สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ราคาน้ำมันล่ม

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ดุลยภาพดุลยพินิจ
โดย ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์
ที่มา นสพ.มติชน




วิกฤตการณ์ เศรษฐกิจหลายครั้งเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันปิโตรเลียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงทศวรรษ 1970 และ 1980 ซึ่งเศรษฐกิจโลกในยุคนั้นประสบปัญหาราคาน้ำมันโลกสูงโดยที่ยังต้องพึ่ง น้ำมันดิบอย่างมากเพราะเคยมีราคาต่ำมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อราคาน้ำมันโลกลดลงในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 1980 เศรษฐกิจของหลายประเทศก็เริ่มกระเตื้องขึ้น

การเติบโตของประเทศเกิด ใหม่และการกระตุ้นเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาในยุคหลังมีส่วนทำให้ความต้องการ พลังงานขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งราคาน้ำมันดิบวิ่งสู่ระดับสูงสุด หรือ 133 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เมื่อกลางปี ค.ศ.2008 ก่อนที่จะทรุดตัวลงอย่างรวดเร็วจากปัญหาวิกฤตซับไพรม์มาที่ 40 เหรียญสหรัฐในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ใช้ตัวเลข WTI)

จากกลางปี 2014 นี้ ราคาน้ำมันโลกได้ทรุดตัวอย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่งจากระดับประมาณ 105 เหรียญสหรัฐ มาที่ 80 เหรียญสหรัฐ และก็ได้ทรุดตัวอีกถึง 10 เหรียญสหรัฐ เมื่อกลุ่มประเทศโอเปคตัดสินใจไม่ลดการผลิตลง ล่าสุดราคาน้ำมันดิบล่วงหน้าตลาดนิวยอร์กได้ตกลงมาที่ 63 เหรียญต่อบาร์เรล (10 ธันวาคม 2557)

การทรุดตัวอย่างรุนแรงของราคาน้ำมันโลกครั้งล่า สุดนี้เป็นอาการที่เรียกได้ว่าราคาน้ำมันโลกล่ม (Oil Crash) อันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่แรงและน่าจะมีผลกระทบที่สูง

บ้างเชื่อว่า ปรากฏการณ์นี้จะเป็นผลดีอย่างมากต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโลก ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย ประเทศเกิดใหม่อื่นๆ ที่นำเข้าพลังงานและญี่ปุ่น รวมไปแม้กระทั่งสหรัฐซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าโมเมนตั้มของการบริโภคจะได้รับ ผลดี

บ้างเชื่อว่าการฟื้นตัวดังกล่าวนี้ต้องอาศัยเวลาเพราะขึ้นอยู่ กับว่าราคาน้ำมันโลกจะต่ำอยู่ได้นานเพียงใด ซึ่งขณะนี้ยังเป็นเพียงการคาดเดา

บ้างก็เชื่อว่าราคาน้ำมันดิบที่ล่มตัวลงเป็นอาการของภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่กำลังจะมาเยือนซึ่งต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ในบรรดาความเห็นที่หลากหลายเหล่านี้ ความเห็นใดมีความเป็นไปได้สูง คงต้องมีการวิเคราะห์รายละเอียดและมีการอ่านสถานการณ์ประกอบพอสมควร



เมื่อ เราย้อนสถานการณ์ไปเมื่อครั้งที่ราคาน้ำมันดิบเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี ค.ศ.2006 จนกระทั่งสูงมากในช่วงกลางปี ค.ศ.2008 ในขณะนั้นคาดว่าการผลิตใหม่จะเริ่มรองรับความต้องการได้ต้องรอจนถึงปี 2008 ส่วนต้นทุนการผลิตหน่วยสุดท้ายหรือ Marginal Cost ของพลังงานชีวภาพที่ใช้ทดแทนได้อยู่ที่ประมาณ 75-80 เหรียญต่อบาร์เรล ดังนั้น จึงมีอุปทานใหม่ทั้งที่เป็นน้ำมันดิบและพลังงานทดแทนทยอยเข้ามาลดภาวะขาด แคลนในระยะยาวโดยต้องอาศัยเวลาพอสมควร

อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดวิกฤตซับไพรม์ขึ้น ราคาน้ำมันโลกก็เกิดอาการล่มหรือทรุดลงและเมื่อกลับมาอยู่ในระดับที่สูงอีก ครั้ง พลังงานทดแทนก็ยังสามารถมีโอกาสทางธุรกิจที่ดีได้

ในช่วง 3-4 ปีมานี้ได้เกิดการทดแทนใหม่ขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งบางท่านเรียกว่าการปฏิวัติพลังงานหินดินดาน (Shale Revolution) การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้ เศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวและกลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติอันดับ หนึ่งของโลกเหนือซาอุดีอาระเบียและรัสเซียซึ่งเคยผลิตได้มากกว่า

เทคนิค ใหม่นี้เป็นการใช้แรงดันน้ำผสมทรายและสารเคมีอัดเข้าไปที่หินชั้นดินดานที่ มีน้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติอยู่ให้ออกมาเป็นจำนวนมากๆ ซึ่งเดิมนั้นเคยขาดความเป็นไปได้ทางธุรกิจ

การลงทุนในธุรกิจพลังงาน ในสหรัฐอเมริกาจึงคึกคักอย่างยิ่งและก็ได้ขยายวงไปถึงแคนาดาด้วย สหรัฐอเมริกาสามารถลดการนำเข้าน้ำมันดิบได้อย่างรวดเร็วซึ่งช่วยให้ตัวรั่ว ด้านรายจ่ายลดลงโดยการผลิตภายในสามารถสร้างรายได้และการจ้างงานได้อย่างมาก

สาม ปีที่ผ่านมานี้จึงเป็นยุคของการแข่งขันที่เข้มข้นในอุตสาหกรรมพลังงาน ปิโตรเลียมระหว่างมหาอำนาจเก่าคือตะวันออกกลาง และมหาอำนาจใหม่คือสหรัฐอเมริกา

จุดแข็งของมหาอำนาจเก่าคือการครอบ ครองแหล่งพลังงานมาตรฐานเดิม (Conventional) ที่มีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ แต่จุดอ่อนคือต้องลงทุนเบื้องต้นสูงมาก มีความเสี่ยงสูงในขั้นตอนของการสำรวจและการปรับกำลังการผลิตสามารถกระทำได้ ช้า ไม่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของราคา

จุดแข็งของมหาอำนาจใหม่คือการ มีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมแล้วซึ่งทำให้แหล่งพลังงานใหม่ (Unconventional) มีต้นทุนคงที่ต่ำแต่มีจุดอ่อนที่ต้นทุนแปรผันที่สูง ผู้ผลิตจะอยู่รอดได้ยากในทางธุรกิจถ้าราคาน้ำมันดิบอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 60 เหรียญต่อบาร์เรล ยกเว้นในแหล่งต้นทุนต่ำ อุปทานน้ำมันดิบจึงเชื่อว่าจะลดลงอย่างแรงที่ระดับราคาที่ต่ำกว่านี้

การ เติบโตอย่างรวดเร็วของผู้ผลิตสหรัฐเป็นการเพิ่มอุปทานของน้ำมันปิโตรเลียม แรงกดดันต่อราคาน้ำมันโลกจึงเกิดขึ้นและก็เกิดขึ้นมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ราคานั้นมิได้ลดลงมาเหมือนราคาถ่านหินซึ่งลดต่ำลงมาก่อนแล้วกว่า 3 ปี ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งก็เคยคาดคะเนไว้ว่าราคาน้ำมันดิบที่เคยอยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ควรจะลดลงมาที่ระดับ 90-95 เหรียญ แต่ราคาตลาดมิได้ปรับตามพื้นฐานเนื่องจากก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ของนัก เก็งกำไรล่วงหน้าว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่ระยะที่ฟื้นตัวและมีการเก็บน้ำมัน สำรองไว้มาก ซึ่งถ้าราคาอยู่ในระดับนี้ตลาดก็จะอยู่ในสภาพที่เสถียรพอสมควรและไม่น่าจะ เกิดภาวะฟองสบู่และการทรุดตัวมากมายอย่างในปัจจุบัน

