สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

เปิดระเบียบ ปปง. คุ้มครอง-ช่วยเหลือผู้ให้ข้อมูลฟอกเงิน

จาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เปิดรายละเอียด! ระเบียบ "ปปง." คุ้มครอง-ช่วยเหลือผู้ให้ถ้อยคํา หรือผู้แจ้งเบาะแสข้อมูลอันเป็นประโยชน์ป้องกันปราบปรามฟอกเงิน

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ (4 มิ.ย.) ระเบียบสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าด้วยการคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ให้ถ้อยคํา หรือผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๕๘

โดยที่เป็นการ สมควรให้มีการกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการพิจารณาเพื่อให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือบุคคลผู้ ให้ถ้อยคํา หรือผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการของคณะกรรม การธุรกรรม และการประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดําเนินมาตรการคุ้มครองและ ช่วยเหลือบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองและช่วยเหลือพยานในคดีอาญา ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ให้ถ้อยคํา หรือผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการตามกฎหมาย ดังกล่าวเกิดความมั่นใจและกล้าที่จะเปิดเผยข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในทาง อรรถคดี อันจะทําให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล

อาศัย อํานาจตามความในมาตรา ๓๗/๑ และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ว่าด้วยการคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ให้ถ้อยคํา หรือผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๕๘”

ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
“ผู้ ร้องขอ” หมายความว่า ผู้ให้ถ้อยคําหรือผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลใดเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยว กับการกระทําความผิด หรือข้อมูลอื่นอันเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการของคณะกรรมการธุรกรรมต่อสํา นักงาน และให้หมายความรวมถึงสามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของผู้ให้ถ้อยคําแจ้งเบาะแส หรือให้ข้อมูล และบุคคลอื่นใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลผู้ให้ถ้อยคํา แจ้งเบาะแสหรือให้ข้อมูลนั้นด้วย
“ผู้ได้รับความคุ้มครอง” หมายความว่า ผู้ร้องขอที่คณะกรรมการธุรกรรม มีมติให้ความคุ้มครองช่วยเหลือตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองและช่วยเหลือพยาน ในคดีอาญา
“ความปลอดภัย” หมายความว่า ความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียงทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ร้องขอ
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒

“พนักงาน เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ” หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ของสํานักงานซึ่งมีอํานาจหน้าที่รับผิดชอบภารกิจด้านการ คุ้มครองและช่วยเหลือผู้ให้ถ้อยคํา หรือผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการของคณะกรรม การธุรกรรม
“คณะกรรมการธุรกรรม” หมายความว่า คณะกรรมการธุรกรรมตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
“สํานักงาน” หมายความว่า สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

ข้อ ๔ ให้เลขาธิการรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอํานาจออกคําสั่งหรือประกาศเพื่อปฏิบัติ
ตามระเบียบนี้ในกรณีมีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้เป็นอํานาจของเลขาธิการที่จะวินิจฉัยชี้ขาด
และเมื่อได้วินิจฉัยชี้ขาดเป็นประการใดให้ถือว่าคําวินิจฉัยชี้ขาดนั้นเป็นที่สุด

