สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อัดสธ.ใส่ร้ายรพ.ขาดทุนไม่เกี่ยวงบบัตรทอง

อัดสธ.ใส่ร้ายรพ.ขาดทุนไม่เกี่ยวงบบัตรทอง

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

สปสช.อัดสธ.ใส่ร้าย ยันรพ.ขาดทุนไม่เกี่ยวการจัดสรรงบบัตรทอง ระบุระบบเดิมมีกลไกลแก้ปัญหา ปี58ใช้4แนวทางเข้าช่วย

ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) พร้อมด้วย นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาฯสปสช. นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาฯสปสช. และนพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ รองเลขาฯสปสช. ร่วมกันแถลงข่าว เรื่อง “สปสช.ชี้แจงการบริหารกองทุนบัตรทอง” โดยนพ.วินัย กล่าวว่า สปสช.กูกกล่าวหาและใส่ร้ายมาหลายเวที โดยพยายามอดทัน จนเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ใส่ร้ายสปสช.ในหลายประเด็น ถ้าสปสช.ไม่ชี้แจงจะเท่ากับยอมรับการใส่ร้าย

ประเด็นที่ 1.ใส่ร้ายว่าสปสช.บริหารห่วย ไม่มีธรรมาภิบาล โดยเฉพาะในเรื่องที่สปสช.โอนเงินไปให้รพ.ในวันที่ 27 ก.ย. 2555แล้วโอนเงินจำนวนดังกล่าวกลับมาสปสช.ในเดือนธันวาคม ข้อเท็จจริง คือ รพ.ไม่เคยต้องถอนเงินแล้วส่งเงินให้สปสช. เป็นการโอนเงินล่วงหน้าไปให้รพ.ตามที่มีการประเมินค่าใช้จ่ายในส่วนของงบฯผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในปีก่อนหน้า ถ้ารพ.ใช้ไม่หมดในปีก่อนหน้าปีต่อมาก็จะใช้วิธีการหักลบกลบหนี้ ซึ่งมีประมาณ 4,500 ล้านบาท ไม่ได้มีการสั่งให้มีการโอนเงินกลับ ข้อมูลนี้ปลัดอาจรู้น้อยหรือไม่เข้าใจ ไม่ใช่สปสช.ไม่มีธรรมาภิบาล

2.การที่ระบุว่าสปสช.มีการโอนเงินให้องค์กรอื่นที่ไม่ใช้หน่วยบริการเป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์นั้น ในการจัดสรรงบส่วนนี้มีระเบียบรองรับและสามารถดำเนินการได้ 3.ใส่ร้ายว่าสปสช.บริหารกองทุนย่อยทำให้รพ.ขาดทุนและมีเงินค้างท่อ ขอแจงว่าการบริหารกองทุนย่อยคำนึถึงการเข้าถึงบริการของประชาชนเกี่ยวกับโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงต่างๆ 4.กล่าวหาว่าสปสช.ทำให้หอมอนามัยกลายเป็นหมอหน้าจอ คีย์ข้อมูลเพื่อสอยเงิน อยากชี้แจงว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่หมออนามัยต้องทำเป็น 43 แฟ้มตามที่สธ.กำหนด และไม่อยากให้ปลัดสธ.ส่งสัญญาณว่าข้อมูลไม่สำคัญ ทั้งที่ข้อมูลมีความสำคัญมาก เพราะฉะนั้นสธ.ต้องจัดทำระบบให้ทันสมัยให้ได้ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแผน

นพ.วินัย กล่าวอีกว่า กรณีที่รพ.ขาดสภาพคล่องทางการเงินหรือขาดทุนนั้น ต้องพิจารณาทั้งในฝั่งของรายรับและรายจ่าย ในส่วนของรายรับรพ.จะได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และเก็บตรงจากคนไข้ และฝั่งรายจ่ายเป็นความรับผิดชอบในกลไกการบริหารของสธ. ที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นทั้งการปรับลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานสธ. การจ่ายค่าแรงเพื่อเป็นวันละ 300 บาทหรือเดือนละ 15,000 บาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายจ่าย และมีอีกหลายรพ.ที่เมื่อเปลี่ยนตัวผู้อำนวยการแล้วทำให้สถานภาพทางการเงินดีขึ้น การใส่ร้ายสปสช.ทำให้รพ.ขาดทุนจึงไม่ใช่ อย่าไรก็ตาม การแก้ปัญหารพ.ขาดสภาพคล่องทางการเงินในระยะยาว สปสช.จะเสนอรมว.สธ.ให้ตั้งคณะกรรมการกลางมาวิเคราะห์ปัจจัย สาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหา โดยมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนเข้าร่วม

ต่อข้อถาม กลไกการจัดสรรงบบัตรทองไม่ได้ทำให้รพ.ขาดทุนใช่หรือไม่ นพ.วินัย กล่าวว่า รพ.ในพื้นที่ห่างไกล ถิ่นทุรกันดารหรือมีประชากรน้อย การจัดสรรงบฯในรูปแบบที่เป็นอยู่อาจเป็นปัญหา แต่สปสช.มีกลไกเสริมให้กับรพ.เหล่านี้เพื่อช่วยแก้ปัญหารพ.ขาดสภาพคล่องทางการเงินอยู่แล้ว โดยปีงบประมาณ 2558 สปสช.มีกลไกการแก้ปัญหาขาดสภาพคล่องใน 4 ส่วน ได้แก่ 1.เงินสำหรับจ่ายให้รพ.ในถิ่นทุรกันดาร 500 ล้านบาท 2. ค่าตอบแทนบุคลากร 3,000 ล้านบาท จัดให้รพ.ที่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง 3. กันเงินเดือนไว้ประมาณ 1,800 ล้านบาทเพื่อแก้ปัญหา และ4.จัดสรรเงินผู้ป่วยนอกให้เขตกระจายช่วยรพ.ที่ขาดสภาพคล่อง