สาเหตุอีกด้าน หนึ่งที่สำคัญมากคืออุปสงค์น้ำมันปิโตรเลียมที่มีแนวโน้มอ่อนตัวลงอย่างเด่น ชัด ส่งผลให้นักลงทุนเก็งกำไรต้องลดความต้องการลงแล้วหันไปลงทุนในสินทรัพย์ ประเภทอื่น แนวโน้มนี้จึงเป็นสัญญาณร้ายเนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้น รวมทั้งมีความเสี่ยงจากสถานการณ์ในยูเครนและการตอบโต้ระหว่างชาติตะวันตกและ รัสเซีย

ดังนั้น คำถามที่ว่าทำไมราคาน้ำมันโลกจึงล่มตัวลงอย่างหนัก จึงอาจตอบได้ว่าเนื่องจากราคาถูกรักษาไว้ในระดับที่สูงเกินจริงทั้งๆ ที่อุปทานใหม่ได้ขยายตัวออกมาสู่ตลาดมากแล้วในขณะที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้ม ที่อ่อนกำลังลง



เมื่อพิจารณาปริมาณการผลิตน้ำมันโลก ตัวเลขรวมในเดือนสิงหาคมนี้อยู่ที่ 92.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยเพิ่มขึ้นจากเมื่อ 3 ปีก่อนประมาณ 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นนี้เกือบทั้งหมดมาจากสหรัฐอเมริกาและได้สร้างอุป ทานส่วนเกินซึ่งมีผลที่รุนแรงต่อราคาน้ำมันโลก

การฟุบตัวอย่างแรงของ ราคาน้ำมันนั้นเป็นเพราะตลาดน้ำมันดิบที่ราคาอยู่ในระดับที่สูง เส้นอุปทานมีความยืดหยุ่นที่ต่ำเช่นเดียวกับเส้นอุปสงค์ซึ่งการเปลี่ยนแปลง ทางปริมาณทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานจะมีผลสูงต่อภาวะราคา

เส้นอุปสงค์ ของน้ำมันดิบมีความยืดหยุ่นต่อราคาต่ำโดยพื้นฐานอยู่แล้วเพราะน้ำมัน ปิโตรเลียมมีการใช้ตามเทคโนโลยีของการคมนาคมขนส่งที่เปลี่ยนแปลงช้า ราคาที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณการบริโภคไม่มาก

ส่วน เส้นอุปทานที่มีความยืดหยุ่นต่ำในปัจจุบันก็เพราะต้นทุนหน่วยสุดท้ายที่สูงก ว่า 40-50 เหรียญต่อบาร์เรลนั้นมาจากแหล่งผลิตใหม่ซึ่งมีต้นทุนแปรผันสูง ยิ่งถ้าเป็นแหล่งที่ขยายใหม่ก็จะมีต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

เมื่อ สหรัฐอเมริกาเพิ่มการผลิตเข้ามาสู่ตลาด อุปทานส่วนเกินจะทำให้ราคาตลาดลดต่ำลง แต่เนื่องจากอุปสงค์มีความยืดหยุ่นต่ำ ราคาที่ลดลงจึงไม่ช่วยลดอุปทานส่วนเกินได้มากซึ่งทำให้ดุลยภาพใหม่ต้องอาศัย ราคาตลาดที่ต่ำลงอีกอย่างมาก

ในอีกด้านหนึ่ง การคาดการณ์ทางอุปสงค์ที่ลดลง ผู้ผลิตที่มีต้นทุนแปรผันสูงจะไม่สามารถลดราคาขายได้มากและผู้ผลิตที่มีต้น ทุนแปรผันต่ำจะเป็นผู้นำในการขายด้วยราคาที่ต่ำ อำนาจตลาดอยู่ในมือของผู้ซื้ออย่างรวดเร็ว

