สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ไทยจะอยู่กับสงครามค่าเงินนี้อย่างไร

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ฐิตารีย์ ลิขิตธนธรรม



ผ่านพ้นเทศกาลปีใหม่ 2558 มาได้เพียงครึ่งเดือน สงครามค่าเงินก็เริ่มส่งสัญญาณชัดเจนขึ้น

เมื่อวันที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมาธนาคารกลางของสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) ประกาศยกเลิกการกำหนดกรอบล่างของค่าเงินฟรังก์สวิสที่ระดับไม่ต่ำกว่า 1.2 ฟรังก์ต่อยูโร หมายความว่าหลังจากนี้SNBจะยอมให้ค่าเงินแข็งค่าได้อย่างเสรีโดยไม่เข้าไปแทรกแซงค่าเงินให้อยู่ในกรอบล่างแบบเดิมอีกต่อไป

ด้วยความที่ระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ ท่ามกลางเพื่อนบ้านชาวยุโรปที่กำลังเกิดวิกฤติ ที่อยู่ ทำให้สินทรัพย์สกุลเงินฟรังก์สวิสแลดูปลอดภัยหรือที่เรียกว่า SAFE-HAVEN นั่นเอง แต่เมื่อเห็นแนวโน้มแล้วว่าหากธนาคารกลางยุโรป (ECB) ดำเนินนโยบายผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณหรือคิวอีในสัปดาห์นี้ การคงกรอบล่างค่าเงินอาไว้อาจทำให้ธนาคารกลางสวิสต้องมีภาระในการแทรกแซงค่าเงินอีกมากมามหาศาล โดยเฉพาะทุนสำรองของสวิสจำนวนมากที่อยู่ในรูปของสกุลเงินยูโร

และในขณะเดียวกันนี้เองสวิสยังได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากให้ต่ำลงไปอีกจากเดิม -0.25% เป็น -0.75% เพื่อลดแรงจูงใจที่เงินจะไหลเข้า ซึ่งจะช่วยชะลอไม่ให้เงินฟรังก์สวิสแข็งค่าอย่างรวดเร็วหลังลอยตัวค่าเงิน

มาตรการของธนาคารกลางสวิส สร้างความตื่นตระหนกให้ตลาดในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ และสร้างความกังวลให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องจับตาสถานการณ์ในตลาดเงินนับจากนี้

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินของสวิส จะมีผลกระทบต่อตลาดเงินในภูมิภาคไม่มาก เนื่องจากเงินฟรังก์ไม่ใช่เงินสกุลหลักของโลกเหมือนดอลลาร์ ยูโร หรือเยน แต่ก็เป็นปฏิกิริยาหนึ่งที่ตอบรับกับสถานการณ์ความเป็นไปในตลาดเงินของโลกที่เชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด ซึ่งการดำเนินนโยบายการเงินของแต่ละประเทศเพื่อตั้งรับผลกระทบจากการดำเนินมาตรการทางการเงินของประเทศยักษ์ใหญ่ ทั้งสหรัฐ ยุโรป หรือญี่ปุ่น ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยที่พร้อมจะสร้างความผันผวนให้ตลาดเงินในปีนี้ และการปรับตัวดังกล่าวอาจนำไปสู่สงครามค่าเงินขึ้นได้ในที่สุด หากมีธนาคารกลางอีกหลายประเทศต้องปรับตัวตาม

นอกจากการดำเนินนโยบายทางการเงินของแต่ละประเทศแล้ว ในปี 2558 นี้ในปีนี้หลายสำนักได้ประเมินภาพทิศทางตลาดเงินไว้แล้วว่าจะเป็นปีแห่งความผันผวนแน่นอน จากการคาดการณ์ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดที่จะมีขึ้นในช่วงกลางปีนี้ไปถึงต้นปี 2559 ซึ่งความผันผวนรูปแบบนี้เราเคยเห็นกันมาแล้วในช่วงเดือนเมษายน 2556 ที่ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่ามาถึงระดับ 28.54 บาทต่อดอลลาร์จากต้นปี 2556 ที่อยู่ที่ราว 30.50 บาทต่อดอลลาร์ หรือเป็นการแข็งค่าที่สุดในรอบ 17 ปีเลยทีเดียว เพราะมีการระบุว่าเฟดจะยุติมาตรการคิวอีเร็วกว่ากำหนด

ดังนั้นระหว่างทางนับจากนี้ถือเป็นเส้นทางที่ต้องจับตา เพราะผลของการคาดการณ์เหล่านั้นจะเป็นตัวชี้นำการเคลื่อนย้ายเงินทุน และกดดันความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในระยะต่อไป

ท่ามกลางความผันผวนที่จะเกิดขึ้นนี้ ขณะเดียวกันยังเป็นความท้าทายของผู้ดำเนินนโยบายการเงิน ที่จะต้องดูแลเสถียรภาพในระบบการเงิน ท่ามกลางความผันผวนของโลก และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศควบคู่กัน ขณะที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมรับมือและทำความเข้าใจในสถานการณ์ให้มาก เพื่อที่ว่าประเทศไทยจะไม่กลายเป็นผู้จุดชนวนหรือเดินเข้าสู่สงครามค่าเงินนี้เสียเอง


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ไทย อยู่กับสงครามค่าเงิน อย่างไร

view