สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

พลิกวิกฤตแบรนด์ดังนานาชาติ ยุคดราม่าระบาดโซเชียล

จากประชาชาติธุรกิจ

คำว่า "ภาวะวิกฤต" อาจไม่คุ้นหูสำหรับคนทั่วไป แต่หากเป็น "ดราม่า" แล้วล่ะก็ เชื่อว่าหลายคนคงเข้าใจได้ในทันทีแน่นอน โดยเฉพาะในช่วงปีที่ผ่านมาซึ่งมีดราม่าต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายทั้งในและนอกประเทศ เช่น กรณีเนื้อเน่าในประเทศจีน หรืออุบัติเหตุเครื่องบินตก ไม่ว่าอย่างไรเหตุการณ์เหล่านั้นย่อมส่งผลเสียกับหลายฝ่ายซึ่งแบรนด์เป็น ฝ่ายที่ได้รับผลกระทบไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

เมื่อรวมกับความรวดเร็วและเปิดกว้างของโซเชียลมีเดียยิ่งทำให้สถานการณ์เลว ร้ายลงเมื่อมีผู้ส่งต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นจนแพร่กระจายออกไปเหมือนไฟลาม ทุ่งจนไม่สามารถควบคุมได้เกิดเป็นกระแสสังคมที่ถาโถมเข้าใส่แบรนด์ในที่สุด

ในเรื่องนี้"ไบรอัน เวส" กรรมการผู้จัดการฝ่ายบริหารภาพลักษณ์ เฟลชแมนฮิลลาร์ด ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ผู้เชี่ยวชาญด้านวางแผนบริหารจัดการในภาวะวิกฤต กล่าวว่า ในการรับมือภาวะวิกฤตนั้นแบรนด์จะต้องเตรียมความพร้อมใน 5 ด้าน คือ ความเร็ว มองล่วงหน้าถึงอุปสรรครวมถึงโอกาสจากอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย เทรนด์พนักงานแนวหน้าให้พร้อมรับมือ รวมถึงลดขั้นตอนการตัดสินใจและการสั่งการในภาวะวิกฤต

อันดับแรก เรื่องความเร็วนั้น เป็นหัวใจของการควบคุมความเสียหายในภาวะวิกฤตไม่ให้กระจายออกไป กรณีตัวอย่างของเรื่องนี้ คือ อุบัติเหตุของสายการบิน เอเชียน่า แอร์ไลน์ ที่เหตุการณ์ที่เกิดถูกรายงานแบบเรียลไทม์ผ่านทางทวิตเตอร์ของผู้โดยสารทั้ง ในสนามบินและบนเครื่องบินเองที่นำสมาร์ทโฟนออกมาถ่ายรูปทันทีที่หนีออกจาก เครื่องบินในทางกลับกันสายการบินเองกลับตอบสนองต่อเหตุการณ์นี้อย่างล่าช้า จนสร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้โดยสารและถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากสาธารณ ชน

ไม่เพียงแค่เอกชนเท่านั้นที่ ได้รับผลกระทบจากโซเชียลมีเดียแม้แต่รัฐบาลเองก็ต้องจับตาและหาทางรับมือ ตัวอย่าง เช่น การชุมนุมในฮ่องกงซึ่งผู้ชุมนุมนัดหมายและสื่อสารกันผ่านแอปแชตเป็นหลัก ซึ่งเป็นช่องทางที่ยากจะถูกแทรกแซงหรือควบคุมโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนซึ่ง ได้ชื่อว่าเข้มงวดกับสื่อถึงขั้นสร้างเครือข่ายโซเชียลมีเดียของตนเองให้ ประชาชนใช้แทนเฟซบุ๊กเนื่องจากผู้ชุมนุมหันไปใช้แอปชื่อไฟล์แชต ที่สามารถสร้างโซเชียลเน็ตเวิร์กของตนเองได้แทน


อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับเหรียญที่มี 2 ด้านเสมอ แบรนด์เองก็สามารถพลิกวิกฤตเป็นโอกาสใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กให้เป็นประโยชน์กับตนในเหตุวิกฤตได้เช่นกัน ตัวอย่าง เช่น กรณีของโดมิโน่พิซซ่าในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2009 เมื่อวิดีโอที่พนักงานร้านโดมิโน่พิซซ่าเล่นพิเรนทร์กับพิซซ่าที่จะเสิร์ฟให้ลูกค้า ถูกเผยแพร่ทางยูทูบและมีคนดูจำนวนมาก ส่งผลให้กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวในเวลาเพียงข้ามคืน

แต่แทนที่จะพยายามปกปิดหรือปฏิเสธความรับผิดชอบ โดมิโน่พิซซ่ากลับเลือกที่จะออกแถลงการณ์ขอโทษ พร้อมทั้งสอบสวนและดำเนินการกับพนักงานในวิดีโออย่างรวดเร็ว ไม่เพียงแค่นั้นโดมิโน่พิซซ่ายังใช้โอกาสนี้ปรับปรุงภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ตกต่ำด้วยการยอมรับปัญหาอื่น ๆ เช่น คุณภาพอาหาร ด้วยวิดีโอโฆษณาบนยูทูบที่ฉายภาพลูกค้าให้ความเห็นว่า พิซซ่าของร้านรสชาติเหมือนลังกระดาษ ก่อนที่จะรวบรวมความคิดเห็นจากผู้บริโภคและนำมาปรับปรุงแบรนด์ จนช่วยให้ยอดขายของโดมิโน่พิซซ่าช่วงปี 2013-2014 เติบโตต่อเนื่อง 8 ไตรมาส ในขณะที่ยอดขายของคู่แข่งอย่างพิซซ่าฮัทลดลง 2%

นอกจากนี้ "ไบรอัน เวส" ยังกล่าวถึงองค์ประกอบภายในของแบรนด์ทั้งพนักงานและการสั่งการขององค์กรในภาวะวิกฤต โดยยกตัวอย่างกรณีของแอปเปิลในจีนที่ตามระเบียบของบริษัทการตัดสินใจต่าง ๆ จะเป็นหน้าที่ของผู้บริหารในสหรัฐ ทำให้การแก้ปัญหาล่าช้าและไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของผู้บริโภคจีน จนสุดท้ายแอปเปิลต้องยอมยกอำนาจการตัดสินใจเบื้องต้นให้กับผู้บริหารในประเทศจีน

"องค์กร หรือแบรนด์จะต้องทำงานแข่งกับเวลาการสื่อสารในยุคโซเชียลมีเดียจำต้องลดสาย การบังคับบัญชาลงผู้บังคับบัญชาในสายปฏิบัติการหรือในพื้นที่นั้น ๆ ต้องสามารถรับมือจัดการกับภาวะวิกฤตได้ รวมทั้งมีความสามารถในการสื่อสาร และควรเป็นบุคลากรที่อยู่ใกล้กับข้อเท็จจริงมากที่สุด ที่สำคัญต้องมีการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์การจัดการในภาวะวิกฤตที่พร้อมรับมือ กับอุปสรรคและโอกาสที่เกิดขึ้นในยุคโซเชียลมีเดียทุกวันนี้"


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน,สำนักงานบัญชี พี.เอ็ม.เอส.

Tags : พลิกวิกฤต แบรนด์ดัง นานาชาติ ยุคดราม่า ระบาดโซเชียล

view