สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิด!หลักเกณฑ์-วิธีลงทัณฑ์เด็กและเยาวชน(ฉบับใหม่)

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เปิด!กฎกระทรวงยุติธรรม กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการลงทัณฑ์แก่เด็กและเยาวชน พ.ศ.2558 ประกาศ13ม.ค.ที่ผ่านมา

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ (21ม.ค.) กฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการลงทัณฑ์แก่เด็กและเยาวชนพ.ศ. ๒๕๕๘อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๗ วรรคสอง และมาตรา ๔๑ (๓) แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ การลงทัณฑ์แก่เด็กและเยาวชนจะกระทําได้ต่อเมื่อได้มีการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วปรากฏเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(๑) เด็กหรือเยาวชนยอมรับว่าตนละเมิดกฎหมาย ประพฤติชั่ว หรือกระทําผิดวินัย

(๒) มีหลักฐานชัดแจ้งว่าเด็กหรือเยาวชนละเมิดกฎหมาย ประพฤติชั่ว หรือกระทําผิดวินัยจริงโดยให้เด็กหรือเยาวชนได้มีโอกาสโต้แย้งคัดค้านแล้ว

ข้อ ๒ ในการพิจารณาลงทัณฑ์แก่เด็กและเยาวชน ให้ผู้อํานวยการสถานพินิจคํานึงถึงหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(๑) สวัสดิภาพและอนาคตของเด็กและเยาวชนยิ่งกว่าการลงทัณฑ์

(๒) ประโยชน์ในการแก้ไขบําบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน

(๓) บุคลิกลักษณะ สุขภาพ และภาวะแห่งจิตของเด็กและเยาวชนซึ่งแตกต่างกันการพิจารณาลงทัณฑ์ต้องให้เหมาะสมกับเด็กหรือเยาวชนและพฤติการณ์เฉพาะเรื่องแม้ว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นจะละเมิดกฎหมาย ประพฤติชั่ว หรือกระทําผิดวินัยร่วมกัน

ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้อํานวยการสถานพินิจได้พิจารณาหลักเกณฑ์ในข้อ ๒ แล้วเห็นว่าเด็กหรือเยาวชนคนใดยังไม่สมควรได้รับการลงทัณฑ์ จะสั่งให้ภาคทัณฑ์ไว้ก่อนก็ได้การภาคทัณฑ์นั้นพึงกระทําเมื่อ(๑) เด็กหรือเยาวชนละเมิดกฎหมาย ประพฤติชั่ว หรือกระทําผิดวินัย ในกรณีไม่ร้ายแรงเช่น ใช้กิริยาวาจาไม่สุภาพ ไม่ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายหรือเครื่องนุ่งห่ม ประพฤติตนไม่เรียบร้อย ไม่สนใจการเรียนหรือการเข้าร่วมกิจกรรม หรือฝ่าฝืนระเบียบห้องเรียน ห้องกิจกรรม หรือหอนอน(๒) เด็กหรือเยาวชนได้สํานึกในความผิดที่ได้กระทําไปแล้ว

ข้อ ๔ ในการพิจารณาลงทัณฑ์แก่เด็กหรือเยาวชนซึ่งละเมิดกฎหมาย ประพฤติชั่วหรือกระทําผิดวินัย ในกรณีไม่ร้ายแรงและไม่สํานึกในความผิดตามข้อ ๓ (๑) และ (๒) หรือในกรณีร้ายแรงเช่น จงใจทําร้ายผู้อื่น ลักทรัพย์ หรือทําลายทรัพย์สินของทางราชการหรือของผู้อื่น ลักลอบนําสิ่งของต้องห้ามเข้าในสถานควบคุม บังคับการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กหรือเยาวชนอื่น ก่อความไม่สงบในสถานควบคุมหรือพยายามหลบหนีจากสถานควบคุม เมื่อผลการสอบสวนปรากฏว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นกระทําผิดผู้อํานวยการสถานพินิจอาจดําเนินการแก่เด็กหรือเยาวชนอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้

(๑) เข้าแผนฟื้นฟูพิเศษเพื่อปรับพฤติกรรม

(๒) ตัดสิทธิประโยชน์และความสะดวกที่สถานพินิจอํานวยให้บางประการกรณีการลงทัณฑ์ตาม (๑) หรือ (๒) ไม่สําเร็จตามแผนหรือไม่มีความก้าวหน้า ให้ปรับเปลี่ยนการลงทัณฑ์ให้เหมาะสมกับเด็กหรือเยาวชนรายนั้น

ข้อ ๕ การจัดทําแผนฟื้นฟูพิเศษเพื่อปรับพฤติกรรมตามข้อ ๔ (๑) ต้องได้รับการประเมินสภาพปัญหาจากคณะกรรมการนักวิชาชีพซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยผู้อํานวยการสถานพินิจและเสนอความเห็นเพื่อให้ผู้อํานวยการสถานพินิจพิจารณาเห็นชอบ แผนต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้

(๑) มีวิธีการและกําหนดระยะเวลาตามแผนที่ชัดเจน

(๒) ต้องสอดคล้องกับปัจจัยที่เป็นปัญหาพฤติกรรมในการกระทําความผิด

(๓) ไม่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

(๔) ไม่ขัดกับพัฒนาการตามวัยของเด็กหรือเยาวชน

(๕) ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยหากมีความจําเป็นต้องให้ผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทําแผนหรือการปรับพฤติกรรมตามแผนให้แจ้งผู้ปกครองเพื่อเข้าร่วมในการดังกล่าว

ข้อ ๖ การตัดสิทธิประโยชน์และความสะดวกที่สถานพินิจอํานวยให้บางประการตามข้อ ๔ (๒)เช่น ดูหนังฟังเพลง ให้ใช้โทรศัพท์ ออกไปร่วมกิจกรรมภายนอก ให้ผู้อํานวยการสถานพินิจหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายพิจารณา โดยคํานึงถึงหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

(๑) กําหนดสิทธิประโยชน์และระยะเวลาที่ตัดสิทธิประโยชน์ให้ชัดเจน แต่ต้องไม่เกินสองสัปดาห์

(๒) ไม่ขัดกับสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่เด็กหรือเยาวชนต้องได้รับบริการจากรัฐ

ข้อ ๗ ให้ผู้อํานวยการสถานพินิจหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายแจ้งให้เด็กหรือเยาวชนทราบถึงเหตุผลที่ทําให้ถูกลงทัณฑ์ก่อนที่จะลงทัณฑ์

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘

พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๑ (๓) แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ กําหนดให้การลงทัณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๔๒ แก่เด็กและเยาวชนที่ละเมิดกฎหมาย ประพฤติชั่ว หรือกระทําผิดวินัยในระหว่างที่อยู่ในความควบคุมของสถานพินิจ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวงจึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เปิด!หลักเกณฑ์-วิธีลงทัณฑ์เด็กและเยาวชน(ฉบับใหม่)

view