สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ปรีดิยาธร ยันเศรษฐกิจปีนี้ไตรมาสแรกโต 3 %

ปรีดิยาธร'ยันเศรษฐกิจปีนี้ไตรมาสแรกโต 3 %

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

"ม.ร.ว.ปรีดิยาธร"ระบุเศรษฐกิจปี58ไตรมาสแรกขยายตัว 3 % ซัดค่าแรง 300 บาททำเศรษฐกิจติดลบ

ในการแถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาลในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมตรี ด้านเศรษฐกิจ ชี้แจงว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทย ปี 57 ไตรมาสที่ 1 ติดลบ 0.4 เปอร์เซ็นต์ ไตรมาสที่ 2 บวก 0.9 เปอร์เซ็นต์ ไตรมาสที่ 3 บวก 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่รัฐบาลจะเข้ามาบริหารงาน และเมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหารพบว่าไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจของประเทศเติบโตเพิ่ม 2.1 เปอร์เซ็นต์ กระทั่งไตรมาสแรกของปี 58 เศรษฐกิจเติบโตเพิ่ม 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รับการยืนยันจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ขณะเดียวกันเศรษฐกิจของประเทศก็ค่อย ๆ ฟื้นอย่างต่อเนื่อง และแม้ว่าการส่งออกจะติดลบ 2.5 เปอร์เซ็นต์ ก็มีตัวช่วยคือการลงทุนจากภาครัฐ การท่องเที่ยวและบริการ ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศยังเป็นบวก 

ส่วนการส่งออกที่ติดลบนั้น เป็นการติดลบอยู่แล้วตั้งแต่ 4 ปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากนโยบายค่าแรง 300 บาท ของรัฐบาลที่แล้ว ทำให้สูญเสียความสามรถทางการแข่งขัน ซึ่งตนไม่ได้ทับถมใคร แต่ใครทำนโยบายไม่ดีไว้ก็น่าจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ ซึ่งการแก้ปัญหารัฐบาลชุดนี้ได้วางแนวทางแก้ไขปัญหา 3 ฐานเศรษฐกิจ ฐานเศรษฐกิจแรกคือปรับปรุงอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยในระยะสั้นต้องปรับค่าเงินบาทให้อ่อนตัวลง โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงการค้าขายเงินตราต่างประเทศ ทำให้ค่าเงินอ่อนตัวลงจาก 32.70 บาท เป็น 33.17 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์ 

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวต่อว่า ขณะที่การแก้ปัญหาระยะยาวต้องทำในลักษณะการปฏิรูป โดยจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผลิตสินค้าใหม่ออกมาขาย เป็นสินค้าที่ขายในตลาดโลกได้ ซึ่งควรเป็นสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูงที่อุตสาหกรรมไทยรองรับได้แล้ว แต่คู่แข่งยังรองรับไม่ได้ เช่น อาหารทางการแพทย์ อาหารคุณค่าสูง ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เน้นความปลอดภัย และประหยัดพลังงาน เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลได้มีการประกาศ และออกโรดแม็ปแล้ว ผลที่ได้รับถือว่าเร็วเกินคาด เฉพาะเดือน ม.ค. – พ.ค. ในกลุ่มสินค้าสายการผลิตใหม่ มีผู้มายื่นขอส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) แล้ว 127 ราย อนุมัติแล้ว 25 ราย ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้โครงการ Modern Industries จำนวน 197 โครงการ ต้องมีการปรับฐานอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกใหม่เพิ่มขึ้นแทนที่ล้าสมัย ซึ่งภายใน 2 ปี – 2ปีครึ่ง จะเห็นผลของโครงการ และถ้าบอกว่าทำเพื่อรัฐบาลหน้าก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นการทำเพื่อประเทศ

