สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

วิเคราะห์ผิดที่ สิบปีก็ไม่รวย

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ Startup Cafe โดย พงศ์พีระ ชวาลาธวัช

คอลัมน์ Startup Cafe
โดย พงศ์พีระ ชวาลาธวัช www.facebook.com/thaistartucafe

มี คำถามถึงผมว่า ทำไม Startup ต้อง Exit ด้วยในเมื่อธุรกิจหาเงินได้อยู่แล้ว ผมคงต้องยกตัวอย่างการ Acquire หรือซื้อและควบกิจการอย่าง Google ซื้อ YouTube, Microsoft ซื้อ Skype และ Nokia, Facebook ซื้อ Oculus Rift แน่นอนมีหลายคนถามว่า ทำไมต้องขายด้วยในเมื่อกิจการยังหาเงินได้


คำตอบคือ ถ้าคิดว่าโตต่อได้จนตลาดใหญ่พอ สิ่งที่จะเกิดขึ้นในโลกเทคโนโลยี คือยักษ์ใหญ่จะสนใจตลาดนั้นทันที

ถ้า Startup ขัดขืน เขาจะส่งสินค้าที่ใหญ่กว่า แต่ตลาดเดียวกันมาฆ่า เพราะเราได้สร้างตลาดให้เขาไว้แล้ว แต่ถ้าเราขาย เราอาจจะได้เงินมาหลักล้านบาท ซึ่งถ้า Startup ได้เงินมาจำนวนมากขนาดนั้น เขาสามารถที่จะผันตัวเองเป็นนักลงทุนต่อได้อีก 10 Startup หรือสร้าง Startup อื่น ๆ ได้อีก

 



ถามว่ามีคนขัดขืนได้ไหม คำตอบคือ มีครับ เช่น Microsoft, Apple และ Facebook ซึ่งสามารถรอดจากปากเหยี่ยวปากกาได้ ถามว่าทำไมถึงรอด ก็เพราะมีพี่ใหญ่ที่เป็นนักลงทุนและบริษัทระดมทุนคอยช่วยเหลือ รวมไปถึงจังหวะของตลาดเอื้ออำนวย แต่ไม่ใช่ทุกคนจะประสบความสำเร็จ เพราะสถิติของ Startup ที่ล้มเหลวนั้นอยู่ที่ 70-90% เลยทีเดียว ซึ่งเป็นที่มาของคำถามอีกว่า แล้วเราจะลดความเสี่ยงของธุรกิจได้อย่างไร ซึ่งผมขอแนะนำเครื่องมือในการตรวจสอบตลาดและธุรกิจที่เรากำลังจะเริ่มทำ อย่างง่าย และเป็นระบบอย่างไม่น่าเชื่อ

นิสิตปริญญาตรีบริหารธุรกิจ ต้องเรียนทุกคน แต่หลาย ๆ คนมักจะมองข้ามว่ามันง่ายเกินไปนั่นคือ SWOT และ Porter 5 Forces Analysis สำหรับ Porter 5 Forces นั้น เราจะเริ่มดูกันทีละ Force

1.Internal Rivalry หรือคู่แข่งเดิมที่มีอยู่ในตลาดว่ามีใครบ้าง ถ้ามีจำนวนคู่แข่งมาก ทำให้การแข่งขันสูง จะถือว่าแนวโน้มเป็นลบ แต่ถ้าคู่แข่งมียังไม่มาก จะถือว่าแนวโน้มเป็นบวก

2.Bargaining of Customer คือลูกค้ามีอำนาจต่อรองกับเรามากน้อยเพียงใด ถ้าลูกค้ามีอำนาจต่อรองมาก เช่น เราขายกระเบื้องให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แน่นอนว่าลูกค้าย่อมมีอำนาจการต่อรองสูงมาก เนื่องจากมีผู้จำหน่ายกระเบื้องเยอะ ตัวกระเบื้องเองก็มีหลายเกรด บางเกรดหน้าตาเหมือนกัน จนสุดท้ายอาจจะไปจบแบบขายเพื่อเอายอดขาย ไม่เอากำไร ซึ่งถือว่าแนวโน้มเป็นลบ ตรงกันข้ามกับ Google ที่มีลูกค้าต่อคิวเข้าไปซื้อ Adwords เหมือนเป็นของแจกฟรี

3.Threat of New Comer คือระดับความยากง่ายของผู้ที่จะแทรกตลาดเข้ามาหลังจากเราเข้ามาทำตลาดแล้ว เช่น ถ้าผมทำ Application ดูหวย ซึ่งหลายคนคงทราบว่าขายดีมาก ผมก็เชื่อว่ามีคนทำตามได้เยอะแยะ ไม่ได้ยากเย็นอะไร ถ้าอยากทราบจำนวนก็ไปค้น Google ดูได้ว่าคนที่จบด้าน Programming ปีหนึ่งมีกี่คน จากนั้นคูณจำนวนเข้าไป แนวโน้มเป็นลบแน่นอนครับ