การแข่งขันทางราคานี้จะทำ ให้ผู้ผลิตที่มีต้นทุนแปรผันสูงได้รับผลกระทบหนักและการแข่งขันก็จะยิ่ง รุนแรงมากขึ้นอีก เมื่อผู้ผลิตที่มีต้นทุนสูงกังวลที่จะหยุดการผลิตในขณะที่ผู้ผลิตที่มีต้น ทุนต่ำจำเป็นต้องรักษาผลประกอบการด้วยการเพิ่มยอดขายอันเป็นการชดเชยราคาขาย ที่ขาดไป

สงครามราคาจึงเกิดขึ้นตามมา ข่าวเกี่ยวกับการไม่ลดการผลิตรวมทั้งการขายน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางมายัง เอเชียด้วยราคาพิเศษ และการไม่ลดการผลิตของโอเปคนับว่าสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่ว่ามานี้ พิจารณาต้นทุนต่อหน่วยของแหล่งผลิตต่างๆ (ดูตารางประกอบ) ซาอุดีอาระเบียและตะวันออกกลางจะอยู่รอดแม้จะลำบากบ้างในระยะที่ราคาอยู่ใน ระดับต่ำ แต่จะเป็นผู้ได้เปรียบที่แท้จริงในสงครามราคา

ส่วนผู้ผลิต ที่จะได้รับผลกระทบจะเป็นผู้ผลิตในแหล่งพลังงานใหม่ของสหรัฐอเมริกา แคนาดา บราซิลและเม็กซิโก ผู้ผลิตในรัสเซียก็จะได้รับผลกระทบรุนแรงเช่นเดียวกัน



นัก วิเคราะห์ขณะนี้ยังเชื่อจากประสบการณ์เก่าๆ ว่าราคาน้ำมันที่ลดลงจะช่วยให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นจากค่าใช้จ่าย ที่ประหยัดได้จากราคาน้ำมัน และการที่สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศผู้นำเข้าสุทธิ (Net importer) จะได้รับประโยชน์จากสภาพการณ์ใหม่นี้

การวิเคราะห์ ดังกล่าวเป็นการมองโลกในแง่ดีเกินไป ผลกระทบที่มีต่อผู้ผลิตน้ำมันจากแหล่งหินดินดานจะรุนแรงเพราะราคาอาจจะไม่ อยู่ที่ระดับ 60-80 เหรียญสหรัฐขึ้นไป ผู้ผลิตที่ต้นทุนค่อนข้างสูงจะมีปัญหาทางการเงินและอาจต้องปิดกิจการลง ซึ่งจะกระทบสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อรวมทั้ง

ผู้ซื้อพันธบัตร เกรดต่ำของบริษัทเหล่านี้ การลงทุนในสาขานี้จะหดตัวลงในขณะที่สหรัฐจะไม่สามารถลดการนำเข้า (Import reducer) ได้มากเช่นเดิม

อย่างไรก็ตาม รัสเซียจะเผชิญแรงกระทบอย่างหนักเนื่องจากต้องพึ่งรายได้จากน้ำมันดิบและมิ ได้กระจายความเสี่ยงไว้ล่วงหน้า แต่ถ้าเกิดวิกฤตขึ้นก็จะลุกลามไปถึงยุโรปผ่านความเสียหายในสถาบันการเงินและ การแข่งขันทางราคาที่ต้องเผชิญกับการอ่อนค่าที่รุนแรงของเงินรูเบิล

การ ทรุดตัวของราคาน้ำมันโลกรอบนี้จึงมิใช่สัญญาณที่ดีนัก ผลดีที่จะเกิดกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจนั้นต้องอาศัยเวลาและราคาน้ำมันโลกจะ ต้องตกต่ำอย่างยาวนานเพียงพอ การออมของภาคครัวเรือนทั่วโลกจะดีขึ้นอย่างชัดเจน การบริโภคและการส่งออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชียอาจผ่อนคลายบ้าง ทว่าการลงทุนและการปล่อยสินเชื่อจะยังคงมีความไม่สดใส

เศรษฐกิจสหรัฐบางส่วนจะได้รับผลกระทบ แต่ที่น่ากังวลคือสถานการณ์ที่บางประเทศอาจต้องเผชิญมรสุมทางเศรษฐกิจเสียก่อน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ราคาน้ำมันล่ม

view