นพ.ประทีป กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยบริการสามารถทำได้ไม่ผิดวัตถุประสงค์แต่อย่างใด โดยงบที่จัดสรรให้หน่วยบริการราว 1.4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 99 %ของงบประมาณทั้งหมด อีกส่วนเป็นงบส่งเสริม สนับสุนการจัดบริการสาธารณสุข ซึ่งเงินที่จัดสรรให้มูลนิธิและหน่วยงานอื่นๆอยู่ในส่วนนี้ ปีงบประมาณ 2557 เป็นจำนวนประมาณ 587 ล้านบาท คิดเป็น 0.42 %ของงบทั้งหมด โดยจัดสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สป.สธ.) กรมต่างๆในสธ. สสจ.และสสอ.และมูลนิธิต่างๆ


สปสช.ยันรพ.ขาดทุนไม่เกี่ยวงบบัตรทอง

สปสช.อัดสธ.ใส่ร้าย ยันรพ.ขาดทุนไม่เกี่ยวการจัดสรรงบบัตรทอง ชงรมว.สธ.ตั้งคกก.กลางวิเคราะห์-ทางแก้ระยะยาว

ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) พร้อมด้วย นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาฯสปสช. นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาฯสปสช. และนพ.พีรพล สุทธิวิเศษศักดิ์ รองเลขาฯสปสช. ร่วมกันแถลงข่าว เรื่อง “สปสช.ชี้แจงการบริหารกองทุนบัตรทอง” โดยนพ.วินัย กล่าวว่า สปสช.กูกกล่าวหาและใส่ร้ายมาหลายเวที โดยพยายามอดทัน จนเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ใส่ร้ายสปสช.ในหลายประเด็น ถ้าสปสช.ไม่ชี้แจงจะเท่ากับยอมรับการใส่ร้าย

ประเด็นที่ 1.ใส่ร้ายว่าสปสช.บริหารห่วย ไม่มีธรรมาภิบาล โดยเฉพาะในเรื่องที่สปสช.โอนเงินไปให้รพ.ในวันที่ 27 ก.ย. 2555แล้วโอนเงินจำนวนดังกล่าวกลับมาสปสช.ในเดือนธันวาคม ข้อเท็จจริง คือ รพ.ไม่เคยต้องถอนเงินแล้วส่งเงินให้สปสช. เป็นการโอนเงินล่วงหน้าไปให้รพ.ตามที่มีการประเมินค่าใช้จ่ายในส่วนของงบฯผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกในปีก่อนหน้า ถ้ารพ.ใช้ไม่หมดในปีก่อนหน้าปีต่อมาก็จะใช้วิธีการหักลบกลบหนี้ ซึ่งมีประมาณ 4,500 ล้านบาท ไม่ได้มีการสั่งให้มีการโอนเงินกลับ ข้อมูลนี้ปลัดอาจรู้น้อยหรือไม่เข้าใจ ไม่ใช่สปสช.ไม่มีธรรมาภิบาล

2.การที่ระบุว่าสปสช.มีการโอนเงินให้องค์กรอื่นที่ไม่ใช้หน่วยบริการเป็นการใช้เงินผิดวัตถุประสงค์นั้น ในการจัดสรรงบส่วนนี้มีระเบียบรองรับและสามารถดำเนินการได้ 3.ใส่ร้ายว่าสปสช.บริหารกองทุนย่อยทำให้รพ.ขาดทุนและมีเงินค้างท่อ ขอแจงว่าการบริหารกองทุนย่อยคำนึถึงการเข้าถึงบริการของประชาชนเกี่ยวกับโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงต่างๆ 4.กล่าวหาว่าสปสช.ทำให้หอมอนามัยกลายเป็นหมอหน้าจอ คีย์ข้อมูลเพื่อสอยเงิน อยากชี้แจงว่าข้อมูลส่วนใหญ่ที่หมออนามัยต้องทำเป็น 43 แฟ้มตามที่สธ.กำหนด และไม่อยากให้ปลัดสธ.ส่งสัญญาณว่าข้อมูลไม่สำคัญ ทั้งที่ข้อมูลมีความสำคัญมาก เพราะฉะนั้นสธ.ต้องจัดทำระบบให้ทันสมัยให้ได้ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และวางแผน

นพ.วินัย กล่าวอีกว่า กรณีที่รพ.ขาดสภาพคล่องทางการเงินหรือขาดทุนนั้น ต้องพิจารณาทั้งในฝั่งของรายรับและรายจ่าย ในส่วนของรายรับรพ.จะได้รับจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ และเก็บตรงจากคนไข้ และฝั่งรายจ่ายเป็นความรับผิดชอบในกลไกการบริหารของสธ. ที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นทั้งการปรับลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานสธ. การจ่ายค่าแรงเพื่อเป็นวันละ 300 บาทหรือเดือนละ 15,000 บาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายจ่าย และมีอีกหลายรพ.ที่เมื่อเปลี่ยนตัวผู้อำนวยการแล้วทำให้สถานภาพทางการเงินดีขึ้น การใส่ร้ายสปสช.ทำให้รพ.ขาดทุนจึงไม่ใช่ อย่าไรก็ตาม การแก้ปัญหารพ.ขาดสภาพคล่องทางการเงินในระยะยาว สปสช.จะเสนอรมว.สธ.ให้ตั้งคณะกรรมการกลางมาวิเคราะห์ปัจจัย สาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหา โดยมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนเข้าร่วม