หมวด ๑
การร้องขอให้มีการคุ้มครองและช่วยเหลือ
ข้อ ๕ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงหรือมีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องขออาจไม่ได้รับความปลอดภัยก่อน ขณะ หรือหลังจากที่ให้ถ้อยคํา แจ้งเบาะแส หรือให้ข้อมูลต่อสํานักงานอันเนื่องมาจากการให้ถ้อยคํา การแจ้งเบาะแส หรือการให้ข้อมูลดังกล่าว ให้ผู้ร้องขอมีสิทธิยื่นคําร้องเพื่อขอรับความคุ้มครองและช่วยเหลือจากสํา นักงาน
ข้อ ๖ ผู้ร้องขอตามข้อ ๕ อาจยื่นคําร้องเพื่อขอให้คุ้มครองและช่วยเหลือได้ในช่องทาง ดังต่อไปนี้
(๑) ยื่นคําร้องพร้อมเอกสารหลักฐานโดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่บันทึกถ้อยคํา รับแจ้งเบาะแสหรือข้อมูล ทั้งนี้ ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ในการจัดให้มีการบันทึกถ้อยคําและความยินยอมตามแบบท้ายระเบียบนี้ให้ครบถ้วน และเมื่อดําเนินการเสร็จแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวส่งเรื่องให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต่อไปโดยเร็ว
(๒) ยื่นคําร้องพร้อมเอกสารหลักฐานด้วยตนเองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ ณ สํานักงานในกรณีมีเหตุจําเป็นเร่งด่วนทําให้ผู้ร้องขอไม่อาจมายื่นคําร้อง ตามวรรคหนึ่งได้ ผู้ร้องขออาจยื่นคําร้องโดยช่องทางหรือเครื่องมือสื่อสารอื่นได้ เช่น ทําเป็นหนังสือส่งไปรษณีย์ลงทะเบียน โทรศัพท์โทรสาร หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออาจมอบอํานาจเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ร้องขอให้บุคคลอื่นดําเนินการ แทนก็ได้ ทั้งนี้ การร้องขอดังกล่าวต้องระบุชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของผู้ร้องขอ ตลอดจนข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องขออาจไม่ได้รับความ ปลอดภัยกรณีคําร้องตามวรรคหนึ่ง หรือวรรคสองเป็นคําร้องด้วยวาจา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบบันทึกใจความตาม แบบท้ายระเบียบนี้ แล้วให้ผู้ร้องขอลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานหรือให้ผู้ร้องขอลงลายมือชื่อ ไว้เป็นหลักฐานภายหลังในโอกาสแรกที่สามารถกระทําได้ แล้วแต่กรณี

หมวด ๒
การพิจารณาคําร้องและการประสานงานเพื่อให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือ

ข้อ ๗ เมื่อได้รับคําร้องตามหมวด ๑ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบพิจารณาดําเนินการ ดังนี้
(๑) กรณีได้รับเรื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๖ (๑) ให้ดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ร้องขอจะไม่ได้รับความปลอดภัยและทําความเห็น เสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นก่อนเสนอเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการธุรก รรมพิจารณาต่อไป
(๒) กรณีได้รับคําร้องจากผู้ร้องขอตามข้อ ๖ (๒) ให้ดําเนินการ ดังนี้
(ก) บันทึกถ้อยคําผู้ร้องขอและความยินยอมไว้ตามแบบท้ายระเบียบนี้
(ข) ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ร้องขอจะไม่ได้รับความปลอดภัย และทําความเห็นเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นก่อนเสนอเรื่องเพื่อให้ คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาต่อไป

ข้อ ๘ ในการเสนอเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณามีคําสั่งให้ใช้มาตรการ คุ้มครองบุคคลใด จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าบุคคลนั้นเข้าหลักเกณฑ์การเป็นบุคคลที่จะมีสิทธิ ได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือตามข้อ ๕ และกรณีเช่นว่านี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบทําความเห็นเสนอด้วยว่าสมควรใช้มาตรการ ทั่วไปหรือมาตรการพิเศษในการคุ้มครองบุคคลดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้ม ครองพยานในคดีอาญา เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการธุรกรรม

ข้อ ๙ เมื่อคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณามีคําสั่งแลว้ ให้สํานักงานดําเนินการ ดังนี้
(๑) กรณีเป็นคําสั่งให้ผู้ร้องขอได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือ ให้แจ้งคําสั่งดังกล่าวไปยังผู้ร้องขอ และดําเนินการประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้ดําเนินการคุ้มครองและช่วย เหลือต่อไปโดยเร็วในกรณีที่ผู้ได้รับความคุ้มครองและช่วยเหลือเป็นสามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือบุคคลอื่นใดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ให้ถ้อยคํา แจ้งเบาะแส หรือให้ข้อมูล ต้องจัดให้มีความยินยอมจากบุคคลดังกล่าวหรือผู้มีอํานาจให้ความยินยอมแทน ด้วย
(๒) กรณีเป็นคําสั่งไม่ให้มีมาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือ ให้แจ้งคําสั่งดังกล่าวไปยังผู้ร้องขอพร้อมทั้งแจ้งสิทธิในการอุทธรณ์ตาม กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญาให้ผู้ร้องขอทราบด้วย ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ร้องขอที่จะยื่นคําร้องขอคุ้มครองและช่วยเหลืออีกได้ หากปรากฏข้อเท็จจริงหรือมีพฤติการณ์ใหม่ที่แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องขออาจไม่ ได้รับความปลอดภัย

