สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อินเดีย ว่าที่ผู้นำเศรษฐกิจโลกคนใหม่

จากประชาชาติธุรกิจ

คอลัมน์ คิดนอกกรอบ

โดย ดร.ศรพล ตุลยะเสถียร, พีรพรรณ สุวรรณรัตน์ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

BRICS เป็นการรวมกลุ่มของประเทศผู้นำมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกรุ่นใหม่ในอนาคต ประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ซึ่งหลายฝ่ายคาดการณ์และจับตามองว่า BRICS ในเร็ว ๆ นี้จะก้าวขึ้นมายืนแถวหน้า เคียงข้างกลุ่มมหาอำนาจทางเศรษฐกิจดั้งเดิม อย่างสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

เพราะ นอกจากเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างรวดเร็วแล้ว กลุ่ม BRICS ยังเป็นการรวมเอาประชากรกว่าครึ่งโลกเข้าด้วยกัน และยังมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ถึง 1 ใน 3 ของโลกเลยทีเดียวทำให้ทุกความ เคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเหล่านี้ อยู่ในสายตาของประชาคมโลก บทบาทของกลุ่ม BRICS จึงมีผลกระทบต่อโลกอย่างไม่ต้องสงสัย

แต่ช่วง ที่ผ่านมา BRICS เริ่มแผ่วความร้อนแรงลง เนื่องจากเศรษฐกิจของ BRICS ส่วนใหญ่นั้นเติบโตมาจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมันและสินแร่ เป็นหลัก ราคาสินค้าเหล่านี้ที่ตกต่ำลงในช่วงเวลานี้ จึงทำให้เศรษฐกิจกว่าครึ่งของกลุ่ม BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้) ประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว

ส่วนรัสเซียเองก็มีปัญหา ยืดเยื้อด้านการเมืองกับยูเครน จนบานปลายมาเป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจ เพราะรัสเซียและประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐ และยุโรป ประกาศคว่ำบาตรต่อกัน ขณะที่สาธารณรัฐประชาชนจีนเองนั้น ภาครัฐมีนโยบายทางเศรษฐกิจที่ขัดแย้งกัน โดยเริ่มจากจงใจทำให้เศรษฐกิจชะลอความร้อนแรงลง และเน้นปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน แต่เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวมากกว่าที่ภาครัฐคาดการณ์ไว้ ภาครัฐก็เริ่มเปลี่ยนใจ กลับลำมาพยุงเศรษฐกิจอีกครั้ง

ใน บรรดาที่กล่าวมานี้ มียกเว้นก็แต่เพียง "อินเดีย" ที่เศรษฐกิจยังคงเติบโตได้ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในขณะนี้ โดยล่าสุดในไตรมาสที่ 4 ปี 2557 เศรษฐกิจอินเดียเติบโตร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันกับปีก่อน โดดเด่นกว่าประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม BRICS ทั้งหมด ส่งผลให้ World Bank และ IMF ต่างประเมินว่า เศรษฐกิจอินเดียในปี 2558 จะยังเติบโตได้ดีต่อเนื่อง ถึงร้อยละ 6.4 และ 6.3 ตามลำดับ

พัฒนาการ ทางเศรษฐกิจของอินเดียที่แข็งแกร่ง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอานิสงส์ของ ราคาน้ำมัน ที่ตกต่ำ จึงเป็นผลบวกต่ออินเดีย ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าน้ำมันสุทธิ กอปรกับความเชื่อมั่นต่อ นายนเรนท รา โมดี นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของอินเดีย ซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์จากการพัฒนารัฐคุชราต ทำให้เป็นที่ยอมรับของคนอินเดียและนานาประเทศ ยิ่งส่งผลให้มองเห็นว่าอินเดียมีเสถียรภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ โครงสร้างประชากรของอินเดียยังเอื้ออำนวยต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจในอนาคต กล่าวคือ อินเดียมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก และประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยเยาวชนหรือวัยทำงาน และข้อดีก็คือเยาวชนอินเดียมีทักษะทางด้านภาษาและการพัฒนาเทคโนโลยี

สำหรับ นโยบายเศรษฐกิจนั้น นายโมดีออกมาตรการ "Make in India" เพื่อปฏิรูปตลาดแรงงาน โดยปรับปรุงกฎระเบียบ ให้มีการบริการด้านแรงงานแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อให้แรงงานเข้าสู่ตลาดได้รวดเร็วและมีจำนวนมากขึ้น มีการพัฒนาทักษะแรงงานตั้งแต่เยาวชนเพื่อให้มีมาตรฐานสากล และสร้างโอกาสการทำงานแก่ชาวอินเดีย

นอกจากนี้ยังมีโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อลดต้นทุนค่าขนส่งทางถนน ทางราง และทางเรือ และเพิ่มแหล่งพลังงานใหม่มาใช้ในประเทศมากขึ้น รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในอินเดียได้ง่ายขึ้นด้วย

การ ขับเคลื่อนนโยบายทางเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างเต็มกำลังเช่นนี้ เชื่อแน่ว่าเศรษฐกิจอินเดียจะสามารถเติบโตต่อไปได้อีก และเป็นที่จับตาของนักลงทุนจากประเทศต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม อินเดียยังต้องแก้ปัญหา การขาดดุลแฝด (Twin Deficit) และ ภาวะเงินเฟ้อ ให้หมดลง แม้ว่าปัญหา

ดัง กล่าวจะทุเลาลงจากราคาน้ำมันโลกที่ตกต่ำแล้วก็ตาม รวมถึงต้องเร่งแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมในประเทศที่เป็น ปัญหาใหญ่และเรื้อรังมานาน

สำหรับประเทศไทย อินเดียถือเป็นพันธมิตรสำคัญ ทั้งเป็นคู่ค้าส่งออกอันดับที่ 12 ของไทย และนักธุรกิจอินเดียเข้ามาลงทุนในไทยมากเป็นอันดับที่ 13 และมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีร่วมกัน ทั้งในระดับทวิภาคี (ไทย-อินเดีย) และพหุภาคี (อาเซียน-อินเดีย และ BIMSTEC)

ไทยจึงจำเป็นต้อง เร่งกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือกับอินเดียให้แน่นแฟ้นมากขึ้น เพื่อไทยจะได้ไม่ตกขบวนการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกยุคใหม่ ที่มีอินเดียเป็นว่าที่ผู้นำอยู่ในขณะนี้


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : อินเดีย ว่าที่ผู้นำเศรษฐกิจโลก คนใหม่

view