สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คลังแจง คนไทยไม่ได้ติดอันดับเสียภาษีสูงสุดในโลก เพราะ

คลังแจง คนไทยไม่ได้ติดอันดับเสียภาษีสูงสุดในโลก เพราะ

จากประชาชาติธุรกิจ

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงว่าตามที่ได้ปรากฏในสื่อต่าง ๆ ทำนองว่า ประชาชนไทยติดอันดับเสียภาษีสูงที่สุดในอาเซียน ติดอันดับที่ 7 ของโลกนั้น

กระทรวงการคลังขอชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง โดยจุดเริ่มต้นของข้อมูลซึ่งมาจากสถิติที่รวบรวมโดยธนาคารโลกนั้น มิใช่ข้อมูลภาระภาษีของภาครัฐทั้งหมด แต่เป็นข้อมูลเฉพาะของ "รัฐบาลกลาง" เท่านั้น

(http://data.worldbank.org/indicator/GC.TAX.TOTL.GD.ZS)

ซึ่งในประเทศที่มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ (Federal) และ/หรือ มีการกระจายอำนาจทางการคลังในระดับที่สูง (เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น) รัฐบาลกลางจะจัดเก็บรายได้ภาษีคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับรายได้ภาษีของภาครัฐทั้งหมด ในขณะที่รายได้ภาษีจำนวนมากมาจากรัฐบาลในระดับมลรัฐ (State) หรือรัฐบาลท้องถิ่น โดยในกรณีของประเทศไทย รายได้ภาษีส่วนใหญ่เป็นรายได้ที่จัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง ในขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดเก็บรายได้ภาษีในสัดส่วนที่น้อยมาก ดังนั้น สัดส่วนของรายได้รัฐบาลกลางต่อ GDP (ที่ประมาณร้อยละ 16) จึงมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

การที่สื่อนำข้อมูลจากธนาคารโลกดังกล่าวมารวบรวมและนำเสนอ จึงเป็นการตีความที่คลาดเคลื่อน

จากข้อเท็จจริง ตัวอย่างเช่น หากพิจารณาข้อมูลรายได้ภาษีและมิใช่ภาษี ซึ่งรวมภาครัฐทั้งหมด (รวมทั้งรัฐบาลกลาง รัฐบาลมลรัฐ และรัฐบาลท้องถิ่น) ซึ่งรวบรวมโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) จะพบว่า ในปี พ.ศ. 2556 นั้น สัดส่วนของรายได้ภาครัฐของไทยอยู่ที่ร้อยละ 20.6 ของ GDP ซึ่งถือว่า ต่ำมาก โดยค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD อยู่ที่ร้อยละ 40.1 และค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศอาเซียนอยู่ที่ร้อยละ 24.5 ทั้งนี้ หากเรียงลำดับจากประเทศที่มีสัดส่วนดังกล่าวจากสูงไปหาต่ำแล้ว จะพบว่า ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 153 จาก 180 ประเทศทั่วโลก และอยู่ในลำดับที่ 5 ของกลุ่มประเทศอาเซียน


แผนภูมิแสดงสัดส่วนของรายได้รวมภาครัฐ* ต่อ GDP ของกลุ่มประเทศในอาเซียนและค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD



นอกจากนี้ หากพิจารณาจาก “Paying Taxes” ซึ่งเป็นผลการศึกษาส่วนหนึ่งที่รวมอยู่ในผลการศึกษา “Doing Business by World Bank” โดย Paying Taxes เป็นการศึกษาซึ่ง PwC ร่วมกับ World Bank ทำการสำรวจเพื่อให้ทราบถึงความยากง่ายในกระบวนการชำระภาษี รวมถึงการจัดอันดับความยากง่ายในกระบวนการชำระภาษีของ 189 ประเทศทั่วโลก จะพบว่า ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอันดับที่ 100 ของโลกในปี พ.ศ. 2555 มาเป็นอันดับที่ 62 ของโลกในปี พ.ศ. 2558



แผนภูมิแสดงอันดับของ Paying Taxes



นอกจากนี้ ข้อมูลจาก Paying Taxes ยังได้ชี้ว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มของอัตราภาษีโดยรวม (Total Tax Rate) ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราภาษีโดยรวมซึ่งเคยอยู่ในอัตราประมาณร้อยละ 38 เมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 26.9 ในปี พ.ศ. 2558 เท่านั้น ซึ่งสะท้อนว่า ประชาชนไทยรับภาระในการเสียภาษีในอัตราลดลงมาโดยตลอด



