สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ดอกเบี้ย ค่าเงิน เศรษฐกิจ ทำให้ดีไม่ติดขัด

ดอกเบี้ย ค่าเงิน เศรษฐกิจ ทำให้ดีไม่ติดขัด
โดย : ทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์




สวัสดีครับ เวลาของปีนี้ผ่านไปไม่นานเดือนมีนาคมใกล้จะหมดเดือนแล้ว

แต่ปัจจัย หลาย ๆ ปัจจัยนั้นเกิดขึ้นกับเรารวดเร็วในปีนี้นั้นมีด้วยกันหลาย ๆ ด้าน ซึ่งหากเรา มองปัจจัยที่กระทบกันกับเรานั้นจะมองเป็นเรื่องไม่ดี หรือเรื่องท้าทายก็ถือว่าไม่ทั้ง หมดโดยตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาการอ่อนค่าลงของค่าเงินต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับเงิน ดอลลาร์นั้นมีด้วยกันหลายสกุล ไม่ว่าจะเป็นเงินยูโร เงินเยนญี่ปุ่น เงินปอนด์ ซึ่งการ อ่อนค่าเงินของเงินเหล่านี้เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์จะอ่อนค่าลงระหว่าง 10 – 30% ในระยะเวลา 1 ปี ซี่งเงินสกุลหลัก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับเงินบาทก็จะอ่อนค่าลงด้วยเช่นกัน


ในส่วนดอกเบี้ยนั้นการปรับเปลี่ยนลดลงของอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ผ่านมานั้นก็เป็น การส่งสัญญาณการรับมือความท้าทายของเศรษฐกิจที่มีการปรับตัวกับการค้าขายที่มี ยอดในการค้าขายลดลงในปัจจุบัน กอรปกับการลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มี การปรับตัวลดลงทำให้ปัญญาเรื่องเงินเฟ้อนั้นไม่ได้เป็นข้อกังวลแต่กลัวเรื่องเงินภาวะ เงินฝืดมากกว่า

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ปัจจัยที่ผ่านมานั้นถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เราเลี่ยง ไม่ได้ แต่ในทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ก็มีด้วยกันสองด้าน คือการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยที่อยู่ในประเทศ และอีกด้านคือการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่เกิดจากนอกประเทศ

ในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ผ่านมานั้นเป็นปัจจัยที่เกิดในประเทศ และโดยที่ การเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้เกิดการลดภาระของการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบ การโดยตรง คือ การลดดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายในการดำเนินการทางธุรกิจ ซึ่งผลทาง ตรงคือต้นทุนทางการทำธุรกิจลดลง พอต้นทุนในการทำธุรกิจลดลงแล้วก็ทำให้การ แข่งขันกับคู่แข่งในต่างประเทศมีความสามารถในการแข่งขันได้มากขึ้น นอกจากนี้ การลดดอกเบี้ยของเงินบาทลง ก็จะเป็นผลให้ความน่าสนใจในการถือสินทรัพย์สกุล เงินบาทมีความน่าสนใจน้อยลง และทำให้ผลข้างเคียงคือ การอ่อนค่าลงของเงินบาท ต่อเงินสกุลดอลลาร์ (มีการขายสินทรัพย์เงินบาทเพื่อแลกสินทรัพย์สกุลอื่นที่ให้ผลตอบ แทนที่ดีกว่า)

ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดลงมีผลดีกับผู้ประกอบการที่มีต้นทุนที่ลดลง แต่ในขณะที่อีกด้านคือ บุคคลทั่วไป หรือคนอื่น ๆ ที่ต้องดำเนินชีวิต หรือดำเนินกิจ การจากผลตอบแทนที่ได้รับจากการฝาก การลงทุน ซึ่งการลดดอกเบี้ยลงนั้น ผลคือ ดอกผลที่จะได้รับของบุคคล องค์กร ใด ๆ ก็ตามก็จะมีผลตอบแทนที่ลดลงจากผลของ การปรับลดดอกเบี้ยดังกล่าว

หากผมเอาทั้ง 2 กรณีมาดูด้วยกันนั้น การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยในประเทศนั้น ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นนั้นจะมีผลทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านที่บวก และด้านที่ลบ ซึ่งหากเรา ดูกรณีนี้นั้น ด้านบวกคือ ผู้ประกอบการที่กู้เงิน ด้านลบ คือด้านคนฝากเงิน หรือต้อง อาศัยดอกผลในการดำเนินชีวิตที่จะได้ดอกผลน้อยลง แต่หากเราเอาดอกเบี้ยมามองแค่เพียง 2 ด้านก็จะเป็น อย่างที่เราเห็น แต่อีกด้านหนึ่งที่ผมอยากให้เราพิจารณาดู คือ เรื่องของ ระยะเวลาและแนวทางในการบริหารรายได้ หรือรายจ่ายที่จะมีผลเพิ่มขึ้นหรือลดลง จากปัจจัยดอกเบี้ยนี้

ในเรื่องดอกเบี้ยน้ัน มีคนเกี่ยวข้องหลัก ๆ 2 คน คือ คนกู้ กับคนฝาก

คนกู้ ต้องหาทางกู้ให้ถูกและเพียงพอต่อความต้องการ
คนฝาก ต้องการฝากให้ได้ดอกผลสูง และเพียงพอต่อความต้องการในการใช้ใน อนาคตในระยะเวลาที่ต้องการ

