สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ราคาน้ำมันโลกดิ่ง ใครได้/เสีย

ราคาน้ำมันโลกดิ่ง ใครได้/เสีย

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




ความเป็นจริงคือราคาน้ำมันในตลาดโลกกำลังลดลงอย่างต่อเนื่องทั้งราคาปัจจุบันและราคาในอนาคตผ่านราคาฟิวเจอร์ส

ไม่ ว่าการดิ่งลงของราคาน้ำมันจะมาจากการที่กลุ่มประเทศ OPEC ต้องการที่จะสกัดการเติบโตของบริษัทที่ใช้เทคโนโลยี Shale Gas หรือต้องการที่จะทำให้รัสเซียเลิกแทรกแซงประเทศในตะวันออกกลาง โดยใช้ราคาน้ำมันที่เป็นสินค้าออกหลักเป็นตัวบีบก็ตาม ความเป็นจริงคือราคาน้ำมันในตลาดโลกกำลังลดลงอย่างต่อเนื่องทั้งราคา ปัจจุบันและราคาในอนาคตผ่านราคาฟิวเจอร์ส ดังรูปที่ 1


แน่นอนว่างานดีเป็นทั้งข่าวดีและข่าวร้ายสำหรับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาคต่างๆ ของโลก ดังนี้

ขอเริ่มจากข่าวดีก่อน จากการประมาณการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF พบว่าผลพวงจากการลดราคาน้ำมันทำให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจมี ต้นทุนที่ต่ำลง และผู้บริโภคที่ถือว่ามีรายได้สูงขึ้นจากการที่ค่าใช้จ่ายลดลง โดยรวม ทำให้ราคาน้ำมันโลกที่ลดลงทุก 20 ดอลลาร์ จะส่งผลดีต่อการเติบโตเศรษฐกิจโลกในระดับร้อยละ 0.4 ภายใน 2-3 ปี ดังนั้น การที่ราคาน้ำมันโลกที่ดิ่งลงในตอนนี้กว่า 40 ดอลลาร์ ทำให้การประมาณการเศรษฐกิจโลกที่ IMF ลดการคาดการณ์ลงร้อยละ 0.5 เมื่อกว่า 2 เดือนก่อนกลับมาเติบโตได้ดีกว่าการคาดการณ์เดิมเสียอีก และหากสามารถผ่องถ่ายไปสู่ความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นของผู้บริโภคก็จะทำให้ สามารถเติบโตได้ดีกว่านี้อีก

นอกจากนี้ ผลดีที่รับไปเต็มๆ จะไปตกกับประเทศที่นำเข้าน้ำมันหลักๆ อย่างอินเดีย และประเทศที่รัฐบาลมีการใช้เงินเข้าไปพยุงราคาน้ำมันอย่างอินโดนีเซีย โดยจะช่วยประเทศที่นำเข้าน้ำมันในกลุ่มตลาดเกิดใหม่มากกว่ากลุ่มประเทศที่ พัฒนาแล้ว เนื่องจากมีสัดส่วนของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับน้ำมันสูงกว่าของประเทศที่พัฒนา แล้ว

ส่วนข่าวร้าย ที่รับไปเต็มๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

หนึ่ง เศรษฐกิจรัสเซีย ที่ตอนนี้เกิดวิกฤตอย่างหนักทั้งในเรื่องค่าเงินและปัญหาเงินเฟ้อ หากมองย้อนกลับไปเมื่อปี 1998 ซึ่งตอนนั้นได้ทำให้บริษัทในวอลล์ สตรีท ล้มลงไปหลายบริษัท มาในงวดนี้ แม้เศรษฐกิจโลกจะมีการพึ่งพารัสเซียอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับช่วงนั้น อีกทั้งรัสเซียยังมีสำรองเงินตราระหว่างประเทศอยู่กว่า 4 แสนล้านดอลลาร์ ทว่าปัจจัยราคาน้ำมันที่ตกต่ำลงเรื่อยๆ และการคว่ำบาตรทางการค้าจากชาติตะวันตกที่ดูจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งปัจจัยหลัง ในปี 1998 ไม่มีนั้น รวมถึงหนี้ภาคเอกชนของรัสเซียที่มีอยู่กว่า 1.4 แสนล้านดอลลาร์ ภายใต้การอ่อนค่าของเงินรูเบิลอย่างไม่หยุดหย่อนในตอนนี้ อาจจะทำให้นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีของรัสเซีย อาจจะต้องตัดสินใจอะไรบางอย่างในเร็ววัน