2.การปฏิรูปภาษี ซึ่งได้มีการประกาศใช้แล้ว โดยเฉพาะภาษีรายได้จากเงินปันผล กำไร การขายทรัพย์สิน ถ้าเอากำไรกลับมายังประเทศจะไม่ต้องเสียภาษี เพื่อให้นักอุตสาหกรรม หันกลับมาตั้งฐานการค้าในไทย ซึ่งได้อนุมัติไปแล้ว 31 โครงการ และในอนาคตเชื่อว่าจะเป็นประเทศเทรดดิ้งเนชั่นได้ที่มีฐานอยู่ที่กรุงเทพฯ เหมือนในประเทศเกาหลี และสิงคโปร์ แต่นอกจากการปรับปรุงภาษี ยังต้องรองรับการก่อสร้างคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงนักลงทุนตั้งศูนย์การค้า โดยกระทรวงคมนาคม ได้วางแผนเชื่อมโยงทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการสร้างทางหลวงแผ่นดินเพิ่ม การบูรณะทาง และการสร้างทางหลวงชนบทเพิ่ม ซึ่งจะทำให้การคมนาคมภายในประเทศ และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีโครงการสร้างรถไฟรางคู่ตลอดจนรถไฟความเร็วปานกลาง และรถไฟความเร็วสูง โดยจะมีการทำคู่สัญญาระหว่างไทย – จีน และไทย – ญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการเปิดประมูลตั้งแต่เดือน ส.ค. 58 – 59 

3.ต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งไทยยังล้าหลัง และขาดโครงสร้างพื้นฐานบอร์ดแบรนด์แห่งชาติ จึงมีแผนพัฒนา อาทิ การวางโครงข่ายบอร์ดแบรนด์แห่งชาติ คาดว่าแล้วเสร็จปลายปี 2560 การตั้งศูนย์คลังข้อมูลขนาดใหญ่ ภายใน 2 ปี การเพิ่มเกทเวย์เป็น 10 เกท และระบบดิจิตอลแบงค์กิ้ง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดถือเป็น 3 ฐานหลักในการดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยขณะนี้เสร็จแล้ว 2 ฐาน หากเสร็จ 3 ฐาน จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ และถ้าถึงวันนั้นพลังงานจะไม่เพียงพอ วันนี้จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องหาแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ ซึ่งตนจะรีบกลับไปดำเนินการให้ถูกใจทุกคน และเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อประเทศ 

ด้านนายทิวา การกระสัง สปช.บุรีรัมย์ ได้ตั้งคำถามถึงเรื่องการบริหารจัดการน้ำในภาคอีสาน ซึ่งพล.อ.ประยุทธ์ ชี้แจงว่า ในปี 2558 มีวงเงินในการบริหารจัดการน้ำกว่า 1 แสนล้านบาท ในการดูแลจัดการบริหารน้ำทั่วประเทศ เช่น ในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งซ้ำซากก็อยู่ในแผนบริหารจัดการน้ำเช่นกัน ที่ผ่านมาบางพื้นที่มีแต่อ่างเก็บน้ำ แต่ไม่มีระบบส่งน้ำ บางพื้นที่มีท่อส่งน้ำแต่ไม่มีต้นน้ำ นี่ก็คือพวกเลือกตั้งเข้ามา ดังนั้นถ้าอยากได้ดีก็ให้เลือกตั้งดี ๆ ในครั้งหน้า อย่างไรก็ตามในปี 2560 จะทำประปาหมู่บ้านให้ครบ 7,000 หมู่บ้าน


อุ๋ยชี้รัฐบาลปูขึ้นค่าแรงฉุดการแข่งขันไทยในตลาดโลก

จาก โพสต์ทูเดย์

รองนายกฯชี้รัฐบาล "ปู" ขึ้นค่าแรง ฉุดการแข่งขันไทยในตลาดโลก ย้ำรัฐบาลปัจจุบันหนุนอุตสาหกรรมลงทุนเทคโนโลยีขั้นสูง ลุยรื้อโครงสร้างคมนาคม