แต่ ถ้าผมบอกว่าผมทำ Big Data Analytic ที่สามารถดูพฤติกรรมการเดินทางของผู้ใช้รถไฟฟ้าแล้วสามารถพยากรณ์สินค้าและ บริการที่บุคคลผู้นั้นมีความเป็นไปได้ว่าจะซื้อ จากนั้นส่งคูปองเข้าไปที่สมาร์ทโฟน เพื่อกระตุ้นการซื้อ อันนี้ผมมีข้อมูลทันทีว่าคนในเมืองไทยทำได้กี่คน และใครที่มีแนวโน้มจะทำแข่งกับผม ผมจะสามารถรู้ได้ถึงว่าผมต้องวาง Positioning การวิเคราะห์ผลลัพธ์ออกมาทางไหนถึงจะสามารถรักษาพื้นที่ทางการตลาดผมได้ ถ้าสุดท้ายผมรู้ว่าผมได้เปรียบ แน่นอนว่าแนวโน้มบวกอย่างยิ่ง

4.Bargaining of Supplier คืออำนาจการต่อรองกับ Supplier เช่น ถ้าคุณขายสินค้าอย่าง Microsoft Office ผมเชื่อว่าคุณคงจะไปต่อรองอะไรลำบาก ถ้าอยากเป็นตัวแทนจำหน่ายให้ เขาบอกให้ขึ้นราคาคุณก็คงต้องขึ้นตามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แนวโน้มอาจจะลบที่อำนาจการต่อรอง แต่คงจะไปบวกที่ยี่ห้อติดตลาดแล้ว แต่ถ้าคุณทำอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องใช้วัสดุสิ่งปลูกสร้าง บริษัทเหล่านั้นต้องส่งพนักงานขายมานั่งรอ อำนาจการต่อรองแนวโน้มบวกมาก

5.Threat of Substitution คืออุปสรรคของสินค้าที่ทดแทนได้ เช่น ถ้าผมอยากได้ Android Tablet สักอัน ผมน่าจะหาสิ่งทดแทนได้มากในการเข้าถึง Android ถ้าผมซื้อของราคาเป็นหมื่นไม่ได้ ผมสามารถหลบไปซื้อของจีนราคาไม่กี่พันบาทได้ แต่ถ้าผมอยากใช้ iOS Tablet ผมดูเหมือนจะหาสิ่งทดแทนไม่ได้ ยกเว้นว่าผมไม่สน Tablet แล้วไปหาสิ่งทดแทนเป็น Notebook เบา ๆ แทน ซึ่งอาจจะตอบโจทย์ได้ไม่เท่ากัน

จาก 5 Forces นี้ ทำให้เราสามารถวิเคราะห์จากการนับแนวโน้ม ถ้าแนวโน้มมาทางบวก 3 Forces หรือมากกว่า ตลาดนั้นเหมาะมากในการคิดแผนธุรกิจต่อไป

แต่ ถ้าได้เพียงแค่ 2 หรือน้อยกว่า ให้ศึกษาให้ดีว่าเราสามารถลดความเสี่ยงอีก 1 Force ได้หรือไม่ ถ้าลดไม่ได้แต่ยังอยากทำต่ออาจจะเหนื่อยมากที่จะเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด

อย่าง ไรก็ดี 5 Forces Analysis ยังต้องใช้ควบคู่กับ SWOT คือ Strength จุดแข็งของธุรกิจ Weakness จุดอ่อนของธุรกิจ Opportunity โอกาสมีมากเพียงใด และ Threat คืออุปสรรคนั้นมีมากเพียงใด เพื่อดูตลาดเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งไม่มีกฎตายตัวต้องใช้วิจารณญาณควบคู่กับการดูจังหวะของตลาดนั้น ๆ และตำแหน่งของตลาดควบคู่ไปด้วย

ยกตัวอย่าง ถ้าคุณอยากทำเกม การวิเคราะห์อาจจะดูแย่หมด เพราะใคร ๆ ก็ทำกัน แต่เชื่อผมเถอะว่ามีอยู่เกมหนึ่งที่ทำให้นักวิเคราะห์นั่งงงกับความสนุกปน รำคาญเมื่อได้สัมผัส เช่น Flappy Bird ของ คุณ ดงเหงียน ซึ่งการที่เกมลักษณะนี้เข้ามาชิงตลาดได้ แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่ากาลเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ธุรกิจจะอยู่ในรูปแบบใด การวิเคราะห์ต่าง ๆ ผลจะออกมาแย่แค่ไหน ความแน่วแน่ ความรัก ความทุ่มเท และการอุทิศตนเท่านั้นที่จะทำให้คุณค้นพบกับโอกาสทางธุรกิจได้ และประสบความสำเร็จในที่สุด

ขอเพียงแต่ต้องกล้า และลงมือทำอย่างจริงจัง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : วิเคราะห์ผิดที่ สิบปีก็ไม่รวย

view