ต่อข้อถาม กลไกการจัดสรรงบบัตรทองไม่ได้ทำให้รพ.ขาดทุนใช่หรือไม่ นพ.วินัย กล่าวว่า รพ.ในพื้นที่ห่างไกล ถิ่นทุรกันดารหรือมีประชากรน้อย การจัดสรรงบฯในรูปแบบที่เป็นอยู่อาจเป็นปัญหา แต่สปสช.มีกลไกเสริมให้กับรพ.เหล่านี้เพื่อช่วยแก้ปัญหารพ.ขาดสภาพคล่องทางการเงินอยู่แล้ว โดยปีงบประมาณ 2558 สปสช.มีกลไกการแก้ปัญหาขาดสภาพคล่องใน 4 ส่วน ได้แก่ 1.เงินสำหรับจ่ายให้รพ.ในถิ่นทุรกันดาร 500 ล้านบาท 2. ค่าตอบแทนบุคลากร 3,000 ล้านบาท จัดให้รพ.ที่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง 3. กันเงินเดือนไว้ประมาณ 1,800 ล้านบาทเพื่อแก้ปัญหา และ4.จัดสรรเงินผู้ป่วยนอกให้เขตกระจายช่วยรพ.ที่ขาดสภาพคล่อง

นพ.ประทีป กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยบริการสามารถทำได้ไม่ผิดวัตถุประสงค์แต่อย่างใด โดยงบที่จัดสรรให้หน่วยบริการราว 1.4 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 99 %ของงบประมาณทั้งหมด อีกส่วนเป็นงบส่งเสริม สนับสุนการจัดบริการสาธารณสุข ซึ่งเงินที่จัดสรรให้มูลนิธิและหน่วยงานอื่นๆอยู่ในส่วนนี้ ปีงบประมาณ 2557 เป็นจำนวนประมาณ 587 ล้านบาท คิดเป็น 0.42 %ของงบทั้งหมด โดยจัดสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สป.สธ.) กรมต่างๆในสธ. สสจ.และสสอ.และมูลนิธิต่างๆ


เปิด จม. "ผอ.รพ.อุ้มผาง" บัตรทอง ทำ รพ.ขาดทุนกระจุย จี้ สปสช.รับความจริง

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

       ผอ.รพ.อุ้มผางเผย โรงพยาบาลขาดทุนรุนแรง เหตุดูแลผู้ป่วยทุกคน แม้ไม่มีหลักประกันสุขภาพ ระบุคนไม่มีสิทธิหลักประกันมีมากกว่าครึ่งหนึ่ง จี้ สปสช.รับความจริง จัดสรรงบรายหัวแบบเดิมทำโรงพยาบาลขาดทุนยับ ต้องแก้ปัญหา
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุ้มผาง จังหวัดตาก ได้เขียนจดหมายถึง นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ นายแพทย์สาะารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ตาก เมื่อวันที่ 20 พ.ย. โดยระบุว่า รพ.อุ้มผาง ดูแลประชากร 67,687 คน มีสิทธิบัตรทอง 25,099 คน ประกันสังคม 1,542 คน ข้าราชการ 1,312 คน บุคคลที่มีปัญหาสถานะฯ 5,352 คน ไม่มีหลักประกันสุขภาพ 34,382 คน ซึ่งมากกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ยากจนและอยู่ในพื้นที่กันดารห่างไกลจากโรงพยาบาลมาก ปัญหาที่ตามมาคือ รพ.อุ้มผางมีค่าใช้จ่ายในการดูแลประชาชนทั้งหมดด้านสาธารณสุขเกิดขึ้นมาก ทั้งที่พยายามบริหารทรัพยากรที่มีทั้งหมดอย่างเต็มที่ เหมือนอุดรูรั่วของโอ่งน้ำ และพยายามหาทรัพยากรเพิ่มเติม เช่น ขอรับบริจาคยาขยะ ทำไบโอดีเซล เป็นต้น
       
       แม้ว่าจะพยายามบริหารทรัพยากรอย่าง เต็มที่แล้ว ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น รพ.อุ้มผาง จึงมีชื่อติดในโรงพยาบาลที่มีปัญหาสถานะทางการเงินระดับ 7 (ระดับรุนแรงที่สุด) และต้องของบสนับสนุนการดำเนินงานจากทุกหน่วยงานมาตลอด รวมถึงขอรับบริจาคเงินหรือสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งมีความไม่แน่นอน เพราะมีแต่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ไม่มีมาตรการแก้ปัญหาระยะยาว และเป็นอย่างนี้มาตลอด 12 ปี ตั้งแต่มีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยช่วงนี้ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีแนวคิดที่จะช่วยแก้ปัญหาระยะยาวให้กับโรงพยาบาลที่มีปัญหาการเงินเรื้อรัง โดยใช้หลักการ “มนุษยธรรมนำหน้า แล้วเอาเงินไปช่วยให้ดำเนินการได้” ซึ่งตนเห็นด้วยอย่างยิ่ง
       