แผนภูมิแสดงอัตราภาษีโดยรวมของประเทศไทย



คลังปัดไทยติดอันดับจ่ายภาษีสูงสุดในโลก
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"กฤษฎา" ยืนยัน คนไทยไม่ได้ติดอันดับจ่ายภาษีสูงสุดในโลก ระบุ ประชาชนเสียภาษีในอัตราลดลงมาโดยตลอด

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงว่า ตามที่ได้ปรากฏในสื่อต่างๆ ทำนองว่า ประชาชนไทยติดอันดับเสียภาษีสูงที่สุดในอาเซียน ติดอันดับที่ 7 ของโลก นั้น กระทรวงการคลังขอชี้แจงว่า เรื่องดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง โดยจุดเริ่มต้นของข้อมูลซึ่งมาจากสถิติที่รวบรวมโดยธนาคารโลกนั้น มิใช่ข้อมูลภาระภาษีของภาครัฐทั้งหมด แต่เป็นข้อมูลเฉพาะของ “รัฐบาลกลาง” เท่านั้น (http://data.worldbank.org/indicator/GC.TAX.TOTL.GD.ZS) ซึ่งในประเทศที่มีรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐ (Federal) และ/หรือ มีการกระจายอำนาจทางการคลังในระดับที่สูง (เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น) รัฐบาลกลางจะจัดเก็บรายได้ภาษีคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับรายได้ภาษีของภาครัฐทั้งหมด ในขณะที่รายได้ภาษีจำนวนมากมาจากรัฐบาลในระดับมลรัฐ (State) หรือรัฐบาลท้องถิ่น

โดยในกรณีของประเทศไทย รายได้ภาษีส่วนใหญ่เป็นรายได้ที่จัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง ในขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดเก็บรายได้ภาษีในสัดส่วนที่น้อยมาก ดังนั้น สัดส่วนของรายได้รัฐบาลกลางต่อ GDP (ที่ประมาณร้อยละ 16) จึงมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

การที่สื่อนำข้อมูลจากธนาคารโลกดังกล่าวมารวบรวมและนำเสนอ จึงเป็นการตีความที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง ตัวอย่างเช่น หากพิจารณาข้อมูลรายได้ภาษีและมิใช่ภาษี ซึ่งรวมภาครัฐทั้งหมด (รวมทั้งรัฐบาลกลาง รัฐบาลมลรัฐ และรัฐบาลท้องถิ่น) ซึ่งรวบรวมโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) จะพบว่า ในปี พ.ศ. 2556 นั้น สัดส่วนของรายได้ภาครัฐของไทยอยู่ที่ร้อยละ 20.6 ของ GDP ซึ่งถือว่า ต่ำมาก โดยค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD อยู่ที่ร้อยละ 40.1 และค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศอาเซียนอยู่ที่ร้อยละ 24.5 ทั้งนี้ หากเรียงลำดับจากประเทศที่มีสัดส่วนดังกล่าวจากสูงไปหาต่ำแล้ว จะพบว่า ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 153 จาก 180 ประเทศทั่วโลก และอยู่ในลำดับที่ 5 ของกลุ่มประเทศอาเซียน

นอกจากนี้ หากพิจารณาจาก “Paying Taxes” ซึ่งเป็นผลการศึกษาส่วนหนึ่งที่รวมอยู่ในผลการศึกษา “Doing Business by World Bank” โดย Paying Taxes เป็นการศึกษาซึ่ง PwC ร่วมกับ World Bank ทำการสำรวจเพื่อให้ทราบถึงความยากง่ายในกระบวนการชำระภาษี รวมถึงการจัดอันดับความยากง่ายในกระบวนการชำระภาษีของ 189 ประเทศทั่วโลก จะพบว่า ประเทศไทยมีอันดับดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอันดับที่ 100 ของโลกในปี พ.ศ. 2555 มาเป็นอันดับที่ 62 ของโลกในปี พ.ศ. 2558

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Paying Taxes ยังได้ชี้ว่า ประเทศไทยมีแนวโน้มของอัตราภาษีโดยรวม (Total Tax Rate) ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราภาษีโดยรวมซึ่งเคยอยู่ในอัตราประมาณร้อยละ 38 เมื่อปี พ.ศ. 2552 ได้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 26.9 ในปี พ.ศ. 2558 เท่านั้น ซึ่งสะท้อนว่า ประชาชนไทยรับภาระในการเสียภาษีในอัตราลดลงมาโดยตลอด


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : คลังแจง คนไทย ไม่ได้ติดอันดับ เสียภาษีสูงสุดในโลก

view