ข้อ ๑๐ กรณีที่คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณาแล้วเห็นเป็นการสมควรและมีคําสั่งให้บุคคล ใดได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลือโดยบุคคลดังกล่าวไม่ได้ร้องขอ ให้สํานักงานดําเนินการประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้ดําเนินการคุ้ม ครองและช่วยเหลือต่อไปโดยเร็ว แต่ทั้งนี้ สํานักงานต้องจัดให้มีความยินยอมจากบุคคลดังกล่าวหรือผู้มีอํานาจให้ความ ยินยอมแทนด้วย


ข้อ ๑๑ กรณีที่คณะกรรมการธุรกรรมมีคําสั่งให้สํานักงานประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ได้รับความคุ้มครอง ให้สํานักงานแจ้งให้สํานักงานคุ้มครองพยานกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อดําเนินการให้มีมาตรการในการคุ้มครองและช่วยเหลือ ทั้งนี้ การประสานการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองและช่วยเหลือบุคคลให้เป็นไปตามข้อ ตกลงร่วมระหว่างสํานักงานและหน่วยงานดังกล่าว โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบประสานงานและติดตามผลด้านการคุ้มครอง และช่วยเหลือด้วย กรณีมีเหตุจําเป็นเร่งด่วนต้องจัดให้มีมาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ร้อง ขอก่อนที่จะนําเสนอคณะกรรมการธุรกรรมเพื่อพิจารณามีคําสั่ง ให้สํานักงานประสานการคุ้มครองและช่วยเหลือไปยังสํานักงานคุ้มครองพยาน กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องโดยด่วน และให้เลขาธิการรายงานเหตุผลและความจําเป็นต่อคณะกรรมการธุรกรรมเพื่อให้ พิจารณามีคําสั่งโดยเร็วต่อไป

ข้อ ๑๒ การดําเนินการตามข้อ ๑๑ ให้สํานักงานมีหนังสือแจ้งประสานงานขอความร่วมมือพร้อมแจ้งการสนับสนุนงบ ประมาณไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดําเนินการให้มีมาตรการในการคุ้มครอง และช่วยเหลือผู้ได้รับความคุ้มครองกรณีมีเหตุจําเป็นเร่งด่วน อาจมีการประสานแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางโทรศัพท์หรือโทรสารก่อนก็ ได้

ข้อ ๑๓ กรณีมีการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับความคุ้มครองรายใดตามระเบียบ นี้ให้สํานักงานติดตามประเมินผลและรายงานให้คณะกรรมการธุรกรรมทราบทุกสาม เดือน