       นอกจากนี้ ในจดหมาย นพ.วรวิทย์ ยังฝากเสนอผู้บริหาร สธ. และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คือ 1.สปสช. ควรยอมรับความจริงว่า มีโรงพยาบาลที่ต้องให้บริการตามหลักมนุษยธรรมอยู่ในประเทศไทยนี้ และไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยการบริหารการเงินแบบเดิมซึ่งใช้มากว่า 12 ปีแล้ว โดยใช้หลักเอาเงินเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง จนเปลี่ยนวัฒนธรรมของบุคลากรสาธารณสุขที่เคยใช้ “ใจ” เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับผู้ป่วย มาเป็น “เงิน” หรือ “กฎเกณฑ์” ต่าง ๆ แทน
       
       2.ขอให้จัดสรรเงินดำเนินการให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ให้ดำเนินการได้ โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่ประสบปัญหาการเงินอย่างเรื้อรัง จะเรียกอย่างไรก็ได้ และใช้หลักการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของโรงพยาบาลแต่ละระดับด้วย (โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่เป็นปัญหาดังกล่าว)
       
       และ 3.ฝากเรียนท่านผู้เห็นต่างกับแนวทางที่กระทรวงเราเสนอนี้ ให้ช่วยเสนอแนวทางแก้ปัญหาให้สถานบริการที่ประสบปัญหาด้วย เพราะท่านไม่ได้ประสบปัญหาด้วยตนเอง ก็เลยไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ มิฉะนั้นจะกลายเป็นการติที่ไม่สร้างสรรค์

 อ่านฉบับเต็ม
       
       ผมเขียนจดหมายฉบับนี้ถึงพี่พูลลาภในสถานะที่ผมเป็นน้องนะครับ ผมใคร่อยากจะให้พี่รับรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานของโรงพยาบาลอุ้ม ผางซึ่งพี่ก็เป็น สสจ.ตากอยู่แล้ว และคงเข้าใจบริบทได้ดี ให้พี่ได้พิจารณานะครับ
       
       โรงพยาบาลอุ้มผาง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่กันดารระดับ ๒ เป็นโรงพยาบาลระดับ M๒ มีประชากรจากการสำรวจ ๖๗,๖๘๗ คน รวมชาวบ้านตะเข็บชายแดนด้วยแล้ว มีสิทธิบัตรทองจำนวน ๒๕,๐๙๙ คน ประกันสังคม ๑,๕๔๒ คน ข้าราชการ ๑,๓๑๒ คน บุคคลที่มีปัญหาสถานะฯ ๕,๓๕๒ คน ไม่มีหลักประกันสุขภาพ ๓๔,๓๘๒ คน ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ยากจนและอยู่ในพื้นที่กันดารห่างไกลจากโรงพยาบาลมาก
       
       นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ที่มีโรคติดเชื้อประจำถิ่นที่รุนแรงถึงชีวิตได้ เช่น มาลาเรีย ไข้ไทฟัส ไข้กาฬหลังแอ่น อหิวาตกโรค วัณโรค ฯลฯ
       
       ปัญหาหลักด้านสาธารณสุขของชาวบ้านที่นี่ คือ การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ
       
       มีโชคดีประการหนึ่งครับที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระองค์ท่านทรงสนพระทัยและเมตตาชาวบ้านมาก พระองค์ท่านทรงงานที่นี่ตั้งแต่ผมมาเริ่มทำงานตั้งแต่ปี ๒๕๓๔ แล้ว จึงมีโครงการสุขศาลาพระราชทานขึ้นมา โดยให้หน่วยงานสาธารณสุขและโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนช่วยกันดูแลชาวบ้านที่ อยู่ห่างไกลธุรกันดารเหล่านี้ โดยไม่แบ่งแยกว่าจะมีสิทธิในหลักประกันสุขภาพใด ๆ หรือไม่ ต่อมาจึงขยายเป็นสุขศาลาหมู่บ้านอีกรวมเป็น ๑๖ แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขเราเข้าไม่ถึง และแก้ปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี
       
       อย่างไรก็ดี โรงพยาบาลอุ้มผางยังคงต้องรับผิดชอบในฐานะที่เป็นสถานบริการหลักในการดูแล เครือข่ายทั้งอำเภอ เพราะมีทรัพยากร บุคลากร และศักยภาพสูงที่สุดในอำเภอนี้
       
       ปัญหาที่ตามมาคือ โรงพยาบาลอุ้มผางมีค่าใช้จ่ายในการดูแลประชาชนทั้งหมดในทุกมิติของงานด้าน สาธารณสุขเกิดขึ้นมาก แต่มีประชากรที่มีสิทธิในหลักประกันสุขภาพเพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งไม่มีหลักประกันสุขภาพ แถมยังอยู่ห่างไกล ทำให้มีต้นทุนให้บริการสูงกว่าธรรมดา
       