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. ณ รัฐสภา ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี แถลงระหว่างการสัมมนาเพื่อรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของรัฐบาล ระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า รัฐบาลพยายามขับเคลื่อนเศรษฐกิจจาก 3 ฐาน คือ ฐานที่ 1 คือ การส่งเสริมการแข่งขันของภาคธุรกิจไทย ซึ่งตลอด 4 ปีที่ผ่านมา การส่งออกของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในอดีตที่เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ภายในระยะเวลาอันสั้น ส่งผลให้ภาคธุรกิจมีต้นทุนสูงขึ้นจนไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

ทั้งนี้วิธีที่รัฐบาลปัจจุบันใช้แก้ไข คือ การลดค่าเงินบาทและส่งเสริมการค้าเงินเสรี ซึ่งสามารถทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงได้แล้วระดับหนึ่ง พิจารณาจากค่าเงินบาทในวันที่ 30 เม.ย. อยู่ที่ 32.70 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินบาทในวันที่ 2 มิ.ย. อยู่ที่ 33.77 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ส่วนมาตรการในการแก้ไขปัญหาระยะยาว คือ การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งพิจารณาจากบัญชีแสดงรายการอนุมัติการลงทุนของบีโอไอ พบว่ามีบริษัทที่ได้รับการอนุมัติโครงการอุตสาหกรรมสมัยใหม่ (Modern Industries) แล้ว 127 บริษัท (1 ม.ค.-22 พ.ค. ปี 58)นับตั้งแต่ประกาศขับเคลื่อนนโยบายในเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา

นอกจากนั้นรัฐบาลได้ปรับระบบภาษี คือ 1. ยกเลิก ภาษีเงินได้จากกรณีจดทะเบียนซื้อ-ขายในต่างประเทศ (OUT-OUT) และ 2. ยกเว้นกรณีหัก ณ ที่จ่าย ที่จ่ายไปยังต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ต่างประเทศเข้ามาตั้งสำนักงานใหญ่ ในประเทศไทยมากขึ้น และจะทำให้ประเทศไทยเป็นชาติการค้า (Trading Nation) เพื่อกระจายสินค้าไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (ซีแอลเอ็มวี)

ฐานที่ 2 รัฐบาลยังมีนโยบายที่จะเชื่อมโยงการคมนาคมเพื่อรองรับมาตรการข้างต้น อาทิ การปรับโครงข่ายรถไฟรางคู่ ที่จะเพิ่มอีก 2,470 กม. ซึ่งจะประมูลและทำสัญญาในปี 58 และ ปี 59 ระยะทาง 903 กม., รถไฟความเร็วปานกลาง-สูง ซึ่งโครงการที่ร่วมมือกับประเทศจีนที่จะเริ่มต้นในปลายปีนี้ ส่วนโครงการที่ร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นจะเริ่มโครงการได้ใน ปี 59 , การประกาศพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ความคืบหน้าขณะนี้คือการกำหนดพื้นที่อุตสาหกรรมและพื้นที่ที่จะใช้ในการจัดเก็บสินค้า ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้สำเร็จจะกระตุ้นการลงทุนได้อย่างมาก รวมถึงถึงสนับสนุนการเป็นชาติการค้าในกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวีด้วย

ฐานที่ 3 คือ การสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) อาทิ การสร้างโครงข่ายบรอดแบนด์แห่งชาติซึ่งจะเข้าถึงทุกบ้านภายในปี 60 - ปี 61 , การสร้างคลังข้อมูลขนาดใหญ่ (Data Center) ที่สุดในอาเซียน เพื่อต่อยอดธุรกิจคลาวด์เซนเตอร์ (Cloud Center) , เพิ่มเกตเวย์จากปัจจุบันมีอยู่ 2 เกท เป็น 10 เกต และการสร้างโครงข่ายดิจิทัล แบงก์กิ้ง (Digital Banking) โดยเฉพาะความพร้อมทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบดิจิทัล ฯลฯ

