สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ทางรอดของชนชั้นกลาง (2)

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ คิดวิเคราะห์ แยกแยะ โดย วีระพงษ์ ธัม

คอลัมน์ คิดวิเคราะห์ แยกแยะ โดย วีระพงษ์ ธัม www.facebook.com/10000Li


วิวัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุค Baby Boomer ส่งผลให้ชนชั้นกลางขยายตัวอย่างรวดเร็วสำหรับประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่างไทย การเติบโตทางเศรษฐกิจในอดีตเพียงพอที่จะสร้างความสำเร็จของชนชั้นกลาง "ยุคแรก" แต่ความยากลำบากของชนชั้นกลางไทยสำหรับ GEN X, GEN Y ที่ปัจจุบันมีสัดส่วนถึง 70% เริ่มเห็นภาพมากขึ้น แม้ว่าราคาบางสิ่งบางอย่างจะถูกลงอย่างไม่น่าเชื่อ ขณะที่คุณภาพชีวิตกลับลำบากมากกว่าเดิม ซึ่งมีการศึกษาปัญหานี้ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนำเสนอวิธีแก้มากมาย ซึ่งผมจะสรุปทางรอดของชนชั้นกลางว่ามีอะไรบ้าง

สิ่งแรกที่สำคัญที่ สุดคือ คุณต้องมี "ภาวะผู้นำ" และ "กล้าคิดใหญ่" เราพูดกันบ่อยครั้งว่าประเทศไทยมีภูมิศาสตร์และศักยภาพที่จะเป็น "ศูนย์กลาง" ของอาเซียน แต่น้อยครั้งจะมีคนคิดว่า "อยาก" จะเป็น "ผู้นำ" อาเซียน อดีตนายกฯ ลี กวน ยู บอกว่า ประเทศสิงคโปร์ขึ้นมาถึงทุกวันนี้ได้มีเหตุผลเดียวเพราะ "คน" ประเทศที่ใช้เวลาสร้างมาแค่หนึ่งช่วงชีวิตคน สามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำอาเซียนและมุ่งสู่ระดับโลกได้ เพราะพวกเขามีภาวะผู้นำสูงในคนทุกระดับ ประเทศไทยมีนักศึกษาจบปริญญาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำจำนวนมาก แต่น้อยครั้งที่จะถูกปลูกฝังให้ "กล้า" เป็น "ผู้นำ" ที่จะคิดสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่อะไรบางอย่าง

สิ่งที่สองคือ การใช้ "ประสิทธิภาพ" และ "ประสิทธิผล" ในตัวเองอย่างเต็มที่ จงเลือกองค์กรที่ให้ "โอกาส" และมองศักยภาพคนที่ความสามารถ ขณะเดียวกัน ต้องพยายาม "สร้าง" สิ่งใหม่ ๆ ทำงานให้มากกว่าเงินเดือน และความคาดหวังของทุกคนในบริษัท เพราะต้นทุนสำคัญของชนชั้นกลาง คือ "แรง" "เวลา" และ "ไอเดีย" บ่อยครั้งเราจะทำงานน้อยกว่าศักยภาพ เพราะคิดว่าทำงานหนักไปก็ไม่มีประโยชน์ ยังไงเราก็โตขึ้นตามลำดับอาวุโสของบริษัท ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเรามี 2 ทางเลือก คือ ไม่สนใจ และทำงานหนักจนกว่าบริษัทจะเห็นคุณค่า หรือไม่ก็หาบริษัทใหม่ที่เห็นคุณค่าในสิ่งที่เราทำ จงอย่ายอมรับชะตากรรม

สิ่ง ที่สามคือ พยายามสร้าง "เศรษฐกิจพอเพียง" ในตัวเองให้ได้ อย่าไปใช้จ่ายตามกระแส ใช้ชีวิตต่ำกว่าความสามารถในการหารายได้ให้มากที่สุด และมองหาชีวิต "ที่มีอิสรภาพจากเงิน" อย่าติดกับดักการมีชีวิต "เพื่อบอกว่าเรามั่งคั่ง" กับดักเหล่านี้ทำให้เราสร้างภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าในอนาคต ซึ่งเป็นการทำลายศักยภาพตัวเองอย่างช้า ๆ

เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่การ คิดเล็ก แต่เป็นการเริ่มต้นคิดใหญ่ การที่เราสามารถสร้าง "งบดุลของตัวเอง" ที่แข็งแรง ไม่มีหนี้ ไม่มีภาระ คือการปลดล็อก "ข้อจำกัด" เพราะเราไม่สามารถทำงานออกมาให้ดีได้ ถ้าเต็มไปด้วยหนี้ที่ต้องจ่ายทุกเดือน

สิ่ง ที่สี่คือ "จงสร้างครอบครัว" การสร้างครอบครัวคือการสร้างฐานที่แข็งแรงในชีวิต มีบทวิจัยมากมายที่บอกว่า คนที่มีครอบครัวมักจะมีผลผลิตสูงกว่า มีชีวิตที่มีเป้าประสงค์มากกว่า การมีลูกเป็นอีกส่วนสำคัญ คือครอบครัวจะเป็นแรงขับดัน แรงบันดาลใจ ไม่ใช่ภาระ เพราะดูแลครอบครัวแบบเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้แพงเลย เมื่อเทียบกับ Synergy ที่คุณจะมีกับคู่ชีวิตและลูก เพียงแต่คุณต้องเหนื่อยบ้างในวันนี้เพื่อวันข้างหน้า นี่คือปรัชญาการลงทุน และมีบทวิจัยจำนวนมากบอกว่า ยิ่งคุณประหยัดต่อลูกเท่าไหร่ โอกาสที่คุณและลูกจะเป็นเศรษฐีจะสูงขึ้นเท่านั้น

สิ่งที่ห้าคือ "อย่าหยุดเรียนรู้" ชนชั้นกลางต้องรู้จักความเสี่ยงและบริหารความเสี่ยง จงเริ่มทำให้เร็ว เริ่มเล็ก ๆ และเชี่ยวชาญในตลาดนั้น ๆ ปลาเล็กสามารถมีชีวิตที่แข็งแรงได้ ถ้ายืดหยุ่นกว่า เร็วกว่า และอยู่ในพื้นที่ที่ตัวเองชำนาญ ระบบเศรษฐกิจใหม่หรือดิจิทัลอีโคโนมีสร้างโอกาสมากมายให้ชนชั้นกลางยุค ปัจจุบัน การทำงานมากกว่าหนึ่งอย่างก็เป็นทางออกที่ดีในยุคนี้

สิ่ง ที่หกคือ "การลงทุน" โดยเฉพาะการลงทุนหุ้น ช่วยให้ชนชั้นกลางสามารถเกาะ "ชนชั้นนายทุน" ได้ดีที่สุด แนวคิดการลงทุนที่สำคัญที่สุดคือ จงลงทุนให้เร็ว อย่าจับจังหวะตลาด ค่อย ๆ ลงทุนตามสัดส่วนอย่างน้อย 20% ของรายได้ สร้างวินัยการออมอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญคือ "ห้าม" แตะต้องเงินก้อนนี้เป็นอันขาดจนกระทั่งวันที่คุณจะเลิกทำงานหรือเกษียณ หุ้นจะดีหรือร้ายคุณก็ยังต้องลงทุน ถ้าทำไม่ได้ควรมีที่ปรึกษาทางการเงินที่ดี เพราะ 90% ของคนลงทุนในตลาดหุ้นมักไม่ประสบความสำเร็จด้วยสาเหตุหลาย ๆ อย่าง และคนส่วนมากต้องการโค้ชด้านการเงิน เพียงแต่พวกเขาไม่รู้เท่านั้น

ถ้า ทำได้ตามนี้อีก 10-15 ปีข้างหน้า คุณจะเป็นชนชั้นกลาง "ที่รอด" ในเศรษฐกิจทุนนิยมยุคนี้แน่นอน และนี่ไม่ใช่แค่ทางรอดของชนชั้นกลาง แต่นี่คือ "ทางรอดของประเทศไทย" ครับ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ทางรอดของชนชั้นกลาง (2)

view