       ทางโรงพยาบาลพยายามบริหารทรัพยากรที่มีทั้งหมดอย่างเต็มที่ เหมือนอุดรูรั่วของโอ่งน้ำ และพยายามหาทรัพยากรเพิ่มเติม เช่น ขอรับบริจาคยาขยะจากที่ต่าง ๆ เพื่อมาใช้ในโรงพยาบาล ปีที่แล้วได้ถึง ๑.๗ ล้านบาท (รวมยาของ กปปส.ด้วยประมาณ ๑ ล้านบาท) เราทำไบโอดีเซลจากการขอบริจาคน้ำมันพืชใช้แล้วจากทั่วทุกแห่ง รวมทั้งโรงพยาบาลในจังหวัดตากช่วยหาบริจาคให้ด้วย ได้น้ำมันไบโอดีเซล B๑๐๐ ใช้พ่น Spray เพื่อควบคุมไข้เลือดออก และใช้เผาศพที่เสียชีวิตในโรงพยาบาล B๗๐ ใช้เติมรถอีต๊อกซึ่งเป็นรถรีเฟอร์ของสุขศาลาที่อยู่ไกล ๆ ให้ส่งต่อผู้ป่วยได้ แถมยังได้กลีเซอลีนมาทำน้ำยาขัดห้องน้ำด้วย ซึ่งต้องขอบคุณอาจารย์วิชัย วงศ์สว่างรัศมี ซึ่งมาเป็นที่ปรึกษาให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เลย เรายังบริหารจัดการเศษอาหารที่เหลือมาทำไบโอแก๊ส เพื่อใช้ทำอาหารให้ผู้ป่วยด้วย น้ำยาล้างจานเรายังผลิตเองเลยครับ (ต้นทุนลิตรละ ๑๐ บาท ถ้าซื้อถูกที่สุดตกลิตรละ ๒๐.๗๘ บาท) แต่เรายืนยันให้การรักษาพยาบาลกับเพื่อนมนุษย์ทุกคนด้วยมาตรฐานเดียวกัน
       
       มีน้อง ๆ นักศึกษาแพทย์มา Elective ที่โรงพยาบาลอุ้มผาง แล้วถามผมว่า “ถ้าพี่รักษาคนไข้ไม่มีบัตรทุกคนอย่างนี้ โรงพยาบาลจะอยู่ได้เหรอ” ผมตอบน้องไปด้วยเหตุผล ดังนี้ครับ
       
       ๑. เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพด้านสาธารณสุขทุกสาขา ผมเลยถามกลับไปโดยใช้หลัก “ใจเขา ใจเรา” ของพระราชบิดาและอาจารย์หมอประสพ รัตนากรว่า ถ้าน้องเป็นหมออยู่ที่ ER แล้วมีคนไข้คลอดลูกไม่ออกมา น้องจะเรียกดูบัตรของคนไข้ก่อน ถ้าไม่มี จะไม่ช่วยเขาหรือ มีแพทย์คนไหนมีจิตใจที่จะทำอย่างนี้ได้บ้าง
       
       ๒. คนไข้เหล่านี้ เป็นโรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต และแพร่กระจายให้ทุกคนได้โดยไม่เลือกว่า จะมีหรือไม่มีบัตร เช่น มาลาเรีย เป็นต้น ยุงมันคงไม่เลือกกัดเฉพาะคนไม่มีบัตรหรอก มันกัดหมดทุกคนนั่นแหละ เพราะฉะนั้นถ้าจะควบคุมโรคให้ได้ จะต้องทำตามหลักการสาธารณสุขที่ถูกต้องตั้งแต่ต้น (โดยให้หลัก Secondary prevention : Early Detection, Prompt Treatment) ไม่เช่นนั้นจะควบคุมโรคไม่ได้ ดังนั้นเหตุผลข้อนี้คือ การควบคุมโรคไม่ให้แพร่กระจาย
       
       ๓. ประเทศไทยของเราได้แรงงานราคาถูก ทรัพยากรต่าง ๆ จากประเทศเพื่อนบ้านมากมาย ซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมแล้ว เราควรจะคืนผลกำไรดังกล่าว ในรูปงานสาธารณสุข งานด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมต่าง ๆ กลับคืนไปบ้าง เปรียบเหมือน ถ้าเรามีเพื่อนแล้ว เราจะเอาแต่ผลประโยชน์จากเพื่อนอย่างเดียว โดยไม่มีน้ำใจหรือช่วยเหลือเพื่อนในเรื่องที่เค้าต้องการความช่วยเหลือบ้าง เพื่อนจะรู้สึกต่อเราอย่างไร หรือไม่ก็คิดว่าเป็น CSR ของประเทศเราก็ได้
       
       ผมอธิบายให้น้อง ๆ นักศึกษาแพทย์ทุกคนฟัง ทุกคนก็เห็นด้วย และน่าจะเข้าใจด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์อย่างคนที่กำลังจะเป็นหมอควรจะเป็นว่า ทำไมโรงพยาบาลนี้จึงไม่ปฏิเสธการรักษาคนไข้ทุกคนเลย
       
       แต่ถึงแม้ว่าจะพยายามบริหารทรัพยากรอย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่นครับ โรงพยาบาลอุ้มผาง จึงมีชื่อติดในโรงพยาบาลที่มีปัญหาสถานะทางการเงินระดับ ๗ (ระดับรุนแรงที่สุด) และต้องของบสนับสนุนการดำเนินงานจากทุกหน่วยงานมาตลอด รวมถึง ขอรับบริจาคเงินหรือสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งมีความไม่แน่นอน เพราะมีแต่การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ไม่มีมาตรการแก้ปัญหาระยะยาว และเป็นอย่างนี้มาตลอด ๑๒ ปี ตั้งแต่มีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาเลยครับ
       