อย่างไรก็ตามหากสามารถขยับฐานทั้ง 3 ได้สำเร็จจะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตยิ่งขึ้น ซึ่งอาจเติบโตสูงถึง 5% หลังจากตลอด 6 ปี ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยเติบโตเพียง 2% ทั้งนี้หากเศรษฐกิจเติบโตได้จริง จะเกิดปัญหาด้านพลังงานไม่เพียงพอ ซึ่งรัฐธรรมนูญจะต้องเร่งดำเนินการเกี่ยวกับการสำรวจแหล่งก๊าซ โดยแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างการใช้ระบบสัมปทานและระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งขณะนี้กำลังแก้กฎหมายให้สามารถดำเนินการได้ทั้งสองทาง เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ


เศรษฐกิจดี๊ดี? “หม่อมอุ๋ย” อวดไตรมาสแรกโต 3% โยนขี้ “ยิ่งลักษณ์” ค่าแรง 300 ตัวถ่วงการแข่งขัน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ อ้างตัวเลข สศก. ไตรมาสแรกเศรษฐกิจไทยโต 3% ค่อยๆ ฟื้นอย่างต่อเนื่อง บอกถึงติดลบก็มีลงทุนภาครัฐ ท่องเที่ยว และบริการ โทษส่งออกติดลบ เพราะค่าแรง 300 บาทรัฐบาลที่แล้วทำแข่งขันยาก เปรยไม่ได้ทับถมใคร วางแนวทางทุบเงินบาทให้อ่อนลง ปั้มสินค้าเทคโนโลยีสูงมาขาย ปฏิรูปภาษี แก้ปัญหาเศรษฐกิจดิจิตอล โวทำได้ไทยโตเป็น 5%
       
       วันนี้ (4 มิ.ย.) ที่รัฐสภา ความคืบหน้าการสัมมนาร่วมกันระหว่างคณะรัฐมนตรี (ครม.) สมาชิกสภานิติบัญญัติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพื่อรับฟังการดำเนินงานที่ผ่านของรัฐบาลในรอบ 1 ปี โดยมี นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. เป็นประธานการประชุม ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทย ปี 2557 ไตรมาสที่ 1 ติดลบ 0.4 เปอร์เซ็นต์ ไตรมาสที่ 2 บวก 0.9 เปอร์เซ็นต์ ไตรมาสที่ 3 บวก 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นช่วงก่อนที่รัฐบาลจะเข้ามาบริหารงาน และเมื่อรัฐบาลเขามาบริหารพบว่าไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจของประเทศเติบโตเพิ่ม 2.1 เปอร์เซ็นต์ กระทั่งไตรมาสแรกของปี 2558 เศรษฐกิจเติบโตเพิ่ม 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้รับการยืนยันจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของประเทศก็ค่อยๆ ฟื้นอย่างต่อเนื่อง และแม้ว่าการส่งออกจะติดลบ 2.5 เปอร์เซ็นต์ ก็มีตัวช่วยคือ การลงทุนจากภาครัฐ การท่องเที่ยว และบริการ ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศยังเป็นบวก ทั้งนี้ ในส่วนของการส่งออกที่ติดลบนั้น เป็นการติดลบอยู่แล้วตั้งแต่ 4 ปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากนโยบายค่าแรง 300 บาท ของรัฐบาลที่แล้ว ทำให้สูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน
       
       “ผมไม่ได้ทับถมใคร แต่ใครทำนโยบายไม่ดีไว้ก็น่าจะบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์” ม.ร.ว.ปรีดียาธร กล่าว และว่า การแก้ปัญหารัฐบาลชุดนี้ได้วางแนวทางแก้ไขปัญหา 3 ฐานเศรษฐกิจ ฐานเศรษฐกิจแรกคือปรับปรุงอุตสาหกรรมสมัยใหม่ โดยในระยะสั้นต้องปรับค่าเงินบาทให้อ่อนตัวลง โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงการค้าขายเงินตราต่างประเทศ ทำให้ค่าเงินอ่อนตัวลงจาก 32.70 บาท เป็น 33.17 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์
       
       ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวต่อว่า ขณะที่การแก้ปัญหาระยะยาวต้องทำในลักษณะการปฏิรูป โดยจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผลิตสินค้าใหม่ออกมาขาย เป็นสินค้าที่ขายในตลาดโลกได้ ซึ่งควรเป็นสินค้าที่มีเทคโนโลยีสูงที่อุตสาหกรรมไทยรองรับได้แล้ว แต่คู่แข่งยังรองรับไม่ได้ เช่น อาหารทางการแพทย์ อาหารคุณค่าสูง ชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง เน้นความปลอดภัย และประหยัดพลังงาน เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลได้มีการประกาศ และออกโรดแม็ปแล้ว ผลที่ได้รับถือว่าเร็วเกินคาด เฉพาะเดือน ม.ค. - พ.ค. ในกลุ่มสินค้าสายการผลิตใหม่ มีผู้มายื่นขอส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) แล้ว 127 ราย อนุมัติแล้ว 25 ราย ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้โครงการ Modern Industries จำนวน 197 โครงการ นอกจากนี้ ต้องมีการปรับฐานอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกใหม่เพิ่มขึ้นแทนที่ล้าสมัย ซึ่งภายใน 2 ปี - 2 ปีครึ่ง จะเห็นผลของโครงการ และถ้าบอกว่าทำเพื่อรัฐบาลหน้าก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นการทำเพื่อประเทศ
       
       2. การปฏิรูปภาษี ซึ่งได้มีการประกาศใช้แล้ว โดยเฉพาะภาษีรายได้จากเงินปันผล กำไร การขายทรัพย์สิน ถ้าเอากำไรกลับมายังประเทศจะไม่ต้องเสียภาษี เพื่อให้นักอุตสาหกรรม หันกลับมาตั้งฐานการค้าในไทย ซึ่งได้อนุมัติไปแล้ว 31โครงการ และในอนาคตเชื่อว่าจะเป็นประเทศเทรดดิ้งเนชั่นได้ที่มีฐานอยู่ที่กรุงเทพฯ เหมือนในประเทศเกาหลี และสิงคโปร์ แต่นอกจากการปรับปรุงภาษี ยังต้องรองรับการก่อสร้างคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงนักลงทุนตั้งศูนย์การค้า โดยกระทรวงคมนาคม ได้วางแผนเชื่อมโยงทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการสร้างทางหลวงแผ่นดินเพิ่ม การบูรณะทาง และการสร้างทางหลวงชนบทเพิ่ม ซึ่งจะทำให้การคมนาคมภายในประเทศ และการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีโครงการสร้างรถไฟรางคู่ตลอดจนรถไฟความเร็วปานกลาง และรถไฟความเร็วสูง โดยจะมีการทำคู่สัญญาระหว่างไทย - จีน และไทย - ญี่ปุ่น ซึ่งจะมีการเปิดประมูลตั้งแต่เดือน ส.ค. 58 - 59
       
       3. ต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจดิจิตอล ซึ่งไทยยังล้าหลัง และขาดโครงสร้างพื้นฐานบอร์ดแบรนด์แห่งชาติ จึงมีแผนพัฒนา อาทิ การวางโครงข่ายบอร์ดแบรนด์แห่งชาติ คาดว่าแล้วเสร็จปลายปี 2560 การตั้งศูนย์คลังข้อมูลขนาดใหญ่ ภายใน 2 ปี การเพิ่มเกตเวย์เป็น 10 เกต และระบบดิจิตอลแบงค์กิ้ง เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดถือเป็น 3 ฐานหลักในการดำเนินการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยขณะนี้เสร็จแล้ว 2 ฐาน หากเสร็จ 3 ฐาน จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตเป็น 5 เปอร์เซ็นต์ และถ้าถึงวันนั้นพลังงานจะไม่เพียงพอ วันนี้จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องหาแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ ซึ่งตนจะรีบกลับไปดำเนินการให้ถูกใจทุกคน และเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อประเทศ


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : ปรีดิยาธร ยัน เศรษฐกิจปีนี้ ไตรมาสแรกโต

view