขณะที่บางกองเลือกลงทุนในหุ้นทั้งหมด 100% เต็ม หรือ กองทุน RMF ก็มีตัวเลือกทั้งลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารทุน ลงทุนในทองคำ หรือกระทั่งกองทุนที่ลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกัน หากเลือกลงทุนเพราะคิดว่า เป็นกองทุน RMF เหมือนกัน นักลงทุนก็อาจจะได้ผลตอบแทนไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง แล้วมานั่งเสียใจตอนขายยามเกษียณ

4. อย่าคิดว่าลงทุนใน LTF & RMF ไปแล้วจะสับเปลี่ยนไม่ได้

จริงๆแล้ว หากเราพบว่ากองทุน LTF & RMF ที่เลือกลงทุนไว้มีนโยบายการลงทุนหรือระดับความเสี่ยงที่ไม่เหมาะกับตนเอง เราสามารถสับเปลี่ยนการลงทุนไปยังกองทุนอื่นภายใต้กองทุนประเภทเดียวกันได้ เช่น การสับเปลี่ยน LTF กองเดิมไปยัง LTF อีกกองหนึ่ง หรือการสับเปลี่ยนกองทุน RMF ไปยังกองทุน RMF ด้วยกัน แต่เราไม่สามารถสับเปลี่ยนจากกองทุน LTF ไปยังกองทุน RMF หรือกองทุนรวมทั่วไปได้

5. อย่าเข้าใจผิดว่าลงทุนไปแล้วไม่สามารถโอนย้าย บลจ.ได้

มีผู้ลงทุนหลายท่านเข้าใจผิดว่าถ้าลงทุนในกองทุน LTF & RMF กับ บลจ.ใดแล้ว จะต้องถือครองไว้จนครบกำหนดตามเงื่อนไขของสรรพากร ในความเป็นจริงแล้วเราสามารถโอนย้ายกองทุน LTF & RMF จาก บลจ.เดิมไปยัง บลจ.อื่นได้ แต่อาจมีค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าธรรมเนียมการโอนย้ายที่บลจ.ต้นทางจะเรียกเก็บ โดย บลจ.แต่ละแห่งจะมีอัตราค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ การโอนย้าย LTF & RMF ข้าม บลจ. ก็จะต้องโอนย้ายกองทุนไปยังกองทุนประเภทเดียวกัน เช่น LTF โอนย้ายไป LTF หรือ RMF โอนย้ายไป RMF ด้วยกัน

6. อย่าเชื่อคนขาย แต่เชื่อตัวคุณเอง

ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ไม่มีวันหลอกคุณได้ แต่หากคุณเลือกที่จะถามเจ้าหน้าที่ก่อนตัดสินใจซื้อกองทุนรวมซักกองภายในระยะเวลาอันสั้น สิ่งนั้น อาจทำให้คุณหลงทาง ไม่ใช่เพราะคนขายแนะนำผิด แต่เขาจะแนะนำบนพื้นฐานข้อมูลกองทุนทั่วไป ซึ่งไม่ได้ทราบความต้องการ หรือข้อจำกัดของคุณอย่างแท้จริง เช่น พนักงานออฟฟิศเดินลงมาซื้อ LTF ที่ธนาคาร ในวันทำการสุดท้ายของปี เดินเข้าไปถามเจ้าหน้าที่ว่า ต้องการซื้อ LTF สำหรับลดหย่อนปีนี้ เลือกกองทุนไหนดี? พนักงานก็อาจให้ข้อมูลทั่วไป บวกกับความเห็นที่ว่า ช่วงที่ผ่านมา นักลงทุนคนอื่นๆเดินเข้ามาซื้อกองทุนไหนมากที่สุด ก็แนะนำกองทุนนั้นให้ไป จะเห็นว่า คำแนะนำอาจไม่ได้เกิดจากความต้องการของเราเอง แต่เพราะเวลาจำกัด และไม่มีเวลาทำความรู้จัก จึงทำให้ขาดข้อมูลในเชิงลึก ดังนั้น การศึกษาข้อมูลกองทุนด้วยตัวเอง ทำการบ้านไปจะก่อนดีกว่าเพื่อความสบายใจของนักลงทุนและคนขายด้วย

สำหรับ บลจ. กรุงศรี เรามีกองทุน LTF & RMF ที่หลากหลายนโยบายการลงทุน เหมาะกับนักลงทุนทุกประเภทที่ต้องการประหยัดภาษี โดยกองทุนที่ถือเป็นกองทุนโดดเด่นของเรา ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นปันผลระยะยาว (KFLTFDIV) และ กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นปันผลเพื่อการเลี้ยงชีพ (KFDIVRMF) ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นไทย เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูง และชอบนโยบายการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

ข้อมูลผลการดำเนินงานย้อนหลัง 5 ปีของกองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นปันผลระยะยาว (KFLTFDIV) และกองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นปันผลเพื่อการเลี้ยงชีพ(KFDIVRMF) เปรียบเทียบกับ SET Total Return Index

นักลงทุนสามารถสอบถามรายละเอียดข้อมูลกองทุนพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงศรี จำกัด โทร. 02-657-5757 หรือ เว็บไซต์ www.krungsriasset.com หรือ ติดต่อธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนได้ที่เว็บไซต์บริษัทจัดการwww.krungsriasset.com เอกสารที่เกี่ยวกับกองทุนและคู่มือภาษีได้ที่บริษัทจัดการหรือสำนักงานของผู้สนับสนุนการขายก่อนตัดสินใจลงทุน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : 6 อย่าง ไม่ควรทำ การเลือก LTF RMF

view