สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อุษาคเนย์ใต้อิทธิพล พญามังกร คอลัมน์ASEAN SECRET

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ ASEAN SECRET โดย ดุลยภาค ปรีชารัชช อาจารย์สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ภาพการคืบคลานของพญามังกรเพื่อตีตวัดโอบรัดเอเชียอาคเนย์ ถือเป็นฉากทัศน์ที่สะท้อนถึงการโบกสะบัดอำนาจของจีนเหนือดินแดนอาเซียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีทั้งแรงหนุนและแรงต้านที่แตกต่างกันไป

นโยบายต่างประเทศของจีนต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อาจจำแนกได้เป็น4ลักษณะใหญ่ ได้แก่ 1.การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เช่น การให้เงินกู้หรือการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Area-ACFTA) 2.การดำเนินกิจการระหว่างประเทศแบบพหุภาคีนิยม (Multilateralism) ผ่านการประชุมวงภูมิภาคหลากหลายแขนง โดยอาศัยกลไกทั้งภาครัฐและเอกชน

3.การแสดงจุดยืนทางการทหารอย่างสร้างสรรค์
ซึ่งแม้จะมีความขัดแย้งในเรื่องชาตินิยมและเขตแดนทางแถบทะเลจีนใต้ แต่จีนก็มีแนวปฏิบัติเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่งทางความมั่นคงในบางประเด็น และ 4.การแผ่อิทธิพลผ่านการใช้อำนาจแบบอ่อนละมุน (Soft Power) เช่น ความร่วมมือทางการศึกษา



แม้จีนจะพยายามสถาปนาความสัมพันธ์กับรัฐอาเซียนอย่างระแวดระวัง หากแต่การรุกลงใต้อย่างรวดเร็วของพลังมังกร กลับสร้างความกังวลใจให้กับรัฐและสังคมเอเชียอาคเนย์อยู่มิใช่น้อย

ในทางภูมิรัฐศาสตร์ จีนได้วางหมุดรถไฟและทางรถยนต์ที่แตกแขนงทะลุลง 5 รัฐอินโดจีน ครอบคลุมทั้งเมียนมาร์ ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา โดยมีเมียนมาร์เป็นตัวเชื่อมสู่เอเชียใต้-อ่าวเบงกอล และมีไทยเป็นตัวหนุนสู่คาบสมุทรมลายู ซึ่งแม้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะลงนามในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกับทางการจีน แต่ทางรัฐบาลลาวหรือรัฐบาลเมียนมาร์กลับชะลอการเนรมิตเส้นทางในหลายจุด ด้วยเกรงว่าทุนและประชากรจีนจำนวนมหาศาล จะถาโถมเข้าใส่เขตอธิปไตยจนยากที่จะควบคุม

ขณะที่นักยุทธศาสตร์สหรัฐ ต่างพยายามเร่งชูทฤษฎีสร้อยไข่มุกจีน (String of Pearls) เพื่อวาดภาพการเชื่อมสายโลจิสติกส์เข้ากับท่าเรือชายทะเลเอเชียของจีน จนทำให้เมืองท่าหลายแห่งในอาเซียนกลายเป็นสร้อยยุทธศาสตร์ที่ตีตวัดโอบหนุนให้พญามังกรสถาปนาวงอิทธิพลได้อย่างมั่นคง

ใน ทางวัฒนธรรมเป็นที่ทราบกันดีว่าชาวจีนโพ้นทะเลหลายกลุ่มได้กลายเป็นกลไกขับ เคลื่อนหลักทางเศรษฐกิจหรือถูกผสมผสานจนกลายเป็นชนพื้นเมืองอาเซียนแต่กระแส ต่อต้านหรือหวาดระแวงชาวจีนเองก็มักจะปะทุขึ้นอย่างสม่ำเสมอเช่น การกวาดล้างชุมชนจีนครั้งใหญ่ในอินโดนีเซียยุคสงครามเย็น การถล่มชุมชนจีนของชาวเวียดนามอันเป็นผลจากข้อพิพาทเหนือหมู่เกาะสแปรตลี รวมถึงสภาวะหวาดระแวงของคนลาวต่อชาวจีนอพยพที่เริ่มเข้ามามีอิทธิพลทาง วัฒนธรรมแถบกรุงเวียงจันทน์และแขวงชายแดนภาคเหนือ

สำหรับมิติเศรษฐกิจ จีนมักมองอาเซียนในฐานะนิคมโพ้นทะเล ด้วยเชื่อว่าตลาดที่มีประชากรราว 600 ล้านคน ซึ่งเต็มไปด้วยแหล่งทรัพยากร กำลังซื้อและปัจจัยการผลิตอันหลากหลาย จะทำให้ทุนจีนสามารถรุกลงใต้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการหลอมรวมระเบียงบก ภายใต้กรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion) ให้ประสานติดกับแนวระเบียงทะเล ภายใต้กรอบร่วมมือเศรษฐกิจรอบอ่าวเปยปู้ (Pan-Beibu Gulf Economic Cooperation-PBG)

แต่ถึงอย่างนั้น การไหลบ่าของสินค้าราคาถูกจากจีนที่มาพร้อมกับกลยุทธ์การทุ่มตลาดผ่านเขตการค้าเสรี รวมถึงข้อขัดแย้งเรื่องส่วนแบ่งทางธุรกิจระหว่างกลุ่มนายทุนจีนกับรัฐรวมถึงเอกชนอาเซียน ก็นับเป็นจุดท้าทายที่ทำให้การค้าอาเซียน-จีนมีอาการสะดุดหรือถูกฉุดกระชากอยู่เป็นระยะ

อา เซียนใต้เงาพญามังกรคงเป็นเหตุการณ์ภูมิภาคนิยมที่โดดเด่นในยุคเออีซีซึ่ง แม้อาเซียนจะมีชุดนโยบายต่อจีนที่เป็นแบบแผนเดียวกันในกรอบใหญ่โดยเฉพาะการ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ทว่าความหวาดระแวงในทางภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจและวัฒนธรรม กลับเป็นปัจจัยแทรกซ้อนที่สะบั้นให้รัฐเอเชียอาคเนย์มีนโยบายต่อจีนที่แตก ต่างกันออกไป


อาทิ รัฐที่เริ่มโน้มเอียงมาทางจีนมากขึ้นอย่างไทยและกัมพูชา รัฐที่เริ่มถอยห่างจากจีนอย่างลาวและเมียนมาร์ รัฐที่ร่วมมือและขัดแย้งกับจีนระคนปนเปกันไปอย่างเวียดนาม หรือรัฐที่รักษาระยะห่างทางการทูตกับจีนมาเนิ่นนานอย่างฟิลิปปินส์

ขณะเดียวกัน รัฐและสังคมจีนเอง ต่างก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับความคลุมเครือเชิงนโยบายที่มีต่อชาติอาเซียนเช่นกัน โดยเฉพาะลัทธิชาตินิยมจีนอันยิ่งใหญ่ที่มักจะเคลื่อนตัวมาพร้อมกับหลักพหุนิยมทางการทูต จนทำให้จีนมักมีนโยบายต่ออาเซียนในลักษณะก้าวร้าวปนรอมชอม ซึ่งทำให้ "มังกรระเริง" กับ "มังกรกำสรวล" กลายเป็นภาพทวิภาวะที่ทำให้อิทธิพลจีนในอาเซียนยังคงเต็มไปด้วยแร
งหนุนและแรงต้านอันซับซ้อน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : อุษาคเนย์ ใต้อิทธิพล พญามังกร ASEAN SECRET

view