ซึ่งทั้งสองคนนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาและทำเพิ่มเติมนั้นคือการนำเอาระยะเวลา และการกำหนดแผนมาใช้ในการกำหนดการกระทำใด ๆ ที่ต้องทำด้วย

จากตัวอย่างเบื้องต้น การลดดอกเบี้ยนั้นเพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้การ ลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งผู้ได้รับผลกระทบคือคนฝากเงินจะได้ดอกเบี้ยที่ลดลด

สิ่งที่ผู้ฝากเงินต้องพิจารณาต่อคือ มีทางเลือกในการฝากหรือลงทุนอย่างไรบ้าง ซึ่งการ ฝากหรือการลงทุนในปัจจุบันนั้น ทางเลือกที่มีที่สำคัญอีกด้านคือเรื่องของเวลาในการ ฝากหรือลงทุน การเลือกการฝากออมทรัพย์ ฝากประจำ 3 6 12 เดือนหรือมากกว่า การซื้อพันธบัตรรัฐบาล การซื้อหุ้นกู้เอกชนเองก็ตาม ทางเลือกเหล่านี้ผู้ฝาก หรือผู้ลง ทุนจำเป็นต้นนำเอามาพิจารณาและกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ด้วยเช่นกัน

การกำหนดกติกาการลงทุน หรือที่ผมเรียกกว่านโยบายการลงทุนเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งกติกาการลงทุนจะเป็นสิ่งที่ทำเพื่อให้เกิดผลที่ต้องการ อาทิ ถ้าผมเป็นผู้ฝากที่ต้อง การมีผลตอบแทนเพื่อใช้จ่ายในแต่ละเดือนจำนวนหนึ่ง จากเงินต้นที่ได้สะสมไว้ แทนที่จะฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ทั้งหมด ผมต้องเลือกการฝากที่มีระยะเวลาหลาย ๆ ระยะเวลา เช่นฝากระยะสั้นบางส่วน ระยะกลาง (2-3 ปี) บางส่วน ระยะยาว (5 ปี) บางส่วน และทำให้ผลตอบแทนการลงทุนเป็นการเฉลี่ยรวมที่ทำให้ยังได้ดอกผลที่ต้อง การ ซึ่งถึงแม้การลดดอกเบี้ยนโยบาลลง แต่ไม่ได้หมายถึงทางเลือกในการลงทุนมีแต่ การฝากออมทรัพย์เพียงอย่างเดียว

ถ้าเราต้องการผลตอบแทนอย่างน้อย 3 หรือ 4% เราต้องมีการกำหนดสัดส่วนการ ฝาก และการออมในแต่ละช่วงเวลาให้ชัดเจน และเพื่อไม่ให้เราได้รับผลกระทบ หากมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น สิ่งเดียวที่เราต้องสละไปคือ หากมีการ ปรับดอกเบี้ยระยะสั้นขึ้นไปเราอาจจะไม่ได้รับดอกผลมากตามไปอย่างรวดเร็ว แต่เราไม่ต้องกลัวความผันผวนที่จะมีได้

โดยสรุปนั้น ทั้งดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การทำให้เราไม่ได้รับผลกระทบมากเกินไปนั้นจะเป็นผลจากการกำหนดแนวทาง หรือนโยบายในการดำเนินการ หรือจัดการเป็นสำคัญ ซึ่งสิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือ ต้องรู้สภาพว่าเราต้องการอะไร ต้องการดอกผลเยอะ ต้องการจ่ายดอกต่ำ ต้องการสภาพคล่องมากหรือน้อย หรือต้องการค้าขายกับใคร

การรู้สภาพทำให้เกิดการกำหนดนโยบายหรือกรอบการดำเนินการ ซึ่งนโยบายหรือ กรอบการดำเนินการทำให้ความเสี่ยงลดน้อยลง หรือมีการจัดการได้ดีขึ้น ถ้าเราเป็นผู้ ส่งออก เงินบาทปัจจุบันอ่อนค่าลง ผลคือสามารถสู้ราคาได้ดีขึ้น แต่ถ้าเทียบกับยุโรป และญี่ปุ่น ของเรายังแพงอยู่ ในขณะที่ในอเมริกาสถานการณ์ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ไม่ได้เกิด เฉพาะเงินบาทเท่านั้น แต่เกิดกับเงินดอลลาร์เป็นหลัก

ค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร และเงินเยน ทำให้สินค้าและเครื่องจักรที่ผลิต ในยุโรปและยี่ปุ่นมีราคาที่ถูกลงระหว่าง 10-40% ก็อาจจะเป็นเวลาที่ดีในการลงทุน เปลี่ยนเครื่องจักรอุปกรณ์ใหม่ให้ automatic มากยิ่งขึ้น

สภาวะการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเรื่องที่บ่อยครั้งเลี่ยงไม่ได้ หากเรารู้ว่าปัจจัยเสี่ยงเราคือ อะไร และเราต้องทำอะไรในการรับมือ ฉวยโอกาสในการเปลี่ยนแปลงนี้ให้มีผลดี ก็จะทำให้เราอยู่ได้ การเพิ่มศักยภาพในความสามารถในการแข่งขันก็เป็นเรื่องที่ สำคัญที่ต้องดูและพัฒนา


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

ดอกเบี้ย ค่าเงิน เศรษฐกิจ ทำให้ดีไม่ติดขัด

Tags : ดอกเบี้ย ค่าเงิน เศรษฐกิจ ทำให้ดี ไม่ติดขัด

view