       มาช่วงปีนี้แหละครับที่อาจารย์ณรงค์ (ปลัดกระทรวงสาธารณสุข) มีแนวคิดที่จะช่วยแก้ปัญหาระยะยาวให้กับโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่มีปัญหาการเงินเรื้อรังซึ่งมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากโรงพยาบาลอื่นอย่าง ชัดเจน โดยใช้หลักการ “มนุษยธรรมนำหน้า แล้วเอาเงินไปช่วยให้ดำเนินการได้” ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งเลยครับ และก่อนหน้านี้มีแนวคิดเรื่อง MOC (Minimum Operating Cost) ให้กับโรงพยาบาลที่มีปัญหา ผมก็เห็นด้วยครับ เพราะโรงพยาบาลอุ้มผางที่ผมรับผิดชอบนี้ แม้ว่าพยายามบริหารจัดการอย่างไรแล้ว ก็ยังมีปัญหาอยู่ ผมจึงอยากจะฝากพี่ให้กำลังใจผู้บริหารของกระทรวงเราด้วยว่า ผมทำงาน ๒๐ กว่าปีมานี้ ยุคนี้เรามีผู้บริหารที่ดีและเข้มแข็งที่สุดเท่าที่เคยเห็นเลยครับ ถ้าอาจารย์ท่านยึดหลักมนุษยธรรม ซึ่งเป็นหลักสากลที่อ้างอิงกับหลักศาสนาได้ทุกศาสนาแล้ว จิตใจของท่านจะกอรปไปด้วย สัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นอริยมรรคที่จะนำไปสู่ ปัญญา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้กับกิเลสอันน่ารังเกียจของบุคคลอื่น ๆ ได้ครับ
       
       ถ้าพี่เจอผู้บริหารของ สปสช. ผมอยากจะฝากพี่เรียนอาจารย์ท่านด้วยนะครับว่า ตามความเห็นของผม ท่านก็เป็นคนดีนะครับ แต่ท่านเป็นคนดีที่ใจดำเกินไป และท่านไม่มีความรู้สึกในการจัดการด้วยความเป็นธรรมแบบมนุษยธรรม ท่านมีแต่ความรู้สึกเรื่องความเป็นธรรมแบบคณิตศาสตร์ อันเนื่องมาจากท่านขาดสติ (ระลึกรู้) จึงลืมไปว่า ท่านยังคงเป็นแพทย์อยู่ด้วย ทั้งยังมี มานะ (ความทรนงตน; ความรู้สึกเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น) สูงอีกด้วย จึงนำจิตใจของท่านไปสู่การครอบงำของมิจฉาทิฏฐิ ซึ่งปัญหาแบบนี้คงไม่เกิดขึ้น ถ้าอาจารย์สงวน ยังอยู่ เพราะอาจารย์ท่านเคยรับปากกับผมเองว่า จะขอใช้เวลา ๓ ปี เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแบบมนุษยธรรมขึ้นในประเทศไทยนี้ให้ได้
       
       ผมมีข้อเสนอให้พี่ช่วยเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเรา และ สปสช. ดังนี้ครับ
       
       ๑. สปสช. ควรยอมรับความจริงว่า มีโรงพยาบาลที่ต้องให้บริการตามหลักมนุษยธรรมอยู่ในประเทศไทยนี้ และไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยการบริหารการเงินแบบเดิมซึ่งใช้มากว่า ๑๒ ปีแล้ว โดยใช้หลักเอาเงินเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง จนเปลี่ยนวัฒนธรรมของบุคลากรสาธารณสุขที่เคยใช้ “ใจ” เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับผู้ป่วย มาเป็น “เงิน” หรือ “กฎเกณฑ์” ต่าง ๆ แทน
       
       ๒. ขอให้จัดสรรเงินดำเนินการให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ให้ดำเนินการได้ โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่ประสบปัญหาการเงินอย่างเรื้อรัง จะเรียกอย่างไรก็ได้ครับ และใช้หลักการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของโรงพยาบาลแต่ละระดับด้วย (โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่เป็นปัญหาดังกล่าว)
       
       ๓. ฝากเรียนท่านผู้เห็นต่างกับแนวทางที่กระทรวงเราเสนอนี้ ให้ช่วยเสนอแนวทางแก้ปัญหาให้สถานบริการที่ประสบปัญหาด้วย เพราะท่านไม่ได้ประสบปัญหาด้วยตนเอง ก็เลยไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ มิฉะนั้นจะกลายเป็นการติที่ไม่สร้างสรรค์
       
       รบกวนเวลาของพี่เยอะเลยครับ ผมเขียนด้วยความรู้สึกและข้อเท็จจริง ผมดีใจที่มีโอกาสได้ทำงานกับพี่ครับ และผมภูมิใจมากครับที่ผมทำงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งพวกเราทุกคน ช่วยกันทำสิ่งที่ดีให้กับสังคมมากมาย เพียงแต่ไม่ได้ประชาสัมพันธ์บอกใครเท่านั้น (งบจะดำเนินการยังไม่พอ จะไปใช้เงินทำประชาสัมพันธ์ได้อย่างไรครับ) เปรียบเหมือนกับพวกเราทำงานแบบ ปิดทองหลังพระ แต่ผมเคยได้ยิน ในหลวงตรัสไว้ว่า “พระทั้งองค์จะงามสง่าได้อย่างไร ถ้ามีแต่คนที่จะปิดทองด้านหน้าของพระเท่านั้น”
       