หมวด ๓
การสิ้นสุดการคุ้มครองและช่วยเหลือ
ข้อ ๑๔ คณะกรรมการธุรกรรมอาจมีคําสั่งให้การคุ้มครองและช่วยเหลือสิ้นสุดลงเมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ได้รับความคุ้มครองถึงแก่ความตาย
(๒) ผู้ได้รับความคุ้มครองหรือผู้ให้ความยินยอมแทนผู้ได้รับความคุ้มครองร้องขอให้ยุติการคุ้มครองตามแบบท้ายระเบียบนี้
(๓) ผู้ได้รับความคุ้มครองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการธุรกรรมหรือสํานักงานกําหนดโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(๔) พฤติการณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ได้รับความคุ้มครองเปลี่ยนแปลงไป และกรณีไม่มีความจําเป็นจะต้องให้ความคุ้มครองอีกต่อไป
(๕) ผู้ได้รับความคุ้มครองไม่มา หรือมาแต่ไม่ให้ถ้อยคํา หรือไม่เบิกความเป็นพยานโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(๖) ศาลมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษผู้ได้รับความคุ้มครองในความผิดฐานแจ้งข้อ ความอันเป็นเท็จ หรือความผิดฐานเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล หรือความผิดฐานทําพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในคดีที่ผู้นั้นเป็นพยาน
(๗) หน่วยงานที่รับผิดชอบในการคุ้มครองและช่วยเหลือผู้ได้รับความคุ้มครองมีคํา สั่งให้สิ้นสุดการคุ้มครอง และคณะกรรมการธุรกรรมมีมติเห็นชอบด้วย
ข้อ ๑๕ เมื่อมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ ๑๔ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทํารายงานพร้อมความเห็นเสนอผู้บังคับ บัญชาตามลําดับชั้นทันที เพื่อเสนอคณะกรรมการธุรกรรมพิจารณามีคําสั่งให้สิ้นสุดการคุ้มครองและช่วย เหลือโดยเร็ว ให้สํานักงานแจ้งคําสั่งให้สิ้นสุดการคุ้มครองและช่วยเหลือตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ได้รับความคุ้มครอง
และหน่วยงานที่รับผิดชอบในการคุ้มครองและช่วย เหลือผู้ได้รับความคุ้มครองทราบเพื่อยุติการคุ้มครองพร้อมทั้งแจ้งสิทธิใน การอุทธรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญาให้ผู้ได้รับความคุ้ม ครองทราบด้วย

หมวด ๔
ค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองและช่วยเหลือ
ข้อ ๑๖ ให้สํานักงานตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดําเนินการประสานงานกับหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองและช่วยเหลือบุคคลและสนับสนุนการคุ้มครองและช่วย เหลือบุคคล รวมทั้งค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ต้องจ่ายแก่ผู้ได้รับความคุ้มครอง โดยการใช้จ่ายดังกล่าวให้สํานักงานจัดทําหลักฐานการจ่ายเงินให้เป็นไปตาม ระเบียบว่าด้วยการนั้น

ข้อ ๑๗ กรณีเกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของผู้ร้องขอ เพราะมีการกระทําผิดอาญาโดยเจตนาอันเนื่องจากการดําเนินการหรือการให้ถ้อย คําหรือแจ้งเบาะแส หรือข้อมูลต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้สํานักงานแจ้งให้ผู้ร้องขอดังกล่าวใช้สิทธิยื่นคําร้องต่อหน่วยงานที่รับ ผิดชอบเพื่อขอรับค่าตอบแทนเท่าที่จําเป็นและสมควรตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้ม ครองพยานในคดีอาญาโดยเร็ว เว้นแต่กรณีความเสียหายดังกล่าวเกิดข้ึนหลังจากที่คณะกรรมการธุรกรรมได้มี มติให้ผู้ร้องขอเป็นผู้ได้รับความคุ้มครองแล้ว ให้สํานักงานประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อขอรับค่าตอบแทนให้แก่ผู้ได้รับ ความคุ้มครองนั้นต่อไป

ข้อ ๑๘ หากปรากฏในภายหลังว่า ผู้ได้รับความคุ้มครองไม่ให้ถ้อยคํา หรือไม่เบิกความเป็นพยานโดยไม่มีเหตุสมควร หรือมีคําพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลดังกล่าวในความผิดฐานแจ้งข้อความอัน เป็นเท็จหรือความผิดฐานเบิกความอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล หรือความผิดฐานทําพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในคดีที่ผู้ได้รับความคุ้มครองนั้น เป็นพยาน ให้สํานักงานดําเนินการเรียกให้ผู้ได้รับความคุ้มครองดังกล่าวคืนหรือชดใช้ ค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองและช่วยเหลือ หรือประสานแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือดํา เนินการเรียกให้ก็ได้

ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พันตํารวจเอก สีหนาท ประยูรรัตน์
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน


สำนักงานบัญชี,สำนักงานสอบบัญชี,ทำบัญชี,สอบบัญชี,ที่ปรึกษา,การจัดการ,เศรษฐกิจการลงทุน

Tags : เปิดระเบียบ ปปง. คุ้มครอง ช่วยเหลือ ผู้ให้ข้อมูลฟอกเงิน

view