สอง เศรษฐกิจยุโรปจะแก้ยากขึ้น ในตอนนี้ปัญหาเงินฝืดกลายเป็นความเสี่ยงอันดับที่หนึ่งของยุโรปไปเสียแล้ว หากราคาน้ำมันยังดิ่งอยู่เช่นนี้ ในขณะที่ยุโรปนำเข้าน้ำมันในปีนี้ด้วยมูลค่ากว่า 6 แสนล้านยูโร นับเป็นภูมิภาคที่มีการนำเข้าน้ำมันมากที่สุด ย่อมจะทำให้โอกาสที่จะเกิดปัญหาเงินฝืดอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นได้ไม่ยาก ถึงขนาดที่นายมาริโอ ดรากิ ประธานธนาคารกลางยุโรป ได้กล่าวเมื่อต้นเดือนนี้ว่าปัจจัยราคาน้ำมันนับเป็นความเสี่ยงใหญ่และใหม่ ที่ยุโรปต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจนั้น ดูจากญี่ปุ่นจะเห็นได้ว่ายืดเยื้อและแก้ยากกว่าปัญหาเงินเฟ้อหลายเท่าตัว เนื่องจากประชาชนจะชะลอการใช้จ่ายโดยหวังให้ราคาสินค้าที่ตนเองจะซื้อลดลงไป กว่านี้ ซึ่งจะส่งผลให้จีดีพีของยุโรปที่เกือบจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอยู่แล้วนั้นยิ่ง กู่ไม่กลับไปใหญ่ จากการศึกษาพบว่า ณ ระดับราคาน้ำมันต่างๆ ประเทศที่จะประสบกับภาวะเงินฝืด เป็นไปดังรูปที่ 2 โดยหากราคาน้ำมันอยู่ที่ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะส่งผลให้ประเทศในยุโรปถึง 13 ประเทศมีแนวโน้มต้องเกิดภาวะเงินฝืดในปีหน้า

สาม บรรดาประเทศที่ส่งออกน้ำมัน จ่อจะมีปัญหาเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ หากราคาน้ำมันยิ่งดิ่งลงต่อไป

จากรูปที่ 3 จะเห็นได้ว่าประเทศที่ส่งออกน้ำมันสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคล้ายกับประเทศในยูโร ได้แก่ กลุ่มที่มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งอย่างคูเวตที่มีงบดุลภาครัฐเกินดุลอยู่เกือบ ร้อยละ 25 ของจีดีพี และมีระดับราคาน้ำมันที่จะทำให้สามารถคุ้มทุนในมุมงบประมาณทางการคลังได้ที่ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับนอร์เวย์และอาบู ดาห์บี ที่มีงบดุลภาครัฐเกินดุลอยู่ในระดับที่ไม่ต่างกันนัก และมีระดับราคาน้ำมันที่จะทำให้สามารถคุ้มทุนในมุมงบประมาณทางการคลังได้ที่ ค่อนข้างต่ำ ในทางกลับกัน ประเทศที่มีความอ่อนแอทางพื้นฐานเศรษฐกิจ ได้แก่ บาห์เรน ที่มีอัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีที่สูงขึ้น 2 เท่านับตั้งแต่ปี 2009 และพึ่งพาการส่งออกน้ำมันเป็นรายได้หลักเกือบจะเพียงอย่างเดียว

ที่ย่ำแย่หนักๆ ได้แก่ เวเนซุเอลาที่ต้องการราคาน้ำมันถึง 110 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลถึงจะอยู่ได้ อีกทั้งมีการขาดดุลทางการคลังถึงร้อยละ 5 ต่อจีดีพี และพึ่งพารายได้จากน้ำมันกว่าร้อยละ 40 ของรายได้ประเทศทั้งหมด และมีรายรับของดุลบัญชีเดินสะพัดถึงร้อยละ 95 จากน้ำมัน ซึ่งประเทศเหล่านี้ น่าจะต้องถูกลดอันดับเครดิตในเร็ววัน และจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ในระยะต่อไปครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ราคาน้ำมันโลกดิ่ง ใครได้/เสีย

view