       กราบขอบคุณพี่พูลลาภเป็นที่สุดครับ ที่กรุณาอ่านจนจบ และขอเป็นกำลังใจให้ชาวสาธารณสุขทุกคนด้วยครับ


ผอ.รพช.หนุนปรับจัดสรรงบบัตรทองใหม่

ผอ.รพช.ฉายสภาพรพ.รัฐ หนุนปรับระบบจัดสรรงบบัตรทองใหม่ วางกรอบจัดสรรเงินระดับเขต ช่วยแก้ปัญหาการเงิน

นพ.สุขสันติ พักธรรมนัก ผอ.รพ.ท่าช้าง จ.สิงห์บุรี กล่าวว่า ปัญหาที่แท้จริงของการจัดสรรงบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง ตั้งแต่ปี 2544-2557 คือการผูกรวมเงินเดือนของข้าราชการไว้ในงบเหมาจ่ายรายหัว ทำให้สถานบริการในระดับจังหวัด อำเภอ ซึ่งมีประชากรเบาบาง แต่มีข้าราชการมาก และฐานเงินเดือนสูง เมื่อนำมาหักกับเงินเหมาจ่ายรายหัวแล้วบางจังหวัดติดลบ คือเงินจากงบบัตรทองไม่พอจ่ายเงินเดือนข้าราชการในจังหวัด เมื่องบบัตรทองไมมี หรือไม่พอ การบริการของสถานบริการ จะเอาเงินจากไหนมา ซื้อยา เวชภัณฑ์ เวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยามาให้บริการประชาชน ทั้งค่าสาธารณูปโภค ค่าเวรแพทย์ พยาบาล บุคลากรที่ปฏิบัติงานให้บริการ นอกเวลาราชการ หลังจากที่งบบัตรทองไม่เพียงพอ สถานบริการต้องเริ่มนำเงินที่สะสมไว้นำออกมาใช้จ่ายเพื่อบริการประชน ทำให้รพ.ชุมชน(รพช.) กว่า 100 แห่งจาก 800 กว่าแห่งและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) 2,900 แห่งจากกว่า 8,000 แห่ง มีปัญหาขาดสภาพคล่อง

ยกตัวอย่าง จ.สิงห์บุรี มีประชากรสิทธิ์บัตรทอง 140,000 คน. ได้รับงบบัตรทอง ทั้งจังหวัด 359 ล้านบาท ข้าราชการสสังกัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)ของจ.สิงห์บุรี มี 3,000 คน หักเงินเดือน61% ออกจากงบบัตรทอง เป็นเงินที่ต้องนำไปหักออกจากงบบัตรทองที่ 324 ล้านบาท ทั้งจังหวัดเหลือเงินบริหารเพื่อบริการประชาชนสิทธิ์บัตรทองทั้งปี เพียง 35 ล้านบาท ชึ่งจำเป็นต้องมีเงินมาเพิ่มในระบบ ปีละไม่ต่ำากว่า 180 ล้านบาท รวมเป็น220 ล้าน เพื่อให้สถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งให้บริการประชาชนได้ดี มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันจ.สิงห์บุรีได้รับงบเพิ่มเติมมาแก้ปัญหาอีกเพียงปีละ 80-90 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอ ทำให้สถานบริการ 5ใ น 6 แห่งติดลบ อยู่ในภาวะวิกฤติทางการเงินระดับ1 จำนวน 4 แห่ง ระดับ7จำนวน1แห่ง ระบบการบริหารงบบัตรทองจึงควรต้องเปลี่ยนแปลง

นพ.สุขสันติ กล่าวอีกว่า หากมองในระดับเขตจ.สิงห์บุรีเป็น 1ใน8 จังหวัดของเขต4 ที่ประกอบไปด้วย จ.สระบุรี ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี อยุธยา อ่างทอง นครนายก และสิงห์บุรี โดย 3 จังหวัดหลังเป็นจังหวัดขนาดเล็ก ประชากรน้อย งบบัตรทองไม่พอเมื่อหักเงินเดือนออก สถานะภาพเหมือนจ.สิงห์บุรี แต่อีก5 จังหวัด เป็นจังหวัดใหญ่ประชากรหนาแน่น เมื่อเข้าเป็นเขตสุขภาพ จังหวัดใหญ่จะสามารถปรับเกลี่ยงบมาช่วยจังหวัดเล็กได้ ซึ่งเขต4 มีประชากร2.9 ล้าน ได้รับงบบัตรทองทองทั้งเขตที่ 7,500ล้านบาท หักเงินเดือนระดับเขตที่ 3,600 ล้านบาท เหลืองบบริหาร 3,900 ล้านบาท ถ้าวางกรอบการบริหารจัดการงบบัตรทองระดับเขต จะทำให้ 3 จังหวัดขนาดเล็ก พ้นภาวะวิกฤติทางการเงินได้จากการเกลี่ยงบประมาณภายในเขต

ข้อเสนอการจัดสรรงบประมาณขาลงงบบัตรทองใหม่ คือ 1. ไม่ควรนำเงินเดือนข้าราชการสธ.มาร่วมอยู่ในงบบัตรทอง ควรแยกออกไปตามพรบ.เงินเดือนของกระทรวงการคลังเหมือนเดิม สำหรับในช่วงเปลี่ยนผ่านให้ตัดเงินเดือนในระดับเขตเพื่อให้สามารถปรับเกลี่ยกันภายในเขต 2. ส่งเสริมให้เกิดการช่วยเหลือกันของสถานบริการภายในเขตบริการสุขภาพ ซึ่งจะทำให้เกิดภาพโรงพยาบาลใหญ่ช่วยโรงพยาบาลเล็ก คุณภาพมาตรฐานบริการก็จะเกิดขึ้น สอดรับกับความต้องการของประชาชน และ 3. ระบบการเงินการคลังต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อสนับสนุนให้สถานบริการสามารถให้บริการได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการขาดสภาพคล่องทางการเงิน และสถานบริการจะได้รับรู้ถึงรายรับที่แน่นอน สามารถวางแผนงบประมาณได้

ด้านนพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผอ.รพ.อุ้มผาง จ.ตาก กล่าวว่า รพ.อุ้มผาง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่กันดารระดับ ๒ มีประชากรจากการสำรวจ 67,687 คน รวมชาวบ้านตะเข็บชายแดนด้วยแล้ว มีสิทธิบัตรทองจำนวน 25,099 คน ประกันสังคม 1,542 คน ข้าราชการ 1,312 คน บุคคลที่มีปัญหาสถานะ 5,352 คน ไม่มีหลักประกันสุขภาพ 34,382 คน ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ยากจนและอยู่ในพื้นที่กันดารห่างไกลจากโรงพยาบาลมาก นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ที่มีโรคติดเชื้อประจำถิ่นที่รุนแรงถึงชีวิตได้ เช่น มาลาเรีย ไข้ไทฟัส ไข้กาฬหลังแอ่น อหิวาตกโรค วัณโรค ฯลฯ ปัญหาหลักด้านสาธารณสุขของชาวบ้านที่นี่ คือ การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ โดยรพ.อุ้มผางต้องรับผิดชอบในฐานะที่เป็นสถานบริการหลักในการดูแลเครือข่ายทั้งอำเภอ เพราะมีทรัพยากร บุคลากร และศักยภาพสูงที่สุดในอำเภอนี้

“ โรงพยาบาลมีค่าใช้จ่ายในการดูแลประชาชนทั้งหมดในทุกมิติของงานด้านสาธารณสุขเกิดขึ้นมาก แต่มีประชากรที่มีสิทธิในหลักประกันสุขภาพเพียงครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งไม่มีหลักประกันสุขภาพ แถมยังอยู่ห่างไกล ทำให้มีต้นทุนให้บริการสูงกว่าธรรมดา รพ.พยายามบริหารทรัพยากรที่มีทั้งหมดอย่างเต็มที่ เหมือนอุดรูรั่วของโอ่งน้ำ และพยายามหาทรัพยากรเพิ่มเติม เช่น ขอรับบริจาคยาขยะจากที่ต่าง ๆ เพื่อมาใช้ในโรงพยาบาล ทำไบโอดีเซลจากการขอบริจาคน้ำมันพืชใช้แล้วจากทั่วทุกแห่ง ใช้เติมรถอีต๊อกซึ่งเป็นรถส่งต่อของสุขศาลาที่อยู่ไกลๆ ให้ส่งต่อผู้ป่วยได้ แต่ถึงแม้ว่าจะพยายามบริหารทรัพยากรอย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น ทำให้รพ.อุ้มผาง มีปัญหาสถานะทางการเงินระดับรุนแรงที่สุด และต้องของบสนับสนุนการดำเนินงานจากทุกหน่วยงานมาตลอด ไม่มีมาตรการแก้ปัญหาระยะยาวเป็นอย่างนี้มาตลอด12 ปี ตั้งแต่มีโครงการบัตรทอง”นพ.วรวิทย์กล่าว

นพ.วรวิทย์ กล่าวอีกว่า ข้อเสนอ คือ 1.สปสช. ควรยอมรับความจริงว่า มีรพ.ที่ต้องให้บริการตามหลักมนุษยธรรมอยู่ในประเทศไทยและไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยการบริหารการเงินแบบเดิมซึ่งใช้มากว่า 12 ปีโดยใช้หลักเอาเงินเป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง จนเปลี่ยนวัฒนธรรมของบุคลากรสาธารณสุขที่เคยใช้ใจ เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับผู้ป่วย มาเป็นเงินหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ แทน 2. ขอให้จัดสรรเงินดำเนินการให้กับรพ.ต่าง ๆ ให้ดำเนินการได้ โดยเฉพาะรพ.ที่ประสบปัญหาการเงินอย่างเรื้อรัง และใช้หลักการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของโรงพยาบาลแต่ละระดับด้วย และ3.ขอให้ผู้เห็นต่างกับแนวทางที่สธ.เสนอนี้ ให้ช่วยเสนอแนวทางแก้ปัญหาให้สถานบริการที่ประสบปัญหาด้วย เพราะไม่ได้ประสบปัญหาด้วยตนเอง ก็เลยไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ มิฉะนั้นจะกลายเป็นการติที่ไม่สร้างสรรค์


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : อัดสธ. ใส่ร้าย รพ.ขาดทุน ไม่เกี่ยว งบบัตรทอง

view